จากจอมบึงสู่เมืองแปง


เน้นการปฏิบัติให้เด็กมีงานทำ มีความรู้ความสามารถนำไปประกอบอาชีพได้เมื่อเรียนจบ และมีรายได้โอกาสทำให้โครงการนี้คงอยู่ตลอดไป แม้ว่าใครจะมาบริหารจัดการ

  เมืองแปงกับการให้โอกาสทางการศึกษา           

           จากการที่ข้าพเจ้ามีโอกาสไปเรียนที่วิทยาลัยหมู่บ้านจอมบึง  จ.ราชบุรี    ซึ่งภายหลังยกฐานะเป็นวิทยาลัยครู และมหาวิทยาลัย  โดยการสอบคัดเลือกชิงทุนการศึกษาปีละ  2,500  บาท ทุนนี้ใช้เป็นค่าอาหาร  เครื่องอำนวยความสะดวกทุกอย่าง  ซึ่งเขาจัดรับปีละ  70  คนทั่วประเทศ เรียน 5 ปีจบได้วุฒิ ปกศ. มีกิจกรรมที่แตกต่างไปจากสถาบันอื่นๆคือเขาฝึกคนให้กลับไปอยู่ชนบท  จึงได้เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ  โดยเฉพาะวิชาชีพเบื้องต้น นักเรียนส่วนมากจึงมีความรู้ตามหลักสูตรและได้รับคุณธรรมด้านอื่นด้วย เช่น ความขยัน  อดทน  และมีเพื่อนกระจายอยู่ทั่วประเทศ  จากประสบการณ์ดังกล่าวเมื่อมาเป็นครูอยู่หลายปีจนกระทั่งไปสอนที่โรงเรียนปัจจุบันได้พบปัญหาของชุมชนในตำบล ซึ่งอยู่ห่างไกล  เด็กใกล้เคียงไม่มีที่เรียน  จึงนึกถึงสถาบันที่เคยเรียนมาในอดีต การได้พักนอน เรียนจนจบ 5 ปีที่จอมบึง  มาจัดหอพักชั่วคราว นำนักเรียนจากโรงเรียนซึ่งอยู่ห่างไกลมาเรียน  และพักนอนที่โรงเรียนโดยได้ขอทุนสนับสนุนจากท่านบุญชู   ตรีทอง  เป็นกองทุนครั้งแรกทำให้โอกาสของเด็กเกิดขึ้นทันทีในปีนั้น(ปีการศึกษา 2534) แรงบันดาลใจที่คิดทำขึ้นมานี้  มาจากปัญหาของสังคมและพื้นฐานการเคยได้มีโอกาส  ประสบการณ์จากสถาบันที่เคยเล่าเรียนมาในอดีต            

                ปัญหาเด็กจบ ป.6 ไม่มีที่เรียนต่อเนื่องจากโรงเรียนมัธยมศึกษาอยู่ห่างไกล   ประกอบกับผู้ปกครองก็มีฐานะยากจน  โรงเรียนจึงสำรวจว่ามีเด็กเท่าไหร่ที่ต้องการเรียนต่อ  ตอนนั้นโรงเรียนบ้านเมืองแปง มีนักเรียนที่จบชั้น ป.6 แค่ 9 คน จึงรับจากโรงเรียนในตำบลใกล้เคียงอีก 11 คนมาพักนอน  รวมนักเรียนที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับ ม.1 ทั้งหมดเป็น 20 คน  เมื่อเปิดหอพักนอนแล้วปรากฏว่าเด็กที่มาเรียนและพักนอนนั้นไม่ใช่แค่ 11 คนเพราะมีเด็กที่ชั้นอื่นๆอีกที่ไม่มีที่เรียนมาขอเรียนเพิ่มขึ้นอีก รวมเป็นเด็กพักนอน 30 คน   ก่อนที่จะเปิดหอพักชั่วคราวได้จัดทำโครงการขอรับการสนับสนุนจากท่านบุญชู   ตรีทอง  ได้กรุณามอบทุนให้โดยท่านเองก็ไม่เคยได้พบกับข้าพเจ้าเลยจนกระทั่งได้รับเงินและเด็กๆมาพักนอนท่านจึงไปเยี่ยม  การให้เด็กมาพักนอนก็ใช้อาคารชั่วคราวมุงด้วยใบตองตึง  อาคารไม้ไผ่  ต่อมาหลายปีเกิดผุพังไป  เมื่อการคมนาคมสะดวกขึ้น  คณะครูบางคนไม่ได้พักนอนจึงให้นักเรียนไปพักตามบ้านพักครูแทน  เด็กๆเริ่มแรกมีประมาณ 30 คน มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปีการศึกษา2539  มีถึง 70 คน ต่อมาลดปริมาณลง เนื่องจากส่งให้โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ที่ 22 ( อ.ปาย ) ส่วนที่เหลือปีนี้ มี 30  คน  และพักตามชุมชนอีก 9 คนรวมเป็น 39 คน (นักเรียนทั้งหมดมี 192 คน) กิจกรรมที่จัดให้เด็กๆก็ฝึกให้เขามีความขยัน  อดทน  เช่นการทำอาหารเอง  การปลูกผัก  เลี้ยงปลา  เลี้ยงหมู  เวลาปกติก็เรียนเหมือนกับเพื่อนๆ ทั้งโรงเรียน            

                        ด้านดีมีมาก เด็กๆที่ไม่มีโอกาสได้เรียนต่อ ก็ได้เรียนต่อจนจบชั้น ม.3 และไปเรียนต่อที่อื่นจนจบปริญญาตรีก็หลายราย มีรายได้  มีงานทำ  คนที่ไม่ได้เรียนต่อก็ไปประกอบอาชีพส่วนตัวที่ได้รับประสบการณ์จากโรงเรียนไปส่วนมากเกินกว่า 90 % จะประสบ           

                        ด้านลบก็มีมากเหมือนกัน  การบริการจัดการไม่ได้จัดทำเป็นระบบที่ดี  จัดการแบบครอบครัวคือเด็กๆจะอยู่แบบง่ายๆ การพึ่งพาตนเองจึงไม่ดีพอ  เป็นภาระของครูที่จะต้องทุ่มเทมากกว่าโรงเรียนอื่นที่ปกติ  ผู้ปกครองจึงเห็นว่าโรงเรียนดูแลดีจึงอยากเอาลูกมาฝากที่ไม่ใช่ชั้นมัธยมโดยเฉพาะชาวเขา จึงเป็นภาระมากเกินไป เป็นต้น            

                       เนื่องจากตัวของผู้บริหารโรงเรียน มีเวลาอีกเพียง 5 ปี จึงคิดว่าจะระดมพลังความคิด จากทุกฝ่ายพัฒนากระบวนการจัดการให้เหมาะสม  เพื่อให้เด็กๆที่ขาดโอกาสได้มีโอกาสตลอดไป โดยจะระดมความคิดจากตัวตั้งต่อไปนี้ขยายผลรวมหลอมเป็นหลักการเดียวกันดังนี้           

      1.  จะเน้นการปฏิบัติให้เด็กมีงานทำ มีความรู้ความสามารถนำไปประกอบอาชีพได้เมื่อเรียนจบ  และมีรายได้โอกาสทำให้โครงการนี้คงอยู่ตลอดไป  แม้ว่าใครจะมาบริหารจัดการ  ประการสำคัญจะจัดทำเพื่อเทิดพระเกียรติในหลวงทรงมีพระชนม์มายุ 80 พรรษา  เช่น                       

           1.1  การเกษตรตามแนวพระราชดำริ (การเลี้ยงหมู  เลี้ยงปลา  ปลูกผักเลี้ยงชีพและจำหน่าย)                       

           1.2  จะเปิดการเรียนการสอนวิชาช่างยนต์  ช่างเชื่อม  ช่างก่อสร้าง  ช่างปั้นซีเมนต์บล๊อค  จะดำเนินการในปีการศึกษา  2550  จะเริ่มเตรียมการให้เข้ารูปภายในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549                       

           1.3  จะกระตุ้นให้เด็กพักนอนให้ตื่นตัว ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน  ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และพยายามจัดหาสื่อด้าน  I.T.  มาให้บริการนอกเหนือจากการเรียนปกติ                       

           1.4  ปรับปรุงการบริหารจัดการทำให้บุคลากรทุกฝ่ายเต็มใจทำงานอย่างมีความสุข

           1.5  จะจัดหากองทุนเพื่อนำมาดำเนินการดังกล่าวข้างต้นให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

หมายเลขบันทึก: 36215เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2006 12:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
  • ตามมาดู
  • มาให้กำลังใจครับผม
  • ผอ ครับ
  • อยากให้บันทึกมาบ่อยๆๆครับผม
  • ขอบคุณครับ

http://jombung.com

 เรื่องของจอมบึง

http://jombung14.com

 

ศิษย์เก่าวิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึง ราชบุรี รุ่น ๑๔

http://web.src.ku.ac.th/somchai/04%20jombung/index%20JB%2016.html

 

ศิษยเก่า วิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึง รุ่น 16

http://www.mcru.ac.th

 

มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

http://school.obec.go.th/tungfak

 

นายเสงี่ยม เมฆนาคา   089-8988104
ผอ.โรงเรียนบ้านทุ่งแฝก
หมู่15 ตำบลแก้มอ้น อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1
อยู่ห่างจากสำนักงานเขตพื้นที่ ประมาณ 60 กิโลเมตร

 

http://school.obec.go.th/paeng

 เว็บไซต์ โรงเรียนบ้านเมืองแปง อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน

สวัสดีครับอาจารย์

ยินดีที่ได้รู้จักอาจารย์ครับ  กระผมนักศึกษาโครงการบัณฑิตคืนถิ่น จากมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงครับ พอดีทางอาจารย์ท่านแนะนำอาจารย์ผมก็เลยถือโอกาสติดต่อกลับอาจารย์ กระผมมาจากจังหวัดน่านครับโดยทางมหาวิทยาลัยได้จัดโครงการนี้มาซึ้งได้หายไปเกือบ 50 ปี ไม่ทราบว่าสาเหตุอันใดมหาวิทยาลัยจึงยกเลิกโครงการนี้เมื่อ 50 ปีก่อน(ถ้าอาจารย์ทราบช่วยกรุณาตอบผมด้วยน่ะครับ) ผมเองก็มาเรียนไม่ถึงปี ดีใจและภาคภูมิใจที่มีรุ่นพี่ที่ดีอย่างอาจารย์เป็นตัวอย่างแก่กระผม ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเมื่อจบการศึกษาผมจะสามารถพัฒนาสังคมได้เหมือนอาจารย์บ้าง ถ้ายังไงกระผมต้องขอคำชี้แนะจากอาจารย์ด้วยน่ะครับ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

สวัสดีครับอาจารย์ ผมเป็นหนึ่งในนักศึกษาที่ได้รับโอกาสทางการศึกษาจากทุนโครงการบัณฑิตคืนถิ่น  ที่ม.ราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง ซึ่งเป็นโครงการที่ดีมากๆสำหรับผม ทำให้คนที่คิดว่าข่าดโอกาศทางการศึกษาเเล้วอย่างผมกลับมามีความหวังอี่กครั้ง เเละผมยังได้รับสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่าการเรียนปกติ คือผมได้รับเพื่อน ความรักความอบอุ่นจากครู อาจาร ความสามัคคี การทำงานเป็นทีม และได้รับการฝึ่กงานอาชีพ เช่นในหนึ่งภาคเรียนที่ผ่านมาเราได้ฝึ่กตัดผม และอาจารย์ที่มาดูแลยังฝึ่กสอนเรื่องต่างๆ เช่นการอ่าบน้ำ การซักผ้า การพูด เป็นต้น ผมมีความรู้สึกว่าการได้มาเป็นนักศึกษาโครงการบัณฑิตคืนถิ่นนี้เหมือนกับเป็นการเรียนรู้ทั้งวิชาการและเรียนรู้วิชาชีวิตไปด้วย ผมอย่ากขอบคุณทุกๆคนที่มีส่วนช่วยในโครงการทุนต่างๆในโครงการนี้จากใจจริง "ขอบคุณครับ"

บอบคุณ สมชาย งามยิ่งยวด

  • ที่ท่านได้กรุณาติดตามกิจกรรมของโรงเรียนบ้นเมืองแปง
  • และที่ท่านได้ให้ความสำคัญต่อการศึกษาของเด็ก
  • ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือหาคอมพิวเตอร์มาให้กับโรงเรียน
  • ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณP อาจารย์ขจิต ฝอยทองมากครับ

  • ที่เห็นความสำคัญของระบบการศึกษา
  • ช่วยจัดค่ายภาษาอังกฤษ
  • และชวยเหลือโรงเรียนด้านระบบอินเทอร์เน็ต
  • ผมและคณะครูคงได้มีโอกาสมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทุกท่านใน G2Kบ่อยขึ้นครับ
  • ขอบคุณมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท