๕๘๑.พันธุ์ไม้ที่อุทยานผักพื้นบ้าน


          คณะของเรา ๕ ชีวิตเดินทางออกจากตลาดเก่าแก่ ๑๐๐ ปีของอำเภอสามชุกแล้ว  ได้เดินทางต่อไปยังบึงฉวากและเป็นเวลากว่าบ่าย ๒ โมง  พวกเราตกลงกันว่าขอเลือกไปชมอุทยานผักพื้นบ้านและอยากชมบ้านตากอากาศสวย ๆ อยู่บนกิ่งไม้ที่เคยเห็นจากสื่อด้วย

         อุทยานผักพื้นบ้านเฉลิมพระเกียรติบึงฉวาก จัดตั้งขึ้นโดยกรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุ ๗๒ พรรษา รวมทั้งสร้างจิตสำนึกด้านความตระหนักให้ประชาชนทั่วไป เห็นคุณค่าและร่วมกันอนุรักษ์พืชผักพื้นบ้าน โดยมีเป้าหมาย เพื่อรวบรวมผักพื้นบ้าน จากทั่วภูมิภาคของประเทศไทยกว่า ๕๐๐ชนิด เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการปลูก  การขยายพันธุ์ การบริโภค  และคุณประโยชน์ของผักพื้นบ้าน

        อุทยานผักพื้นบ้านมีประเภทไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก ไม้เถาว์เลื้อย ไม้น้ำ และไม้ในที่ชื้นแฉะ ซึ่งมีการจัดภูมิทัศน์อย่างสวยงามบริเวณกลางน้ำพื้นที่ ๒๖ไร่ ภายในบริเวณอาคารสำนักงานมีศูนย์แหล่งข้อมูล ห้องสมุด เพื่อให้บริการความรู้เกี่ยวกับผักพื้นบ้าน ห้องแสดงนิทรรศการ ห้องจำหน่ายผลผลิต และผลิตภัณฑ์จากผักพื้นบ้าน โดยมีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการความรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้สนใจสามารถเที่ยวชมกิจกรรม และศึกษาข้อมูลได้ทุกวัน เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น. นอกจากนี้ สนง.เกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี  ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรบริเวณรอบบึงฉวากปลูก และขยายพันธุ์ผักพื้นบ้านเพื่อให้มีรายได้จากการจำหน่ายต้นพันธุ์ และผลผลิตแก่ผู้ที่มาเที่ยวชม 

        พวกเราได้เลือกซื้อต้นไม้ พันธุ์พืชผักตามความต้องการและความชอบ  ที่สำคัญขอเลือกต้นไม้ที่มีราคาถูกไว้ก่อน เพราะกลุ่มของเราเป็น "นักท่องเที่ยวกระเป๋าแฟบ" นั่นเอง  แบบไหนไม่มีตังค์พอซื้อหรือแพงเกินไปไม่กล้าควักมาจับจ่ายก็ขอชมและเก็บภาพไปเพื่อเรียนรู้   

         คนที่สนใจและชอบปลูกขนาดใหญ่โตคือคุณเจตน์  มาเที่ยวนี้คุณเจตน์สนใจต้นแคนาและต้นกระโดนเป็นพิเศษ   อุตส่าห์มองหาเมล็ดจะได้นำไปเพาะพันธุ์ ในทีสุดได้ต้นไม้ไปตามที่ต้องการมากกว่านั้น  ยกเว้นต้นแคนา  ส่วนเมล็ดพันธุ์มีจำหน่ายทุกชนิดที่ร้านจำหน่ายตงช่องทางเข้า

         ฉันได้แต่คิด..."ไม่น่าเชื่อว่าเราเกิดมาบนผืนแผ่นดินไทยแต่รู้จักต้นไม้ในประเทศไทยเพียงไม่กี่อย่าง"

 

             พวกเราตื่นตากับบ้านพักตากอากาศมาก ขากลับจึงแวะเข้าไปชม  สวยและชื่นชมกับความคิดการออกแบบยิ่งนัก  มีบึงน้ำกว้างใหญ่  มีลมพัด เย็นสบาย นับเป็นการจัดสรรธรรมชาติได้ลงตัวกับความต้องการของมนุษย์ทีเดียว

          "มองตาค้างไปเถอะคนกระเป๋ายอบแยบอย่างพวกเราก็แค่ได้ชมก็นับว่าบุญตาแล้ว"... แล้วเราก็จากที่นี่ไป

หมายเลขบันทึก: 362215เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2010 14:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

ชอบต้นไผ่ที่นี่ มีหลายชนิดมากๆๆ เจอคุณสามารถด้วยใช่ไหมครับ...

สวัสดีค่ะพี่ครูคิม..มีงี้ด้วยเหรอค่ะ..ของแปลก..ถูกใจไอเดียบรรเจิดน้อ..อิอิ..ชอบจังไม่ได้ไปเที่ยวก็เหมือนได้ไปค่ะ..ขอบคุณเจ้า

เมื่อครั้งสนามจันทร์ครบ100ปี ท่านผอ.เชาว์ เสาวลักษณ์ก็นำนิทรรศการไปแสดงค่ะ...

 

นอกจากนั้นยังมีเทคนิคที่จะทำให้ลูกบวบยาวตรงด้วยการเอาถุงน้ำไปถ่วงไว้ด้วยค่ะ....

สวัสดีค่ะพี่คิม

  • ขอทานผักแบบเคี้ยวผักค่ะ
  • ไม่เอาทางสายยางนะคะ
  • เห็นบ้านพักตากอากาศแล้วชอบจัง
  • น่าจะยกไปไว้ที่รีสอร์ทน้องหนานเกียรติ  555555+

สวัสดีค่ะอาจารย์น้องขจิต ฝอยทอง

ลืมนึกไปเลยว่าน้องขจิตอยู่สุพรรณฯ  ไม่เจอค่ะอาจารย์สามารถ  เพราะไม่ทราบว่าท่านไปที่นี่ 

วันพรุ่งนี้เตรียมผักสดรอนะคะ น้ำพริกสูตรเด็ดรสจัดจ้าน  กำลังเดินทางไปกำแพงแสนแล้วนะคะ

สวัสดีค่ะน้องrinda

ของแปลกถูกใจ ไอเดียบรรเจิด..ปิ้งแว๊บเชียวค่ะ  น้องสบายดีนะคะ อากาศลดความร้อนหรือยังคะ  ที่บ้านพี่คิมลดลงแล้วค่ะ

สวัสดีค่ะน้องอ้อยเล็ก

ขอขอบคุณที่แนะนำให้รู้จักท่าน ผอ. และการแนะนำวิธีการทำให้บวบยาวตรง  ที่บ้านพี่คิมมีบวบที่น้องขจิตส่งเมล็ดให้  ลุกแรกยาวตรงดีค่ะ ลูกต่อ ๆ ยาวแต่ไม่ตรงค่ะ ต่อไปต้องทำใหม่แล้วนะคะ

สวัสดีค่ะน้องอิงจันทร์

วันนี้ไปออกกำลังกายนานมากค่ะ กลับมาแวะทานข้าวและร้องเพลงกันก่อนกลับบ้าน

พี่คิมสอนเด็กแบบนี้เหมือนกันค่ะ เด็กหลายคนไม่ทานผัก  ฮา ๆ ๆ ๆ ใคร ๆ ก็ไม่รับทางสายยางเหมือนกันเลย

บรรยากาศที่ดอยไม่ดัดแปลงค่ะ มีความเป็นธรรมชาติและอากาศเย็นค่ะ

สวัสดีค่ะ  ตามอ่านบันทึกการท่องเที่ยวแล้วเหมือนได้ไปอีกรอบ  จากที่เคยไปมาแล้วแต่เห็นอีกครั้งก็ยังสวยเหมือนเดิม  แถมได้รำลึกนึกถึงครั้งที่ได้ไปอีกว่าเอ....มันเป็นอย่างนี้ไหมหนอ  หรือว่าเอ...ตรงนี้เราทำไมไม่ได้ชักภาพไว้

มีความสุขกับการได้เติมเต็มให้ชีวิตนะคะ...

     

ไปชมผักนี้กับบล็อกน้องสามารถอาจารย์ขจิตมาแล้วคะ ทำไมไม่เจอกันน้า เขาไปเจอกันตั้งสามสี่คน  หมอดาวด้วย น้องสามารถด้วย น้องขจิตด้วย มาเที่ยวชมสวนผักนี่แหละ บล็อกน้องสามารถ ถ่ายภาพแม้แต่หนอน ก็ถ่ายมาให้ชม สีสวยน่าขยะแขยงด้วย ถ่ายภาพ พวกบวบตรงนี้แหละ และก็มีแตงโดนลัดรูปร่าง ได้หุ่นใหม่เลยคะ  แล้วก็ได้มาชมภาพของพี่ครูคิม ถ่ายคนละแบบกันคะ

-เห็นภาพครูแมวนั่ง อ้าว่าเลย แสดงว่าเดินจนขาลากแล้วใช่ไหมคะ  ตอนนี้เห็นแล้วใครมาบ้าง รู้จักแต่ครูแมวคะ

-กินอาหารทางปากดีกว่ากินจากสายยาง  นั่นคือให้เรากินผักเป็นอาหาร เป็นยาไปพร้อมใช่ไหมคะ  บวบ ทำค่างวางเสียสวยเลย กลายเป็นไม้ประดับไป

-กระเช้าดอกไม้ผูกโบว์  บ้านบนต้นไม้ ขายความคิดได้ดีนะคะ ไม่ธรรมดาคะ

-หนุ่มหล่อไหนน้า ...นั่งซบหุ่นเชียว ผักซาดิสม์ก็มี สงสัยชอบความรุนแรง

-ได้ความรู้ขากน้องอ้อยเล็ก ว่า อยากให้ลูกตรงยาวดี ใช้ถุงน้ำยางมาห้อย พร้อมมีภาพมาให้ดูด้วย  ดีจริง คงมีคนนำไปทำตามบ้างนะคะ ความคิดดีนะคะ  ลูกฟัก เขาน่าจะทำกล่องหัวใจ มาห่อไว้  ออกมาเป็นรูปหัวใจ ก็คงไม่เลวนะคะ

-พึ่งออกไปกินก๋วยเตี๋ยวไม่แคะมา  ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ คะ แล้วมาเม้นท์ต่อคะ

-ภาพท้องน้ำ พร้อมท้องฟ้า เมฆสวยใสเชียว

-เมื่อกี้พอมาเล่นคอม หลังจากไปกินก๋วยเตี๋ยวมาแล้ว เพื่อนมาเยี่ยมตรึมที่บล็อกสุ เลย เดี๋ยวกลับคืนไปเม้นท์ที่บล็อกตนเองก่อนนะคะ   ไปละ

 

สวัสดีค่ะน้องkrugui Chutima

พี่คิมเคยไปบึงฉวาก  แต่นานแล้วค่ะ พานักเรียนไปเที่ยว เราจะต้องดูแลลูกเขา ไม่มีจะได้เที่ยวเต็มตาหรอกนะคะ

ได้อ่านและเรียนรู้ผ่านสื่อต่าง ๆบ้าง จากบันทึกของเพื่อน ๆบ้าง  "สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น" จริง ๆค่ะ

สวัสดีค่ะสุ-มหาวิทยาลัยชีวิต ที่ไม่มีวันปิดทำการ

มีภาพมากมายค่ะ  แต่เลือกมาลงเป็นบางส่วน  สำหรับพี่คิมวันนี้รู้สึกไม่มีภาพเลยค่ะ 

ได้ความคิดมาเป็นแบบอย่าง ได้ความรู้มาปรับปรุง  พืชผักสวยงามประดับได้ ทานได้ ใช้ประโยชน์เป็นธรรมชาติสร้างสรรค์ค่ะ

เรียนคุณครูคืม

สวยจังเลยนะคะ เห็นแล้วอยากไปอีก อยากไปอีก และ อยากไปอีก

สวัสดีค่ะคุณยาย

เหมือนพี่คิมค่ะ  หลายแห่งที่ไปแล้วก็อยากไปอีกค่ะ  ขอให้มีความสุขกับวันหยุดพักผ่อนนะคะ

นึกว่านกอินทรีย์....

จะพักบ้านนกระจอก..อิอิ

อันนี้สุกแล้วครับ ทานได้เลย

สวัสดีค่ะเกษตร(อยู่)จังหวัด

อย่าแซวดิน้องชาย...ขอขอบคุณของโปรดจานนี้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท