ประชาคมสุขภาพ ตอนที่ 2


หลังจากการทำกิจกรรมกลุ่ม ก็มีการนำเสนอ พบว่ามีประเด็นที่ยังค้างคาใจอยู่บางส่วน คือ เรื่องงบประมาณ 100,000 บาทนั้น บางส่วนยังเห็นว่าสามารถนำมาแปรเป็นค่าวัสดุ หรือสิ่งก่อสร้างได้

          ช่วงบ่ายของวันเดียวกันก็ลงพื้นที่ ทำประชาคมสุขภาพ มีประชาชนในหมู่บ้านให้ความร่วมมือดีมาก นัดพร้อมกันบ่ายโมงครึ่งแต่ บ่ายโมงเอง เขามาพร้อมกันหมดแล้ว ทีมงานซะอีกที่ยังมากันไม่ครบ ช่วงแรกก็จะเป็นการลงทะเบียนกันก่อน แล้วเข้าไปนั่งกันในห้อง เพื่อรอความพร้อมของผู้เข้าร่วมท่านอื่นๆ ที่ยังมาไม่ถึง ผู้เข้าร่วมวันนี้ทั้งหมด 38 คน ชาย 12 คน หญิง 26 คน อายุเฉลี่ยประมาณ 35 - 40 ปี ส่วนใหญ่ เป็น อสม. ผู้นำชุมชน และมีผู้สูงอายุบางส่วน เริ่มดำเนินการโดยเจ้าภาพ คือ หัวหน้ากลุ่มงานเวชปฏิบัตครอบครัวและชุมชน กล่าวแนะนำตัว แนะนำทีมวิทยากร และจากนั้นก็จะเป็นการดำเนินการโดยทีมวิทยากร และเริ่มแบ่งกลุ่มประชาชนตามเขตบ้าน ได้ 4 กลุ่ม คือ บ้านกลางควน บ้านใสบ่อ บ้านวัดใหม่ และบ้านทอนยางตีน และให้โจทย์ คือ มีอะไรบ้างที่รู้สึกภาคภูมิใจ มีอะไรบ้างที่รู้สึกไม่บายใจ (ไม่สบายใจ เศร้าใจ ทุกข์ใจ) แบ่งกลุ่มกันคิด เขียน ไม่มีผิด ไม่มีถูก ทุกคนสามารถพูดได้ คิดได้ แล้วค่อยมานำเสนอ ในส่วนของการแบ่งกลุ่มนี้ หลังจากการทำกิจกรรมกลุ่ม ก็มีการนำเสนอ พบว่ามีประเด็นที่ยังค้างคาใจอยู่บางส่วน คือ เรื่องงบประมาณ 100,000 บาทนั้น บางส่วนยังเห็นว่าสามารถนำมาแปรเป็นค่าวัสดุ หรือสิ่งก่อสร้างได้ ทั้งที่ก่อนทำกระบวนการกลุ่มทางทีมวิทยากรก็ได้ชี้แจงและอธิบายไปครั้งนึงแล้ว เอาล่ะสิ ปัญหาเดิมๆ มาอีกแล้ว ช่วยกันคิดดีกว่าค่ะ ว่าเราจะหาทางออกกันอย่างไรดีคะ ที่จะสวยงามและเหมาะสมที่สุดในสถานการณ์นี้

หมายเลขบันทึก: 35537เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2006 14:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2012 16:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

     บรรยากาศโดยรวมเป็นไปด้วยดีครับ ลื่นไหลได้ดี ในมุมมองพี่ โจทย์คือ "เมื่อนึกถึงบ้าน(ชุมชน)เรา มีความภาคภูมิใจอะไรบ้างที่จะบอกเล่า เรื่องนั้นเป็นอย่างไร" และ "ยังมีอะไรที่เป็นห่วง ไม่สบายใจ และคิดอยากจะแก้ไข หรือหาทางพัฒนาให้ดีขึ้น" ครับ
     จากสิ่งที่ได้มาของกลุ่มละแวกบ้านทั้ง 4 กลุ่ม เรามีแว่นส่องคือ "การพัฒนาสุขภาพชุมชน-โรคไม่ติดต่อ" ฉะนั้นเราก็บอกเขาในคราวถัดไปว่า ให้เลือกเอาโดยใช้แว่นนี้แก้ปัญหา/พัฒนาก่อน เนื่องจากมีการสนับสนุนจากภายนอกและนับเป็นโอกาสของชุมชนครับ
     ส่วนเรื่องงบประมาณ 100,000 บาท ที่ "คนนอก" ไปพูดจนเขาคิดว่าเป็นของเขา แต่เขากลับไม่ได้ใช้นั้น ค่อย ๆ แก้ไขโดยให้ข้อเท็จจริงปรากฎ แนะนำว่าคงจะใช้ "คนใน" ที่พอจะชี้แจงได้ เป็นคนเคลียร์เสียก่อน ไม่งั้นเราจะเดินต่อไปไม่ได้ หรือเดินได้ก็เป็นกังวลครับ (เรื่องนี้ขอฝากเป็นบทเรียนสำหรับการทำงานร่วมกับชุมชนด้วยนะครับ)
     ประเด็นที่พี่ภาคภูมิในแทนพวกเราคือ ชาวบ้านเขาสนุก มีความพร้อม และเต็มใจเป็นอย่างมากในการที่เราเข้าไปคราวนี้ นี่คือทุนของชุมชนนะครับ สิ่งที่ได้มา ในกระดาษที่คุณลิขิตของกลุ่มบันทึกไว้นั้น ล้วนทรงคุณค่า ลองถอดดูก่อนลืมนะครับ เช่น ชุมชนของเราไม่มีลักเล็กขโมยน้อย หรือขโมยใหญ่ เพราะบ้านเราไม่มีใครเป็นโจร หรือ ในชุมชนยังมีการเอาแกงที่ปรุงเสร็จใหม่ ๆ ไปแลกกัน ไปยื่นให้กัน ฯลฯ

          โจทย์ของงานนี้ นอกจากจะเป็นเรืองเงินแสนแล้ว ส่วนตัวแล้ว มองว่าน่าจะเป็นความพร้อม หรือความสามัคคีของทีมงานมากกว่า เพราะถ้าเมื่อใดที่ทีมไม่มีความรู้สึกเป็นอนหนึ่งอันเดียวกันแล้ว ก็จะเป็นเรื่องยากที่เราจะเดินหน้าต่อไปด้วยกันได้

          ส่วนเรื่องชาวบ้านนั้น คิดว่าเขาพร้อม และให้ความร่วมมือดีมาก และเขาจะเชื่อฟังผู้นำ ถ้าเราเข้ากับผู้นำได้ หรือทำตัวเป็นกลุ่ม พวกเดียวกันกับเขา และให้เขารู้ว่าที่เราทำ ไม่ได้ต้องการอะไร การที่เราเข้าไปเพื่อเป็นเพื่อนช่วยกระตุ้นให้เขาคิด ไม่ได้ต้องการผลประโยชน์อื่นใดเลย

สิ่งที่เราได้ในการทำประชาคมครั้งแรก คือจุดเริ่มต้นที่เราได้เรียนรู้จากชุมชน ทั้งค่านิยม ลีลาชีวิตและเงื่อนไขทางสังคมที่มีคุณค่า น่าจะเป็นนิมิตรที่ดีให้เราเดินเรื่องในครั้งต่อไป ส่วนปัยหาที่เกิดมีไว้สำหรับแก้ เพื่อสร้างสมประสบการณ์เท่านั้น ตอนนี้น่าจะมีวิธีการจัดการปัญหานี้แล้ว แจ้งให้ทราบด้วยนะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท