บ่ายวันแรกของการอบรม เราก็เริ่มเข้าสู่บทเรียน ในหัวข้อที่ตั้งใจมาเรียนรู้คือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม หลังจากฟัง ดร.ตู้บรรยาย ผมพอจะเข้าใจความหมายของวิจัยชนิดนี้ได้ว่า "เป็นวิจัยเพื่อพัฒนา ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า โดยการร่วมมือ ร่วมคิด ร่วมใจของคนในชุมชนในทุกภาคส่วน" การวิจัยประเภทนี้ หน่วยที่ทำการศึกษา คือคนในชุมชน วิธีคิดของคนในชุมชน พฤติกรรม รวมถึงบริบทของชุมชน ส่วนวิธีการศึกษานั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดี ระหว่างนักวิจัยกับคนในชุมชน มีการศึกษาในเชิงลึก ทั้งแง่บวกและแง่ลบ เพื่อประกอบการพิจารณาอย่างรอบคอบว่าข้อมูลไม่ผิดเพี้ยน และในที่สุดให้เกิดการปฏิบัติการร่วมกันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในเชิงพัฒนาของชุมชนนั้นๆ
อีกประการหนึ่งที่สำคัญนะครับ คือกระบวนการพัฒนาหรือแก้ปัญหาใดๆที่เกิดจากการวิจัยประเภทนี้ ต้องพยายามเน้นสิ่งที่คนในท้องถิ่นทำได้ ภูมิปัญญาที่ท้องถิ่นมี มุมมองของคนในท้องถิ่นนั้นๆ และที่สำคัญคนในท้องถิ่นจะต้องเป็นแกนนำในการปฏิบัติการครั้งนี้
ผมคิดของผมในใจเองว่า กระบวนการแก้ไขปัญหาใดๆที่เป็นเรื่องของส่วนรวม เรื่องนั้นๆจะกระทบถึงตัวเองหรือไม่ก็ตาม แต่กระทบถึงสังคมที่ตนอาศัยอยู่ สิ่งสำคัญอันดับแรกคือการร่วมใจของคนในชุมชน ร่วมกันคิด แล้วในที่สุดก็ร่วมมือกันทำเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ชุมชนนั้นก็จะอยู่ในภาวะสมดุล หลุดรอดปลอดภัยจากปัญหาต่างๆที่ทับถมกันเข้ามา ทำให้เกิดเป็นสังคมที่ดีและยั่งยืน ..... จริงๆแล้วมันก็เป็นภาพฝันของสังคมที่ผมเป็นสมาชิกอยู่นั่นเองครับ
มิบังอาจจริงๆ ครับพี่หมอที่จะ comment ก็โดยรวมแล้วพี่หมอเขียนบรรยายได้เห็นภาพไว้สมบูรณ์แล้ว เพียงแต่ผมมีข้อเสนอนิดนึงว่า พวกเราน่าจะช่วยกันเสนอการทำ PAR จากประสบการณ์หรือจากภาระหน้าที่ที่กำลังทำงานเรื่องนี้กันอยู่ จะได้แลกเปลี่ยนเห็นมุมมองของแต่ละบริบทต่างๆ กันครับ ... เห็นทีผมเองก็คงจะต้องสมัครเป็นสมาชิกของ web นี้บ้างแล้ว เพื่อจะได้เล่าเรื่องที่ได้พบเจอมาแลกเปลี่ยนกัน ช่วงคงต้องรบกวนพี่หมอส่งข้อสรุปและ link ดีๆ แบบนี้ให้กับพี่ๆ น้องๆ จะได้เข้ามาร่วมกันเป็นชุมชนแลกเปลี่ยนความรู้กันครับ
เคารพยิ่ง
ปุ๊ด ... :-)
ขอบคุณ คุณปภังกร ที่กรุณาอ่านบันทึกนะครับ
ส่วนปุ๊ด ผมเห็นด้วยกับข้อเสนอ อยากให้เป็นชุมชนแลกเปลี่ยนความรู้จากประสบการณ์ เพียงแต่ตอนนี้ผมยังทำ plannet ไม่เป็น ไว้ค่อยๆศึกษาดูก่อนนะปุ๊ดนะ
เรียน คุณหมอนิพัทธ
นานๆ จะเจอแพทย์นักเขียนสักทีรู้สึกดีใจมากเลย งานเชิงคุณภาพการเขียนจะเป็นการบอกเล่าให้ผู้อื่นทราบงานของเราอย่างเป็นวิชาการ มิเสียทีที่ได้มีโอกาสรู้จักกัน เท่าที่อ่านดูก็เห็นว่าคุณหมาไม่ใช่เพียงเก็บประเด็นหลักๆ ได้เท่านั้นยังมีการวิเคราะห์สังเคราะห์ลงไปด้วย สาธารณสุขมีเพชรเม็ดงามอีกเม็ดหนึ่งแล้วนะ ถ้าคุณหมอต้องการลงวารสารของ ดร.เชษฐ ก็ได้นะคะเขียนเรื่องมาแล้วเขาจะหาคนอ่านให้ ฉบับหน้าจะคลอด กค.นี้แหละค่ะ
ไว้มีโอกาสพบกันนะคะ
ตู้
หลังจากที่เคยบอกอาจารย์ภายหลังจาก "อบรม PAR" ว่าดีใจที่มีอาจารย์เป็นหัวหน้า เพราะในการทำงานหรือโครงการต่าง ๆ อาจารย์ให้โอกาสแสดงความคิดเห็น และเลือกวิธีการทำเสมอ ถ้าสิ่งนั้นเป็นประโยชน์และทำให้งานประสบผลสำเร็จ แต่ถ้าพยายามแล้ว ไม่สำเร็จ อาจารย์จะฟังเหตุผล และให้ข้อชี้แนะ ถ้าทำแบบนี้ไม่ได้ ลองทำแบบนี้สิ ลองเอาหนังสือเล่มนี้ไปอ่านสิ ฯลฯ เสมอ ๆ และพยายามพัฒนาเจ้าหน้าที่ทุกคน จากพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วย มาเป็นนักวิชาการและพยาบาลชุมชนเต็มตัว รู้สึกโชคดีเหลือเกินที่มีหัวหน้าแบบนี้ และอยากให้ ผู้บริหารคนอื่น ๆ เป็นแบบนี้ทุกคน