IBNUFUAD
อับดุรเราะฮ์มาน ฟูอัด อาลมูฮัมมัดอามีน

การประชุมแบบมีส่วนร่วม(1)


สำหรับเครื่องมือฯที่เราพูดถึงมาแล้ว ไม่ว่าจะการบันทึก(บล็อก) และการประชุมที่ได้แตะๆไว้นิดหน่อย ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว เพียงแต่นำมาปรับเพิ่มรายละเอียดอะไรลงไปอีกเล็กๆน้อยๆ เช่น การบันทึก ก็จากที่บันทึกลงสมุดเฉย เปลี่ยนมาบันทึกไว้ที่บล็อกด้วย มีภาพถ่ายด้วย ถ้าบางช่วงบางตอนสำคัญก็อาจมีไฟล์เสียง หรือวีดีโอ อัพโหลดขึ้นไว้แบ่งกันชม แล้วเปิดโอกาสให้ใครๆได้มีโอกาสได้เติมเต็มข้อมูล-แสดงความคิดเห็น เพื่อยกระดับองค์ความรู้ยิ่งๆขึ้นไป และอาจไปกระตุ้นให้ผู้ที่มาชม นำเอาองค์ความรู้ไปปรับใช้ได้ต่ออีกด้วย
สำหรับการประชุม เป้าหมายที่พูดถึงในบทความนี้ ประสงค์ที่จะให้หลายๆท่านเห็นความแตกต่างระหว่าง การประชุมทั่วๆไป แบบเข้าร่วมประชุม กับ การประชุมแบบมีส่วนร่วม คือ มาร่วมคิด ร่วมแก้ไขปัญหา และร่วมรับผล ซึ่งก็ไม่ผิดไปจากของเดิมมากนัก ถ้าท่านลองทำดูจะเห็นว่าง่ายกว่าด้วย เพียงแต่ต้องฝืนจริตกันสักหน่อยในช่วงแรกๆ ...
สำหรับการประชุมแบบมีส่วนร่วมนี้มีหลักคิดอยู่ว่า เกษตรกรเป็นเจ้าของและเป้าหมายของการพัฒนาในประเด็นนั้นๆ ดังนั้น การประชุมแบบมีส่วนร่วมนี้ จะมีเงื่อนไขอยู่ที่ความพร้อมของเกษตรกร ซึ่งหากเกษตรกรไม่พร้อม ไม่รู้บทบาทหน้าที่ของตน ต่อการจัดการประชุม ก็คงไร้ประโยชน์
คงเหมือนการประชุมทั่วไปที่ต้องมีการกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการประชุม การประชุมแบบมีส่วนร่วมนี้ แค่กล่าวถึงวัตถุประสงค์ก็รู้แล้วว่า เรา(หน่วยงานราชการ)ต้องการให้เกษตรกรมีส่วนร่วมหรือไม่ ด้วยหน้าที่ของหน่วยงานราชการที่ต้องพยายามทำให้เกษตรกรเข้ามามีโอกาส-เข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการทำงานกับหน่วยงานส่วนท้องถิ่น งก็ควรมีตัวแทน ซึ่งสำหรับปศุสัตว์แล้วอาจจะเป็น กนป.(แกนนำปศุสัตว์ประจำหมู่บ้าน)ก็ได้ เพื่อที่จะได้เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการประสานงานระหว่าง จนท.ของรัฐกับชาวบ้าน สำหรับนโยบายของทางราชการก็ค่อยๆปรับไปสู่การมุ่งเน้นให้เกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม สำหรับ กนป.ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่รัฐพยายามให้ตัวแทนเกษตรกรในแต่ละหมู่บ้านเข้ามามีส่วนร่วมและเป็นผู้ประสานงาน แต่บางครั้งตัวเจ้าหน้าที่ของเราเองก็ "ตีบทไม่แตก"เหมือนกันว่า ทำไม่มีใครต่อใครมากมาย เอามาทำไม "เมื่อ 30 ปีที่แล้ว มีฉันอยู่ที่อำเภอคนเดียว ฉันก็เห็นว่า ราชการไม่ได้เสียหายอะไร ทำไม?ๆๆๆๆๆ...." ไม่ว่าจะส่งมาทำไม แต่ที่สำคัญเงินภาษีได้ถูกใช้จ่ายไป และยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลได้ลงทุนกู้เงิน เพื่อหวังผลเพียงแค่ให้ตัวเลข GDP สูงขึ้น โดยพวกเราทุกคนทั้งประเทศต้องเป็นหนึ้สำหรับกรณีแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง
หลายท่านที่มีเพื่อนๆอยู่ในภูมิภาคอื่นๆลองถามเพื่อนๆท่านดูว่า โครงการพัฒนาด้านปศุสัตว์ ในที่อื่นๆเป็นอย่างไร แตกต่างจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างไรบ้าง งานด้านอาสาปศุสัตว์ เขาก็มีแบบที่เป็น "จิตอาสา"จริงๆ คือ ไม่มีค่าตอบแทนน่ะครับ แต่ที่ท่านใจดีให้ กนป.เรามีค่าตอบแทนก็เพราะให้เราไว้ใช้งานได้ ถึงตอนนี้คงต้องช่วยกันใช้งานให้มากขึ้นแล้วใช่ไหมครับ?...
ว่ากันว่า การประชุมแบบมีส่วนร่วมนี้ คงทำไม่ง่ายนักกับหน่วยงานราชการ ผมพบกับเพื่อนคนหนึ่ง ระหว่างนั่งอยู่บนเครื่องบินเดินทางไป กทม. เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา(7 พค.53) แกบอกว่า "เฮ้ย...เลี้ยงแพะไว้กี่ตัวแล้วล่ะ..?" ผมมาถึงบางอ้อ ก็อีตอนที่แกพูดถึงเรื่องของการจัดประชุมของแก คือ แกทำงานอยู่ในหน่วยงานพัฒนาเอกชนที่สังกัดขององค์การสหประชาชาติ ทางด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งผมเคยทำมาก่อน รวมทั้งก็มีประสบการณ์ทำงานกับองค์การกาชาดสากล ในพื้นที่ซึนามิ ซึ่งพวกนี้รับรองได้เลยว่าสุดยอด ด้านงานพวกนี้(การมีส่วนร่วม) เขาบอกว่า ราชการชอบเลี้ยงแพะ(คงหมายถึงหน่วยงานราชการทั้งหมด) และก็จัดประชุมให้แพะ เขาหมายถึง ก็แพะมันเป็นสัตว์ที่ชอบกินหลากหลาย แต่เราก็ไปจำกัดความคิดว่าต้องกินเฉพาะหญ้านั้นหญ้านี้ ใบนั้นใบนี้ ไม่เคยรับฟังว่าเเกษตรกร(บุคคลเป้าหมาย)เขาต้องการอะไร ก็จะไปผิดอะไรกับแพะ เพราะเถียงก็ฟังไม่รู้เรื่อง มันทนไม่ไหวก็ได้แค่เดินหนึไป เพราะเดี๋ยวคราวต่อไป หาใครไม่ได้เดี๋ยวก็ต้องมาหามันอีกแน่
ผมฟังแล้วก็รู้สึกไม่ค่อยดีเท่าไร แต่ก็อยากรู้ว่าถ้าเป็นเขา เขาจะทำไง หรือที่เขาทำน่ะ ที่ว่าสุดยอดน่ะเขาทำไรบ้าง เขาก็เล่าให้ฟังว่า เขาลงมาทำ "ประชาหารือ" ซึ่งสำหรับชื่อแล้วก็คงคล้ายการจัดหารือ หรือพวกประชาคมอะไรประมาณนั้น แต่แกว่าไม่ใช่ มันเป็นการนั่งคุยกับกลุ่มเป้าหมาย คุยแบบ ธรรมดามากๆ (ไม่ค่อนแน่ใจว่าระห่างที่คุย ผมอยู่ในกลุ่มเป้าหมายของแกด้วยหรือปล่าว) โดยมีประเด็นที่สร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับให้ทราบข้อมูล 2-3 คำถามหลัก แล้วที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับทักษะของผู้ทำว่าจะสามารถดึงเอาข้อมูลจากผู้ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้มากน้อยแค่ไหน แกว่าคุยต้องไม่นาน 15-30 นาที ก็หมดประเด็นแล้ว ที่เหลือก็น้ำ ถ้าอยากได้อีกก็ไปใหม่ หรือไปหาคนอื่นดูบ้าง...
ซึ่งสำหรับการประชุมแบบมีส่วนร่วมก็เหมือนกัน คงนำเอาเรื่อง "ประชาหารือ" ไปใช้ได้บางส่วน ยกตัวอย่างเช่น เราก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของเรา ออกไปคุยกับชาวบ้าน บ่อยๆ เกี่ยวกับเรื่องทั่วๆไป "เป็นไง..วัว...ปีนี้ลูกกี่ตัวแล้ว..ผสมพันธุ์อะไร..ไม่เห็นโทร.แจ้ง จนท.เราเลย..กรป.เขาผสมเป็นไงบ้าง...ของเขามีพันธุ์อะไรบ้าง..หญ้าพันธุ์นั้นต้นใหญ่ดีน่ะ วัวกินแล้วเป็นไงบ้าง" อะไรทำนองนี้ แต่ที่สำคัญคือ เราจะต้องฝึกนิสัยการจดบันทึกให้เป็นนิสัย เรื่องนี้เป็นเรื่องที่จำเป็นที่จะต้องเร่งส่งเสริมสนับสนุนทุกทาง เพราะว่าเป็นความสำคัญและจำเป็นมากยิ่งสำหรับคนไทย รู้ไหมว่านอกจากจะทำให้เรารู้ว่าเราทำอะไรแล้ว เรายังฝึกทักษะการถ่ายทอด การใช้ภาษา(ไม่ว่าคุณจะบันทึกด้วยภาษาอะไร-ไม่ถนัดจะบันทึกภาษาไทย ตัวยาวีก็บันทึกไปซิ ขอให้คุณเข้าใจของคุณก็เพียงพอ) เพื่อนที่ทำงานเดียวกับผมจะมีปัญหามากเวลาที่จะต้องส่งการตรวจการจ้าง และบันทึกรายงานการปฏิบัติงาน เพราะพี่แกเล่นมาบันทึก 2-3 วันก่อนส่ง และมักจะเรียกใช้บริการจนท.ผสมเทียม ช่วยเสมอๆ
หมายเลขบันทึก: 357722เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2010 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท