เส้นทางเดิน "การจัดการตนเอง"


ไม่ว่าจะทำอะไร? หรือ เป็นอะไรก็ตาม แต่เราจะต้องเชี่ยวชาญในวิชาชีพของตนเอง

   ดิฉันได้คิดทบทวนประสบการณ์และการเรียนรู้ที่ได้พยายามฝึกฝนและปฏิบัติสั่งสมมาเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของการทำบทบาทเป็น     "ผู้ออกแบบการเรียนการสอน"  ซึ่งเป็นความชอบที่ได้ศึกษาในระบบชั้นเรียนมาเป็นเวลา ๖ ปี 

   หลังจากนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงของวิถีการทำงานที่ต้องติดต่อสื่อสารกับบุคคลมากหน้าหลายตาในบทบาทของ "ครู" ที่ถ่ายเทและเก็บความรู้ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างประสบการณ์ ซึ่งมีทั้งความรู้เก่าและความรู้ใหม่เกิดขึ้นของ "ผู้จัดกระบวนการเรียนรู้"  โดยสิ่งนี้เป็นจิตสำนึกของการทำหน้าที่ให้คุ้มค่ากับเงินเดือนที่ได้รับมาเป็นระยะเวลา ๑๒ ปี

   แต่มีสิ่งหนึ่งที่เดินเข้าสู่เป้าหมายของการทำหน้าที่ "ทำอย่างไร?  ให้บุคลากรเกิดการเรียนรู้ได้ตามสิ่งที่ต้องการและอยากเรียนรู้"  ในบทบาทของผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator)  ซึ่งคำ  ดังกล่าวที่ใช้อาจจะมีผู้บัญญัติศัพท์ไว้มากมายและเรียกชื่อที่แตกต่างกัน  แต่สำหรับดิฉัน "ความขลัง" ของชื่อนี้ได้ติดปากมานานกว่า ๘ ปีแล้ว ฉะนั้นจึงยากต่อการปรับเปลี่ยน เพราะชื่อนั้นสำคัญไฉน?

   จากภาระหน้าที่ของผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ก็พยายามเรียนรู้เพื่อยกระดับเป็น "นักจัดกระบวนการกลุ่ม" หรือ Group Process  ซึ่งสิ่งนี้เป็นงานที่นำมาสู่การส่งเสริมการพัฒนาเจ้าหน้าที่ให้บรรลุและทำเป็นในวิชาชีพของตนเอง คือ นักส่งเสริมการเกษตร ที่จะต้องเชี่ยวชาญในวิชากระบวนการกลุ่ม.

                                       ศิริวรรณ  หวังดี

หมายเลขบันทึก: 35697เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2006 22:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เยี่ยมมาก ๆ เลยครับ ทำอะไรต้องมีความเชี่ยวชาญและความรู้ลึกมาก ๆ ครับ เพราะยิ่งเชี่ยวชาญยิ่งรู้ลึก นอกจากเราจะได้รู้แล้วเรายังสามารถทำให้คนอื่นได้รู้ และรู้มากกว่าเราได้ยิ่งดีครับ
ขอบพระคุณมากค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท