การวัดความสามารถที่แท้จริงของมนุษย์


แบบทดสอบไม่ใช่เป็นเครื่องมือที่ชี้วัดความสามารถที่จริงได้เสมอไป

การวัดความสามารถที่แท้จริงของมนุษย์

                ปัจจุบันหน่วยงานต่าง ๆ หันมาให้ความสำคัญกับการทดสอบเพื่อวัดว่าคนนี้เก่ง คนนี้มีความสามารถ จริง ๆ แล้วการวัดความสามารถของมนุษย์ไม่ใช่วัดด้วยแบบทดสอบแล้วก็จบ แล้วก็ยกย่องว่าเป็น Master …..คนที่ได้คะแนนน้อยก็ไม่ได้รับการยกย่อง ขณะนี้มีหน่วยงานราชการบางหน่วยกำลังใช้งบประมาณส่วนหนึ่งเพื่อจ้างสถาบันต่าง ๆ สร้างเครื่องมือประเมินด้วยการทดสอบ เช่น สอบครู ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ เพื่อจัดกลุ่มพัฒนา และมีงบสำหรับบุคคลที่เป็น Master ไปพัฒนาต่อยอดให้เป็นเลิศยิ่ง ๆ ขึ้น  ถ้ามองในแง่ดี(บวก) ก็ดีน่ะที่เป็นการกระตุ้นให้คนสนใจจะพัฒนา แต่ถ้ามองในแง่ไม่ดี(ลบ) ควรนำงบประมาณส่วนนี้ไปใช้ทำประโยชน์เกี่ยวกับนักเรียนจะดีที่สุด ทุ่มงบประมาณเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้  ทุ่มไปให้กับเด็กที่ขาดโอกาส ด้อยโอกาส ได้สัมผัสกับสื่อดี มีคุณภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพของโรงเรียนให้มีความใกล้เคียงกัน อย่าลืมนะครับว่าการใช้แบบทดสอบวัดคนหรือ มนุษย์ว่าเก่งเพียง 2-3 ชั่วโมง( ในขณะทำการทดสอบ) ว่าเป็นคนเก่ง เป็น Master คงไม่ใช่    คนบางคนเขาทำงานมาเป็น 10-30  ปีและได้รับการยกย่องจากเพื่อนร่วมงานได้รับการยกย่องจากหน่วยงานต่าง ๆ ว่าเป็นคนเก่ง คนดี มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เสียสละอุทิศเวลาให้กับราชการ แต่บุคคลเหล่านั้นทำข้อสอบไม่ดี ไม่เก่งทำข้อสอบ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มต่ำ(Beginner) เพราะแบบทดสอบวัดความสามารถเพียงนิดเดียว เพียงด้านเดียว เพียงมิติเดียว  คนที่สอบเก่งได้คะแนนดี ๆ พอไปทำงานกับล้มเหลว ทำงานกับคนอื่นไม่ได้ ข้าเก่งคนเดียว คนอื่นโง่หมด  การที่จะชี้วัดว่าคนโน่นคนนี้เก่งต้องระวัง เก่งท่องจำ เก่งสอบ แต่ไม่เก่งในการทำงาน เวลาทำงานจริง ๆ กับเอาเปรียบราชการ เห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้  ไม่เสียสละ คนเก่งประเภทนี้มีเยอะ  ถ้าจะวัดความสามารถที่แท้จริงของมนุษย์นั้น  ต้องวัดให้ครอบคลุมในทุกด้าน ด้านความรู้ ด้านความสามารถ ด้านทักษะการปฏิบัติงาน ด้านคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่ดี  การใช้แบบทดสอบนั้นเป็นการวัดว่ารู้หรือไม่ จำได้หรือไม่ ระลึกได้หรือไม่เท่านั้น แต่ไม่แสดงให้เห็นถึง ความสามารถ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรมหรือค่านิยมที่ดี ที่แท้จริงของมนุษย์    ถ้าจะให้ดี เป็นธรรมกับทุกคนก็ทำการประเมินที่เป็นเชิงประจักษ์ ได้ข้อมูลมาจากหลาย ๆ แหล่ง หลาย ๆ ด้าน โดยใช้วิธีการประเมิน แล้วทำการประเมิน อย่าเร่งรีบทำเพื่อให้จบหรือให้ได้ชื่อว่าได้ใช้งบประมาณไปแล้ว การพัฒนาเช่นนี้จะไม่ยั่งยืน  การที่จะพัฒนาบุคคลได้ดีนั้นต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่แท้จริง ประเทศชาติถึงจะก้าวหน้าและสามารถแข่งขันกับนานาประเทศต่อไปได้

 

หมายเลขบันทึก: 362583เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2010 10:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ดิฉันเห็นด้วยกับท่านค่ะ เพราะอะไรค่ะ คนเก่งต้องเป็นคนที่อยู่ใกล้ชิดนาย หนูว่าคนเก่งน่าจะเป็นคนที่ใกล้ชิดนักเรียนมากกว่า เป็นความรู้สึกส่วนตัวของหนูเองค่ะ

สวัสดีค่ะ

ขออนุญาตแลกเปลี่ยนด้วยคนนะคะ  แบบทดสอบหรือแบบประมินส่วนมากเป็นตัวบ่งชี้ที่มีกรอบนะคะ

จึงทำให้ การใช้แบบทดสอบนั้นเป็นการวัดว่ารู้หรือไม่ จำได้หรือไม่ ระลึกได้หรือไม่เท่านั้น แต่ไม่แสดงให้เห็นถึง ความสามารถ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรมหรือค่านิยมที่ดี ที่แท้จริงของมนุษย์   

เคยอ่านพบว่า  แบบทดสอบจริยธรรมถูกนำไปวัดนักโทษฆ่าแฟนสาว  แต่เขาสามารถตอบแบบทดสอบที่ประมเนออกมาแล้วว่ามีคุณธรรมสูง  เพราะเขามีความรู้ เขาเก่งสามารถบอกได้ว่าตอบข้อไหนจึงจะถูกต้องและได้คะแนนสูง

แต่พฤติกรรมที่เขาทำนั้นตรงข้ามค่ะ  ในหน่วยงานหรือองค์กรหนึ่ง ๆ หากผู้นำมีความพร้อมและตื่นตัวในการเปลี่ยนแปลง อะไร ๆก็จะดูดีและพร้อมพัฒนาได้เสมอนะคะ นอกจากนี้เป็นการส่งเสริมความสามารถในการทำงาน การปฏิบัติอย่างเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม  เพราะมีผู้นำเป็นแบบอย่าง

ขอขอบพระคุณค่ะ

เห็นด้วยอย่างยิ่ง ผู้นำต้องนำอย่างแท้จริง ไม่ใช่ไม่รู้จะทำอะไร มัวถามลูกน้องอยู่นั่นแหละ

เห็นด้วยกับข้อความของครูคิม เรืองบทบาทผู้นำ

แต่ทุกวันนี้ใน ผู้นำทางวิชาการ เห็นแก่ความก้าวหน้าของตัวเองเป็นสำคัญ

ดีใจที่เคยพบผู้นำท่านหนึ่ง ไม่รอการเท็จทูลจากคนสนิท จะออกไปยิ้มแย้มแจ่มใสกับลูกน้องทุกคน คอยถามลูกน้องอยู่เสมอว่า ไหวไหม มีปัญหา ให้ช่วยอะไร .....

มุมมองที่พบจากการพัฒนา คนที่ทำงานและเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆได้ก็จะไม่พร้อมที่จะพัฒนาตนเองให้เก่งด้านวิชาการเพราะจะถูกเรียกใช้จนปฏิเสธไม่ได้(มีจิตสาธารณะมากเกินไป)... แต่ตรงกันข้าม คนที่เก่งภาควิชาการ จะเน้นแต่ทฤษฎีแต่ปฏิบัติจริง ทำเองไม่เป็น จะใช้บารมี ? เฉพาะตนขอให้คนอื่นทำงานภาคสนามแทนแล้วตนเองไปสรุปเขียนผลงานส่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท