แก้ไขชิ้นงานวิชาการบริหารการศึกษาและการจัดการเทคโนโลยี


ศึกษาดูงานการประกันคุณภาพสถานศึกษา

โครงการที่นำเสนออาจารย์  เป็นโครงการที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการดำเนินงานในปีงบประมาณ  2552 
ซึ่งเป็นการศึกษาดูงานการประกันคุณภาพสถานศึกษาของ กศน. อำเภอ ที่ได้รับการประเมินเรียบร้อย เพื่อนำมาพัฒนาการประกันคุณภาพของหน่วยงานตนเอง  ซึ่ง สมศ. ได้เข้าประเมินในเดือนมกราคม 2553    และผ่านการประเมินไปด้วยดีในคะแนน  3.75    นับว่าเป็นผลสำเร็จของ กศน. ห้วยขวาง  ซึ่งได้รับความร่วมมือจากเครือข่าย และน้อง ๆ ที่ประจำสำนักงาน บวกความสามารถของผู้บริหาร   จึงทำให้นำพาความสำเร็จมาสู่หน่วยงานได้     ข้าพเจ้าอาจเป็นเศษเสี้ยวของสำเร็จ หรือถ้าคำนวณให้เต็มร้อย  ก็คงเป็นเพียง   เศษ 1 ส่วน 100   ของความสำเร็จ  แต่ข้าพเจ้าก็ภูมิใจในสถาบันที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ทำงานซึ่งอยู่มาตั้งแต่ ปี 2542  จนปี 2552  ก็คงเป็น 10 ปีแล้ว   ที่แห่งนี้มีทั้งความเป็นพี่น้อง เป็นเพื่อน  และที่สำคัญถึงจะเปลี่ยนผู้บริหารไปกี่คน กี่ครั้ง  ที่แห่งนี้ไม่เคยขาดหายไป นั่นคือ ความมีน้ำใจ  ซึ่งไม่เคยแห้งหายไปไหน  น้ำใจของทุกคนยังมีให้กันเสมอ   เรามาพูดถึงโครงการที่รับผิดชอบกันดีกว่า  ชื่อโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ซึ่งโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาดูงานซึ่งยังมีโครงการต่าง ๆ เกิดขึ้นอีก  ซึ่งอาจจะใช้ชื่ออื่น  เพราะก่อนหน้าที่จะเกิดโครงการนี้ขึ้นมา ก็ได้ไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับการประกันคุณภาพที่จังหวัดชลบุรีมาแล้ว 1 ครั้ง  ท่านผู้บริหารได้นำคณะทำงานไปศึกษาวิธีการทำงานของ กศน. อำเภอต่าง ๆ ที่ได้รับการประเมินแล้ว  แต่อาจจะมีมาตรฐานที่มากกว่า  แต่สามารถนำมาปรับใช้กันได้เพราะเป็นลักษณะการทำงานเดียวกัน  ข้าพเจ้าจะนำเสนอ
เกี่ยวกับงานที่ได้ไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับการประกันคุณภาพสถานศึกษา  โครงการแต่ละโครงการจะอยู่ในแผนการปฏิบัติงานประจำปี  ซึ่งโครงการศึกษาดูงานประกันคุณภาพสถานศึกษา เป็นแผนย่อยอยู่ในโครงการพัฒนาบุคลากร  ซึ่งในการไปศึกษาดูงานแต่ละครั้งจะต้องมีการประชุมวางแผนการปฏิบัติเพื่อมอบหมายหน้าที่ที่รับผิดชอบ จะได้ไม่ทำงานซ้ำซ้อนกัน   ในการมอบงานจะยึดหน้าที่หลักของแต่ละคนให้เข้ามาตรฐานที่รับผิดชอบ  และออกคำสั่งแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่   ในการดูงานของ กศน.อำเภอจะดูงานให้ภาพรวมก่อน  และจะดูงานเป็นรายมาตรฐาน ซึ่งแต่เดิม สมศ. จะประเมิน 9 มาตรฐาน 28 ตัวบ่งชี้  แต่ในการประเมินปี 2553  สมศ.จะประเมิน 9 มาตรฐาน 22 ตัวบ่งชี้     ข้าพเจ้าและคณะได้ขอความคิดเห็นจาก  เพื่อนที่ได้รับการประเมินแล้ว ว่า มีข้อเสนอแนะอะไรบ้าง  ที่ข้าพเจ้าและคณะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ หรือปรับปรุงงานที่มีอยู่แล้วให้เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมในการประเมิน   ข้าพเจ้าได้รับคำแนะนำที่ดี ๆ มาก
สิ่งที่สำคัญในการทำงานคือ  ความสามัคคี  มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน  ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน    และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ  ผู้บริหารที่มีน้ำใจรักผู้ใต้บังคับบัญชา
ปกครองด้วยพระเดชและพระคุณ  ควบคู่กันไป   อย่าปกครองด้วยพระเดชหรือใช้อำนาจอย่างเดียว    เพราะงานที่ออกมาจะเป็นแค่เพียงสั่งการเท่านั้น  มิได้มีบุญคุณหรือน้ำใจหลงเหลืออยู๋เลย   สิ่งที่ข้าพเจ้าได้รับจากการที่ไปศึกษาดูงานและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้  คือ
        1.  การมีความสามัคคี  ทำงานเป็นทีม  เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันจะนำพาให้งานบรรลุไปสู่ความสำเร็จได้ไม่ยากเลย
        2.  การปรับปรุงงานด้านเอกสารหรืออาคารสถานที่เพื่อเตรียมพร้อมในการประเมิน
คุณภาพต่อไป
        3.  ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของกันและกัน  เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานในครั้งต่อไป
         4. ทำให้ข้าพเจ้าและคณะนำความรู้ที่ได้รับมาพัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนการสอน
          5. ได้เปลี่ยนแปลงบรรยากาศในการทำงานด้วย  ทำงานด้วยเที่ยวดูงานของเขาด้วย  ทำให้พบสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ ขึ้น
 
 
ศึกษาดูงานการประกันคุณภาพ ของ กศน.  อำเภอแม่เมาะ ลำปาง
 
 
 
ศึกษาดูงานการประกันคุณภาพ ของ กศน. อำเภอแม่สะเรียง   แม่ฮ่องสอน
 
หมายเลขบันทึก: 362178เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2010 11:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท