รังสีเทคนิค ที่มหาชีวาลัยอีสาน 2553


หน่วยรังสี ดูงานที่มหาชีวาลัยอีสาน

ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมาเป็นวันฉัตรมงคล ซึ่งทางราชการเป็นวันหยุด ดังนั้นพวกเรา ชาวรังสีวินิจฉัย ก็ได้มีโอกาศ ไปดูงานนอกสถานที่เกือบจะพร้อมเพรียงกัน เพราะบางส่วนต้องเข้าเวร ทั้งหมดร่วมเดินทาง 45 ชีวิตมีทั้ง รังสีเทคนิค/ พยาบาล /ทีมงานบริการทางรังสี และ มีหัวหน้าทีมเป็นรังสีแพทย์ ท่านอ.จิตเจริญค่ะ

ในการศึกษาดูงานในครั้งนี้ที่ มหาชีวาลัยอีสาน ของ ท่าน ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ เป็นเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง โดยสถานที่ตั้งอยู่ บ้านปากช่อง ตำบลสนามชัย อำเภอ สตึก จังหวัด บุรีรัมย์ ห่างจากขอนแก่นมาก เราใช้เวลาในการเดินทาง 3 ชั่วโมงเศษๆค่ะ.......

ผู้เขียนมีบรรยากาศมาให้ชม พร้อมกับนำเสนอข้อมูลด้านวิชาการร่วมด้วย......

ตามมาชมพร้อมๆกันเลยค่ะ

ขอนแก่น มีอุโมงลอด แล้วรถบัส 45 ที่นั่งของพวกเรานั่งสามารถลอดได้..เย้ๆๆๆ ทันหมัยเหมือนกาน

แจกข้าวเหนียว 1 ถุง หมูปิ้ง คนละ 3 ไม้พออิ่มค่ะ

ได้ข้าวเหนืยวไม่ถึงชั่วโมง หลับซะแล้ว..อิอิ ตื่นเช้ากัน เพราะรถ ออก 6 โมงเศษๆค่ะ

ถึง อ.สตึก เลยทางเลี้ยวไปสวนป่า(ซ้ายมือ) ขับเลย เพราะไม่มีป้ายบอกทาง ต้องจอดถามและถอย กลับ...

ข้างทางมีป่าสวนยาง เต็มไปหมด สีเขียวร่มรื่นมากๆ

ขับเลยไปอีก 4 กิโล(สวนป่าเลี้ยวขวา) ต้องย้อนกลับอีกแล้ว..อิอิ..ไม่มีป้ายตามเคย

เลี้ยวขวา และ ขวา อีก เห็นป้ายเล็กๆสีเขียว

ถึงแล้ว สวนป่า กองฟางด้านหน้า สูงเสียดฟ้า...

ล่าง ท่านอ.เจเจ หัวหน้าทีมพวกเรา กำลังสนทนา กับ ครูบาสุทธินันท์

ถ่ายภาพหมู่ ร่วมกันเป็นที่ระลึก

มีหนังสือที่กลุ่มงานท่านเขียน ให้พวกเราได้อ่าน

ท่านครูบา บรรยายให้พวกเราฟังในการฟื้นฟูสภาพพื้นที่ป่า โดยใช้ทั้งความรู้ความสามารถ กว่า 30 ปี และ อาชีพในชุมชนที่เกิดขึ้น

มหาชีวาลัยอีสาน ของท่านสอนโดย 1.เรียนรู้

2.ทดสอบความรู้ 3.นำความรู้ขยายผล

4. นำผลสรุปสู่นโยบาย

ท่านค้นหา และพบถึงปัญหาที่เกิด กับ คนอีสานเรียนรู้ทุกๆเรื่องทั้งผิดและถูกจับประเด็นการฟื้นฟู โดย หาโจทย์และตอบโจทย์

เปิดห้องเรียนสู่โลกกว้าง ได้ทุกอย่างเป็นความจริง กลายเป็น ลายแทงความรู้.....ทุกๆปี จะมีนศ.แพทย์จาก รพ.จุฬา มาเข้าค่ายเพื่อเรียนรู้วิถีชาวบ้าน....ท่านยังสอนให้เลี้ยงวัว และ ทำนา.....

ท่านบอกว่า การสร้างอนาคต ต้องสร้างคนของตนเองก่อน

ในการพัฒนา สิ่งที่สำคัญกว่าการพัฒนาอื่นใด นั่นคือการพัฒนาด้านจิตใจ....ไม่ใช่ความรู้อย่างเดียว

ในการศึกษาท่านได้ศึกษาหลายๆด้าน และนำมาวิจัย ควบคู่กันไป ก่อนที่จะนำไปสอนกับชุมชน... ต้องมีชุดความรู้ที่เหมาะสม เพื่อนำมาประกอบในการเกษตร ต่างๆ เช่น การเลี้ยงหมูพันธ์ดี

ศึกษาวิจัยการเกษตร ยางพารา วิจัยการปลูกต้นยูคาลิปตัส กลั่นเป็นน้ำมันดิบ โดยศึกษาหาความรู้ และไปดูงานต่างประเทศ และ การปลูกพืชทุกชนิด เช่น ต้นเสารส นำมาทำน้ำเสารส

การวิจัยเชิงประหยัด คือ ทำเตาเผาถ่าน ศึกษาด้วยตนเอง ค้นพบจนประสพผลสำเร็จ จนได้ผลผลิต ส่งออก และนำมาขยายสู่ชุมชน ยังได้เลี้ยงนกกระจอกเทศ นกยูง อีกด้วย

นำผลิตผลทุกอย่างมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า

ความรู้ในยุค IT มีหลากหลายเรื่อง เช่น เรื่องอยากรู้ /ไม่อยากรู้ /ควรรู้ ..เราต้องนำเอามาใช้ให้ถูก

การเรียนในห้องได้ความรู้ เรียนนอกห้องได้ความจริง นำทั้ง 2 สิ่งมารวมกัน เป็นความรู้กับความจริง...

วิทยากร อีกท่าน ที่มาให้ความรู้

แนวคิด... ท่านบอกว่า มองตนเอง ว่า ขาดอะไร แล้วต้องเติมอะไร

ท่านเล่าว่า การสอนคน ทำให้เกิดปัญญา หลายระดับ ขึ้นกับครูที่สอน เช่น ความรู้ที่ได้มา..จากความรู้ตนเอง หรือ จากการฟังมาจากคนอื่น....จึงต้องแบ่งเป็นระดับของปัญญา

หนังสือดี ที่เขียนโดยทีมงาน นำมาจำหน่ายเป็นรายได้สวนป่า เล่มละ 100-140 บาทค่ะ

ฟังบรรยาย นั่งเก้าอี้ ไม้ยูคาลิปตัส ที่สวนป่าทำเอง...คณะทำงาน..หวังว่าทุกๆท่านที่ได้มาฟังและได้มาชม คงมีแนวคิด ที่เกิดประโยชน์แก่ตนเอง และส่วนรวมได้ไม่น้อยทีเดียวค่ะ.....

คนที่มีแนวคิดในการพัฒนาเช่นนี้เชื่อว่าประเทศไทยเราคงเจริญต่อไปแน่นอนค่ะ

น้องๆนั่งพักที่ลาน ประชุม....หลังฟังบรรยายเสร็จ

สองสาวแอบมาชมห้องครัว

เดินชมสถานที่ก่อนลากลับ

ห้องอาหารที่ต้อนรับคณะเรา..อยู่ด้านข้างห้องประชุมเอนกประสงค์....อาหารอร่อยไร้สารพิษ ทีมงานสวนป่าปรุงเอง

ท่านบอกว่า บ้าน(ภาพล่าง)สร้างด้วยไม้ยูคาลิปตัส เป็นหลังแรก...ของไทย

เลี้ยงนกกระจอกเทศ และ หมูด้วย

ล่าง คุณน้องปุ๋ยสาวพยาบาล คนสวย ขอถ่ายรูปหน้าบ้านครูบา บอกว่าต้นไม้สวยดี

ผู้เขียนขอบ้าง...เป็นช่างภาพขอสวยด้วยคนค่ะ..

ทีมงาน หน่วยรังสีวินิจฉัย ต้องขอขอบพระคุณ ทีมงานสวนป่า ของท่านครูบาสุทธินันท์ ที่ได้ให้ความรู้กับพวกเรามากมายค่ะ.....ขอให้ทุกๆท่านมีสุขภาพที่แข็งแรง เป็นครู ให้กับ ชาวอีสาน ต่อไปนานๆด้วยค่ะ

หมายเลขบันทึก: 356375เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2010 10:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2016 15:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

กลับจากสวนป่า เรามาสานต่อที่ภาค เมื่อวานนี้ เป็น เรื่องดีดี ของ ชาวรังสี ครับ

นำภาพ พ่อครู ผัดผักไร้สาร แต่ไม่ ไร้ใจ มาเสริม ครับ

ขอบพระคุณ หลายๆค่ะ...ที่มาช่วย สานต่อ

ไม่งั้นพวกเราไปไม่ถึง......แน่นอนค่ะ

ดีจังค่ะได้ไปดูงานสถานที่แบบนี้ กำลังสนใจพอดีอยากทำ อยากอยู่ในบรรยากาศแบบนี้ มันคงเป็นความสุขที่เพียงพอและยั่งยืน อยากปลูกผักกินเองจะได้ไม่ต้องสงสัยทุกครั้งที่ล้างผักว่ามียาฆ่าแมลงมั๊ย แต่ไม่รู้จะทำได้แค่ไหน ซื้อที่ไว้ 10 ไร่ ถ้าทำได้บ้างจะชวนมาเที่ยวแต่ถ้าทำไม่ได้ก็ลืมมันไปเถอะนะคะ อิอิ

สวัสดีคะ บ้านพ่อครูใครไปไม่หลงทางแสดงว่าไม่ได้ไปสวนป่าคะ

อาหารที่บ้านพ่ออร่อย ได้นอนค้างด้วยจะดีมากๆ เลยคะ เดินป่ากันตอนเช้าเก็บมะม่วง เก็บเห็ด ผักต่าง ๆมาปรุงอาหาร

ขอบคุณ คุณ sutheerat และคุณ ประกาย natachoei~ที่~natadee

ที่แวะมาเขี่ยมชม เห็นด้วยเป็นอย่างมาก กับ การมีที่ดิน ทำกินเองค่ะ..

บรรยากาศ ดี ไร้ มลพิษ...น่าเอามาเป็นเยี่ยงอย่างและขยาย ให้คนได้รู้เห็น

กำลังคิดเหมือนกัน กับการทำสวนครัว..แบ่งมาหน่อย ก็ดี ตั้ง 10 ไร่..อิอิ

เห็นภาพแล้ว อยากติดตามไปกับหมู่คณะมากๆเลยครับ...

ขอบคุณนะครับนำภาพบรรยากาศมาฝาก..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท