ส่งงาน e-learning


ส่งงาน e- learning
ประวัติความเป็นมา

        ศูนย์สื่อการสอนทางอิเล็กทรอนิกส์ e-Learning เริ่มดำเนินการเมื่อ ประมาณ ปี 2544 เพื่อมีหน้าที่ ในการวางระบบงานและดำเนินการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย
ในรูปแบบ e-Learning

       เป็นศูนย์กลางในการผลิตบทเรียนแบบ e-Learning  ประสานงานกับคณาจารย์ สถาบันคอมพิวเตอร ์และสำนักเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อดูแลปรับปรุงการเคลื่อนไหว
ของเว็บไชด์ e-Learning (www.ram.edu)

    ควบคุมและดูแล ระบบการเรียนการสอนแบบ online การใช้งานบทเรียนe-Learning
ดูแลฐานข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งฐานข้อมูลบทเรียน ฐานข้อมูลผู้เรียน ฐานข้อมูลหลักสูตร
การเชื่อมโยงข้อมูลทั้งภายใน และฐานข้อมูลภายนอก ดูแล Infrastructure ที่เกี่ยวกับ
โปรแกรมการจัดการระบบการเรียนการสอน (Learning Management System)
โปรแกรมการจัดการอื่น ๆ ที่สนับสนุนกับระบบการ ใช้งานมัลติมีเดีย ดูแลฐานข้อมูล
และติดตามผล

       การเรียนการสอนระบบ e-Learning เป็นการศึกษาโดยนำเทคโนโลยี ทางการ
สื่อสารมาประยุกต์ใช้กับการให้บริการการศึกษา  ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงใช้เป็น
ทางเลือกเสริมให้กับนักศึกษาได้ใช้ประโยชน์  โดยมีแผนงานในการพัฒนาบุคลากร
การฝึกอบรมให้ความรู้ในการใช้ และสร้างบทเรียนแก่บุคลากรภายใน และภายนอก
มหาวิทยาลัย เพื่อรองรับ การเข้าสู่การเรียนการสอนแบบ e-Learning และนำบทเรียน
ของมหาวิทยาลัยเข้าสู่ระบบการเรียนการสอนแบบ  e-Learning  อย่างมีประสิทธิภาพ

       ดำเนินการในเรื่องการจัดกิจกรรมต่าง ๆ  เกี่ยวกับความรู้ ด้าน e-Learning  เพื่อ
ประชาสัมพันธ์การจัดการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ของมหาวิทยาลัย รวมทั้ง
ศึกษาค้นคว้าวิจัยอย่างต่อเนื่อง  เพื่อพัฒนาสื่อ และ วิธีการจัดการเรียนการสอน เพื่อ
ให้เกิดองค์ความรู้ เน้นการพัฒนาตนเองให้ก้าวเข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้    ส่งเสริม
การสร้างฐาน ความรู้สู่สากล
วิสัยทัศน์ (Vision)

     มุ่งพัฒนาเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เสริมสร้างโลกทัศน์ภูมิปัญญา กระจายการศึกษา
สู่ปวงชนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อกระจายโอกาส ความเสมอภาค
และความเท่าเทียมกันทางการศึกษา


พันธกิจ (Mission)

ด้านการจัดการศึกษา

     พัฒนาหลักสูตรสำหรับการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ต ให้มีความยืดหยุ่น และมีความ
เป็นสากล จัดการศึกษาในรูปแบบของเครือข่ายการเรียนรู้ ส่งผ่านองค์ความรู้ผ่านเทคโนโลยี
สมัยใหม่   โดยประยุกต์และดัดแปลงให้สอดคล้องกับ ภูมิปัญญาท้องถิ่นตามสภาพเศรษฐกิจ
และสังคม  และร่วมมือแลกเปลี่ยนทางวิชาการ ระหว่างสถาบันการศึกษา หน่วยงานอื่น ภาค
รัฐและภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้ระบบประกันคุณภาพทั้งภายในและภายนอก

ด้านการวิจัย

     วิจัยและพัฒนาปรับปรุงบทเรียนทางอินเทอร์เน็ตให้มีประสิทธิภาพ สร้างองค์ความ
รู้ใหม่ และการนำไปใช้ประโยชน์ หรือประโยชน์ที่ได้รับ เพื่อสร้างและพัฒนาต้นแบบ
การเรียนการสอนทาง e-Learning

ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม

      ขยายขอบเขตและรูปแบบของการบริการทางวิชาการ ไปสู่สังคมเมืองและภูมิภาคต่างๆ
สู่ชนบทให้ได้รับประโยชน์จากการศึกษา     ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต  และการ
กระจายโอกาสทางการศึกษารวมทั้งผู้ด้อยโอกาสเพื่อความเสมอภาคและความเท่าเทียมกัน
ทางการศึกษา เกิดสังคมการเรียนรู้

ด้านการบริหารจัดการ

พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ทันสมัย คล่องตัว และโปร่งใส ตลอดจนพัฒนาและ สร้างมาตรฐานการจัดทำบทเรียน
e-Learning ของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่ยอมรับ

ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

     ส่งเสริม ผสมผสาน ประยุกต์และดัดแปลงให้ สอดคล้องกับการสร้างสื่อบทเรียนใน
ระบบ e-Learning เพื่อถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ไทยสู่สากล  เพื่ออนุรักษ์และตระหนัก
ถึง ศิลปวัฒนธรรมไทย  และภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการพัฒนานักศึกษา   ส่งเสริมให้
นักศึกษามีทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ ในการ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุน
การเรียน การสอนให้มีประสิทธิภาพ


ด้านการพัฒนานักศึกษา

ส่งเสริมให้นักศึกษามีทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ



ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา

ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัย  ในการ
พัฒนาหน่วยงานให้มีคุณภาพ    ให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรม การประกัน
คุณภาพ ทั้งภายในและภายนอก ส่งเสริมบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมการประกันคุณภาพ
ของมหาวิทยาลัย



นโยบาย (Policy)

1. ด้านการจัดการศึกษา

    1.1 เร่งกระจายโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมกันในการศึกษา           ระดับอุดมศึกษาให้มากขึ้น
    1.2 พัฒนาหลักสูตรให้มีความหลากหลายมีความยืดหยุ่นและความเป็นสากล
           มากขึ้น
    1.3 จัดระบบและกำหนดรูปแบบการศึกษา รวมทั้งการประกันคุณภาพทางด้าน
          งานวิชาการ งานบริหาร และงานบริการ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนิน
          งานและประเมินคุณภาพ ทั้งภายในและภายนอก
    1.4 ร่วมมือและแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการระหว่างสถาบันการศึกษา และ           หน่วยงานอื่นภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ
    1.5 พัฒนามหาวิทยาลัยไปสู่ความเป็นศูนย์กลางการศึกษาแห่งหนึ่งของโลก

2. ด้านการวิจัย

    2.1 ดำเนินการวิจัยทั้งในด้านการเพิ่มองค์ความรู้ใหม่ ความเป็นเลิศ การ
         ถ่ายทอดเทคโนโลยี
    2.2 ร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศเพื่อต่อ
         ประโยชน์งานวิจัยทั้งทางตรงและทางอ้อม     2.3 สร้างองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ มีความต่อเนื่องและนำไปใช้ประโยชน์เพื่อสร้าง
         และพัฒนาต้นแบบ
    2.4 เพิ่มผลงานการวิจัยที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนา          ประเทศและสามารถเผยแพร่ในระดับสากลได้

3. ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม

    3.1 พัฒนาองค์กรบริการวิชาการให้มีความพร้อมและมีประสิทธิภาพ
    3.2 พัฒนางานบริการวิชาการ ให้มีความหลากหลายและต่อเนื่องบนพื้นฐานของ
         องค์ ความรู้
    3.3 พัฒนาเครือข่าย ความร่วมมือในการให้บริการวิชาการระหว่างสถาบันการศึกษา          หน่วยงานอื่นภาครัฐละเอกชนทั้งในและต่างประเทศ
    3.4 พัฒนาและขยายเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการบริการวิชาการ
         ให้กว้างขวางในระดับสากล
    3.5 มุ่งรับผิดชอบ ดูแล ร่วมมือ แก้ไข  และส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชน
         และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

4. ด้านการบริหารจัดการ

    4.1 ส่งเสริมให้บุคลากรมีโอกาสศึกษาต่อในระดับสูง
    4.2 ส่งเสริมโครงการพัฒนาระบบบริหารความรู้ภายในมหาวิทยาลัย
    4.3 ส่งเสริมบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ
    4.4 ส่งเสริมให้บุคลากรทำงานเป็นทีม

5. ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

    5.1 ปลูกฝังให้นักศึกษาและบุคลากรตระหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรมไทยและภูมิ
          ปัญญาท้องถิ่น
    5.2 ส่งเสริมให้มีการผสมผสานกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรมเข้ากับภารกิจด้านอื่น ๆ

6. ด้านการพัฒนานักศึกษา

    6.1 ส่งเสริมกิจกรรม/โครงการพัฒนาทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ ด้านเทคโนโลยี
         สารสนเทศสำหรับนักศึกษา
    6.2 ส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในการใช้บทเรียน e-Learning           ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
    6.3 ส่งเสริมให้นักศึกษามีการปฏิสัมพันธ์กับคณาจารย์ในบทเรียน e-Learning

7. ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา

    7.1 ให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมการประกันคุณภาพภายในและภายนอก
    7.2 ส่งเสริมบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมการประกันคุณภาพกของมหาวิทยาลัย



ปรัชญาในการดำเนินงาน

เทคโนโลยีก้าวไกล  ศึกษาได้ไม่จำกัด
   สร้างสรรค์โลกทัศน์  พัฒนาสู่สากล

ของรามคำแหง.........2
เกี่ยวกับเวปไซต์ http://www.ram.edu/elearning/about.html
Educational Media Center หรือ EMC เป็นศูนย์ในการพัฒนา ค้นคว้า วิจัย สื่อการเรียนการสอนในรูปดิจิตอล (Digital) เพื่อให้ระบบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย มีสื่อที่เหมาะสมและหลากหลาย สนองต่อความต้องการของผู้เรียนไม่ว่าจะอยู่ในรูปของตำราอิเล็กทรอนิกส์ (e-Books) บทเรียนบนอินเทอร์เน็ต(Course On Demand) การบรรยายสดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การพัฒนาสื่อในรูปวีซีดี (VCD) และดีวีดี (DVD) ที่สามารถนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นซีดีหรือดีวีดีทั่วไปที่ต่อกับทีวีและกำลังพัฒนาระบบการบรรยายผ่านโทรศัพท์ จะทำให้ท่านสามารถฟังคำบรรยายผ่านทางโทรศัพท์ และเอกสารสรุปการบรรยายและยังสามารถส่งถึงท่านได้ด้วยระบบ Fax On Demand ด้วยความร่วมมือในการพัฒนาของ 3 หน่วยงาน คือ สำนักเทคโนโลยีการศึกษา สำนักพิมพ์ และสถาบันคอมพิวเตอร์ เพื่อการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนของ มหาวิทยาลัยสู่ระบบสากล



ของรามคำแหง 3
http://www.ru.ac.th/page/index.asp

ท่านกำลังรับชมการบรรยายวิชา (บรรยายสดจากห้องเรียนวิทยาเขตบางนา)
ออกอากาศตั้งแต่เวลา 1420-1700             ถ่ายทอดสดจาก หัวหมาก   ถ่ายทอดสดจาก วิทยาเขตบางนา

  สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีส่วนกลาง เริ่มบรรยาย ตั้งแต่วันที่ 19 มิ.ย.2549 - 29 ก.ย.2549  ก่อนที่คุณจะเข้าสู่ห้องเรียน >>   กรุณาดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม windows media player9 series   ดาวโหลด >> windows media player9 series


       จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์
คำสำคัญ (Tags): #ส่งงาน
หมายเลขบันทึก: 36218เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2006 12:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท