kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

การส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 8 : ชมรมผู้สูงอายุตำบลหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี


         จากเป้าหมายของกรมอนามัย ในการจัดให้มีชมรมผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมด้านการส่งเสริมทันตสุขภาพ จังหวัดละ 1 ชมรม ในปี พ.ศ 2553  ศูนย์อนามัยที่ 8 ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ พิจิตร กำแพงเพชร และ อุทัยธานี ได้คัดเลือกชมรมผู้สูงอายุที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นชมรมต้นแบบการส่งเสริมทันตสุขภาพ จำนวน 4 ชมรมคือ

  1. ชมรมผู้สูงอายุชุมชนวัดโกรกพระใต้พัฒนา  จ.นครสวรรค์
  2. ชมรมผู้สูงอายุตำบลทับคล้อ  จ.พิจิตร
  3. ชมรมผู้สูงอายุตำบลฆนองฉาง จ.อุทัยธานี
  4. ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลลานกระบือ จ.กำแพงเพชร

        ในการนี้ศูนย์อนามัยที่ 8 ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ได้ออกเยี่ยมเพื่อเป็นการกระตุ้นและให้ข้อเสนอแนะกิจกรรมของชมรมดังกล่าว และจะได้มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระหว่าง 4 ชมรมในโอกาสต่อไป

ชมรมผู้สูงอายุตำบลหนองฉาง

           วันที่ 21 เม.ย. 53  ได้ไปเยี่ยมชมรมผู้สูงอายุที่ อ.หนองฉาง จ.อุทัยธานี  พวกเราไปถึงช้าหน่อย ผู้สูงอายุจึงได้จัดกิจกรรมการแบ่งกลุ่มให้ทันตสุขศึกษาไปก่อน มีวิทยากรคือเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุขในพื้นที่มาช่วยกัน โดยแบ่งกลุ่มเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มดอกบานไม่รู้โรย , ดอกมะลิ , ดอกบานชื่น , ดอกพุทธรักษา และดอกโสน

          ในระหว่างการให้สุขศึกษาก็ได้เข้าไปสัมภาษณ์ผู้สูงอายุบางส่วนพบว่า สมาชิกของชมรมส่วนมากเป็นข้าราชการที่ปลดเกษียนแล้ว (ได้พบสมาชิกท่านหนึ่งเป็นคุณครูที่โรงเรียนและได้เคยร่วมอบรมเรื่องทันตสุขภาพในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพกับศูนย์อนามัยที่ 8 มาเมื่อ1-2 ปีที่แล้วด้วย)  โดยมากสมาชิกจะเป็นคนที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง ที่ทำการชมรมก็คือวัดห้วยพระจันทร์ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้ไปขอใช้อาคารจาก อบต. ซึ่งได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของกลุ่มผู้สูงอายุ จึงอนุญาตให้ใช้อาคารของ อบต. หลังเก่าเป็นที่ทำการของชมรม

       เจ้าหน้าที่ที่เป็นแกนนำบอกว่าได้จัดตั้งชมรมนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นแม่แบบของชมรมผู้สูงอายุในการส่งเสริมทันตสุขภาพ โดยสมาชิกได้จากการสมัครมาจากชมรมผู้สูงอายุต่าง ๆ  3 แห่ง คือชมรมในเขตเทศบาลหนองฉาง 2 แห่ง และ ชมรมใน อบต.หนองฉาง และต้องการให้สมาชิกชมรมไปขยายกิจกรรมในกลุ่มของตนเองต่อไป

       ต่อมาป้าแฉล้ม ซึ่งเป็นประธานชมรมสภาวัฒนธรรมของอำเภอหนองฉาง รวมถึงเป็นประธานชมรมผู้สูงอายุด้วยได้เล่าที่มาที่ไปของชมรมนี้ว่า จากการที่ อ.หนองฉางได้รับเกียรติให้เป็นอำเภอนำร่องของการจัดกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุ  เพื่อการส่งเสริมทันตสุขภาพ และตำบลหนองฉางได้รับการคัดเลือกให้เป็นพื้นที่ในการจัดกิจกรรมนั้น เริ่มแรกจากการคัดเลือกตัวแทนไปอบรม ผู้สูงอายุที่ จ.ลำปาง เมื่อวันที่ 21-13 ธันวาคม 2552 โดยมี ป้าแฉล้ม , ป้ามะลิ , ป้าปราณี และป้าอัจฉรา นั้น  หลังจากอบรมก็ได้มาพูดคุยปรึกษากับเจ้าที่ทันตสาธารณสุขที่โรงพยาบาลหนองฉาง และริเริ่มการทำงานโดยเริ่มจากคำถามว่าจะทำเมื่อไร , ทำกับใคร , ที่ไหน และอย่างไร

      สำหรับจุดเริ่มต้นการทำกิจกรรมคือประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2553 โดยเริ่มจากการหาสถานที่ทำการของชมรม ซึ่งได้จากกการสนับสนุนของ อบต. หนองฉาง  มีการปรับปรุงโดยการทาสีใหม่ (ใช้เงินจากการรับบริจาค คนละ 10-20 บาท) และมีการรับสมัครสมาชิกและแกนนำชมรม  โดยในวันที่ 10 ก.พ. 53 ซึ่งเป็นวันจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ได้มีการประชุมชี้แจงโครงการ มีการสมัครสมาชิกชมรม หากลุ่มแกนนำ และหาสมาชิกที่จะเป็นผู้นำร่องกิจกรรม

      จุดมุ่งหมายของชมรมก็เพื่อจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อทำให้สมาชิกมีความสุข ไม่เครียด สนุกสนาน และมีสุขภาพที่ดี ซึ่งจากการแบ่งกลุ่มสมาชิกเป็น 5 กลุ่ม  ได้มีการระดมความคิดเห็น และจัดกิจกรรมต่าง ออกมาได้เป็น 9 กิจกรรมดังนี้คืออนามัยในช่องปาก, อนุรักษ์ดนตรี, ของดีจากชุมชน, ค้นหายาไทย, ใส่ใจน้ำหมัก,  รักการเข้าวัด, ออกกำลังกาย, นวดแผนไทย และสบายใจเมื่อเข้าชมรม

อนามัยในช่องปาก มีผลการดำเนินงานคือ การตรวจฟัน , การจัดทำสมุดบันทึกสุขภาพฟัน , การจัดคิวการใส่ฟันปลอม , การให้ความรู้เรื่องการดูแลทันตสุขภาพ , การจัดตั้งแกนนำเพื่อไปดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่ติดบ้าน ติดเตียง  สำหรับในระยะเวลาที่ผ่านมาได้ดำเนินการตรวจสุขภาพช่องปากแล้ว และได้มีการจัดเตรียมช่องปากเพื่อใส่ฟันเที่ยมเสร็จแล้ว 50% พิมพ์ปากและใส่ฟันแล้ว 2 ราย

อนุรักษดนตรีไทย  (เปลี่ยนชื่อเป็นอนุรักษ์วัฒนาธรรมไทยในภายหลัง)  ซึ่งประเพณีที่สำคัญของอำเภอหนองแางได้แก่การรำโทน , เพลงกล่อมเด็ก , การรำกลองยาว  โดยเฉพาะการรำโทนได้มีการแต่งเพลงเพื่อการส่งเสริมสุขภาพประกอบการรำโทนด้วย  มีการอนุรักษ์ดนตรีไทย โดยไปเรียนการเล่นอังกะลุงร่วมกับเด้กนักเรียนในบริเวณใกล้เคียง

ของดีจากชุมชน ได้แก่การถักโคเชร์ , การพับผ้าขนหนูเป็นของชำร่วย , การทำขนมไทย เช่นข้าวแต๋น , มะม่วงแผ่น

สมุนไพรพื้นบ้าน เช่นบอระเพ็ด , ขมิ้นชัน , ดอกอัญชัน , น้ำฝาง , น้ำตะไคร้ , น้ำกระเจี๊ยบ

นวดแผนไทย  เพื่อคลายเมื่อยให้สมาชิก

น้ำหมัก  เพื่อแจกจ่ายสมาชิก  และมีการออกกำลังกายสับดาห์ละ 3 วัน 

และที่สำคัญที่การที่จะทำให้สมาชิกทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมของชมรม

หมายเลขบันทึก: 357723เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2010 15:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เข้าใจคิดนะคะ กิจกรรมเป็น series เลย
  • ... อนามัยในช่องปาก, อนุรักษ์ดนตรี, ของดีจากชุมชน, ค้นหายาไทย, ใส่ใจน้ำหมัก,  รักการเข้าวัด, ออกกำลังกาย, นวดแผนไทย และสบายใจเมื่อเข้าชมรม ...
  • พี่นน
  • มาเยี่ยมแถวนี้บ้างนะครับ ที่อุทัย คุณลุงแต่งเพลงเป็นเรื่องสุขภาพช่องปากด้วย
  • ไว้พี่นนมา จะชวนรำโทนครับ  หรือจะรำกลองยาวดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท