การจัดการเรียนการสอนนักศึกษาต่างชาติในหลักสูตรการบูรณาการเนื้อหาระหว่างสาขา (2)


บทที่ 2

การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ ความสำเร็จ

 

            ระหว่างเดือนเมษายน – เดือนพฤษภาคม 2553 เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ความสำเร็จของคณาจารย์ผู้มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนางานสาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจ เพราะเป็นช่วงที่อาจารย์แต่ละท่านมีภาระงานสอนน้อยหรือไม่มีงานสอนผู้ดำเนินงานจัดทำ KM ของสาขาจึงกำหนดจัดการประชุมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ตั้งไว้คือการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาต่างชาติในหลักสูตรการบูรณาการเนื้อหาระหว่างสาขา: การบริหารจัดการเทคนิควิธี และปัจจัยเสริม รวม 5 ครั้ง ดังนี้

ครั้งที่ 1 ประชุม  KM เมื่อวันจันทร์ที่ 5 เมษายน 2553

การประชุม KM ครั้งที่ 1 นี้ คณะกรรมการได้ประชุมเพื่อปรึกษาหารือ เกี่ยวกับปัญหา
ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยให้กับนักศึกษาชาวต่างชาติซึ่งปีการศึกษา 2553 จะเป็นปีแรกที่มีนักศึกษาขึ้นชั้นปี4 และต้องไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

ประเด็นที่อาจารย์ทุกคนได้แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับปัญหาที่พบ คือ ปัญหาด้านผู้เรียน     ปัญหาด้านผู้สอน  ซึ่งปัญหาที่พบดังกล่าวสรุปได้พอสังเขป  ดังนี้

    ปัญหาด้านผู้เรียน

ปัญหาด้านผู้เรียน พบว่า ปัญหาส่วนใหญ่ คือ พื้นฐานด้านทักษะการใช้ภาษาไทยของผู้เรียนบางคนยังไม่ดีพอ  พื้นฐานทางภาษาไทยของผู้เรียนมีความแตกต่างกัน ทำให้ผู้เรียนบางคนท้อแท้หรือไม่มีกำลังใจในการเรียน

    ปัญหาด้านผู้สอน   

ประเด็นปัญหาด้านผู้สอน พบว่า  ผู้สอนมีความกังวลใจในการจัดการเรียนการสอนที่มีนักศึกษาไทยและนักศึกษาจีนเรียนร่วมกัน เนื่องจากนักศึกษาจีนส่วนใหญ่มีทักษะการใช้ภาษาไทยที่ยังไม่ดีพอ อาจารย์จะต้องสอนโดยใช้ภาษาที่ง่ายแต่อาจจะทำให้นักศึกษาไทยเบื่อหรือไม่ได้ความรู้เท่าที่ควร จึงทำให้ผู้สอนพบปัญหาต่าง ๆ ในการจัดการเรียนการสอน การวัดประเมินผล

จากประเด็นปัญหาเหล่านี้  จึงทำให้มีการหารือเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว  ด้วยกระบวนการ KM  เรื่อง  การจัดการความรู้เรื่องการจัดเรียนการสอนนักศึกษาต่างชาติในหลักสูตรการ

บูรณาการเนื้อหาระหว่างสาขา :การบริหารจัดการ เทคนิควิธี และปัจจัยเสริม

 

ครั้งที่ 2 ประชุม  KM   เมื่อวันศุกร์ที่ 9 เมษายน 2553

การประชุม KM ครั้งที่ 2 นี้  คณะกรรมการได้นำผลการประชุมครั้งแรกมาเป็นประเด็นในการจัดการความรู้เรื่องการจัดเรียนการสอนนักศึกษาต่างชาติในหลักสูตรการบูรณาการเนื้อหาระหว่างสาขา :การบริหารจัดการ เทคนิควิธี และปัจจัยเสริม ซึ่งสังเคราะห์จากการประชุมได้ประเด็นหลัก 4 ประเด็น ดังนี้ 

          การจัดการความรู้  KM (ด้านการจัดการความรู้เรื่องการจัดเรียนการสอนนักศึกษาต่างชาติในหลักสูตรการบูรณาการเนื้อหาระหว่างสาขา)

ประเด็นที่ 1 : การบริหารจัดการหลักสูตรที่มีผู้เรียนเป็นชาวต่างประเทศ

ประเด็นที่ 2 : ด้านการจัดกระบวนการเรียนการสอนนักศึกษาชาวต่างประเทศสาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจ

การประชุมครั้งที่ 2 นี้  คณะกรรมการได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้ที่ต้องการเกี่ยวกับการบริหารจัดการสาขาในหลักสูตรการบูรณาการเนื้อหาระหว่างสาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ สาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และสาขาวิชานิเทศศาสตร์ตามประเด็นที่ 1 ส่วนประเด็นที่ 2-4 นัดหมายประชุมในครั้งต่อไป

 

ครั้งที่ 3 ประชุม  KM  เมื่อวันจันทร์ที่  19 เมษายน 2553

การประชุม KM ครั้งที่  3 นี้  คณะกรรมการได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาต่างชาติต่อจากการประชุมครั้งที่สอง  โดยร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ในประเด็นที่ 2-4

    

ครั้งที่ 4 ประชุม  KM  เมื่อวันอังคารที่  27  เมษายน 2553

การประชุม KM ครั้งที่  4 นี้  คณะกรรมการได้สังเคราะห์ข้อมูลคณะกรรมการได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ การจัดการความรู้เรื่องการจัดเรียนการสอนนักศึกษาต่างชาติในหลักสูตรการบูรณาการเนื้อหาระหว่างสาขา :การบริหารจัดการ เทคนิควิธี และปัจจัยเสริม  สรุปได้ 2 ประเด็น ดังนี้

1. การบริหารจัดการหลักสูตรที่มีผู้เรียนเป็นชาวต่างประเทศ

1.1   แนวคิด นโยบาย วิสัยทัศน์ต่อการบริหารจัดการ หลักสูตรที่มีนักศึกษาชาว

ต่างประเทศ

    1.2  หลักในการบริหารจัดการหลักสูตรสาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจ

ระหว่างคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และคณะวิทยาการจัดการ

                1.3  หลักในการเลือกคณาจารย์ที่มาสอนนักศึกษาชาวต่างประเทศ

                1.4  การมองความสำเร็จใน 3 ปีที่ผ่านมา  
            2. การจัดกระบวนการเรียนการสอนนักศึกษาชาวต่างประเทศสาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจ

    2.1 วิธีการในการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาชาวต่างประเทศ

               2.2  วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน

   2.3 ความสำเร็จในการสอนที่ผ่านมา

   2.4 ข้อเสนอแนะสำหรับสาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจ

 

ครั้งที่ 5 ประชุม  KM  เมื่อวันพุธที่  12  พฤษภาคม 2553

การประชุม KM ครั้งที่  5 นี้  คณะกรรมการได้สังเคราะห์ข้อมูลการจัดการความรู้เรื่องการจัดเรียนการสอนนักศึกษาต่างชาติในหลักสูตรการบูรณาการเนื้อหาระหว่างสาขา ทั้ง 2 ประเด็น เพื่อสรุปความรู้จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้บริหารและคณาจารย์ ดังรายละเอียดในบทที่ 4

            จากการระดมความรู้ ประสบการณ์ ความสำเร็จ ตลอดจนความคิดเห็นข้อเสนอแนะต่างๆ ในการประชุมทั้ง 5 ครั้ง ข้างต้นนั้นสามารถสรุปเป็นองค์ความรู้เพื่อการพัฒนางานสาขาวิชาต่อไป ซึ่งจะเสนอในรายละเอียดในหัวข้อต่อไป

หมายเลขบันทึก: 359743เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2010 02:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 11:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท