จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

ผู้นำที่ต้องเปลี่ยนแปลง


เป็นสัปดาห์ที่สองของการอบรมหลักสูตรผู้นำการเปลี่ยนแปลง สัปดาห์นี้เริ่มประเด็นเนื้อหาเป็นหลักครับ เริ่มตั้งแต่การสร้างเป้าหมายทางการศึกษา และการตรวจสอบสถานะปัจจุบันของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เมื่อหลายวันก่อนก็นั่งประชุมกันระหว่างอาจารย์ในสาขาวิชาครับว่าจะทำอย่างไรให้ผู้เข้าอบรมตีโจทย์นี้แตก ก็เลยหวังว่าสามวิทยากรหลักในภาคเช้าจะสามารถจุดประเด็นคิดให้กับผู้เข้าอบรมได้ครับ

กิจกรรมวันนี้เริ่มต้นด้วยการถอดบทเรียนกระตุ้นความคิดจากการนำพาผู้เข้าอบรมเข้าร่วมการประชุมวิชาการเมื่อวันที่ 25 เม.ย.ที่ผ่านมาครับ โดยธรรมชาติครับ เช้าๆ ยังไม่ค่อยมีคนอยากพูดเท่าไร เลยต้องใช้วิธีการสุ่มมาสี่ท่าน แต่เป็นงัยไม่ทราบออกมาเพียงสามท่าน นำเสนอแนวคิดด้านหน้าครับ ซึ่งหลังจากสามท่านนี้พูดก็สร้างประเด็นการแลกเปลี่ยนความเห็นอย่างกว้างขวางครับ

(สามต้นเรื่องที่สามารถชวนทั้งห้องให้ร่วมคิดร่วมพูดต่อได้)

คุยกันสนุกไปนิดหนึ่งครับ ผมเลยปิดไม่ลง ทำให้เลยเวลาไปนิดหนึ่ง จึงต้องปรับแผนนิดหน่อย เชิญ อ.ซอลีฮะห์ฉายเดี่ยวก่อนครึ่งชั่วโมง งานนี้ท่านอธิบายซะละเอียดเลย ประเด็นหลักคือ อะไรคือเป้าหมายของการศึกษาในอิสลาม และแนวทางการขับเคลื่อนครับ งานนี้มีอีกประเด็นที่ท่านเวลาไม่พอที่จะนำเสนอคือตัวอย่างการขับเคลื่อนประเด็นที่ท่านนำเสนอ งานนี้ต้องขออภัยไม่มีการต่อเวลา ฮิฮิ

(อ.ซอลีฮะห์ หะยีสะมะแอ รองคณบดีคณะศิลปศาสตร์ฯ ฉายภาพการศึกษาในอิสลามครับ)

พักเบรกกันสิบห้านาทีครับ เริ่มต่อด้วยสองวิทยากร คือ ดร.มูฮำมัสสกรี มันยูนุ กับ อ.ibm ครูปอเนาะ ครับ ซึ่งสำหรับ ดร.มูฮำมัสสกรี ประเด็นนี้ผมฟังหลายรอบแล้วครับ แต่ต้องยอมรับว่าท่านนี้มุขไม่ซ้ำครับ แต่สำหรับ อ.ibm ครูปอเนาะ นี่ผมยังไม่เคยฟังท่านบรรยายอย่างเต็มรูปเหมือนคราวนี้ครับ ต้องยกนิ้วให้ทั้งสองท่านเลยครับ ครบถ้วนด้วยอารมณ์ขันและสาระเลยครับ

(หน.สาขาวิชาและ ผอ.สำนักวิทยบริการ วิทยากรคู่)

เกือบจะเที่ยงครึ่งครับ เราจึงจะได้พักเที่ยงกัน ฮิฮิ เริ่มตาลายครับ เลยไม่ได้ปล่อยให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ออ. เพราะถึงอย่างไรช่วงบ่ายได้อภิปรายประเด็นของช่วงเช้าแน่ๆ 

ช่วงบ่ายเราย้ายห้องอบรมไปที่หอประชุมใหญ่ครับ ผมต้องการใช้พื้นที่กว้างๆ เพื่อกิจกรรมกระบวนการครับ รอบแรกเป็นวงใหญ่ก่อน เอานิทานมาเล่าให้ฟัง จากนั้นก็ให้ช่วยกันวิเคราะห์ในมุมมองของการบริหารจัดการครับ ทีแรกนึกว่าจะไม่มีคนร่วมคุยร่วมวิเคราะห์ครับ ที่ไหนได้ ทุกคนอยากพูดอยากคุย บรรยากาศเลยคึกครื้นขึ้นเยอะเลยครับ

(ตั้งใจให้นั่งพื้นครับ แต่กว่าทุกคนจะได้นั่งพื้นแบบสบายๆ ผมและทีมงานต้องมายกเก้าอี้ไปเก็บพอได้เหงื่อเลยครับ ฮิฮิ)

มีความผิดพลาดเกี่ยวกับห้องประชุมเล็กน้อยครับ คือ ผมคุยไว้ว่า เก็บเก้าอี้ให้หมด ผมจะให้นั่งพื้นแบบโล่งๆ ครับ แต่แล้วทีมงานหวั่นใจ กลัวผมเปลี่ยนใจนาทีสุดท้าย เลยจัดเก้าอี้เผือไว้เล็กน้อย ฮิฮิ (500 ตัว) ผมมาถึงห้องประชุมเลยต้องช่วยการเก็บไปประมาณ 5 แถว สนุกกันไปอีกเรื่อง ฮิฮิ

(แค่ได้คุยกันคนละนิด เวลาก็ผ่านไปอย่างรวดเร็วครับ)

หลังจากสรุปประเด็นจากนิทาน ก็มาสู่การแบ่งกลุ่มครับ คุยกันเพื่อตอบคำถามของผมสองข้อ แล้วแปลงคำตอบนั้นมาเป็นหนึ่งรูปครับ หลายกลุ่มต้องเรียกผมไปขอคำอธิบายเพิ่มครับว่า คำตอบมันจะมาได้อย่างไร แต่พอแอบฟังการอภิปรายในแต่ละกลุ่มแล้ว ก็ต้องบอกว่า ยิงถูกเป้าแน่ๆ 

(บรรยากาศในการคุยกันในกลุ่มย่อยครับ)

ลองมาดูผลงานของแต่ละกลุ่มกันนะครับ เริ่มต้นด้วยกลุ่มนี้ครับ ลองดูภาพแล้วช่วยบอกหน่อยว่าเป็นรูปอะไร

ความจริงกลุ่มนี้ขอไม่วาดรูปครับ จะขอใช้สื่อของจริง แต่พอผมไม่ยอม รูปก็ออกมาอย่างที่เห็นครับ ฮิฮิ มันเป็นรูปอะไร???? ฟังอยู่นานครับ จนกระทั่งเอาของจริงมาให้ดูจึงถึงบางอ้อ ใช่เลย มันคือ ซาลาเปาจากร้านปริญดา ประเด็นการเปรียบเทียบก็น่าสนใจมากครับ เริ่มด้วยอะไรคือเป้าหมายการศึกษาในอิสลาม แล้วลากมาสร้างความสอดคล้องกับเป้าหมายการศึกษาของชาติ และสภาพที่เป็นอยู่ของ รร.เอกชนสอนศาสนาอิสลาม มันคือซาลาเปา ดูภาพภายนอก มันน่าอร่อย มันเต่งตึง และดูเหมือนว่าใส้มันจะเยอะ แฮะๆ แต่พอฉีกดูปรากฏว่าใส้นิดเดียว ฮา จากนั้นตัวแทนก็อธิบายรายละเอียดครับว่า ทำไมเป็นอย่างนี้ ประเด็นสำคัญคือ เราหลงทาง เราให้น้ำหนักการสอนเฉพาะในเรื่องศาสนปฏิบัติ ทั้งๆ ที่หลักการศาสนาที่เราจะต้องสอนมีมากกว่านั้น คำว่า ฟัรฏูกีฟายะห์ ไม่ใช่ว่าไม่สำคัญ มันสำคัญแต่ รร. มองข้ามไป

(ตื่นตาตื่นใจกับการนำเสนอครับ)

กลุ่มต่อไปครับ กลุ่มนี้นำเสนอสองภาพครับ เป็นรูปเรือ

กลุ่มนี้บอกว่าเราว่า ครูในโรงเรียนต้องให้ความสำคัญกับการบูรณาการให้มากขึ้น ไม่อย่างนั้นไม่มีวันที่จะไปสู่ฝั่งได้อย่างหวังครับ

ลองมาดูกลุ่มที่สองครับ ดูแล้วนึกไม่ออกว่าจะอธิบายสถานภาพ รร. อย่างไร แต่พอฟังแล้ว ต้องบอกว่า ใช่เลยครับ

(กลุ่มที่สองครับ รูปเด็กแต่งกายด้วยเสื้อหลากสี)

กลุ่มนี้ตีโจทย์ว่า หลักสูตรของโรงเรียนขาดเอกภาพ มันมีความหลากหลายจนเด็กคนหนึ่งๆ ถูกแต่งเต้มด้วยหลากสีสรรบนอาภรณ์ ปัญหาหนึ่งมาจากครูที่มีมุมมองเป้าหมายที่ต่างกัน จึงนิยามความสวยความงามของเด็กต่างกัน แล้วเด็กก็รับทุกอย่างที่ครูให้มา ถามว่าในมุมมองคนภายนอกเด็กนี้จะเป็นเด็กเรียบร้อยหรือเปล่า ฮือ น่าคิดจริงๆ

มาดูกลุ่มต่อไปครับ เนื่องจากกลุ่มก่อนหน้านี้ใช้เวลาไปเยอะ กลุ่มนี้ผู้ฟังเลยเบาบางไปสักนิดหนึ่งครับ นำเสนอภาพดังนี้ครับ

(กลุ่มนี้ตอบคำถามว่า อีกไกลมัยที่จะถึงเป้าหมาย)

คำตอบของกลุ่มคือ สำหรับเป้าหมายของชาติ อีกสักสามสิบเปอร์เซนต์ก็จะถึงแล้ว แต่สำหรับเป้าหมายของศาสนาอีก 70 เปอร์เซนต์ครับ (ฮือ ไกลมาก) ถามว่าทำไม? คำตอบคือ คนขับรถ ซึ่งหมายถึงผู้บริหารโรงเรียนขาดความชัดเจนเกี่ยวกับเส้นทาง เลยขับรถสะเปะสะปะไปหน่อย ที่สำคัญคนชี้ทางอย่างครูๆ ก็บอกทางต่างกันครับ นอกจากนี้บนเส้นทางก็มีขวากหนาม ด้วยนโยบายรัฐที่ส่งผลต่อโรงเรียน นโยบายที่พูดถึงกันบ่อยเช่น เปิดสมัครบรรจุครูกลางเทอม ทำเอา รร.เอกชนฯ กระเทือนครับ เพราะครูหลายไปเกือบครึ่งโรงเรียน

(กลุ่มนี้ ภาพถ้าไม่อธิบายก็คิดไม่ออกเหมือนกันครับ)

กลุ่มนี้เป็นภาพคนพายเรือครับ คนนั่งหน้าคือผู้บริหารที่คอยบอกทางครับ ส่วนคนพายเรือมีสองคน คนแรกมีแต่ด้ามพาย หมายถึงครูสามัญ อีกคนหนึ่งมีใบพายแต่ไม่มีด้าม คือครูสอนศาสนา ถ้าไม่มีการผสานความร่วมมือระหว่างครูสามัญกับครูศาสนา ไม่มีทางที่พาเรือไปถึงฝั่งครับ

กลุ่มต่อไปครับ เป็นรูปเด็กผู้หญิงใส่ฮีญาบครบชุด แต่มีกุญแจอยู่ที่เอวครับ

คำอธิบายคือ ถึงแม้เราจะมีเครื่องมือเครื่องไม้ในการพัฒนาเด็กครบสมบูรณ์แล้ว แต่หากเราไม่เปิดหัวใจ เชื่อมทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน เราก็ไม่มีทางไปถึงความสำเร็จได้ครับ

ส่วนกลุ่มสุดท้ายครับ เป็นรูปเด็กผู้หญิงเช่นกันครับ แต่คนนี้ไม่คลุมฮีญาบ มีคนนำเสนอสองท่านครับ

ข้อคิดของกลุ่มนี้คือ เด็กคนนี้น่ารักแล้วยัง รร.สร้างเด็กให้น่ารักน่ามอง แต่ถามว่าความจริงความน่ารักนี้คือเป้าหมายของการสร้างเด็กของ รร.เอกชนฯ หรือเปล่า คำตอบคือยังไม่ใช่ เพราะความจริง เราอยากสร้างเด็กที่สวยงามด้วยฮีญาบ ไม่ใช่ด้วยการมีปากแดงเท่านั้น

หมายเลขบันทึก: 355460เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2010 00:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

กระบวนการจัดการรอบนี้เดินทางได้รู้เลยว่าผู้จัดเตรียมการมาดี อิอิ

การเปิดประเด็นของสามวิทยากรถึงไม่ได้อยู่ฟังก็น่าจะมองภาพออกว่ามีมุมมองหลากหลายให้น่าคิดแน่นอนเพราะนี่ คือ ครูที่เชี่ยวชาญพิเศษจริงๆสำหรับเรื่องการจัดการศึกษาบูรณาการของสังคมยุคนี้อันดับต้น

     กระบวนการตอนบ่ายสบายแต่อ่านแล้วมองภาพออกเลยครับว่า...ได้เนื้อหาสาระจริงๆ  ผมว่าไม่ต้องอบรมต่อาทิตย์ที่เหลือผู้บริหารหลายท่านคงเก็บความประทับใจไปอีกนานครับ (อัลฮัมดุลิลละฮฺ)

       ขอเป็นกำลังใจให้ในการทำงานครับอาจารย์...

นอกจากบรรยากาศดีแล้ว เนื้อหา แนวคิด ของแต่ละกลุ่มสุดยอดครับ

ปัญหาก็คือ ทำไงให้เปลี่ยนแปลง ตามที่พวกเขาคิดกัน

ผมว่า..อาจารย์ต้องรวบรวมแนวคิดเหล่านี้แล้วนำเสนอเป็นงานชิ้นหนึ่ง.. เป็นบทความก็ได้

ขอบคุณครับอาจารย์เสียงเล็กๆ فؤاد 

ผมเห็นด้วยเลยครับว่า จบแค่อาทิตย์นี้ก็พอ ฮิฮิ กลัวอาทิตย์หน้าทำล้ม ฮา

ขอบคุณครับอาจารย์ Ibm ครูปอเนาะ ڬوروفوندق 

ประเด็นแนวคิดน่าสนใจครับ ผมว่า รร.พร้อมเดินตามคอนเซปท์การศึกษาในอิสลามแล้ว 

มีเวที การแลกเปลี่ยนก็เกิด ซึ่งสิ่งที่จะมาตามก็คือ การแชร์ แบ่งปั้น การแลกเปลี่ยน ความรู้ระหว่างกัน

ใช่แล้วครับ คนตานี 

สร้างเวที เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเห็นใจกัน

เป็นอีกสัปดาห์ที่สร้างความประทับใจได้มากทีเดียวครับ

อยากให้อาจารย์นำเนื้อหาของวันที่สองมาสรุปบ้างครับ

โดยเฉพาะเรื่อง วัฒนธรรมองค์กร น่าสนใจมากครับ

ขอบคุณครับอาจารย์ นาย อะหมัด หลีขาหรี

ข้อเสนอแนะโดนใจเลยครับ ความจริงตั้งใจจะเขียนตั้งแต่เมื่อคืนแล้วครับ แต่หลับไปก่อน ฮิฮิ อินชาอัลลอฮ์ คืนนี้ได้อ่านครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท