สะพานบุญ ตอนที่ ๒


        หลังจากที่ผู้เขียนได้ทยอยทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ป้าติ๊ก ซึ่งท่านสามารถอ่านข้อมูลย้อนหลังได้ที่ "สะพานบุญ ตอนที่ ๑ หรือที่  http://gotoknow.org/blog/niparat/358112" วันนี้ผู้เขียนจะพาท่านไปชมบรรยายกาศการเลี้ยงอาหารกลางวันเด็กกำพร้า บ้านอุดรธานี น่ะค่ะ

      บ้านอุดรธานี ตั้งอยู่บนถนนสายอุดร-ขอนแก่น ห่างจากจังหวัดอุดรธานีประมาณ ๑๕ กม. รับเด็กตั้งแต่แรกเกิด จนถึง ๑๘ ปี เฉพาะเด็กหญิงส่วนเด็กชายจะเลี้ยงจนอายุครบ ๗ ขวบแล้วจึงส่งต่อไปที่จังหวัดหนองคาย เด็กโตหน่อยจะส่งไปเรียนหนังสือที่ รร.มัธยมในจังหวัด โดยมีรถรับส่ง ตามที่สอบถามดูนับว่าระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการส่งต่อเด็กทำเป็นระบบอย่างดี  ที่นี่มีเด็กประมาณ ๑๘๐ คน สภาพเด็กโดยรวมจะมีสัมมาคารวะ มารยาทเรียบร้อย และเรียกผู้ใหญ่ว่า แม่-พ่อ ทุกคน แต่สิ่งที่สังเกตเห็นลักษณะที่แตกต่างจากเด็กทั่วไปคือ "สายตาอันอ้างว้าง และดูเชื่อมซีม ไม่สดใสร่างเริง"

                  เด็กเล็กกำลังทานอาหารในขณะที่เด็กโตเข้าแถวรออยู่ด้านนอกค่ะ


คุณปุ๊ก กำลังช่วยดูแลเด็กเล็กทานอาหาร


ถึงคิวเด็กโตทานอาหารแล้วค่ะ



         แต่วันนี้ผู้เขียนสังเกตว่าเด็กจะร่าเริงเป็นพิเศษ เพราะเด็ก ๆ รู้ว่าจะมีอาหารมื้อพิเศษมาเลี้ยงเขา พี่เลี้ยงจะจัดให้เด็กมาเข้าแถวรอก่อน โดยให้เด็กเล็กได้ทานอาหารก่อน จึงจะปล่อยเด็กโตเข้ามานั่งทาน โดยให้เด็กโต นั่งสลับเด็กที่เล็กกว่าเพื่อคอยดูแลน้อง ๆ ให้ได้ทานข้าวอิ่ม

        ก่อนทานข้าว เด็ก ๆ ได้สวดมนต์และบทพูดที่เกี่ยวกับคุณค่าของอาหารมีประโยคหนึ่งที่ประทับใจผู้เขียนไม่เคยได้ยินมาก่อนเลยคือ "ไม่ได้กินเพื่ออยู่ แต่กินเพื่อทำงาน กินข้าว ๑ มื้อต้องทำงาน ๔  ชั่วโมงจึงจะคุ้มกับคุณค่าของข้าว" งานนี้ถือว่า เด็ก ๆ ได้สอนและเตือนสติผู้เขียนได้เป็นอย่างดี ต่อไปผู้เขียนจะต้องกลับมาทบทวนว่า ทำงานคุ้มค่ากับเมล็ดข้าวที่กินเข้าไปหรือไม่

        บรรยากาศในโรงอาหารค่ะ

 

       พี่เลี้ยงได้แนะนำให้เด็ก ๆ ได้รู้จักผู้เขียน ๆ ได้บอกเล่าเหตุที่มาเลี้ยงอาหารให้ฟังคร่าว ๆ และขอให้เด็ก ๆ นั่งสมาธิสงบนิ่งเป็นเวลา ๑ นาที เพื่อไว้อาลัยให้กับ "คุณยายติ๊ก"  ถึงตอนนี้ทำให้ผู้เขียนน้ำตาไหลอีกครั้ง พร้อมตั้งจิตอธิฐานเรียกป้าติ๊กมารับเอาบุญกุศลที่ผู้เขียนและคณะตั้งใจทำให้  แต่พอเด็ก ๆ เริ่มรับประทานอาหาร กลับสร้างรอยยิ้มให้กับผู้เขียนได้เป็นอย่างดี ผู้เขียนมีความรู้สึกอิ่มเอิบใจ มีความสุขกับการเป็นผู้ให้ หน้าตาสดใส ไม่ต้องไปพึ่งศัลยกรรมกับคลีนิกราคาแพง ๆ

เบื้องหลังส้มตำแสนอร่อยค่ะ น้ำใจจากเพื่อนบ้านผู้เขียนที่อาสามาช่วยตำส้มตำค่ะ

ถึงคิวทานไอศกรีมแล้วค่ะ ถึงตอนนี้เด็ก ๆ ร่าเริงเชียวค่ะ

    ผู้เขียนกับน้าอ้อยเพื่อนบ้านที่สนิทก็มาร่วมอนุโมทนาบุญ

น้องเตี้ยอายุ ๗ ขวบเป็นดาวน์ซิกโดมเล็กน้อยและ

พิการแต่ฉลาดมากค่้ะเตรียมถุงพาสติกมาห่อเงาะกับขนม ซึ่งเด็กคนอื่น ๆ ไม่มีถุงเตรียมมาเลย ทำให้น้องเตี้ยคนนี้มีขนมกักตุนไว้กินได้หลายมื้อ  เป็นขวัญใจของผู้เขียนเลยค่ะ


ผู้เขียน,พี่นิด เจ้าของบริษัทคูโบต้า,น้าอ้อย,คุณปุ๊ก เพื่อน ๆ คณะที่เต้นแอโรบิคด้วยกันมาร่วมอนุโมทนาบุญกับผู้เขียนด้วยค่ะ

วันนี้น้าอ๋อน เพื่อนบ้านผู้เขียนดูมีความสุขมาก ๆ ค่ะ


      ผู้เขียนเริ่มมั่นใจแล้วว่า ทำบุญไม่ต้องไปรอให้เห็นผลในชาติหน้า ผลบุญที่เราทำนั้น สามารถส่งผลในชาตินี้ เพราะผู้เขียนมีความอิ่มเอิบใจ หัวใจเปี่ยมไปด้วยความสุขเวลาเดินมองเด็ก ๆ กินอาหารอย่างเอร็ดอร่อย มีความสุขที่เห็นรอยยิ้มอันสดใสของเด็ก ๆ นับว่าเป็นยาชูกำลังให้ใจผู้เขียนเข้มแข็งและมีสติตลอดเวลา


หมายเลขบันทึก: 358327เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2010 22:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ตามมาอ่านค่ะ..อิ่มบุญอีกแล้วค่ะ ^-^

เรียน คุณ Baby

         แหม จองคิวแรกเลยน่ะค่ะ ยินดีแบ่งบุญให้ค่ะ

เรียน อ.นุ

       สาธุ  ว่าง ๆ แวะไปอ่าน "สะพานบุญ ตอนที่ ๑" น่ะค่ะ อ.นุ ยิ่งจะอิ่มเอิบบุญร่วมกับผู้เขียน

*โอกาสหน้าชวนมั่งนะคะ

*ED KKU25

เรียน คุณทะเลภูเขา

            ดีใจค่ะที่ได้พบ "กัลยามิตร" (มิตรผู้ให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน) เพิ่มขึ้นอีกคน เพราะเดี๋ยวนี้มีแต่ "พันธมิตร" (มิตรผู้แสวงหาผลประโยชน์ร่วมกัน)

สวัสดีค่ะ

สาธุค่ะ  เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมค่ะ มีหลายคนเขาอยากจะให้แต่ไม่มีสะพานบุญค่ะ

เรียน ครูคิม

         สาธุ ไม่รู้โชคชะตาอย่างไร ถึงมีคนเอาเงินมาให้ผู้เขียนทำบุญหลายครั้งแล้วค่ะ กรณีนี้ พี่เกษไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าผู้เขียนทำงานอะไร รู้แต่ว่าผู้เขียนเป็น "นักวิชาการศึกษา" ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท