เรื่องเล่าเว้าแบบเคเอ็ม : เรื่องเล่าเท่าที่มีกับ CoP เลือดสีอิฐ จิตศรีนครินทร์


แต่ละชุมชนจัดการแลกเปลี่ยนความรู้ที่แตกต่าง ที่หลากหลาย นำไปใช้ในหน่วยงาน ต่างหน่วยงาน เพื่อประโยชน์ของหน่วยงาน

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอกิจกรรมการจัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องเล่าเท่าที่มีของ CoP ชุมชนนักปฏิบัติของทีมงานบุคลากร ตามหน่วยต่างๆในคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

 

รศ.นพ.สุรพล วีระศิริ รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ ได้กล่าวว่า วัตถุประสงค์ในการประชุมครั้งนี้ ต้องการให้แต่ละชุมชนนักปฏิบัติ หรือ CoP (Community of Practice) ในสังกัด คณะแพทยศาสตร์ ได้มีโอกาสมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน อยากให้เล่าเรื่องราวที่แต่ละ CoP ว่าได้ดำเนินการอะไรไปบ้างแล้ว เกิดการเรียนรู้อย่างไรในทีมงาน

 

 

หน่วยควบคุมโรคติดเชื้อ งานเวชกรรมสังคม

นำเสนอโดย คุณประกาย พิทักษ์  http://gotoknow.org/blog/kai-icnnurse

ได้ดำเนินการจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานที่มีการจัดให้บริการอย่างเดียวกัน ได้แก่ หน่วยควบคุมโรคติดเชื้อ หน่วยงานระบาด และ หน่วยงานจากสาธารณสุขจังหวัด

ได้นำเรื่องประสบการณ์ของแต่ละทีมงาน มาเล่าสู่กันฟัง เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน พร้อมนำเสนอตัวอย่างที่ดี เช่น เทคนิคการสอบสวน  การบันทึกข้อมูล เอกสารที่เกี่ยวข้อง วิธีการทำงาน เป็นต้น

 

 

สิ่งที่ได้จากกิจกรรม :

- ทำให้ หูตากว้างไกล

- ได้เห็นรูปแบบในการทำงาน การใช้อุปกรณ์ประกอบการทำงาน การเลือกใช้ข้อมูลในการทำงานว่าใครมีวิธีการทำงานอย่างไร แล้วนำเปรียบเทียบกับงานที่ตัวเองทำอยู่ เพื่อปรับปรุงแก้ไข พัฒนาร่วมกันต่อไป

- ทำให้ได้สร้างความสัมพันธ์ในบุคลากรต่างหน่วยงาน

 

 

 

 

ผลที่เกิดขึ้น คือ มีการพัฒนาทีมบุคลากรในหน่วยงานให้มีความรู้ ความเข้าใจ นำระบบ IT เพื่อนำเข้ามีช่วยการรายงานโรค ที่เชื่อมโยงได้ การข้อมูลพื้นฐาน ชุมชนที่เกี่ยวข้อง

- พัฒนาการวิเคราะห์ เนื่องจากการทำงานต้องใช้ค่าทางสถิติมาใช้มาใช้ แต่ยังมีปัญหาคือ ยังไม่มีนักสถิติหรือนักระบาดวิทยา มาช่วยเหลือ แก้ไขเบื้องต้น ได้ส่งบุคลากรที่เป็นพยาบาล เข้าไปอบรมการเรียนรู้ด้านสถิต เพื่อให้เกิดความรู้ และนำกลับมาใช้ในงานประจำต่อไป

 

 

 

หน่วยจัดเย็บ งานแม่บ้าน

ได้นำเสนอการจัดความร่วมมือกับหอผู้ป่วย แบบทางทางการและไม่เป็นทางการ ทำให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับการตัดเย็บเสื้อผ้าสำหรับผู้ป่วยระหว่างการอยู่รักษาในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เกิดความสะดวก สบาย เช่น 

- การพิจารณาถึงชนิดของผ้า ที่นำมาใช้กับผู้ป่วยฉายรังสี ผู้ป่วยประเภทนี้ เมื่อฉายรังสีจะมีผลทำผิวหนังแห้ง ผิวหนังจะบาง หากสวมใส่ผ้าที่เนื้อแข็ง ผ้าหยาบจะเสียดสีกับผิวหนังบ่อยๆ จะกระตุ้นก่อให้เกิดความระคายเคือง เกิดความไม่สบายแก่ผู้ป่วย

- การออกแบบเสื้อเปิดไหล่ สวมใส่สำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บที่ไหล่ แขนหัก

 

ที่ประชุมได้ร่วมกันเสนอแนวคิดเพื่อต่อยอด ในการพัฒนา คือ ให้หน่วยงานสรุปรูปแบบของเสื้อผ้าที่สามารถทำได้ และใช้งานอยู่ เพื่อนำเสนอให้แต่ละหน่วยงานรับทราบ จากนั้นหากหน่วยงานใดต้องการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเสื้อผ้าที่สวมใส่ ก็จะได้นำเสนอและพิจารณาดำเนินการร่วมมือในการทำงานต่อไป

 

 

 

 

หน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 

นำเสนอโดย คุณพนอ เตชะอธิก http://gotoknow.org/blog/pan-t/toc  

ได้นำเสนอการเริ่มต้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงานของตนเอง เพื่อจัดการระบบการลงทะเบียน และตามมาด้วยการจัดการระบบส่งต่อผู้ป่วย การปรับปรุงระบบการสื่อสาร

 

ผลที่เกิดขึ้น คือ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการคัดกรองผู้ป่วย เพื่อสามารถเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที เพื่อสร้างแนวปฏิบัติส่งต่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษา จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อนำวิธีการที่คล้ายคลึงกัน แตกต่างกัน มาเปรียบเทียบการทำงาน จนเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้ได้สร้างความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างหน่วยงาน เกิดการพัฒนาทำงานประจำนำไปสู่งานวิจัย เกิดความสุข สัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ร่วมกัน เป็นต้น

 

 

 

หอผู้ป่วยจิตเวช

นำเสนอโดย คุณอัมพร กุลเวชกิจ  ได้ให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากร เพื่อร่วมระดมสมองในการจัดการความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในหอผู้ป่วย เช่น การที่ผู้ป่วยทำร้ายตนเอง ทำร้ายเจ้าหน้าที่ ผู้ป่วยลื่นหกล้มบ่อยครั้ง

 

 

ผลที่เกิดขึ้น คือ การตื่นตัวของบุคลากรมากขึ้น ได้ช่วยเหลือเพื่อการเฝ้าระวังความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย เช่น        

- การจัดหาเก้าอี้ทรงสูงกว่าปกติ ทำให้มองเห็นผู้ป่วยได้ชัดเจนขึ้น

- ผู้ป่วยหกล้ม เนื่องจากเหยียบขากางเกงที่ยาวบ่อยครั้ง จึงได้เสนอให้มีการตัดขากางเกงให้สั้นลง เป็นกางเกงขาสามส่วน

 

 

 

สรุป : นี่เป็นบางส่วนของการถอดบทเรียน เรื่องเล่าเท่าที่มี ที่ทำให้บุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ ได้มารับฟัง ได้รับทราบ ได้รู้ ได้เห็น

ว่า... ใครทำอะไร? ที่ไหน? ทำอย่างไร?  

เป็นการเปิดโอกาส ทำให้บุคลากร รู้เขา มองเรา แลกเปลี่ยนเรียนรู้  สร้างความสัมพันธ์ร่วมกัน 

และโปรดติดตาม  เรื่องเล่าเร้าพลัง.... ตอนต่อไป

 

 

หมายเลขบันทึก: 364519เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2010 17:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ

ทางสถานีอนามัยก็มีการจัดการษ? แบบนี้เช่นกัน

แต่เรื่องที่ได้ก็เน้นไปทางงานในชุมชน

ทำอย่างไรจะดูแลชุมชนได้ทั่วถึงมีประสิทธิภาพ

แต่จะอย่างไรก็ตาม

สุขใจทั้งผู้เล่า และผู้รับฟังเลยค่ะ

ขอบคุณที่สรุปรวบยอดมาให้ได้อ่านกันค่ะ

ส่งน้องไปแทน แต่ยังไม่ได้เล่าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท