การจัดการเรียนการสอนนักศึกษาต่างชาติในหลักสูตรการบูรณาการเนื้อหาระหว่างสาขา (3)


บทที่ 3

ความร่วมมือจัดการความรู้สู่ความสำเร็จ

 

            จากกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ความสำเร็จ คณาจารย์ทุกท่านได้ให้ความร่วมมือบอกเล่าแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความสำเร็จและความรู้ที่ได้สอนนักศึกษาชาวต่างประเทศในเวทีการประชุมทั้ง 5 ครั้ง เป็นอย่างดี ด้วยบรรยากาศที่เป็นกัลยาณมิตร ถึงแม้ว่าคณาจารย์เหล่านี้จะสังกัดต่างคณะต่างสาขาวิชาก็ตาม

            ความรู้ความสำเร็จประสบการณ์ที่พบสามารถถ่ายทอดจากถ้อยคำบอกเล่าเสนอแนะของทุกท่านตามประเด็นการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นลำดับดังนี้

                 

          1. การบริหารจัดการหลักสูตรที่มีผู้เรียนเป็นชาวต่างประเทศสาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจ

            มีผู้บริหารระดับคณะ ระดับสาขาวิชาได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การบริหารจัดการหลักสูตรที่มีผู้เรียนเป็นชาวต่างประเทศสาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีการบูรณาการด้านเนื้อหาระหว่างคณะและสาขาวิชา สามารถบันทึกเป็นประเด็นถ้อยคำบอกเล่าเป็นลำดับดังนี้

 

1.1   แนวคิด นโยบาย วิสัยทัศน์ต่อการบริหารจัดการ หลักสูตรที่มีนักศึกษาชาว

ต่างประเทศ

            “ก่อนอื่นก็ต้องขอบคุณทางสาขาวิชาภาษาไทยนะคะที่ให้โอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพราะความสำเร็จต้องมาจากหลายๆ องค์ประกอบ ในแต่ละสาขาก็มีทั้งจุดเด่นหรือว่าจุดที่ควรแก้ไข ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ เราทำไป สถานการณ์ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปหลักสูตรก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไป ก็ขอชื่นชมในส่วนของสาขาวิชาภาษาไทยที่ได้มองนอกกรอบ ในความจริงในเรื่องของภาษาก็ใช้ในการสื่อสาร แต่ว่าใช้ในเรื่องของการถูกต้องกับถูกใจไม่เหมือนกัน เราก็มองสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะในเรื่องของเศรษฐกิจสังคม ความต้องการของ steak holder มีศาสตร์อยู่สองศาสตร์ที่มาผนวกกันก็คือภาษาไทยกับธุรกิจนะคะ ในส่วนของคำว่าธุรกิจมันจะเป็นรูปธรรมในเรื่องของการประกอบการในส่วนตรงนี้ ฉะนั้นในเรื่องของการจัดการเป็นศาสตร์และศิลป์แต่ตัวเชื่อมก็คือภาษาไทยถูกไหมคะ เด็กจบไปก็สามารถเป็นอาจารย์สอนภาษไทยธุรกิจก็ได้หรือเป็นผู้ประกอบการธุรกิจก็ได้ โดยเฉพาะในตอนนี้นักศึกษาต่างชาติที่ให้ความสนใจในหลักสูรภาษาไทยธุรกิจในตรงนี้ เชื่อมั่นว่าในยุคของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ในสายจีนที่เข้ามาเรียนรู้ขากเรา เรียนรู้จากเขานะคะ มันก็เกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่าย เพียงแต่ว่าเราจะตอบรับกับมันได้อย่างไร ฉะนั้นที่ได้นำเรียนว่าในแง่ของศาสตร์ก็คือการนำการเรียนรู้จากการจัดการไปจัดระบบของการทำงานหรือว่าไปจัดระบบของการดำเนินธุรกิจ เพราะอย่างน้อยสี่ปีน่าจะเป็น อันดับแรกก็น่าจะเป็น staff ไปเป็นทีม ต้องไปเป็นผู้บริหารในแผนกก็สามารถที่จะทำได้ ในการตลาด การเงิน การบัญชี การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หรือว่าในส่วนของการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ เอาไปบูรณาการในส่วนตรงนี้ก็คือเรื่องของการส่วนถึงเรารู้ว่าหนึ่งสมรรถนะของนักศึกษาจีนที่มาเรียนจะไม่เท่ากัน สี่สิบคนก็สี่สิบแบบใช่ไหมคะ เราต้องมีจิตสาธารณะต้องเอื้ออาทรต้องมีเมตตาต้องห่วงใย ตรงนี้ก็คือในแง่ของศิลป์ก็คือการประยุกต์ใช้ ในเรื่องของคน ในเรื่องของทีมนะคะ อาจารย์ที่อยู่ในสาขาภาษาไทยและสาขาการจัดการก็ต้องช่วยกันนะคะ ฉะนั้นถ้ามองในเรื่องการบริหารจัดการมันต้องตอบรับไปด้วยกัน เป้าหมายก็คือจะทำอย่างไรในบัณฑิตของเรามี steak ไปตรงผู้ใช้บัณฑิตนะคะ steak holder ของเรานะคะ อันนี้ก็คือเป็นรางวัลที่ได้รับเป้าหมายของเราที่เราทำหลักสูตรนี้ขึ้นมานี่คือประเด็นแรกนะคะ” 

            “ในภาพรวมขณะนี้มหาวิทยาลัยของเรายังไม่สามารถพัฒนาหลักสูตรสอนชาวต่างประเทศด้วยภาษาต่างประเทศหรือหลักสูตรนานาชาติได้ที่เราทำทุกวันนี้เป็นหลักสูตรที่สอนชาวต่างประเทศเป็นภาษาไทยและเป็นการสอนระดับปริญญาตรี 4 ปีเหมือนคนไทยทุกประการไม่ใช่หลักสูตร 2+2 หรือ 3+1 อย่างที่อื่นๆทำกันจึงเห็นว่าควรบริหารจัดการให้เป็นองค์รวมไม่จำกัดอยู่ในระดับสาขาวิชาเท่านั้น ควรมองในระดับมหาวิทยาลัยลงมาด้วย อาจจะมีองค์ประกอบหลายองค์ประกอบเริ่มตั้งแต่การรับเด็กที่จบม. 6 จากต่างประเทศมาเรียนภาษาไทยเบื้อต้นให้ได้คุณภาพ ฟัง พูด อ่าน เขียนใช้ได้ดี สามารถเข้าเรียนปี 1 ได้อย่างมั่นใจได้อย่างไร ต่อมาต้องพิจารณาว่ามีหลักสูตรที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยของเราที่สามารถรับนักศึกษาชาวต่างประเทศที่เรียนภาษาไทยจากเราแล้วเข้าศึกษาในระดับ ซึ่งเราต้องพัฒนาหลักสูตรและความพร้อมของสาขาที่รับนักศึกษาต่างประเทศเข้าเรียนในหลักสูตรอาจจะเรียนร่วมกับคนไทยหรือเรียนเฉพาะชาวต่างประเทศในระดับสาขาวิชาต้องพร้อมทั้งผู้สอนและหลักสูตรจากนั้นต้องจัดให้มีกระบวนการเติมเต็มพัฒนานักศึกษาให้เขาสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมแบบลำปางแบบไทยๆ ซึ่งแตกต่างจากวัฒนธรรมวิถีชีวิตเดิมของเขาอย่างสิ้นเชิงได้อย่างไร แน่นอนสาขาหรือหลักสูตรต้องทุ่มเป็นสองเท่าจากที่เคยทำกับนักศึกษาปกติ มหาวิทยาลัยคณะ หน่วยงานอื่น ต้องเข้ามาเสริม ช่วยสาขา ส่วนสุดท้ายคือกระบวนการที่จะให้เขาสำเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิตที่มีคุณลักษณะตามที่กำหนดไว้ได้อย่างไร เมื่อชาวต่างประเทศจบไปไม่ใช่เป็นแค่ศิษย์เก่าเท่านั้นผมคิดว่าเขาจะเป็นทูตทางวัฒนธรรมไทยด้วยเป็นทูตการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยด้วย และคิดมาตลอดว่าถึงเขาจะเรียนภาษาไทยไม่ได้เป็นเลิศเหมือนคนไทยเรียนเอกภาษาไทยแต่ผมมั่นใจว่าเขาจะมีความรู้ความสามารถทางภาษาไทยไม่แพ้เด็กจีนที่เรียนภาษาไทยในประเทศจีนอย่างแน่นอน  ในระดับนโยบายของมหาวิทยาลัย ถ้าจะพัฒนางานการเรียนการสอนสำหรับชาวต่างประเทศแล้วควรจัดงบประมาณสนับสนุนอีกทางหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ควรพิจารณาใช้งบรายได้จากค่าธรรมเนียมนักศึกษาชาวต่างประเทศมาหนุนเสริมในองค์ประกอบต่างที่ว่ามา”

 

 

 

    1.2    หลักในการบริหารจัดการหลักสูตรสาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทาง

ธุรกิจระหว่างคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และคณะวิทยาการจัดการ  

            “ในแง่ของการบริหารจัดการหลักสูตร ทุกอย่างก็ต้องปรับไปตามกระบวนทัศน์ ตามเกณฑ์ทุกๆ ห้าปี เพราะว่าสภาวะแวดล้อมมันเปลี่ยนไปในแง่ของเศรษฐกิจอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อหยวนอะไรต่างๆ ตอนนี้ห้าบาทกว่ามันอาจจะขึ้นจะลงก็เป็นภาวะเศรษฐกิจ ฉะนั้นในเรื่องของหลักสูตรก็ต้องมีการปรับเปลี่ยน ท้ายที่สุดเราอาจมีการพัฒนาหลักสูตรในรายวิชาที่มันเปลี่ยนแปลงไป อย่าลืมว่าบนโลกของการแข่งขันเราจะแข่งขันกับตัวเอง เราจะให้หลักสูตรของเราเป็นที่ต้องการของนักศึกษาต่างชาติได้อย่างไร ตรงนี้สำคัญ เราก็ต้องกลับมาวิเคราะห์ด้วย เพราะเดี๋ยวนี้ในลักษณะของการจอยโปรแกรมก็มีมหาวิทยาลัยต่างๆ อย่างมากมายเข้ามา offer link ให้มหาวิทยาลัยมีศักยภาพ อย่างเช่นมหาลับยูนนานนอร์มอล ที่นี่ก็มีช้อยหลากหลายแต่จะทำอย่างไรให้เขาตัดสินใจเลือกเรา สามารถที่จะส่งนักศึกษาไปเรียนกับเรา ฉะนั้นถ้าเทียบในเชิงธุรกิจหลักสูตรก็คือตัวผลิตภัณฑ์ที่เราจะนำเสนอให้กับลูกค้า ลูกค้าก็คือนักศึกษาถูกไหมคะ ฉะนั้นถ้ามองในเชิงธุรกิจจะมองในลักษณะแบบนี้ ฉะนั้นหลักสูตรต้องมีคุณภาพ หลักสูตรจะต้องมีความต้องการทางท้องตลาด ฉะนั้นไทยธุรกิจในส่วนตรงนี้ต่อไปอาจเพิ่มความเป็นผู้ประกอบการทางนักศึกษาด้วยเพราะอย่าลืมว่าทุกอย่างต้องมีปัญหาความเสี่ยงกล้าตัดสินใจในการทำงานบนโลกของการทำงานและอีกอย่างคือการเปลี่ยนแปลงที่มันจะเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่ตลอดเวลา ศาสตร์แห่งการจัดการเหมือนที่ได้เรียนว่าในแง่ของศิลป์คือการประยุกต์ตามบริบทตามอะไรที่มันปรับเปลี่ยนไป”

            “การบริหารจัดการหลักสูตรอย่างสาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจนี้ ควรเน้นที่การการสร้างความเข้าใจใน 2 ระดับคือ การสร้างความเข้าใจให้ผู้บริหารระดับคณะและการสร้างความเข้าในใจระดับสาขาวิชา และอาจารย์ผู้สอน โดยเฉพาะความเข้าใจในภารกิจร่วมกันตามโครงสร้างหลักสูตร เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมทุกคนเช่น การกำหนดแผนการสอนการปรับปรุงหลักสูตรการพัฒนานักศึกษา ซึ่งอาจารย์ผู้สอนมาจากต่างคณะต่างสาขาวิชาต้องมาสอนเด็กต่างชาติเด็กต่างประเทศร่วมกัน วิธีการที่จะสร้างความเข้าใจได้ง่ายก็คงเป็นการประชุมอาจารย์ผู้สอนเป็นประจำทุกภาคเรียนเพื่อให้เข้าใจปัญหาเข้าต้องการของผู้สอนและป้าหมายของหลักสูตรร่วมกัน”

 

                1.3   มีหลักในการเลือกคณาจารย์ที่มาสอนนักศึกษาชาวต่างประเทศอย่างไร

            “อันดับแรกในเรื่องของศักยภาพ คณาจารย์จะต้องมีความรู้ความสามารถในสิ่งที่ตนเรียนมา อย่างเช่นคำว่า Business มันอาจจะมีทั้งด้าน.... มันก็จะมีในหลายๆ สาขา ฉะนั้นเราจบศาสตร์นี้มาเราจะต้องรู้ รู้มากกว่าเชี่ยวชาญมากกว่าไม่เพียงแค่การเรียนการสอนก็ต้องมีการวิจัยด้วย แต่ทีนี้คำว่านักศึกษาต่างชาติมันก็แตกต่างอยู่แล้วกับนักศึกษาภาคปกติของเรานะคะ อาจารย์จะต้องทุ่มเทและเพิ่มพลังมากขึ้นโดยเฉพาะในเรื่องของภาษา ในเรื่องเทคนิควิธีการในการเรียนการสอน อาจารย์สามารถที่จะ เดี๋ยวนี้อาจารย์จะต้องมีวิจัยในชั้นเรียน สามารถเอาตรงนี้ไปเป็นบทเรียน อะไรที่มันเป็นปัญหาอุปสรรคก็อาจจะมีโจทย์วิจัยขึ้นมาแล้วก็เอาไปเป็น topic ของงานวิจัยของอาจารย์แต่ที่เลือกก็คือหนึ่งต้องมีความรับผิดชอบ อันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ นักศึกษาต่างชาติที่มาเขาต่างบ้านต่างเมือง เราจะต้องดูแลเป็นพิเศษ ต้องมีเหมือนกับที่ได้นำเรียนว่าจิตสาธารณะนะคะ ไม่ใช่ทำเพื่อความเอื้ออาทรไม่ใช่ทำเพื่อหน้าที่เพียงอย่างเดียวถูกไหมคะ เราจะต้องมีองค์ประกอบอื่นเพิ่มเข้ามาด้วย”

“ในการเลือกคณาจารย์ที่มาสอนนักศึกษาชาวต่างประเทศ ที่เลือก อาจารย์เครือวัลย์ อาจารย์ฤาชุตา เพราะอาจารย์ทั้ง 2 ท่านเก่งภาษาอังกฤษ มีลูกล่อลูกชนเยอะ มีวิธีดึงดูดใจ และใจเย็นในการสอนนักศึกษาจีนอาจารย์ก็มีประสบการณ์การสอนเยอะ”

“จะถามอาจารย์ในสาขาว่าจะสอนได้ไหมถ้าไม่เคยสอนให้ดูคำอธิบายรายวิชาก่อนว่าพอจะสอนได้ไหม เพราะถ้าไม่เลือกอาจารย์ท่านอื่นๆมาสอนเด็กก็จะเจออาจารย์คนเดิมเด็กก็จะเบื่อ ดังนั้นก็จะคุยกับอาจารย์ก่อนเบื้องต้น จะคำนึงถึงงานวิชาการในเบื้องหน้า เมื่อใครจะสอนอะไรอยากให้สอนต่อเนื่องเพื่อประโยชน์ในการทำผลงานทางวิชาการ”

            “ด้วยหลักการแล้วเราเชื่อว่าอาจารย์มีศักยภาพมีมีความรู้สามารถสอนนักศึกษาชาวต่างประเทศได้จึงควรเปิดโอกาสให้ทุกคนได้สอนนักศึกษาต่างชาติตามความถนัดความสามารถของแต่ละคนหรือตรงกับเนื้อหาวิชาที่สอน แต่อย่างไรก็ตามการสอนนักศึกษาชาวต่างประเทศนั้น ถ้าสามารถได้อาจารย์ที่มีความเข้าใจเด็ก มีความอดทนต่อความไม่รู้ของเด็ก เช่นความไม่รู้ภาษาไทยอย่างลึกซึ้ง ความไม่รู้วัฒนธรรม ธรรมเนียมไทย และถ้าได้อาจารย์ที่มุ่งมั่นที่จะพัฒนาคนไม่สอนความรู้อย่างเดียวก็จะเป็นเรื่องที่ดีมาก ”

 

    1.4  การมองความสำเร็จใน 3 ปีที่ผ่านมา

            “ความสำเร็จที่ผ่านมาก็คือมันอาจจะต้องมาจากบัณฑิตก่อนเพราะว่าเป็น out come ที่เราภาคภูมิใจ ถ้าเราหล่อหลอมถ้าเราบ่มเพาะให้ลูกศิษย์ของเราจบไปแล้วก็มีงานทำตามที่เขาต้องการหรือว่ามีความสุขที่ได้ทำอาจจะไม่ใช่ในธุรกิจ อาจจะเป็นทำงานเพื่อสังคม ตรงนี้ต่างหากก็คือสิ่งที่เราสำเร็จมากกว่าตัวเอง ฉะนั้นคณาจารย์ในเรื่องของจิตเมตตาจะต้องปูไปที่ความสำเร็จของนักศึกษามันเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่เมื่อไหร่ก็ตาม ถ้านักศึกษาสำเร็จสิ่งที่เราได้คือผู้ปกครองเขาจะดีใจมากกว่าตัวนักศึกษาเอง อันนี้มันเป็นความภาคภูมิใจแบบที่ผลผลิตของเรามันเป็น out come ที่ดี อย่าลืมว่าบัณฑิตหนึ่งคนสามารถที่จะไปเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจฐานรากให้กับประเทศได้เป็นอย่างดี ในเรื่องของการมีงานทำในเรื่องของการเพิ่มรายได้เพิ่มศักยภาพในสังคมองค์กร ชุมชนอะไรต่างๆ อีกมากมายตรงนี้ต่างๆ แต่ปัจจัยอื่นอย่างเช่นTPI ที่เกิดขึ้นหรือประกันคุณภาพที่เกิดขึ้นหรือว่า KM ที่เกิดขึ้น เป็นผลพลอยได้ที่เราต้องจัดระบบอยู่แล้ว เพราะต้องมีการจัดระบบอยู่แล้ว ในเรื่องของทีมนักศึกษา ทีมกิจกรรมถูกไหมคะ หรือว่าหลักสูตรต่างๆ ฉะนั้นถ้าเราทำทุกอย่าง KM มันก็จะตามมาเองถ้าเราทำทุกอย่างในมันเป็นวิถีเป็นชีวิตเป็นวิถีของเรา เพราะยังไงมันไม่อยากจะพูดว่าเพียงแค่หน้าที่ที่เราต้องมาทำแต่มันต้อง comment ต้องผูกพันในสิ่งที่เราทำ เมื่อผูกพันมันก็จะเกิดความรักเมื่อเกิดความรักเราก็จะทำมันได้อย่างดีและก็มีความสุขตรงนี้ต่างหากที่เราต้องโฟกัสกับบัณฑิตของเราและเราอาจจะต้องมาคุยกันอาจมีการแลกเปลี่ยนถอดบทเรียนเสวนาและอะไรที่เป็นปัญหาก็ทำวิจัยร่วมกัน อาจารย์ทางภาษาไทยและทางบริหารธุรกิจมันก็จะได้เครือข่ายเกิดขึ้นมามันก็ไต่ระดับขึ้นไปมันก็เป็นธรรมชาติการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยได้โดยอัตโนมัติ ”

            “จริงอยู่เพียง 3 ปีที่เราเปิดสอนหลักสูตรสาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจ อาจมองความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมไม่ชัดเจนนักก็ตามแต่ก็คิดว่าความสำเร็จจากการทำงาน 3 ปีที่ผ่านมาคิดว่าความสำเร็จของการทำงานนั้นหัวใจสำคัญคือการประสานงานระหว่างสาขาวิชา คณะวิชาโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจารย์ผู้สอน เราพบความสำเร็จอย่างหนึ่งว่าถ้ามีบุคคลที่เป็นมือประสานไม่ต้องถึงกับ 10 ทิศขอแค่ประสานงานระหว่างผู้บริหาร ประสานงานระหว่างสาขาวิชา ประสานงานอาจารย์ผู้สอนทุกคนที่สอนเด็กต่างประเทศด้วยกันในแต่ละเทอม ประสานงานนักศึกษาชาวต่างประเทศ ประสานหน่วยงานสนับสนุนต่างๆ เช่นกองบริการวิชาการ กองกิจการนักศึกษา และฝ่ายดูแลนักศึกษาชาวต่างประเทศแค่นี้งานก็จะสำเร็จได้มากนี่คือประสบการณ์ ถ้าเราปล่อยให้เด็กต่างประเทศหรือเด็กต่างชาติช่วยเหลือตัวเองเหมือนคนไทยคงลำบากแน่บางครั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบต้องลงไปประสานให้เด็กด้วย คิดว่าที่ผ่านมาความสำเร็จของการบริหารงานสำเร็จได้นั้นคือการประสานงานสร้างความเข้าใจทำให้เราได้ใจและได้งาน ไปพร้อมกัน การประสานงานอาจจะเหนื่อยมากแต่ก็มักจะหายเหนื่อยเมื่อเด็กรู้สึกดีกับเราศรัทธาเราเหมือนเราเป็นพ่อแม่เราก็อยู่ในใจเขา พ่อแม่เขาก็รับรู้ได้มันยิ่งใหญ่กว่าการลงทุนทำ PR ของหน่วยงานเสียอีกในขณะเดียวกันเราก็ได้ใจเพื่อนร่วมงานถ้าเราประสานงานช่วยเหลือแก้ไขปัญหารับรู้ปัญหาเขาเช่น บางครั้งอาจารย์ผู้สอนใหม่ๆ ต้องการสื่อสารกับเด็กด้วยภาษาจีนหรือต้องการแปลข้อความใน power point เป็นภาษาจีนถ้าเราสามารถหาเด็กจีนเก่งๆมาช่วยแปลให้อาจารย์มันก็ทำให้มีความสุขด้วยกันทุกฝ่ายทั้งเด็กทั้งอาจารย์ทั้งสาขาวิชา ”

 

 

 

 

 

 

2. ด้านการจัดกระบวนการเรียนการสอนนักศึกษาชาวต่างประเทศสาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจ

มีคณาจารย์ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การจัดกระบวนการเรียนการสอนนักศึกษาชาวต่างประเทศสาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มี

การบูรณาการด้านเนื้อหาระหว่างคณะและสาขาวิชา สามารถบันทึกเป็นประเด็นถ้อยคำบอกเล่าเป็นลำดับดังนี้

 

   2.1 วิธีการในการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาชาวต่างประเทศ

 “ให้นักศึกษาดูรูปเยอะๆ ในวิชาการจัดการมัคคุเทศก์จะให้ดูรูปและให้แนะนำประเทศบ้านของเขา และให้ค่อยๆอธิบายให้เพื่อนเห็นภาพ ว่าเมื่อเขาไปท่องเที่ยวในประเทศของเขาเขาเคยเจอไกด์อะไร  ประทับใจไหม ถ้ากรณีที่เขาเคยเที่ยวเยอะเขาก็จะมีเรื่องพูดได้มาก ”

“ในการจัดการเรียนการสอนมีอุปสรรคคือเรื่องภาษา ภาษาไทยก็ไม่ได้ ภาษาอังกฤษก็ไม่เก่ง ซึ่งต้องใช้วิธีการพิสดาร เริ่มแรกมีเด็กฟุบหลับ ในวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นวิชาง่ายๆ แต่หลังจากบรรยายแล้วพบว่า สมมติว่า จะอธิบายว่า แหล่งท่องเที่ยวแบ่งออกเป็นกี่ประเภทก็บรรยายไปเรื่อยๆ แต่เด็กก็ไม่เข้าใจก็ปรับเป็นภาษาอังกฤษเด็กก็ยังไม่ได้  ก็แก้ด้วยการใช้โปรเจคเตอร์ โดยเริ่มจากภาพที่น่าสนใจ ภาพเมืองไทยเขาก็ไม่สนใจก็เปลี่ยนเป็นภาพเมืองจีน และเล่าจากประสบการณ์ของอาจารย์เองว่าเมือไปเที่ยวเคยเจออะไร และถ้าสุดท้ายถามอะไรแล้วก็ยังไม่ได้ความ ก็บอกเขาว่าลองแนะนำครูไปเที่ยวบ้านเธอสิ อะไรก็ได้ บ้านเธอ ใกล้บ้านเธอ  คุนหมิงมีอะไรมากกว่า ป่าหิน ถ้ำ อะไรเยอะแยะ แต่เขาก็ตอบไม่ได้ ปัญหาที่พบคือภาษา วิธีแก้ไขควรให้เด็กอยู่กับนักศึกษาไทยเพราะเด็กจีนอยู่กันเป็นกลุ่มๆ และไม่รู้ว่าเขามีเพื่อนไทยไหม ใช้ชีวิตอย่างไร จะมีนักศึกษาเพียง 2-3 คนที่มาเร็ว เช่นตะวันจะถามเด็กว่าควรทำอย่างไร ก็อธิบายเขาก่อนแล้วให้เขาอธิบายให้เพื่อนอีกที ”

“การเรียนการสอนจะเริ่มจากสอนตามปกติก่อน คือสอนเหมือนสอนเด็กไทยก่อน แล้วก็ถามว่าเข้าใจไหม และก็จะสังเกตจากเด็กที่มีหน้างงๆ ก็จะถามว่าไม่เข้าใจตรงไหน เด็กมีข้อแตกต่างกันทั้งภาษา บางคนภาษาอังกฤษดี ก็ใช้ภาษาอังกฤษช่วยได้ แต่บางคนภาษาอังกฤษไม่ดี ก็ต้องใช้ภาษาง่ายๆ ดังนั้นก็ต้องสอนก่อนแล้วมาสอนซ้ำอีกครั้งหนึ่ง แล้วก็ใช้วิธีจี้เป็นรายบุคคลแล้วต้องอธิบายเขาว่าที่ต้องทำแบบนี้เพราะภาษาของเขายังไม่ดี และใช้การสอนแบบปฏิบัติ ในการตรวจสอบว่าเขาเข้าใจไหม เพราะเขาอาจเข้าใจแต่สื่อสารไม่ได้ ก็ให้ลองปฏิบัติถ้าปฏิบัติได้ก็แสดงว่าเข้าใจ”

“การจัดการเรียนการสอนใช้วิธีการแบ่งกลุ่มโดยให้เด็กไทยมาทีหลังแล้วสอนเด็กจีนก่อน หลังจากนั้นก็สอนพร้อมเด็กไทยอีกครั้ง ถ้าเด็กจีนยังไม่เข้าใจก็ให้เด็กไทยช่วยสอนแล้วนำเสนอหน้าชั้น โดยแบ่งกลุ่ม กลุ่มหนึ่งจะมีเด็กไทย 1 คน นอกนั้นเป็นคนจีน จะมีประเด็นและแจกเอกสารให้เด็กไทยช่วยจะดีกว่าสอนแบบปกติเพราะเด็กจีนขี้เกียจ เมื่อเรียนกับเด็กจีนเด็กไทยก็ทำเหมือนรู้แล้ว ”

“ นักศึกษาชาวต่างชาติมีข้อเสียคือเพิ่งเรียนภาษาไทยก็มีความกังวล จึงอาจทำให้เกิดท้อหรือล้า จึงเข้าเรียนไปวันๆ ไม่สนใจเรียน วิธีการคือเมื่อสอนทฤษฎีก็จะแทรกเกี่ยวกับเรื่องเกี่ยวกับประเทศของเขา ส่วนใหญ่จะให้เขาพูดเกี่ยวกับการแสดงความรู้สึก ก็จะได้ศัพท์ใหม่ สมมุติพูดเรื่องวรรณกรรมก็จะหาว่าของจีนมีเรื่องแบบนี้ไหมแล้วเปรียบเทียบให้ดูว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร เด็กก็สนใจมาก แต่ถ้าสอนเรื่องรามเกียรติ์แต่ประเทศของเขาไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้องเช่นศาสนา ความเชื่อเขาก็ไม่สนใจ  ส่วนนักศึกษาไทยยังไม่มีปัญหาเรื่องการเรียนร่วมเพราะเด็กไทยมีวิธีการเรียนรู้ดีและตั้งใจแต่ไม่รู้ว่าเขาเบื่อไหมที่เวลาเรียนต้องรอเพื่อน  มีวิธีคือแบ่งกลุ่มให้เขาช่วยเพื่อนคนจีนแต่การส่งงานให้เกณฑ์คนไทยยากกว่า ”

“ต้องเข้าใจธรรมชาติของนักศึกษาชาวต่างประเทศโดยเฉพาะคนจีนที่เก็บตัวทำให้มิติทางสังคมไม่เกิด ต้องทำความเข้าใจตั้งแต่วันแรกว่าวิชาครูเป็นแบบนี้อยากให้จัดกิจกรรมแบบไหน  คะแนนมีเท่านี้คุณจะทำอะไร เช่นวิชาการพัฒนาการเขียนไม่ใช่เขียนอะไรก็ได้แต่จะบอกว่าต้องเขียนอะไร เช่น บทความ สารคดี  แต่ไม่มีเรื่องสั้น เพราะเรื่องสั้นจะว่าง่ายก็ง่ายจะว่ายากก็ยาก ดังนั้นจะสอนแบบขั้นบันได พัฒนาการของนักศึกษาแต่ละคนก็ต่างกัน วิธีการสอนนักศึกษาไทยกับนักศึกษาจีนคล้ายกันแต่คนไทยต้องยากกว่า ”

“ค่อนข้างยากนิดหนึ่งเพราะต้องเรียนกับคนไทย เพราะนักศึกษาลงทะเบียนทีหลังจึงได้เรียนกับเด็กไทยซึ่งเป็นกลุ่มเก่ง เกิดปัญหาคือถ้าสอนช้าเด็กไทยก็หลับสอนไวเด็กจีนก็หลับ วิธีคืออาจเร็วบ้างช้าบ้าง แต่ถ้าเป็นการคำนวณเด็กจีนจะเร็วกว่า แต่ถ้าเป็นเรื่องการจัดการ บัญชี เด็กไทยดีกว่า จะแยกสอนก็ไม่ได้จึงใช้วิธีให้งาน ของเด็กจีนก็ให้ง่ายกว่าของเด็กไทยก็ปกติ ปกติจะแยกงานแต่จะสอนเหมือนๆกัน แต่ถ้าทำงานกลุ่มจะแบ่งกระจายให้มีเด็กจีนในกลุ่มสัก 2 คนก็ใช้ช่วยกัน”

“ก็จะไม่เหมือนกัน ถ้านักศึกษาจีนล้วนง่ายกว่า ไม่ต้องเตรียม 2 มาตรฐาน ถึงจะช้าแต่ก็ได้ผลกว่า แต่ถ้าเรียนรวมจีนไทย จะดึงกันและนักศึกษาไทยตอนเรียนทำเก่งแต่ทำงานสู้นักศึกษาจีนไม่ได้ การทุ่มเทการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสื่อบางวิชา เช่นวิชา วิถีโลก คลังความรู้ของข้อมูลที่เป็นภาษาต่างประเทศ ภาษาจีน เช่น ใน CCTV ให้ตัวอย่างดูแล้วให้เขาไปค้นแล้วได้ผลได้เนื้อหาละเอียด ต่างจากนักศึกษาไทยที่ไปพิมพ์ใน Google ก็ไม่มี เด็กไทยเก่งตอนเรียนแต่เด็กจีนเห็นเงียบๆ แต่ทำได้  

เราก็ต้องเข้าใจว่าเมื่อสอนเด็กจีนสิ่งที่ยากที่สุดคือภาษา แต่อย่างอื่นเขาใช่ย่อย  บางวิชาสอนวิธีเดียวกันสอนเด็กจีนเข้าใจแต่วิธีคิดของเด็กไทยสู้ไม่ได้  เด็กจีนเมื่อไม่เข้าใจจะกล้าถามเวลาเขียนก็ไม่ลอก เรื่องวิธีคิด  พวกที่คิดเองก็จะได้ A แต่ถ้าไม่คิดเองจะได้น้อย แต่ในวิชาส่วนใหญ่ เด็กจีนได้คะแนนเยอะสุด หลังๆเด็กไทยสู้เด็กจีนไม่ได้ ก็เลยปรับว่าถ้าเด็กจะใช้ภาษาอังกฤษ ก็พูดถ้าจะใช้ภาษาจีนก็ให้เพื่อนสรุป เด็กก็ไม่เครียด ถ้าสอนเด็กจีน แบ่งเป็น 2 ส่วน ทฤษฎี ให้จบในห้อง ปฏิบัติ ให้ไปทำข้างนอกซึ่งได้ผลเด็กชอบเพราะเหมือนไปเที่ยว”

“ เด็กบางคนมีพัฒนาการดี วิชา HRM เป็นวิชาพึ่งพาการบูรณาการเทคนิคหลักๆ ต้องให้เขารู้ว่าควรทำอะไร เช่นจะไปสมัครงาน ก็ให้ดูว่าอาจารย์แต่งตัวแบบนี้ดูดีไหม ใบสมัครงานก็ให้ดูว่าอาจารย์เขียนแบบนี้น่าสนใจไหม ให้นักศึกษาลองกรอกใบสมัครจริง อาจารย์ก็ทำแบบเป็นบริษัท แล้วให้เด็กส่งมาแล้วอาจารย์จะดูการเขียนใบสมัครแบบคนไทย ถ้ามีรอบลบเยอะก็จะบอกปฏิเสธ แสดงว่าไม่รอบคอบการกรอกช่องผิดก็ไม่ได้ มีรอยลบได้แต่ไม่ใช่เยอะเกินไป คนที่เลือกคือคนที่ดีที่สุด ก็จะเลือกมาสัมภาษณ์ ก็จะดูการแต่งกาย ให้สวมชุดนักศึกษาให้ดูดีที่สุดในชีวิต เสื้อผ้าหน้า ผม  เด็กผู้หญิงบางคนตอนเรียนไม่สวมกระโปรงก็สวมมา ผู้ชายผูกเนคไทด์ เด็กน่ารักไม่มีปัญหาบางคนบุคลิกไม่ได้วิชาต่อมาก็ยังไม่พัฒนาก็ยังไม่ดี ก็มี เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งเด็กตื่นเต้นมาก

วิชาที่สองมีปัญหาเพราะเป็นการเจรจาต่อรองทางธุรกิจ ปัญหาหลักคือการใช้ภาษา แต่ต้องไปเรียนกับคนไทย ทีเรียนเป็นวิชาเอก ซึ่งต่างกันโดยสิ้นเชิงเรื่องการใช้ภาษา  พอจะเข้มกับเด็กวิชาเอกเด็กจีนก็มีปัญหา พอเบาลงเด็กไทยก็มีปัญหา ก็แก้โดยจับคู่บัดดี้ให้นักศึกษาจีนเลือกนักศึกษาไทย ให้เลือกตามใจจะได้สบายใจ ให้ขอเบอร์โทรศัพท์จะได้จำได้ ซึ่งก็มีแค่ช่วงต้นหลังๆเด็กไทยเรียนหนักขึ้นก็ไม่สนใจคนจีนแล้ว เพราะเขาเรียนเป็นเทอมสุกดท้ายกัน พอสอบ Midterm เห็นความแตกต่างชัดเจนเลย เล่นเกมเด็กจีนก็ไม่มีส่วนร่วม ต้องปรับตัวเลยให้งานเด็กจีนเด็กไทยไม่เหมือนกันก็ต้องบอกเหตุผล  นักศึกษาไทยให้ทำกลยุทธ์ทางธุรกิจ แต่ถ้าเป็นนักศึกษาจีนให้เอาเรื่องเดียวกันมาอ่านแล้วเล่าให้อาจารย์ฟัง ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง แล้วจะแก้ปัญหาอะไร แล้วเก็บคะแนน ”

“ปกติเข้าไปครั้งแรกก็อธิบายแนวการสอนว่าสอนอะไรบ้างถ้าเป็นคนไทยบอกแค่นั้นก็พอแล้ว  แต่นี่เป็นเด็กจีนทีแรกคิดว่าคุ้นเคยว่าภาษาไทยบ้าง แต่ปรากฏว่าพูดไทยไม่ชัดมี3คนพูดได้เยอะกว่าเพื่อนแต่คนอื่นไม่คล่องทั้งห้อง  พอเขาพูดเขียนไม่คล่องจากจะพูดถึงแนวการสอนจึงมาดูว่าจะช่วยยังไงให้เขาเข้าใจทั้งห้องคาบแรกที่สอนก็สอนตามแนว  แต่ก็จะมีกิจกรรมให้ทำหลังจากเรียนทฤษฎี ก็มีกิจกรรมเช่น การประชาสัมพันธ์ก็เขียนแล้วให้ลองมาทำสื่อประชาสัมพันธ์ เช่นโปสเตอร์เล็กๆ เด็กจะชอบทำเด็กมีไอเดียแปลกๆซึ่งต่างจากเด็กไทย  การสอนเคยเตรียม power point เป็นภาษาไทยมาแต่มีคำบางคำที่เขาไม่เข้าใจ   ถ้าเป็นเด็กไทยใช้เวลาเพียง 1 แต่เด็กจีนใช้ 3 ชั่วโมงเลย ก็ถามเขาว่าถ้ามีภาษาจีนด้วยดีไหม แล้วบอกว่าถ้าไม่ได้ให้ถาม คำไหนยากก็ปรับเป็นคำง่ายแล้ววงเล็บเป็นภาษาอังกฤษด้วย สังเกตว่าเด็กจีนไม่ค่อยเปิดรับสื่อในประเทศเขาก็ไม่ค่อยเห็น อย่างองค์กรน่าสนใจก็ไม่รู้จักเช่น Greenpeace  ”

“เมื่อได้สอนนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจ ชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 เมื่อ3ปีการศึกษาที่ผ่านมามีความประทับใจในความตั้งใจศึกษาของนักศึกษาส่วนหนึ่ง สำหรับนักศึกษาที่มีปัญหาในการเรียน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาจากนักศึกษาเอง จากอาจารย์ผู้สอน หรือจากบริบทอื่น ๆ แต่หน้าที่และความรับผิดชอบของอาจารย์ ต้องสอนใหได้และให้ผู้เรียนอยากเรียน
จึงใช้วิธี 1.สร้างความเข้าใจกับนักศึกษา  2.ประยุกตฺ์เรื่องที่นักศึกษาสนใจเข้าสู่กิจกรรมการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้  3.พบปะพูดคุยแบบส่วนตัวกับนักศึกษา การพูดคุยแบบส่วนตัวและกันเองช่วยในการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากนักศึกษาส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศ ขาดความอบอุ่นจากบริบทในประเทศของตนเอง เมื่อไดรับความสนใจจากผู้อื่น จึงเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ร่วมกัน”

            “เน้นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง ทั้งนี้เพราะรายวิชาที่เคยสอนมาเป็นวิชาการพัฒนาทักษะที่เน้นการฝึกทักษะการใช้ภาษาของนักศึกษาให้มีประสิทธิภาพ สามารถนำไปสื่อสารและใช้พัฒนาการเรียนในระดับที่สูงขึ้น”

            “การจัดการเรียนการสอนเน้นกิจกรรมที่เน้นการปฏิบัติ เพราะนักศึกษาบางส่วนยังมีปัญหาเรื่องการใช้ภาษาดังนั้น ต้องใช้ภาษาง่าย หรือไม่ต้องใช้ภาษาจีนช่วย ถ้าสอนทฤษฎีแล้วให้ปฏิบัติท้ายชั่วโมงจะช่วยให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายขึ้น”


          2.2  วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน

 “ข้อสอบของนักศึกษาไทยจะเป็นข้อสอบเขียนหรือมีตัวเลือก ซึ่งเด็กจีนจะทำไม่ได้ อาจารย์ก็จะให้ลองทำโดยให้เปิดหนังสือ ถ้าเป็นเด็กที่ตั้งใจเรียนก็จะทำได้แต่ถ้าไม่ตั้งใจเรียนก็จะทำไม่ได้ก็ให้สอบปากเปล่า  แต่ก็มีนักศึกษาบางคนอ่านไม่ได้ วิธีแก้ปัญหาคืออ่านให้เขาฟังแล้วให้เขาตอบ แต่จะสอบย่อยให้มีคะแนนเก็บเยอะๆ การตัดเกรดจะตัดกับเด็กไทยไม่ได้ บางครั้งก็ตัด I แล้วเมื่อเปิดเทอมก็ให้งานเรื่อยๆ นัดให้มาเจอบ่อยๆ ”

“ข้อสอบก็ใช้วิธีหลายๆอย่าง ข้อสอบเป็นเหมือนย่อความ ให้เขาอ่านแล้วมาเติมคำจากเนื้อเรื่องที่อ่าน ซึ่งไม่ใช่การวัดผลที่แท้จริงแต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร  ในกรณีที่ให้การบ้านเด็กก็ลอกกันมา บางทีก็ให้พูดทีละคน แต่บางทีเด็กก็ใช้คำพูดไม่ได้ โดยแจกให้ไปอ่านมาแล้วมาพูด ใช้การอภิปรายกลุ่มก็ไม่ได้ผล เป็นการสอนที่ท้าทายความสามารถของผู้สอน  แต่ก็อยากให้เด็กได้อะไรบ้าง ก็แนะนำให้เด็กไปเรียนรู้สภาพชีวิต อาหารการกิน ซึ่งเด็กก็ไม่ค่อยไปไหน อาจารย์ก็พยายามพูดให้เด็กรู้ว่าอาจารย์ก็เรียนรู้วัฒนธรรมของเขาเพื่อเป็นตัวอย่าง   การตัดเกรดก็ให้พิเศษ ซึ่งจะไม่มี AและD เพราะอาจารย์คิดว่าเด็กรู้แต่ถ่ายทอดไม่ได้ ”

“ วิชาที่ได้สอนเป็นวิชาที่เน้นปฏิบัติ ซึ่งนักศึกษาไทยและจีนก็ทำได้ไม่ห่างกัน แต่ถ้าเป็นเรื่องรายงานเด็กจีนจะสู้เด็กไทยไม่ได้ก็จะใช้วิธีจับกลุ่มให้ทำงานร่วมกับเด็กไทย บอกเขาให้พยายามโต้ตอบบ้าง รู้จักใช้คำถามจะได้เรียนได้ ซึ่งดีกว่าให้จับกลุ่มกับเด็กจีน และจะเน้นเรื่องการปฏิบัติ”

“ใช้เกณฑ์ ต่างกัน เช่นข้อสอบนักศึกษาไทยและนักศึกษาจีนไม่เหมือนกัน เช่นมีบทอ่านให้แต่ถ้าเป็นนักศึกษาจีนจะมีบทอ่านสั้นๆ แต่ถ้านักศึกษาไทยจะยาวกว่าและวัดผลตามที่แจ้งให้ในคาบแรก”

“การวัดผลใช้เกณฑ์ปกติ ถ้าเป็นเด็กจีนก็อนุโลมโดยดูจากพัฒนาการวันแรกจนหมดเทอมว่ามีความรู้หรือ

หมายเลขบันทึก: 359744เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2010 02:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 17:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท