อาหารเสริมนักกีฬา+นักออกกำัลัง


จดหมายข่าว เว็บไซต์อาจารย์หมอเมียคิน ฉบับ 6 มิถุนายน 2253 ตีพิมพ์เรื่อง 'Protein After, Not During Exercise' = "โปรตีน (กิน) หลัง, ไม่ใช่ระหว่างออกกำลัง (จึงจะดี)", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ drmirkin ]
----//---- 

การศึกษาที่ ผ่านมาพบว่า การกินอาหารกลุ่มโปรตีน (เนื้อ-นม-ไข่-ถั่ว-เต้าหู้-โปรตีนเกษตร-ปลา-เมล็ดพืช) หลังออกกำลังอย่างหนักช่วยให้นักกีฬา หรือคนที่ออกแรง-ออกกำลังฟื้นตัวจากความบาดเจ็บ (เช่น เมื่อยล้า ปวดเมื่อย ฯลฯ) เร็วขึ้น

แต่การกินโปรตีนในช่วงที่ออกแรง-ออกกำลังกลับไม่ค่อยช่วยอะไรเท่าไหร่

...

ทีมวิจัยจาก มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม UK ทดลองเติมโปรตีนในเครื่องดื่มเติมน้ำตาลขนาด 19 กรัม/ชั่วโมงให้นักปั่นจักรยานพบว่า ไม่ช่วยอะไรดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบสมรรถภาพกล้ามเนื้อ หรือการปั่นทางไกล (50-mile time trial)

กล้ามเนื้อของคนเราต้องการคาร์โบไฮเดรต หรือคาร์บ (แป้ง-ข้าว-น้ำตาล) เมื่อทำงานหนัก เช่น ฝึกหนัก แข่งกีฬา ฯลฯ มากกว่าโปรตีนหรือไขมัน

...

การกินคาร์บ (แป้ง-ข้าว-น้ำตาล) มีส่วนช่วยเพิ่มสมรรถภาพนักกีฬาที่ฝึกหนัก หรือแข่งนานเกิน 1 ชั่้วโมง

และถ้าออกแรง-ออกกำลังนานเกิน 3 ชั่วโมง หรือเสียเหงื่อมากๆ อาจต้องเสริมเกลือ (เกลือแกง เกลืออนามัย) เข้าไปด้วย

...

เครื่องดื่มที่ เติมน้ำตาลประมาณ 8% (น้ำตาล 8 กรัมหรือ 2 ช้อนชาในน้ำ 100 มิลลิลิตร) เป็นขนาดที่มีรสชาติดี และถ้ามีกาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา เครื่องดื่มกระตุ้นกำลัง ฯลฯ มักจะทำให้ออกแรง-ออกกำลังได้มากขึ้น

การเสริมโปรตีนจะได้ผลดีเต็มที่... ถ้าฝึกให้หนักหน่อย พักให้หายเหนื่อยสักครู่ แล้วดื่มเครื่องดื่มที่มีโปรตีนภายใน 30 นาที

... 

เครื่องดื่มโปรตีน ที่ดีมากหน่อยไม่จำเป็นต้องเป็นโปรตีนวิเศษอะไรที่ไหน... นมไขมันต่ำใช้การได้ดี และจะดีขึ้นถ้าเสริมวิตามิน D (อาจเพิ่มระดับความแข็งแกร่งได้ในบางคน)

ถ้าไม่ชอบนม... นมถั่วเหลืองก็ใช้ได้เช่นกัน จุดอ่อนของนมถั่วเหลืองอยู่แคลเซียมค่อนข้างต่ำ และไม่ค่อยมีวิตามิน D ด้วย จึงควรเลือกนมถั่วเหลืองชนิดเสริมแคลเซียม-วิตามิน D

...

การกินโปรตีน มื้อละไม่มากนัก แบ่งกินวันละหลายๆ มื้อ มีแนวโน้มจะดีกว่ากินโปรตีนมื้อเดียวมากๆ เนื่องจากกระบวนการสร้าง-ซ่อมแซมร่างกายคนเราเกิดแทบจะตลอดเวลา (เิกิดมากในช่วงนอนหลับ)

ถ้ามีโปรตีนในเลือดพอ... การสร้างและซ่อมแซมส่วนสึกหรอจะทำได้ทันที, ถ้าไม่มีโปรตีนในเลือดพอ... กระบวนการนี้จะต้องรอไปอีกพักหนึ่ง ซึ่งไม่น่าจะดีกับสุขภาพเท่าไร

...

สรุปคือ ช่วงออกแรง-ออกกำลัง...

(1). ถ้าฝึกหนัก หรือนานเกิน 1 ชั่วโมง > เครื่องดื่มเติมน้ำตาล หรือน้ำตาล-กาเฟอีนน่าจะดี

(2). ถ้าฝึกนาน 3 ชั่วโมง หรือเสียเหงื่อมาก > เครื่องดื่มเติมเกลือหน่อยน่าจะดี

(3). หลังฝึกภาย ใน 30 นาที > เครื่องดื่มที่มีโปรตีน เช่น นมไขมันต่ำ-เสริมวิตามิน D, นมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียม-วิตามิน D ฯลฯ น่าจะดี

ถ้ากินวิตามิน D พร้อมนมที่ไม่มีไขมัน, วิตามิน D จะดูดซึมไม่ได้ เนื่องจากขาดตัวทำละลาย หรือตัวพาเข้าสู่กระแสเลือด

...

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

 ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่ มา                                                         

  • Thank drmirkin ;
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 8 มิถุนายน 2553.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 365048เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2010 17:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 17:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท