อ่านบล็อกแล้วก็ช่วยกันแสดงข้อคิดเห็นให้เจ้าของความรู้เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายทางสังคม


เชื่อมโยงเครือข่ายทางสังคม (Social network)

คุณ Nidnoi เขียนวิเคราะห์เรื่องพฤติกรรมของเพื่อนนักอ่านบล็อกว่า อ่านแล้วเขาคิดเห็นแตกต่าง จึงไม่กล้าแสดงข้อคิดเห็นไว้

ดิฉันได้เสนอเทคนิคการเชื้อเชิญเพื่อนคนนั้นมาเขียน comment ไว้ดังนี้คะ


ดร. จันทวรรณ น้อยวัน เมื่อ อ. 02 ก.ค. 2549 @ 10:09

คุณ nidnoi บอกเขานะคะว่า เข้ามา comment ได้โดยไม่ต้องใส่ชื่อเสียงเรียงนามคะ

แต่ถ้าเพื่อประโยชน์ของการเชื่อมโยงเครือข่ายทางสังคม ว่าใครรู้จักกับใคร ใครเป็นคนคอเดียวกัน ใครมีความสนใจเดียวกัน แล้ว อย่างนี้ต้องให้เข้ามาสมัครสมาชิก แล้วหลังจากนั้น ก็ login เข้าใช้ระบบก่อนทุกครั้งที่จะใช้เพื่อการ comment คะ

และหากติดใจอยากเจอเพื่อนที่เราคุยกันแบบ F2F และขยายวง หรือ เพื่อเก็บความรู้ประสบการณ์ของเราเป็นประวัติศาสตร์เพื่อชีวิต ก็ให้เข้ามาเขียนบล็อกเลยคะ :)



อ่านรายละเอียดในบันทึกของคุณ Nidnoi ได้ที่ http://gotoknow.org/blog/nidnoi/36457 แล้วอย่าลืมให้ความเห็นที่คุณ Nidnoi ด้วยนะคะ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้เขียนคะ และ เป็นการช่วยกันเปลี่ยนคนอ่าน (Lurker) มาเป็นคนเขียน (Blogger) ค่ะ

 

คำสำคัญ (Tags): #social#network#login#comment
หมายเลขบันทึก: 36483เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2006 10:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2015 16:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
ส่วนนี้สำคัญมากครับ เมื่อเราเขียนบันทึก คนอื่นรู้ว่า เราคิดอย่างไร แต่เราไม่รู้ว่า เขาคิดอย่างไรกับสิ่งที่เราสื่อออกไป

การเขียนแสดงข้อคิดเห็น นอกจากการเชื่อมโยงเครือข่ายทางสังคม ยังสามารถที่จะขยายองค์ความรู้ในเรื่องเหล่านั้นออกไปให้มากขึ้น หากบันทึกชิ้นนั้น มีคนสนใจมาก ก็อาจจะมีการเขียนขยายความ หรือตอนต่อๆไปให้อ่านไปเรื่อยๆ


ตัวเองเคยเข้าไปอ่านบล็อกของสมาชิกท่านหนึ่ง ซึ่งอ่านแล้วบอกถึงภูมิปัญญา วิธีคิดของท่าน จึงเชียร์ให้ท่านเขียนเยอะๆค่ะ เพราะจะได้ถ่ายทอด และพัฒนา Tacit Knowledge ต้องขอขอบพระคุณ อาจารย์ทีมพัฒนาระบบนะคะ ที่ปรับปรุงรูปแบบการใช้งานอย่างต่อเนื่อง ชอบการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่าค่ะ กระตุ้นให้เราอยากสร้างสรรค์งานดีๆออกมาเป็นส่วนหนึ่งของ Gotoknow
ขอบคุณค่ะ  ที่อาจารย์ช่วยต่อยอด
บันทึกนั้น  เขียนขึ้น  ด้วยความหวังที่ว่ากลุ่มเป้าหมาย(บุคคลในเรื่อง ซึ่งมีหลายคน   และท่านผู้อ่านอื่นๆ  ที่คิดแบบเดียวกัน)    จะเปลี่ยนแนวคิดใหม่
.
หวังว่าคงได้ผล...บ้าง
  • ขอขอบพระคุณอาจารย์จันทวรรณ...        
  • ข้อคิดเห็นมีประโยชน์มากในการพัฒนาองค์ความรู้...

ตัวอย่างเช่น ผมมีปัญหาอ่อนความรู้ทาง km
> อ่านชื่อย่อไม่เข้าใจ เช่น B2B, F2F, ฯลฯ + ไม่มีโอกาสเข้ารับการอบรม
> อาจารย์ มน. ทราบ ท่านกรุณาส่งหนังสือการจัดการความรู้ของท่านอาจารย์ ศ.นพ.วิจารณ์ไปให้

  • ข้อคิดเห็นมีประโยชน์มากในการให้กำลังใจคนดี หรือคนที่ "ดีได้ (able to be good or developed)"

ตัวอย่างเช่น มีอาจารย์ท่านหนึ่ง(ขอไม่ระบุว่าใคร) เขียนว่า Go2Know สู้พันธ์ทิพย์ไม่ได้ เพราะเขามีเงินเยอะ มีเครื่องไม้เครื่องมือเยอะ...

  • ผมลองเข้าไปดู Pantip.com แล้ว... กลับเข้ามาชม G2K (go2know) กลับมั่นใจยิ่งขึ้นว่า G2K มีดี ดีอย่างนี้ต้องรีบเชียร์...

(1). G2K เป็นชุมชนช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ไม่ได้พูดหรือพิมพ์อย่างเดียว(พูดแต่ไม่ทำ) G2K ปฏิบัติด้วย เรียนรู้จากการทำงาน และแลกเปลี่ยนด้วย
(2). G2K มีองค์ความรู้ ความเข้าใจ ความช่วยเหลือมากมาย
(3). G2K เป็นชุมชนของคนกล้า กล้าแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ไม่ใช่ติเพื่อสะใจ ทว่า... เป็นการเสนอเพื่อสร้างเสริม (creative recommendation)
(4). ประเทศชาติของเราต้องการชุมชนของคนดี + คนมีความรู้... G2K มีตรงนี้

  • วิธีง่ายๆ ในการแสดงข้อคิดเห็นคือ ขั้นแรกเห็นใครทำดี อย่านิ่งดูดาย ให้ชม ให้กำลังใจ... คนดีจะได้มีแรงทำงาน 
  • G2K มีดีก็ดีแบบ G2K (เช่นเดียวกัน Pantip.com มีดีแบบพันธ์ทิพย์) ซึ่งสมาชิก และท่านผู้อ่านคงจะได้รับประโยชน์จาก G2K กันทั่วหน้าครับ...

ขอยกมือสนับสนุน อ.จันทวรรณ และ อ.วัลลภ 2มือเลยค่ะ ในเรื่องของการแสดงภูมิปัญญาจะไม่ค่อยกล้าเพราะรู้สึกว่าตนเองเป็นผู้ด้อยความรู้ แต่ถ้าเป็นการชื่นชมจะยินดีกว่าเพราะทุกบันทึกจะเป็นประโยชน์ ได้เปิดตา เปิดใจให้กับตัวเองค่ะ

เห็นด้วยค่ะกับการพัฒนาความคิดของคนจากการแสดงออกทางความคิดเห็น เพราะการแสดงความคิดเป็นเสรีภาพของปวงชนชาวไทยที่รัฐธรรมนูญไทยบัญญัติรับรองไว้ แต่การแสดงความคิดเห็นนั้นต้องมีความสุภาพตามสมควร ไม่ใช่แสดงออกมาโดยไม่ได้กลั่นกรองหรือไม่  อย่างไรก็ตามดิฉันคิดว่า การแสดงความคิดเห็นของคนไทยยังน้อยเกินไป ทำใหไม่เกิดความคิดต่อยอดที่จะนำไปเป็นองค์ความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรต่างๆ ในบ้านเราให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น อาจจะเป็นเพราะความคิดพื้นฐานของคำว่า "กลัว" "เกรงใจ"(ในสิ่งที่ไม่ควรเกรงใจ)หรือ "อาย" ก็เป็นได้ แต่ก็ยังไม่สายที่จะเริ่มใช้ความคิดเห็นให้เป็น เพื่อเปิดโลกทรรศน์ของเราและคนรอบข้างก็ให้เกิดสังคมอุดมปัญญาค่ะ...

เดิมผมไม่ค่อยได้แสดงความคิดเห็นเท่าไหร่ ซึ่งจริงๆแล้วหลายครั้ง ประทับใจแนวคิด/วิธีคิด/หลักปฏิบัติที่ผู้เขียน เขียนให้อ่านเป็นอย่างมาก แต่ไม่กล้า.......

นั่งค้นตัวเองซักพัก คงเพราะอาย เนื่องจากไม่รู้จักกันเป็นสาเหตุใหญ่

แต่หากมานั่งทบทวน ผมเขียนบล็อกครั้งแรกก็มี พี่ชายขอบ และพี่ Dr.Ka-poom มาแสดงความคิดเห็น มันมีความอบอุ่น

สิ่งที่จะทำต่อไปของผมคือ ผมจะแสดงออกมาบ้างครับ 

ดีแล้วค่ะ เพราะผู้เขียนจะได้มีกำลังใจเขียนงานดีๆ ให้เราอ่านต่อไปค่ะ

งานเขียนมีหลายมุมมอง...แต่งานเขียนที่สามารถถ่ายทอดให้กับบุคคลอื่น ทุก ๆ อาชีพ ได้รับรู้ และสื่อให้เห็นว่า นั่นแหละต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง ....

ลองเปิดดูรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบันครับ ม.39-ม.46 ครับ

 

ขอเสริมอีกนิดนะคะ  ว่าถ้างานเขียนที่เกิดขึ้นจากการลอกเลียนงานผู้เขียนอื่นหรือยกเอาบทความหรือคำพูดของบุคคลอื่นโดยไม่ได้อ้างอิงแหล่งข้อมูลที่มาที่ไปของข้อความที่ยกมานั้น ย่อมเป็นการไม่ให้เกียรติผู้สร้างสรรค์ผลงานดังกล่าว อันเป็นการละเมิดต่อทรัพย์สินทางปัญญาตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27 "การการะทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15(5) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

     (1) ทำซ้ำหรือดัดแปลง

     (2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน"

 

(ต่อจากข้างบน) ส่วนมาตรา 15(5) พรบ. ลิขสิทธิ พ.ศ. 2537)วางหลักว่า... เจ้าของลิขสิทธิ(หมายถึงผู้สร้างสรรค์บทความ)ย่อมมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิในกากระทำซ้ำหรือดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้

      ส่วนคำว่าทำซ้ำ(มาตรา 4 บทนิยามศัพท์)หมายถึงคัดลอกไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆ เลียนแบบ ทำสำเนา .....

     ดัดแปลง หมายถึง ทำซ้ำโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติม หรือจำลองงานต้นฉบับในส่วนที่เป็นสาระสำคัญโดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

     เผยแพร่ต่อสาธารณชน หมายถึง ทำให้ปรากฏต่อสาธารณชน โดยการแสดง การบรรยาย การสวด การบรรเลย การทำให้ปรากฏด้วยเสียงและหรือภาพ การก่อสร้าง การจำหน่าย หรือโดยวิธีอื่นใดซึ่งงานที่ได้จัดทำขึ้น

     บทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติถึงสิทธิต่างๆว่าผู้เขียนนั้นว่ามีประการใดบ้างและเป็นบทคุ้มครองสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์(หมายถึงท่านทั้งหลายที่สร้างสรรค์บทความทางวิชาการ)โดยอัตโนมัติคือได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายทันทีไม่ต้องผ่านระบบการจดทะเบียนสิทธิตามกฎหมายซึ่งต่างกับกฎหมายสิทธิบัตรที่เป็นระบบจดทะเบียน เจ้าของผลงานจึงได้รับการคุ้มครองโดยผลทางกฎหมายทันทีและคุ้มครองผลงานของผู้เขียนรวมถึงทายาทของท่าน เป็นเวลาตลอดอายุของผู้เขียนและมีอายุต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้เขียนถึงแก่ความตายค่ะ

     นอกจากนี้เจ้าของเขียนทางวิชาการหรือตามภาษากฎหมายเรียกว่า"วรรณกรรม"(หมายถึงงานนิพนธ์ทุกที่ทำขึ้นทุกชนิด) มีสิทธิ์นำคดีมายื่นฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาได้ตามมาตรา 27 ตามพรบ.ดังกล่าวข้างต้น หากมีการละเมิดลิขสิทธิ์เกิดขึ้น(ตามการกระทำที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27)

      และมาตรา 69 ก็ได้กำหนดบทลงโทษไว้ วางหลักว่าผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 27...ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และถ้ากระทำความผิดตามมาตรา 27 ดังกล่าวที่เป็นการกระทำเพื่อการค้าผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำและปรับ  เป็นบทลงโทษสำหรับผู้ที่กระทำการทำซ้ำ หรือดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยผู้เขียนเจ้าของผลงานมิได้รับอนุญาติ

     อย่างไรก็ตาม ก็อย่าเพิ่งตกใจไปนะคะว่าถ้าไปลอกบทความเขามาแล้วจะมีความผิดตามกฎหมายทันที  เพราะบทบัญญัติของกฎหมายมาตรา 32 วรรค 2 พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ได้บัญญัติข้อยกเว้นไว้ค่ะวางหลักว่า หากกระทำไปโดยไม่ได้แสวงหาประโยชน์(ทางการค้า)ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเขาแล้ว เช่น นำไปใช้เพื่อการวิจัยหรือเพื่อการศึกษางานอันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง ติชมวิจารณ์ หรืแนะนำโดยมากการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดงหรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ในการสอนของตน อ้นไม่ใช่การกระทำเพื่อหากำไร เป็นต้น กล่าวโดยสรุปคือนำผลงานของผู้เขียนได้ใช้ได้โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หากไม่ได้นำไปใช้เพื่อแสวงหากำไร และใช้เพื่อการศึกษาค้นหรือวิจัยนั่นเองค่

     หวังว่าข้อคิดเห็นนี้จะเป็นประโยชน์ของท่านผู้อ่านบล็อกที่เขียนงานวิชาการหรือหัดเขียนงานวิชาการ(เช่น ตัวดิฉัน)นะคะ...

    

ขอบคุณอาจารย์ที่ต่อเดิมให้เต็ม เนื้อหาชัดเจนครับ

ยินดีค่ะ เพราะอยากมีส่วนร่วมสร้างสรรสังคมในgotoknow เช่นกันค่ะ...

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท