ผศ.ดร. นฤมล แสงประดับ แห่ง มข. กับการสร้างบุคลากรอย่างมีคุณภาพด้วยหัวใจ : ประยุทธิ์ อุดรพิมาย


การให้ความรู้แก่ผู้อื่นให้เข้าใจ อย่างรู้จริง ถือว่ายากพอสมควร  แต่การที่จะสร้างบุคลากรในการทำงานที่มีคุณภาพขึ้นมาคนหนึ่ง ก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก

 

โดยเฉพาะบุคลากรที่สามารถทำงานอย่างมีคุณภาพได้

 

หลายท่าน ใช้หลัก  put the right man to the right job คัดเลือกคนที่ต้องการจากการประกาศรับสมัครงาน พิจารณาจากวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน ฯลฯ

แต่สำหรับงานในรูปแบบที่ไม่เป็นที่รู้จักมากนักอย่าง เช่นงานวิจัยทางด้านชีววิทยาแหล่งน้ำไหล การศึกษาสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน ในกลุ่มของแมลงน้ำที่นำมาใช้ในการบ่งชี้คุณภาพของแหล่งน้ำ

ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ เจ้าของโครงการจึงต้องสร้างบุคลากรที่จะมาช่วยทำงานในด้านนี้ขึ้นมาใหม่

คุณประยุทธิ์ อุดรพิมาย เป็นคนที่ ผศ.ดร.นฤมล แสงประดับ แห่งภาควิชาชีววิทยา มขคัดเลือกมาเป็นผู้ช่วยทำงานด้านชีววิทยาแหล่งน้ำไหลในครั้งนี้

 


ดร.นฤมล แสงประดับ (คนกลาง) ขณะกำลังเดินทางไปสำรวจโครงการวิจัยที่หน่วยจัดการต้นน้ำป่าสัก  จ.เลย
ในช่วงที่ทำงานวิจัยในหัวข้อ การศึกษาการกระจายตัวของตัวอ่อนแมลงกลุ่ม Ephemeroptera Plecoptera และ Trichoptera (EPT) ในลำธารต้นน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 


คุณประยุทธิ์ อุดรพิมาย

 

คุณประยุทธิ์นั้น ที่ผ่านมาทำงานมาหลายอย่าง วุฒิการศึกษาจบเพียงระดับชั้นประถมเท่านั้น มีประสบการณ์เหมือนผู้ใช้แรงงานทั่วไป แต่ด้วยความที่ ผศ.ดร.นฤมล มีสายตาที่แหลมคม และมองการณ์ไกล จึงรับคุณประยุทธิ์ อุดรพิมาย เข้ามาทำงานด้วยเมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมา

 

เนื่องจากคุณประยุทธิ์ไม่มีพื้น ฐานความรู้ทางชีววิทยาแหล่งน้ำไหลแต่อย่างใด เมื่อสอนงานต่างๆเข้าไป คุณประยุทธิ์จึงสามารถรับความรู้ได้อย่างเต็มที่ เสมือนแก้วน้ำที่ว่างเปล่า จึงสามารถเติมน้ำลงไปได้  เป็นการปูพื้นฐานความรู้ไปด้วย เมื่อมีพื้นฐานความรู้เพียงแค่ระดับประถม ดร.นฤมล แสงประดับ จึงสนับสนุนให้คุณประยุทธิ์ไปเรียน กศน. จนสอบได้วุฒิการศึกษา ม.6

ด้วยความอดทน และการเอาใจใส่ในการฝึกสอน และการตั้งใจเรียนรู้ของคุณประยุทธิ์ ทำให้อดีตผู้ใช้แรงงานคนหนึ่ง กลายเป็นเจ้าหน้าที่ประจำห้องปฎิบัติการชีววิทยาน้ำจืด ของ ดร.นฤมล แสงประดับ เขาเป็นทั้งผู้ช่วยวิจัย เป็นพี่ที่คอยดูแลช่วยเหลือนักศึกษา และเป็นเสมือนมือขวาในการทำงานวิจัยของ ดร.นฤมล แสงประดับในวันนี้

หลายคนมักจะมองผู้ที่มีความรู้น้อย ผู้ที่ใช้แรงงานว่า คงไม่สามารถที่จะเรียนรู้อะไรได้อีกแล้ว แต่ ดร.นฤมล ได้พิสูจน์แล้วว่า สามารถทำให้ผู้ที่มีความรู้น้อย กลายเป็นบุคลากรคุณภาพขึ้นมาได้

 

คุณประยุทธิ์สามารถที่จะจำแนก ชนิดของแมลงน้ำ โดยใช้ตำราอนุกรมวิธานภาษาอังกฤษ เปิดดูแล้วส่องกล้องจุลทรรศน์ได้เหมือนกับนักศึกษาระดับปริญญาตรี-โท โดยอาศัยการจดจำลักษณะ และประสบการณ์ในการเรียนรู้ตลอดเวลาที่ผ่านมา เป็นผู้จัดเตรียมอุปกรณ์ เดินทางไปเก็บข้อมูล เก็บ Specimen (ตัวอย่างสัตว์ที่จะนำมาตรวจวิเคราะห์) , ดูแลช่วยเหลือนักศึกษาที่เป็นรุ่นน้อง หลายอย่าง

ในการเขียนรายงานวิจัยของ ดร.นฤมล แสงประดับ ท่านมักจะมองการณ์ไกล ใส่ชื่อของคุณประยุทธิ์ อุดรพิมายลงไปด้วย เสมือนเป็นผู้ร่วมวิจัยคนหนึ่ง เพื่อให้เป็นที่รู้จักในแวดวงวิชาการ หากในอนาคต เขาจะขวนขวายศึกษาต่อในระดับปริญญา หรือทำงานเป็นนักวิจัยในสาขานี้  ก็จะมีหลักฐานยืนยันประสบการณ์การทำงานในช่วงที่ผ่านมาได้…..

 

คุณประยุทธิ์ มีครอบครัวแล้วครับ มีลูกชาย 2 คน ซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายในการศึกษาพอสมควร แต่การมาทำงานกับ ดร.นฤมลนั้น ถึงแม้ ดร.นฤมล จะจ่ายเงินเดือนให้เขาในอัตราใกล้เคียงกับผู้ที่จบปริญญาตรี แต่ค่าใช้จ่ายในบ้านก็ไม่พอใช้อยู่ดี ทำให้ช่วงปี 2548 คุณประยุทธิ์ ต้องลาออกจากงานกับ ดร.นฤมล ไปทำงานต่างประเทศ  เพื่อหาเงินให้พอกับรายจ่ายของครอบครัว

 

เมื่อคุณประยุทธิ์ออกไป ดร.นฤมล จึงต้องทำงานนห้อง lab เอง หลายอย่าง ต้องทำงานหนักมากขึ้น อยู่จนค่ำ มีเวลาพักผ่อนน้อยลง จนลูกศิษย์ที่ได้เห็นการทำงานหนักของท่าน ได้แสดงความเป็นห่วงกันทั่วหน้า จนนายบอนก็มีโอกาสได้รับรู้ด้วย

 

แต่ทว่าปี พ.. 2549 คุณประยุทธิ์กลับจากไต้หวัน และกลับมาทำงานกับ ดร.นฤมลในหน้าที่เดิมอีกครั้งครับ!!!!

 

ทั้งๆที่ไปทำงานที่ไต้หวัน  หรือไปทำงานที่อื่นๆ จะมีรายได้มากกว่า .. แล้วเขากลับมาทำไม

 

ถึงแม้ว่า คุณประยุทธิ์ จะเป็นเพียงลูกจ้างคนหนึ่ง แต่นายจ้างอย่าง ผศ.ดร.นฤมล ให้ความสำคัญ ดูแลเอาใจใส่ ให้เกียรติ และให้โอกาสอย่างเต็มที่ จนกลายเป็นความผูกพัน ทำให้ต้องกลับมาอีกครั้ง!!!!

นอกจากสร้างคนให้เติบโตขึ้นมาแล้ว ยังสร้างหัวใจของคน ให้เติบโตขึ้นมาด้วย

 

ไม่เฉพาะคุณประยุทธิ์เท่านั้น แม้แต่นักศึกษาที่เคยอยู่ในความดูแลของ ดร.นฤมล ในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย ต่างมีความผูกพันกับท่านกันทั้งนั้น

ไม่เว้นแม้แต่นายบอน ที่เคยเป็นทั้งนักศึกษาในความดูแลของท่าน และผู้ช่วยนักวิจัยในโครงการของท่าน

 

การที่ได้ยินข่าวชิ้นเล็กๆ ถึงการกลับมาทำงานด้วยกันอีกครั้งของ คุณประยุทธิ์ อุดรพิมาย ได้สร้างความยินดีปรีดาให้กับชาว wetlab หลายคนเช่นกัน

 

การที่คุณบุญเสฐียร บุญสูง ตัดสินใจเรียนต่อในระดับปริญญา ตรี-โท-เอก โดยหัวข้อวิจัยกับท่าน ผศดร.นฤมล แสงประดับมาโดยตลอด

รวมถึงการตัดสินใจกลับมาเรียนต่อระดับปริญญาเอกของ คุณไพบูรณ์ เกตุวงษา หลังจากขวนขวายจนเรียนจบปริญญาโทด้วยความยากลำบาก

 

รวมไปถึงบรรดาลูกศิษย์อีกหลายคน ที่ยังคงห่วงใย ผศ.ดร.นฤมล แสงประดับอยู่เสมอ

รวมทั้งนายบอนคนนี้ด้วย

 

น่าจะเป็นสิ่งที่จะสะท้อนถึงการสร้างบุคลากรอย่างมีคุณภาพด้วยหัวใจ ได้เป็นอย่างดี…..

 

หมายเลขบันทึก: 36213เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2006 12:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ดีใจมากๆที่แจ๊กกี้(ประยุทธิ์)กลับมานะ  เราได้ทำงานกับนายมันส์มาก หากมีโอกาสคงได้ทำงานร่วมกันอีกนะ  สู้ๆๆๆนะแจ๊กกี้  เป็นกำลังใจให้นายนะ  จาก...ปุ๊ก(คุณเรขา  ที่นายชอบเรียกงัย) บอน...บางครั้ง...เงิน...ก้อไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุดใช่ป่ะ....ขอเบอร์โทรคุณประยุทธิ์ให้พี่หน่อยนะ  ส่งเมลมา  ตอนนี้พี่ปิดโทร.ไม่ใช้แล้วล่ะ) 
สวัสดีครับพี่ปุ๊ก
   เดี๋ยวจะหามาให้นะครับ แล้วจะส่งให้ทางเมล์ครับ

เคารพและระลึกถึงท่านอาจารย์เสมอครับ

 ประสาท เนืองเฉลิม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท