คนเก่งไทยในนาซ่า (ดร.ก้องภพ อยู่เย็น)


ดร. ก้องภพ ได้พยากรณ์ว่า วันที่ 12 มิถุนายน ปี 2553 นี้ อาจจะเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ขึ้นในประเทศไทย

จาก มติชน http://www.matichon.co.th/matichon/maticho...&sectionid=0140

หนุ่ม ไทยอายุน้อยสุด หนึ่งเดียวใน "นาซ่า" ก้องภพ อยู่เย็น

พนิดา สงวนเสรีวานิช - เรื่อง ธิติ วรรณมณฑา - ภาพ

เขาเป็นความ ภาคภูมิใจไม่เฉพาะกับครอบครัว "อยู่เย็น" แต่นับรวมไปถึงคนไทยทั้งประเทศก็ว่าได้

ด้วยวัยเพียง 29 ปี "ดร.ก้องภพ อยู่เย็น" ได้ก้าวขึ้นเป็น "วิศวกรคนไทย" ที่อายุน้อยที่สุดในองค์การนาซ่า

http://mcot-image01.mcot.gtis.co.th/content/images/ModernnineProgram/2010/201003/20100313/idol.jpg


ทำงานประจำอยู่สถาบัน "กอดดาร์ด สเปซ ไฟลท์ เซ็นเตอร์" ศูนย์วิจัยเกี่ยวกับการสำรวจโลกและจักรวาล ที่รัฐแมริแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

1 ใน 10 แห่งขององค์การนาซ่า ที่รับผิดชอบค้นคว้าเกี่ยวกับอุปกรณ์คลื่นไมโครเวฟรับส่งสัญญาณนอกโลก

ดร.ก้องภพ เป็นสมาชิกของครอบครัวคนเก่งของ "คุณพ่อ-พลโท กัลยาณุวัตร อยู่เย็น" ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก และ "คุณแม่-กรรณิกา"

มีน้องสาวฝาแฝด อีก 2 คน คือ "กัลยานุช" ว่าที่สัตวแพทย์ (มหาวิทยาลัยเกษตรฯ) และ "กัลยานาถ" นักศึกษาแพทยศาสตร์ ปี 5 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ต้น ปี 2550 ดร.ก้องภพมีโอกาสกลับมาเยี่ยมบ้าน ซึ่งปีนี้พิเศษกว่าปีก่อนๆ เพราะกลับมาเพื่อเข้าพิธีสมรสกับ "มนิสา พิพัฒนสุนทร" แฟนสาวที่ทำงานเป็นอาจารย์อยู่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งคบหาดูใจกันมานานร่วม 10 ปี ทั้งคู่เจอกันตั้งแต่เรียนปริญญาตรีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดร.ก้องภพนั้น แม้จะเกิดที่ลอสแองเจลิส แต่พออายุได้ 20 วันก็กลับมาใช้ชีวิตอยู่เมืองไทยตลอด กระทั่งจบปริญญาตรี คณะวิศวกรรมด้านไฟฟ้า ที่จุฬาฯ ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 2 จึงเดินทางไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา

ระหว่างที่ยังเรียนปริญญาตรี ได้คิดค้นงานวิจัยเกี่ยวกับไฟฟ้าจนได้งานชิ้นเอกออกมาเป็น "เครื่องวัดคลื่นสมองเพื่อรักษาผู้ป่วยลมชักและลมบ้าหมู" ขณะนี้ใช้งานในโรงพยาบาลจุฬาฯ และโรงพยาบาลเชียงใหม่

เครื่องประดิษฐ์ชนิดนี้ใช้งบประมาณเพียง 30,000 บาทเท่านั้น และยังคว้ารางวัลสิ่งประดิษฐ์แห่งชาติด้วย

ดร.ก้องภพเข้าทำงานที่นาซ่า เริ่มจากเป็นนักเรียนฝึกงานมาสู่ลูกจ้างชั่วคราว รับผิดชอบค้นคว้าคลื่นส่งสัญญาณไมโครเวฟ

กระทั่งปี 2547 จึงได้บรรจุเป็นข้าราชการวิศวกรระดับ 11 และเลื่อนสู่ระดับ 12 เมื่อปีที่ผ่านมา ถือเป็นระดับสูงสุดของวิศวกรองค์การนาซ่า


"เรื่องที่ ดร.ก้องภพกำลังศึกษาค้นคว้าถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเป็นคลื่นสัญญาณที่ใช้ส่งนอกโลก เวลานี้กำลังใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างโลกกับโครงการสำรวจดาวอังคาร"

ปลายปีที่ผ่านมา ดร.ก้องภพได้เป็นตัวแทนองค์การนาซ่าไปร่วมประชุมวิศวกรโลกที่ประเทศฝรั่งเศส และในเดือนกรกฎาคม 2550 ที่จะถึงนี้ การประชุมจะจัดขึ้นอีกครั้งที่ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าภาพ

ดร.ก้องภพ คือตัวแทนนาซ่าที่ไปร่วมประชุมอีกเช่นเคย

"เข้าไปทำงานที่นาซ่า ได้อย่างไร?"

ตอนแรกยังไม่ได้ทำ แต่ได้งานที่ เอล.ซี. คอมมูนิเคชั่น ทำระบบอิเล็กทรอนิกส์ของหุ่นยนต์โซนาร์ตรวจจับเรือดำน้ำ ทำอยู่ 7 เดือน

ช่วงนั้นสมัครสอบปริญญาโทด้วย พอได้รับการตอบรับจากมหาวิทยาลัยจอร์เจียเทค (สถาบันเทคโนโลยีจอร์เจีย ในเมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย) ให้ไปเรียนปริญญาโท แล้วได้ทุนของเท็กซัส อินสตรูเมนต์ ก็เลยตัดสินใจไปเรียนที่จอร์เจียเทค แล้วก็ทำงานที่เท็กซัส อินสตรูเมนต์ คือเรียน 2 เทอม ไปทำงาน 2 เทอม แล้วกลับมาเรียนอีก 1 เทอม ก็จบ

ตอนนั้นรู้สึกเบื่อๆ เพราะงานไม่ท้าทาย...

- "ตอนนั้นทำงานอะไรคะ?"

ออกแบบชิพ พวกวงจรในโทรศัพท์มือถือ เพียงแต่รูปแบบการทำงานของบริษัทจะเน้นให้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้ได้ภายในระยะเวลาอันสั้น เพราะต้องเร่งทำการตลาด ทำให้เราคิดได้แค่ในระดับหนึ่งเท่านั้น เลยตัดสินใจไปเรียนต่อปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเดิม (จอร์เจียเทคโนโลยี)

ช่วงนั้นเศรษฐกิจในอเมริกาไม่ค่อยดี บริษัทเอกชนตัดเงินทุนการทำวิจัย ทางมหาวิทยาลัยจึงเดือดร้อนไปด้วยเพราะต้องจ้างนักเรียนทำวิจัย อาจารย์ผมเลยบอกให้ไปหางานข้างนอก ช่วงซัมเมอร์ พอดีนาซ่ามาเปิดซุ้มรับสมัครงานในมหาวิทยาลัย ก็ไปสมัคร แล้วเขาตอบรับมาก็เลยไปเป็นนักเรียนฝึกงานอยู่ 3 เดือน

- "ฝึกงานต้องทำอะไรบ้าง?"

ทำเกี่ยวกับโมเดลการทรงตัวของกล้องดูดาว "ฮับเบิล" กล้องดูดาวนอกโลก ซึ่งมีปัญหาเรื่องพิกัด โดยต้องทำให้เสร็จภายใน 3 เดือน

ปีต่อมาสถานการณ์การเงินของมหาวิทยาลัยก็ยังไม่ดีขึ้น ผมเลยไปสมัครทำงานที่นาซ่าอีกครั้ง และสมัครที่อื่นด้วย ปรากฏว่าตอบรับมา 3 แห่ง คือ ที่นาซ่า ที่บริษัทเท็กซัส อินสตรูเมนต์ และที่ นอร์ธอร์น กรัมแมน ทำเกี่ยวกับการผลิตอาวุธสงคราม

แต่ตัดสินใจไปทำที่นาซ่า เพราะว่าเป็นองค์กรใหญ่ และนาซ่าอยู่ในรัฐแมริแลนด์ใกล้กับมหาวิทยาลัยจอร์เจียที่แฟนผมเรียนอยู่

- "คนที่จะเข้าไปนาซ่าได้ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร?"

อย่างแรกต้องดูสายงานก่อน ว่ามีความถนัดตรงกับที่เขาอยากจะรับหรือเปล่า ซึ่งมีหลายสาขาส่วนใหญ่เน้นด้านวิทยาศาสตร์

รวมทั้งต้องเขียนประวัติย้อนหลัง 5 ปี ว่าไปอยู่ที่ไหนบ้าง อยู่กับใคร มีใครรู้จัก โดยเขาจะส่งแบบฟอร์มไปให้กรอกว่าเป็นคนยังไง แบบว่า...ปกติดีหรือเปล่า (หัวเราะ)

- "แล้วเป็นยังไง?"

ปกติดีครับ (หัวเราะ)

การ จะเข้าไปได้ส่วนใหญ่จะไปในเชิงฝึกงาน ไปสมัครขอทุนแล้วทำงานร่วมกับเขา หรือเราอาจจะเข้าทางมหาวิทยาลัยก็ได้ อย่างมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่ก็ทำโครงการร่วมกับนาซ่าหลายอย่างเหมือนกัน แต่ถ้าไปสมัครโดยตรงจะค่อนข้างยาก

- "ในนาซ่ามีคนเอเชียเท่าไหร่?"

สัก 15% ได้ ส่วนมากเป็นคนขาว สำหรับคนไทยที่ผมรู้จักมี 2 คน อายุประมาณ 40 กับอีกคน 50 ปี คนหนึ่งเป็นนักฟิสิกส์แล้วมาทำด้านวิศวะ สร้างอุปกรณ์ อีกคนเป็นวิศวกร

- "อายุเป็นเงื่อนไข?"

ไม่จำกัดเรื่องอายุ ผมเข้าไปฝึกงานครั้งแรกอายุ 26 ปี (พ.ศ.2546) ครั้งที่ 2 ฝึกงาน 3 เดือนเหมือนกัน แต่ตอนนั้นผมเดินเข้าไปบอกเขาว่าต้องการทำโปรเจ็คต์ซึ่งระยะเวลายาวกว่านั้น จะได้ทำเป็นงานวิจัยปริญญาเอก เขาก็ตกลง คือฝึกงาน 3 เดือนก่อน หลังจากนั้นค่อยทำเป็น co-op คือเข้าไปอยู่ในระบบของนาซ่าแล้ว แต่ยังเป็นนักเรียนอยู่

- "หัวข้อที่ทำวิจัยคือ ??"

เกี่ยวกับตัวกรองสัญญาณคลื่นความถี่ไมโครเวฟ ซึ่งเป็นคลื่นที่แผ่มาจากจักรวาลที่อยู่ไกลจากโลกเรามาก เกิดจากการระเบิดของบิ๊กแบงก์ อันเป็นจุดกำเนิดของจักรวาล พอระเบิดปุ๊บก็จะส่งออกมาเป็นพลังงานในรูปของโคนอนแล้วเย็นตัวลง เคลื่อนที่ออกจากจุดศูนย์กลาง ก่อให้เกิดเป็นมวล เป็นอิเล็กตรอน เป็นอะตอม เป็นโมเลกุล เป็นสสาร เป็นดวงดาว เป็นกาแล็กซี่ เป็นมิลกี้เวย์

- "ทำเพื่อ?"

เพื่อศึกษาคุณสมบัติจากทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ เกี่ยวกับเวลา คลื่นแรงโน้มถ่วง และการเดินทางของเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป

ตอนนี้กำลังทำเครื่องต้นแบบอยู่จากงานวิจัยที่ศึกษามา 2 ปีกว่าๆ ทำร่วมกับนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรหลายๆ คน



- "ใช้ได้หรือยัง?"

ยัง ยังอยู่ในช่วงทดสอบ แต่ว่าตัวเดี่ยวๆ ที่ผมทำนั้นใช้ได้แล้ว แต่ต้องผ่านการทดสอบในอวกาศก่อน ในสภาพแวดล้อมอุณหภูมิที่เป็นจริงในอวกาศ ตอนนี้ยังต้องจำลองอุปกรณ์ที่อยู่ในอวกาศ ซึ่งทำได้ค่อนข้างยาก ไม่มีเครื่องมือบนโลกนี้ทำได้ ต้องสร้างเครื่องมือเพื่อวัดอีกทีหนึ่ง

- "การเป็นคนเอเชียและอายุน้อยมีปัญหาไหม?"


ไม่มีครับ ที่โน่นไม่มีการแบ่งสีผิว ชาติ ศาสนา อายุ

คือการทำงานในนาซ่า เขาแบ่งเป็น 12 ระดับ เกินจากนั้นเป็นระดับผู้บริหาร คือคุมวิศวกรอีกที ทำงานด้านวิจัยเหมือนกัน แต่ไม่ได้ทำโดยตรง

ตอนนี้ผมทำระดับ 13 แล้ว ต้องเขียนแผนงานเสนอหาเงินทุน พอได้เงินทุนมาก็มาทำงานที่เราเสนอไป คือทำงานกับนักวิทยาศาสตร์ คิดอุปกรณ์ใหม่ๆ

- "ถือว่าเป็นตำแหน่งสูงสุดที่คนไทยเคยทำมา?"

ไม่รู้จะเทียบยังไง แต่คนที่ทำงานในนาซ่าทุกคนจบปริญญาเอก ทำงานเหมือนกัน เพียงแต่แบ่งทำงานกันเป็นกลุ่ม ผมทำอยู่กับกลุ่มนักฟิสิกส์ ซึ่งนักฟิสิกส์กลุ่มนี้เป็นแกนขององค์กร จะคิดทฤษฎีใหม่ๆ ขึ้นมาแล้วทำการทดลอง

อย่างหัวหน้าทีมคนหนึ่งที่เพิ่งได้รางวัลโนเบล เรื่อง Cosmic Microwave Background เป็นคลื่นรังสีคอสมิกความถี่ไมโครเวฟ ซึ่งเกิดจากการระเบิดของบิ๊กแบงก์ จะแผ่รังสีออกมา วัดแล้วจะพิสูจน์ได้ว่าดวงดาวเกิดขึ้นได้ยังไง จักรวาลขยายตัวเร็วขนาดไหน ฯลฯ เป็นผลมาจากการทำวิจัยสำรวจจักรวาลเมื่อ 10-20 กว่าปีที่ผ่านมา

- "มีโอกาสได้ออกไปนอกโลก?"

คงไม่ครับ เพราะการออกนอกโลกมันแพง แล้วการจะส่งมนุษย์ขึ้นไปมันเสี่ยงสูง ต้องออกแบบอุปกรณ์ช่วยชีวิต มีอาหารอะไร ทุกอย่างแพงหมด ถ้าเป็นอะไรขึ้นมาก็เสียภาพพจน์ ใช้หุ่นยนต์ส่งออกไปนอกโลกถูกกว่ากันเยอะ

นอกจากนี้เราสามารถจำลองสภาพแวดล้อมทุกอย่างที่เราต้องการบนโลกนี้ได้ เช่น สภาพที่ไร้แรงโน้มถ่วง อุณหภูมินอกโลก ระดับความดัน ช่วงคลื่นความถี่ที่เราต้องการจะวัด ฯลฯ ไม่มีความจำเป็นที่จะออกไปนอกโลก

- "แล้วอยากไปมั้ย?"


ก็อยากไปครับ แต่ไม่รู้จะไปทำไม (หัวเราะ) ยกเว้นจะไปเที่ยว

- "อีกนานมั้ยกว่าโครงการที่วิจัยอยู่จะเสร็จ"


อีกนานครับ เพราะหลายสิ่งหลายอย่างที่เราทำไม่มีใครทำได้มาก่อนในโลก อาจจะมีข้อผิดพลาดก็ต้องแก้กันไป ต้องใช้เวลาและความพยายามสูง เพราะงานมันค่อนข้างละเอียดอ่อน

อีกอย่างคอนเซ็ปท์ของคนอเมริกัน คือ คิดอะไรก็ได้ให้มันประหยัดเวลา อะไรที่ประหยัดเวลาเขาซื้อหมด เพราะว่ามันเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้เขาเจริญเร็วกว่าคนอื่น

เหมือนกับ เราทำงานอย่างหนึ่งเราใช้เวลาน้อยกว่า แต่มีประสิทธิภาพมากกว่า ถ้าเราประหยัดเวลาได้มากขึ้นก็เอาเวลาไปทำสิ่งที่ยากกว่า ทำให้ประเทศเขาพัฒนาเร็วขึ้น

- "ถ้าสำเร็จผลจะเป็นอย่างไร?"

ถ้าเราสามารถรู้ทฤษฎีสัมพัทธภาพ รู้เกี่ยวกับคลื่นแรงโน้มถ่วงมีคุณสมบัติยังไง เราอาจจะสามารถหาประโยชน์จากมันได้ทีหลัง เช่น สมัยก่อนค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แต่เรายังทำอะไรไม่ได้

สมัยนี้เรา ใช้ประโยชน์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในระบบสื่อสารระบบมือถือ ก็จะออกมาเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่โดยเอาวิทยาศาสตร์มาใช้

โครงการของผมตอนนี้ยังอยู่ในรูปของวิทยาศาสตร์ ซึ่งมันยังไกลเกินกว่าที่เราจะเอามาใช้ได้

ถือเป็นการลงทุนระยะยาว ซึ่งบริษัทเอกชนทำไม่ได้ คือทุกอย่างอะไรก็ตามที่ทำในอนาคตไกลเกินกว่า 1-2 ปี รัฐบาลต้องเป็นผู้ลงทุน เพราะเสี่ยงที่จะไม่สำเร็จ และเงินหมดเสียก่อน

- "งานหนักอย่างนี้มีเวลาว่าง?"

มีครับ ถ้าว่างๆ ก็ไปซื้อของ ไปจ่ายตลาดกับแฟนบ้าง ไปเดินออกกำลังกายบ้าง แต่ไม่บ่อยเท่าไหร่ ทั่วไปก็ทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์

- "ในนาซ่ามีจำกัดวาระการทำงานของแต่ละคน"

ไม่มีครับ ก็ทำงานไปเรื่อยๆ แต่มีเกษียณ ราว 62 ปี ที่เป็นอย่างนี้เพราะเขาบอกว่าคนอายุยืนขึ้น และอีกเหตุผล คือ รัฐบาลไม่มีเงินจ่ายเกษียณอายุ เลยเลื่อนเวลาให้ทำงานยาวออกไปอีก ไม่รู้ว่าเป็นเหตุผลไหน แต่คงเหตุผลหลังมากกว่า

- "เรื่องของไทม์ แมชชีนที่ข้ามเวลาในอนาคตเป็นไปได้?"

เป็นไปได้ครับ ถ้าเราสามารถข้ามมิติได้ เช่น ในโลกที่เราอยู่นี้ตามทฤษฎีมี 3 มิติ บวกเวลาอีก 1 มิติเป็น 4 มิติ แต่ในทางวิทยาศาสตร์มันมีมิติไม่จำกัด เพราะไม่มีอะไรไปกำหนดนิยามว่ามันต้องมี 3 มิติ ถ้าเราหามิติอื่นได้ และสามารถข้ามมิติหนึ่งได้ ซึ่งสเกลของเวลาจะต่างจากมิติของเรา

ถ้าเรากลับมาอีกที เวลาก็จะเปลี่ยนไป แต่ผมไม่รู้ว่ามันย้อนกลับได้หรือเปล่า

คือ เราไปสู่อนาคตได้ แต่ย้อนกลับไปสู่อดีตไม่ได้

- "นั่นคือสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์พยายามจะไข"

คงไม่ใช่ นี่ผมคิดเอง แต่ถ้าเรารู้ เราสามารถมีลูกเล่นกับ "เวลา" ได้ ก็อาจจะทำอะไรที่เราไม่เคยทำได้ ถ้าเราสามารถเดินทางด้วยความเร็วของแสงได้ เราก็สามารถหยุดเวลาได้ แต่ไม่รู้จะเดินทางด้วยความเร็วแสงได้ยังไง (หัวเราะ)

เราก็ไม่รู้ว่าในอนาคตเราจะเป็นยังไง แต่เราก็ทดลองไปเรื่อยๆ เมื่อรู้มากขึ้นเรื่อยๆ ก็สามารถสร้างเครื่องมือต่างๆ ขึ้นมาใช้ประโยชน์จากความรู้นั้นได้

แต่ตอนนี้ยังพิสูจน์อยู่ว่ามันเป็นจริงหรือเปล่า

- "เงินเดือนบอกได้ไหม?"

ก็เป็นหลักแสนครับ พออยู่ได้ เป็นนักวิทยาศาสตร์ไม่รวย เป็นนักธุรกิจรวยกว่า

- "เคยคิดมั้ยว่าจะได้ไปทำงานที่นาซ่า"

ไม่เคยคิดเลยครับ จริงๆ ผมว่าส่วนหนึ่งมาจากโอกาสของผมด้วย คนเราถ้ามีโอกาสควรจะลอง ได้หรือไม่ได้มันอีกเรื่องหนึ่ง

ผมก็หวังว่างานของผมจะเป็นประโยชน์กับโลกในอนาคต ซึ่งผมยังไม่รู้ คงอีกไกล เหมือนกับเราค้นพบอะไรบางอย่าง แล้วในอีก 30 ปีจึงนำมาใช้ได้อย่างเป็นจริงเป็นจัง เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ใช้ความพยายามสูง และไม่รู้ว่าในอนาคตจะมีประโยชน์สักแค่ไหน

ขึ้นอยู่กับว่าเขาจะสนใจ งานของเราสักแค่ไหนด้วย

- "นาซ่า เป็นความฝันสูงสุด?"


ความ ฝันของผม คือ ได้ทำในสิ่งที่ผมอยากจะทำ สิ่งที่ผมชอบ ทำในสภาพแวดล้อมที่ดี กับเพื่อนร่วมงานที่ดี แล้วมันก็มาอยู่ที่นาซ่าเอง

- "เป็นนักวิทยาศาสตร์เชื่อเรื่องดวง?"

ผมไม่อยากให้คนเชื่อเรื่องดวง เพราะถ้าดวงว่าอย่างนั้นแล้ว แต่เราไม่ทำตามมันก็ไม่เป็น

เชื่อตัวเองดีกว่า คิดว่าเราทำได้ เราพยายาม สักวันมันต้องสำเร็จ

- "จริงๆ แล้วในชีวิตอยากเป็นอะไร?"

อยากเป็นวิศวกรออกแบบ เพราะชอบงานออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์

 


 

"ดร.ก้องภพ อยู่เย็น"กับเรื่องของภัยพิบัติในปี 2012

ดูได้ที่ link

ชีวิตวัยเด็ก ของวิศวกรนาซ่า เขาเป็นเด็ก ชายธรรมดา...ที่ชีวิตวัยเด็กชอบเล่น มากว่าชอบเรียน แต่สิ่งที่ดูจะโดดเด่นกว่าเด็กทั่วไปเห็นจะเป็นความมีระเบียบวินัย ที่ได้รับการฝึกฝนจากคุณ พ่อที่รับราชการทหาร ดร.เล่าว่าเบื้องหลังความสามารถด้านการศึกษานี้ ได้รับอิทธิพลจากการเรียนพิเศษน้อยมาก และเขาก็มองว่านี่คือความโชคดีด้วยซ้ำ และเมื่อเอ็นทรานซ์ติดวิศวกรรมศาสตร์จุฬา เขาก็สามารถพิชิตใบปริญญา มาด้วยเกียรตินิยมเหรียญทอง อันดับ 2

ตอนที่ 2

http://www.voicetv.co.th/content/7510/“ดรก้องภพอยู่เย็น”กับเรื่องภัยพิบัติในปี2012ตอนที่2

ตอนที่ 3

และแล้วเขาก็กลายเป็นอีกหนึ่งบุคคลที่สร้าง ประวัติศาสตร์ให้เมืองไทย ในฐานะคุณที่ได้ร่วมงานกับองค์กรที่ค้นหาความลับแห่งจักรวาล
หลายคำถามจากเรา และคำตอบจากเขาอาจทำให้คุณรู้จักรองค์อันยิ่งใหญ่นี้มากขึ้น และน่าทึ่งกว่านั้นหากคุณรู้ว่าเขาใช้ระยะเวลาเพียงแค่ไม่กี่ปีในการใช้ความ สามารถมาสู่ตำแหน่งวิศวกรไทยที่ตำแหน่งสูงสุด

http://www.voicetv.co.th/content/7512/“ดรก้องภพอยู่เย็น”กับเรื่องภัยพิบัติในปี2012ตอนที่3

ตอนที่ 4

เราเชื่อว่าเบรคนี้คือเบรคที่อาจทำให้คุณ ลุ้นระทึกกับคำตอบที่สุด เพราะนี่คือคำถามที่มวลมนุษยชาติควรรู้!!!
ว่าจะเป็น สิ่งมีชิตนอกโลกมีจริงไหม,คำทำนาย 2012 เราควรวิตกแค่ไหน
และ...ภัยพิบัติ...มันเกิดจากอะไรบ้าง !!!!..การทำความเข้าใจกับวิทยาศาสตร์อาจเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในตอนนี้

http://www.voicetv.co.th/content/7513/“ดรก้องภพอยู่เย็น”กับเรื่องภัยพิบัติในปี2012ตอนที่4


Content by VoiceTV


 

ทำนายแผ่นดินไหวใหญ่ ในประเทศไทย วันที่ 12 มิถุนายน 2553

จากรายการ "เรื่องเด่นเย็นนี้" ช่อง 3

ข้อมูลจาก ดร.ก้องภพ อยู่เย็น

สัมภาษณ์ ดร.สมิธ ธรรมสโรช อดีต ผอ.ศูนย์เตือนภัยพิบัติแ่ห่งชาติ

 

อาจเกิดจากดาวเรียงตัวกันและลมสุริยะ

แผ่นดินไหวใหญ่ขนาด 7-9 ริคเตอร์ ระหว่าง มิถุนายน - ตุลาคม 2010

12 มิถุนายน 2553   เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 7 - 8.5 ริคเตอร์

8 กรกฎาคม 2553 เวลา 4 ทุ่ม (UTC ประเทศไทย ตีห้า) 7 - 8 ริคเตอร์

9 กันยายน 2553 เวลา 6 โมงเย็น (UTC ประเทศไทย ตี 1) 7.5 - 8.5 ริคเตอร์

21 กันยายน 2553 เวลา 10 โมงเช้า(UTC ประเทศไทย 5 โมงเย็น) 7 - 7.5 ริคเตอร์

7 ตุลาคม 2553 เวลา ตี 4 (UTC ประเทศไทย 11 โมงเช้า) 8-9 ริคเตอร์

ตุลาคม - ธันวาคม จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปี 2013

ตอนที่ 1

ตอนที่ 2

 


การบรรยายของ ดร. ก้องภพ อยู่เย็น ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกี่ยวกับ จักรวาล ระบบสุริยะจักรวาล และ การเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยายกาศบนโลก

ดูลิงค์

http://truth4thai.org/2012/lecture1


สัมภาษณ์ ดร.ก้องภพ

http://www.lonelytrees.net/wp-content/uploads/2010/01/a-view102.pdf


หมายเลขบันทึก: 362297เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2010 20:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

A Thai scientist working for the National Aeronautics and Space Administration (Nasa) in the US has suggested that Thailand use a military spy satellite to tackle the insurgency in the deep South. Kongpop U-yen, who has been working for Nasa since 2004, believes the equipment would help save the lives of hundreds of soldiers and police combating militants in Narathiwat, Pattani and Yala, the three southernmost provinces which have been marred by violence for over two years.

The country has so far not been able to solve the problems in the South and the authorities have only been able to arrest a few leading members of the separatist movement. The 28-year-old scientist said the identities and whereabouts of most of the ringleaders were unknown.

The authorities had so far not been able to arrest the militants straight after they had committed their crimes, he said.

''High technology must be applied, particularly a satellite. The armed forces ought to have their own satellite. A military satellite would likely be more useful to them than a commercial one, particularly when security is concerned,'' said Mr Kongpop, who is currently in the country to receive an award from the faculty of engineering at Chulalongkorn University.

He said a military satellite could be used to monitor movements in villages located in so-called ''red areas'' and in the homes of suspected militant leaders. It would even have the ability to zoom in and read a car licence plate number.

A satellite could also be used to check on various areas before soldiers are sent out on patrol. Using a satellite, once an incident takes place, the authorities could examine the area and keep track of militants fleeing from the area.

''It's worth the investment, considering the fact it could help save the lives of hundreds of police and soldiers,'' he said, adding that the cost of a military satellite would be between 5 and 10 billion baht. ''I think it's time for the armed forces to allocate more budget for hi-tech equipment. Aside from the insurgency, a military satellite could also be used in the suppression of drug trafficking and deforestation. We should have one of our own and it should not be acquired via lease to maintain national security.''

from

http://www.bangkokpost.com/News/22Jan2006_news08.php

เป็นข้อมูล ที่น่าสนใจค่ะ

ระบบสุริยะจักรวาล (เป็นภาษาอังกฤษ)

http://2012forum.com/forum/viewtopic.php?f=38&t=11864&st=0&sk=t&sd=a&sid=48256a67dd1f41645093b48452049f96

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท