ปารินุช
นางสาว ปารินุช บริสุทธิ์ศรี

ผลกระทบต่อระบบยา ที่อาจเกิดจากตกลง FTA ไทยกับสหรัฐ


ข้อตกลงเขตการค้าเสรี (Free Trade Agreement, FTA) นั้นเกี่ยวข้องกับยาและบริการสาธารณสุขของประเทศไทยอย่างไร?????

จากข้อเรียกร้องที่สหรัฐฯ ทำข้อตกลง FTA  กับประเทศต่างๆ รวมทั้งกรอบเจรจาที่ผ่านรัฐสภาของสหรัฐฯ ในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ส่งผลกระทบต่อการสาธารณสุขไทยและการเข้าถึงยา ซึ่งมีความสำคัญมาก ทั้งนี้เนื่องจากยาและการสาธารณสุขเป็นเรื่องของการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์และสิทธิพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้นการเจรจาแลกเปลี่ยนต้องอยู่บนหลักการว่าเกิดผลกระทบทางลบต่อการเข้าถึงยาและระบบสุขภาพหรือไม่ โดยไม่ต้องเปรียบเทียบกับข้อเสนอหลักการผลประโยชน์จากการค้าที่ได้รับเพราะชีวิตมีค่ามากกว่าที่จะนำไปเปรียบเทียบเป็นตัวเงิน ดังนั้นการเจรจาเปิดเสรีการค้าในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับยาและการบริการสาธารณสุขนั้น ต้องคำนึงถึงผู้ป่วยและผู้บริโภค และการพึ่งตนเองด้านยาและสาธารณสุข ซึ่งจะมีผลการทบต่อการมีสุขภาวะที่ดี

         จะเห็นได้ว่าอายุสิทธิบัตรของประเทศไทยตามมาตรฐานที่กำหนดในข้อตกลงทริปส์ คือ 20 ปีก็นับว่ายาวนานมากเกินกว่าอายุการใช้งานของประดิษฐ์ยาอยู่แล้ว และก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเข้าถึงยาทั่วโลก ดังเป็นที่ยอมรับของประเทศต่างๆ อยู่แล้ว จึงได้ระบุในข้อตกลงทริปท์และการสาธารณอย่างชัดเจน และการผูกขาดที่ยาวนานมากเกินกว่าอายุการใช้งานของสิ่งประดิษฐ์นั้น ก็ส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยาในประเททศที่ผลิตยาที่ชื่อสามัญ เพราะเมื่ออายุการผูกขาดตลาดยาววจนเมื่อหมดอายุการคุ้มครองสิทธิบัตร ก็จะมมียารุ่นใหม่ในกลุ่มเดียวกันออกสู่ตลาดส่งผลระยะยาวต่อความมั่นคงทางสุขภาพของประเทศไทยในการพึ่งตนเองด้านยาในเรื่องนี้ เป็นการให้ผลประโยชน์ผูกขาดตลาดแก่เจ้าของสิทธิบัตรนานเกินไป

           จากผลการศึกษาราคายาต้านไวรัสเอดส์  พบว่ารายจ่ายค่ายาในแต่ละวันของการใช้ยาต้นกำเนิด  ( Original  drug Branded drug )  แพงกว่ายาสามัญ  ( Generic drug )  2-10 เท่า  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าในสูตรการใช้ยานั้น  ถ้ามียาที่มียาชื่อสามัญด้วย  อัตรา  B/G  จะต่ำ  เมื่อพิจารณาค่ายาพบว่า  ราคายาต่อวันถ้าเป็นยาชื่อสามัญ  ตั้งแต่  40  ถึง  448  บาท  แต่ถ้าเป็นยาต้นกำเนิด  ตั้งแต่  252  ถึง  791  บาท  เมื่อเปรียบเทียบกับค่าจ้างขั้นต่ำ  170  บาทของคนไทยแล้ว  พบว่า  ค่ายาในสูตรที่เป็นยามีสิทธิบัตรสูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน  1.5  ถึง  4.7  เท่า

          ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับยาและการบริการสาธารณสุขต้องคำนึงถึงการประเมินผลกระทบต่อผู้ป่วยและผู้บริโภค และการพึ่งตนเองด้านยาและสาธารณสุข  โดยไม่ทำให้มีการผูกขาดตลาดยาวนานขึ้น และยามีราคาแพงขึ้น ทำให้รายจ่ายและความมั่นคงทางด้านยา สาธารณสุขเพิ่มขึ้น

หมายเลขบันทึก: 36103เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2006 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 12:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

แนวทางการแก้ไขของไทยควรเป็นอย่างไร

ไม่เจรจาเรื่องสิทธิบัตรยากับสหรัฐ

หรือยอมรับเรื่องสิทธิบัตรยา แล้วประเทศโดยเฉพาะคนรากหญ้าล่มจม หรือประเทศล่มจม

ยาต้านไวรัสเอดส์ตามคำของคุณหญิงสุดารัตน์ฯในขณะที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขแถลงกับที่ประชุมระหว่างประเทสว่ารวมอยู่ในบัญชียาที่ผู้ถือบัตรทอง ๓๐ บาท สามารถใช้ได้

แต่ในทางปฏิบัติ นโยบายนี้กระทรวงสาธารณสุขทำได้หรือไม่?? เพียงไร?? มีคนต่อต้านหรือไม่?? หรือต้องการแค่เป็นข่าวรายวันเท่านั้น

 ตอบคุณรัตน์

      แนวทางการแก้ไขปัญหาของไทย  ควรเจรจาโดยคำนึงถึงประโยชน์ของทั้งรัฐ  และปัจเจกชนร่วมกัน  ส่วนนโยบายของทางกระทรวงสาธารณสุขนั้นต้องรอดูต่อไปว่าจะปฎิบัติได้หรือไม่

ตอนนี้ไทยเจรจาไปแล้วกี่รอบค่ะ      

แล้วจุดจบของเรื่องนี้คือคนไทยต้องซื้อยาแพงขึ้น

เป็นเพราะสหรัฐเป็นประเทศมหาอำนาจ เราถึงไม่มี

สิทธิเรียกร้องอะไรได้อีก  หรือที่เรียกว่า

สิทธิเหนือสิทธิ

หายนะของวงการยาไทย

ในที่สุดประเทศสหรัฐและประเทศในกลุ่ม EU ก็หาทางพิชิตการผลิตยาในประเทศโลกที่ 3 ได้สำเร็จโดยการอาศัยวิชาการและการระบุในตำรับยาของประเทศสหรัฐอเมริกา และข้อบังคับใน GMP (Good Manufacturing Practice) ของ PIC (Pharmaceutical Inspection Convention) ซึ่งจะบังคับให้ทุกโรงงานยาในประเทศที่ต้องการจะเข้ากลุ่มนี้ให้ดำเนินการปรับปรุงตามกฎของ PIC ทั้งหมด

จะเห็นได้ว่าข้อกำหนดของโรงงานยาที่ปรากฏในเอกสารของ PIC นั้นเป็นโรงงานยาขนาดใหญ่เท่านั้นจึงจะดำเนินการให้คุ้มทุนอยู่ได้ แต่โรงงานยาขนาดกลางและเล็กๆในประเทศโลกที่สาม หรืออย่างประเทศไทยจะไม่มีทางดำเนินการต่อไปได้เพราะจะมีค่าใช้จ่ายคงที่สูงมากหากไม่มียอดขายระดับเกินร้อยล้านต่อเดือนจะไม่มีทางดำเนินการต่อไปได้ ยกตัวอย่างเช่น น้ำที่ใช้ทำยาน้ำและยาเม็ดตามตำรับของสหรัฐอเมริกาจะต้องมีเครื่องทำให้น้ำบริสุทธิ์ขนาดที่ว่าต้องเป็นท่อสเตนเลสทั้งหมดและท่อน้ำภายในจะต้องทำด้วยเทคนิคที่ทันสมัยของอมริกกาจะต้องเรียบไร้รอยต่อซึ่งความจริงแล้วน้ำตามข้อกำหนดเดิมเป็นแค่ทำให้บริสุทธิ์ปราศจากไอออนและปราศจากเชื้อโรคเท่านั้น ความจริงแล้วน้ำในระดับทำยาน้ำหรือยาเม็ดนี้ไม่ควรต้องผ่านสเปคที่แต่เดิมใช้ทำยาฉีดเท่านั้น เพราะว่าคนเราจะรับประทานยาในชีวิตเป็นจำนวนจำกัด ในขณะที่น้ำดื่มที่บริโภคกันวันละหลายลิตรกลับไม่ได้ควบคุมกันเข้มงวดต้องใช้เครื่องมือแพงๆ ทั้งยังต้องตรวจหาร่องรอยของสาร organic จำนวนเล็กน้อยมากๆซึ่งมีราคาหลายล้านและต้องเสียค่าสารเคมีในการตรวจหา 2-3 หมื่นบาทต่อเดือนเช่นนี้

โรงงานยาส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะอยู่ในระยะที่ทาง อ.ย.เรียกว่า "กวาดไว้ใต้พรม" คือผ่อนผันไว้ก่อน แต่อย่างไรก็ตามในปีหน้านี้ทุกอย่างจะสิ้นสุดเมื่อทางรัฐมนตรีว่าการลงนาม ในร่าง GMP ฉบับใหม่ และระเบียบวิธีว่าด้วยการขนส่งที่ดี GDP (Good Distribution Practice) นอกนี้ก็จะต้องแก้ไขตำรับยาทั้งหมดให้เข้าตามกฎเกณฑ์ของเภสัชตำรับแห่งสหรัฐอเมริกา (USP) เมื่อเป็นเช่นนี้โรงงานยาในประเทศไทย 60-70% จะต้องทยอยปิดกิจการลงทั้งหมด และแน่นอนด้วยต้นทุนที่สูงขึ้นมากยาจะต้องเพิ่มราคาอย่างสุดโหดเป็นเช่นเดียวกับประเทศมาเลเซียที่ได้เกิดขึ้นมาแล้วเมื่อรับกฎ GMP ของ PIC ไปใช้จนรัฐบาลมาเลเซียไม่อาจจะจ่ายค่ายาทำการรักษาฟรีแก่ประชาชนอีกต่อไปเพราะค่ายาได้สูงเกินงบที่ประมาณการไว้มาก

สำหรับวิธีการขนส่งที่ดี GDP ร่างไว้น่าสนใจมาก การขนส่งยาไปยังโรงพยาบาลจะใช้ส่งไปทางรถสิบล้อ หรือผ่านไปรษณีย์จะทำไม่ได้อีกต่อไป จะต้องส่งโดยผุ้ประกอบการที่มีการใช้รถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้เย็น ดังนั้นค่าขนส่งจะเพิ่มขึ้นอย่างสุดกู่ 5-6 เท่าตัว ทางโรงพยาบาลเล็กๆในเขตอำเภอหรือตำบลที่ห่างไกลจะต้องได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมากในการสั่งยา

โดยอาศัยนักวิชาการที่เป็นอาจารย์ที่ไม่เคยสัมผัสการทำงานโรงพยาบาลหรือร้านขายยา จึงไม่ทราบความเดือดร้อนของประชาชนและอาศัยแต่เพียงแปลตำราหรือกฎเกณฑ์จากต่างประเทศเท่านั้นไม่ต้องมีการคำนึงถึงความเหมาะสมต่อประเทศไทย จะอาศัยกฎเหล่านี้มาฆ่าวงการยาไทยให้ถึงหายนะในเวลานี้ แล้วเราจะทำอย่างไร?

ร่างคำแนะนำ ปฏิบัติงานตามเกณฑ์ GMP ฉบับใหม่

http://www.tpma.or.th/web/sites/default/files/tpma.zip

(ร่าง) หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการจัดส่งยา (Guide to Good Distribution Practice - GDP)

http://www.pharcpa.com/news/GDP.pdf

(ร่าง) หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการจัดเก็บยา (Guide to Good Storage Practice - GSP)

http://www.pharcpa.com/news/GSP.pdf

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท