KM เครือข่ายการมีส่วนร่วม


KM ในหน่วยงานราชการ/ ตลาดนัดความรู้ / ฝ่าวิกฤติวัยรุ่น

เครือข่ายการมีส่วนร่วม
                จากประสบการณ์ความสำเร็จ  เพื่อเด็กไทยวัยใส  (ฝ่าวิกฤตวัยรุ่น)  แก่นความรู้ที่สองที่ได้รับอันเป็นผลมาจากการจัดตลาดนัดความรู้  ครูเพื่อศิษย์  (25 – 28  ส.ค.48    ณ  โรงแรมรอยัลซิตี้   กทม.)   พบว่า  เครือข่ายการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายส่งผลต่อความสำเร็จในการแก้ปัญหาวัยรุ่นได้อย่างดีเยี่ยมโดยเริ่มตั้งแต่  (1)  การสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในโรงเรียนโดยครู นักเรียน  และผู้ปกครอง (2)  การพัฒนาต่อเนื่องให้เครือข่ายให้เข้มแข็ง  (3)  การพัฒนาต่อเนื่องให้เครือข่ายเข้มแข็งและเชื่อมโยงสู่ชุมชน (4)  การขยายผลสู่โรงเรียนในเครือข่ายนำไปปฏิบัติตามโรงเรียนต้นแบบ  และ (5)  การเผยแพร่ประสบการณ์  การจัดการความรู้สู่การปฏิบัติใน Blog และสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่อทางอิเลคทรอนิกส์ดังตัวอย่างที่ท่านสามารถศึกษาได้จาก
                โรงเรียนวัดเทียนถวาย  (ผอ.สิงห์โต  แก้วกัลยา)  ซึ่งตั้งอยู่ ณ  ตำบลบ้านใหม่  อำเภอเมืองปทุมธานี  จังหวัดปทุมธานี  ได้สรุปประสบการณ์ความสำเร็จ  ในการแก้ปัญหาวัยรุ่นย่อ ๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่เด่น  น่าสนใจ  และทำได้สำเร็จ  มีผลดีต่อผู้เรียนแล้ว  ดังนี้
เรื่องเครือข่ายสัมพันธ์  สร้างสรรค์สายใย  เอื้ออาทรเข้าใจ  เพื่อวันใหม่ที่ดี
วิธีดำเนินการโดยสรุป
                1.  รับทราบปัญหา (นักเรียนเริ่มขาดเรียนไม่สนใจการเรียน  หนีเที่ยว  ตามด้วยยาเสพติด  ลักขโมย)
                2.  ค้นหาทางสร้างแนวร่วม (รวบรวมข้อมูลจากแนวร่วมภายในที่สร้างขึ้นจากเพื่อน ครู กรรมการฯ)
                3.  หลอมรวมเป้าหมาย (วิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง  ความเป็นมาเป็นไป และกำหนดเป้าหมาย)
                4.  ขยายเครือข่ายสัมพันธ์(ขอความร่วมมือพ่อแม่  ผู้ปกครอง  กำนันผู้ใหญ่บ้าน  ผู้นำชุมชน  ร้านค้า)
                5.  ด้วยความรักและผูกพัน(แลกเปลี่ยนเรียนรู้ บนจุดแห่งความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์และความรัก)
                6.  สร้างสรรค์เป็นสายใย(ใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ขอความร่วมมือจากตำรวจ อนามัย  อบต. วัด ผู้ปกครองช่วยแก้ปัญหา)
                7.  ให้ความเอื้ออาทรและเข้าใจ(เปิดใจ รับฟัง  รับรู้  เข้าใจความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน)
                8.  สร้างวันใหม่ให้ลูก/ผู้เรียนเป็นเด็กดี   (ให้โอกาส คอยช่วยเหลือให้กำลังใจ  ประคับประคอง  เกิดความ ภาคภูมิใจในการกลับตัวเป็นคนดี)
ผลที่โรงเรียนได้รับ
                        1.  สร้างการมีส่วนร่วม  ร่วมคิดวางแผน  ร่วมดำเนินการแก้ไขและพัฒนา  ร่วมภาคภูมิใจ  เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์กรร่วมกัน
                        2.  สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมีระบบ  เกิดการเรียนรู้จากการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ในมุมมองที่ต่างกัน  เป็นจุดเริ่มต้นการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
                        3.  เกิดผลลัพธ์ที่ตัวผู้เรียนมีคุณภาพตามที่ทุกฝ่ายต้องการ
สนใจขอข้อมูล เพิ่มเติมได้ที่  นายสิงห์โต  แก้วกัลยา ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนวัดเทียนถวาย   อำเภอเมืองปทุมธานี  จังหวัดปทุมธานี  12000  โทร 0-2501-2297  Fax. 0-2961-4233       Mobile  0-9516-9491 

 สพบ.  โดยคณะทำงาน KM Team   จะนำเสนอแก่นความรู้  ประสบการณ์ความสำเร็จเพื่อเด็กไทยวัยใส   (ฝ่าวิกฤตวัยรุ่น)   ครั้งต่อไป

 


คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3664เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2005 12:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
คณะทำงาน KM Team น่าจะนำวิธีดำเนินการ ๘ ข้อ   และผลที่ได้รับ ๓ ข้อข้างบนมาเล่าขยายความ ว่าดำเนิการอย่างไร     มีทีเด็ดเคล็ดลับอย่างไร    จึงจะเป็นการจัดการความรู้ครับ    มิฉนั้นจะเป็นเพียงการบอกข่าว
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท