Best Practice ก็ยังไม่พอ


“…ไม่เอาองค์กรแห่งการเรียนรู้ แค่นั้นไม่พอ ต้องเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมี เป้าหมายด้วย…”

การบรรยายของ  ดร.ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์  ประธานมูลนิธิพลังนิเวศและชุมชน  ในการประชุมครูและผู้บริหารโรงเรียนเอกชน (โครงการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนเอกชนสู่มาตรฐาน ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์  วันที่ 28 มิ.ย.53)  มีประเด็นน่าสนใจมากอยู่หลายประเด็น  ที่ไม่ได้เพียงแต่จะฝากถึงแต่ครูและผู้บริหารโรงเรียนเอกชน  แต่เป็นเรื่องใหญ่กว่านั้น

การบรรยายวันนี้  เป็นการบรรยายสลับการแบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนและสรุปข้อคิดเห็น  เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่

เกริ่นนำก็เร่ิมเห็นเค้าสนุกแล้ว  

“…ผมมาทำหน้าที่หาโอกาสถามคำถามให้เราฉุกคิด”

“……จำนวนครูมีมากกว่าทหารทั้งกองทัพ  หรือพระสงฆ์ทั้งประเทศ….”

“…..เราต้องไม่ฝากอนาคตประเทศไว้ที่นายก  เราต้องไม่ฝากอนาคตการศึกษาไว้ที่ รมต.ศธ  เราต้องไม่ฝากอนาคตโรงเรียนไว้ที่ผู้อำนวยการ….”

“…การศึกษาจะถือว่าสำเร็จได้  คือ ต้องทำให้ประชาชนเรียนจบแต่ละระดับแล้วต้องมีทางเลือกในชีวิตของตนได้…”

“…Education คือ การมีคนให้ความรู้  และมีผู้รับความรู้
Learning คือ การเรียนรู้….ครูต้องจัดการเรียนเยอะๆ  จัดการสอนน้อยๆ

“….คำถามที่ทำให้ฉุกคิด  ทำให้เกิดพลัง  ต้องมีคำตอบได้มากกว่าคำตอบเดียว  ต้องทำให้เห็นว่าหนึ่งเป้าหมาย  มีได้หลายทางไป….”

“….แม้จะมี Best Practice ก็ยังไม่พอ  เราต้องไปถอดรหัสหลักคิด  เพราะบริบทต่างกัน  ไม่มีสูตรสำเร็จในการสร้างความสำเร็จ…”

“…ไม่เอาองค์กรแห่งการเรียนรู้  แค่นั้นไม่พอ  ต้องเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมายด้วย…”

“….ความรู้ใหม่ไม่มี   มีแต่เรื่องที่เรายังไม่รู้…”

“…สถานศึกษา คือ อิฐ หิน ปูน ทราย ที่น้ำแห้งไปแล้ว  คุณภาพของสถานศึกษาอยู่ที่ผู้บริหารและบุคลากร  เป็นผู้สร้างนวัตกรรม  สร้างเครือข่าย  ความสำเร็จต้องอาศัย Partner ที่ดี  สถานศึกษาต้องยื่นมือออกไป….”

“....การบริหาร คือ การทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยผู้อื่น  และรับผิดชอบในสิ่งที่ผู้อื่นทำ…”

“…ทำอย่างไร  ให้คนของเรามีเป้าหมายชัดเจน  มีจินตนาการและคิดเองได้ว่าจะทำอย่างไรถึงจะประหยัดกว่านี้  จะทำให้เร็วกว่านี้ได้อย่างไร…"

“….เราต้องทำงานเป็นทีม  แบบวิ่งผลัดไม่เอา  ต้องทำแบบแข่งเรือพาย…”  

“…การคิดแยกส่วน  เป็นการคิดแบบย้ายปัญหาจากที่หนึ่งไปอีกทีหนึ่ง  คิดแบบตาบอดคลำช้าง…”


“…ผู้รู้ นักวิชาการ  ไม่ใช่คนเดียวกับคนที่ทำงานเก่ง…”

“…การพัฒนาผู้เรียน  ต้องทำไปทั้งร่างกาย  จิตใจ  และสติปัญญา….”

“…ความคิดสร้างสรรค์ และสติปัญญา  ยิ่งใช้ยิ่งเพิ่ม…”

“…อยากเห็นการเรียนรู้ในโรงเรียนไปงอกที่ครอบครัว….”

“….ศาสตร์ที่มีปัญญากำกับ คือ วิชาความรู้นำมาใช้ประโยชน์  
แต่ศาสตร์ที่ไม่มีปัญญากำกับ ก็คือ ศาสตรา ที่แปลว่า “อาวุธ” นั่นแหละ  เอามาทำลายกัน…”


ส่วนหนึ่งของการบรรยาย......

 

การเรียนรู้ในอนาคต เป็นอย่างไร
สังคม เศรษฐกิจ และการศึกษา  ต้องเชื่อมโยงกันทั้งระบบ
การศึกษาก็ต้องสอดคล้องต่อเนื่องกันตั้งแต่อนุบาล ถึง อุดมศึกษา
การผลิตคนสู่สังคม  ต้องเชื่อมโยงจากชีวิตจริง  สังคมจริง ผู้สอนต้องให้ความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลาย  
ดูความเป็นจริงในสังคมไทยทุกวันนี้
ประเทศไทยมีนักเรียนหายไป/ออกไประหว่างรอยต่อของระดับการศึกษา ดังนี้

  • จากประถม ไป มัธยมต้น  มีนักเรียนออกไปสู่ภาคเกษตรปีละกว่าสองแสนคน
  • จากมัธยมต้น ไป มัธยมปลาย  นักเรียนออกไปสู่ภาคอุตสาหกรรมปีละกว่าแปดหมื่นคน
  • จากมัธยม ไป อุดมศึกษา  นักเรียนออกไปสู่ภาคบริการ  (จดจำนวนไม่ทัน)

การศึกษาที่เราจัดอยู่ในปัจจุบันของแต่ละระดับชั้นนั้น  
ได้ให้ความรู้  ทักษะ  และเครื่องมือช่วย  และสอดคล้องกับความต้องการที่ให้เขาเอาไปประกอบอาชีพได้ไหม

จากนั้นก็มอบประเด็นที่ให้ผู้ร่วมู้ประชุมประเมินสถานการณ์ คือ
-    สังคมโลกยุคใหม่
-    แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของนักเรียน
-    แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของครู
-    แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการเรียนการสอน

หมายเลขบันทึก: 364513เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2010 16:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ

เดินทางผ่านมาก็ขอแวะมาเก็บเกี่ยวครับ

"ครูต้องจัดการเรียนเยอะๆ จัดการสอนน้อยๆ”

อันนี้เยี่ยมมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท