ประชาคมสุขภาพ


การทำประชาคมครั้งนี้ ท่านวิทยากรบอกว่าท่านจะนำหลักของ KM มาใช้ คือ ให้ถือว่าทุกคนมีความรู้อยู่กับตัว อย่าเอากรอบของเราไปใส่ให้เขา

          เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ได้มีการนัดแนะกับชุมชนกันเอาไว้แล้วว่า จะมีการนัดทำประชาคมเรื่องโรคไม่ติดต่อร่วมกัน ทีมวิทยากรเดินทางมาถึงที่ทำงานตั้งแต่เช้า แต่ต้องรอทีมงานอีกบางส่วนที่ยังเดินทางมาไม่ถึง จึงจะเริ่มการพูดคุยอย่างเป็นทางการได้ งานก็เริ่มจาก ท่าน ผอ. เข้ามาเปิดการประชุม แล้วจากนั้นก็ดำเนินการต่อโดยท่านวิทยากรและทีม ช่วงเช้ามีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 10 - 12 คน เข้าๆ ออกๆ (ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าติดภาระกิจอื่นนอกห้องหรือเปล่า) บรรยากาศของการพูดคุยดูเป็นกันเอง เนื่องจากทีมวิทยากรเป็นที่รู้จักของคนโดยทั่วไป และมีความเป็นกันเอง มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบกัน คุณเอื้อ คุณอำนวย คุณกิจ และคุณลิขิต (ก็ต้องตกเป็นของเราอีกแล้ว อยากลองเปลี่ยนหน้าที่ดูบ้างจัง) การทำประชาคมครั้งนี้ ท่านวิทยากรบอกว่าท่านจะนำหลักของ KM มาใช้ คือ ให้ถือว่าทุกคนมีความรู้อยู่กับตัว อย่าเอากรอบของเราไปใส่ให้เขา แล้วให้ใช้กระบวนการของ AIC ในครั้งแรกนี้ สิ่งที่ได้น่าจะเป็น A คือ ให้เขาบอกสิ่งที่เขารู้สึกภาคภูมิใจ และบอกสิ่งที่เขารู้สึกไม่ภาคภูมิใจ โจทย์หลักของวันนี้มีแค่นี้ และถึงเวลาเที่ยง รับประทานอาหารกันจนอิ่นท้อง เตรียมตัวพบกับประชาคมสุขภาพ ที่ชุมชนต่อค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 35532เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2006 14:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 16:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
     ช่วงเช้าพี่เองก็ "งง" ไปนิดนึง เพราะส่วนใหญ่คิดว่าจะเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ ซึ่งควรจะมาสรุปกันตอนหลัง AAR แต่พอต้องอธิบายก่อน เลยทำให้ตั้งหลักไม่ค่อยติดเหมือนกัน หากเป็นปกติ "ทีมงาน" ที่เราเคยทำกัน ก็จะเพียง Set หน้าที่ให้ แล้วต่างคนก็ต่างทำหน้าที่ต่อกันเป็นจิ๊กซอร์ สำหรับพี่แล้วบอกตรง ๆ บรรยากาศเหมือนหลานคนมาจับผิด ทำให้ไม่ลื่นไหล อันนี้ไม่ใช่ KM แน่ ๆ 
     การนำหลักการ KM มาใช้หมายถึง เราจะไม่เอาโจทย์ไปให้ชาวบ้าน แต่เราจะไปถามชาวบ้านกว้าง ๆ ว่าจะเอาอย่างไร จะทำตรงไหน เขา (ไม่ใช่เรา) มีประเด็นอะไร เรียกว่าไปหาหัวปลา (KV) กันในชุมชน ส่วนเราจะเป็นคนคอยกระตุ้น ให้เขาคิด พูด และเปิดประเด็น ลปรร.กัน
     ที่สำคัญเราต้องไม่ Block ชาวบ้าน เขาคิดอะไรก็ได้ บอกเล่าอะไรก็ได้ออกมา เราเพียงสร้างโอกาส และอำวยให้เกิดบรรยากาศที่เป็นกันเองครับ

          น้องก็รู้สึกทำนองเดียวกันกับพี่นะคะ เรื่องการประเด็นที่ว่ามีคนเข้ามามาก แล้วไม่ค่อยนิ่ง เข้าๆ ออกๆ และอีกย่างที่สำคัญไปกว่านั้น คือ กลุ่มผู้เข้าประชุมส่วนใหญ่ ไม่ทราบมาก่อนว่าตนเองต้องทำหน้าที่อะไร และมีบทบาทเช่นไร ในหน้าที่นั้นๆ ทุกคนต่างคาดหวังว่ามาจะดู การทำประชาคมสุขภาพ โดยมีทีมวิทยากร ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง และไม่ได้คิดเผื่อไปว่า ครั้งหน้าเราจะต้องลงมือทำเอง การเรียนรู้ในกลุ่มทีมงานเอง จึงยังไม่เกิดขึ้น นี่ก็เป็นโจทย์ใหญ่ของการทำงานเป็นทีมค่ะ หรืออีกนัยหนึ่ง คือ การทำงานกับคนหลายคน (เราจะไปคาดหวังในตัวคนอื่นมากเกินไปมันก็ไม่ดี) แต่ถ้าเราไม่มอบหมายให้ ก็ถูกมองว่าไม่กระจายงาน น้องจะทำอย่างไรดีคะ แบกโลก (อีกแล้ว) นะคะ

20 มิย 49 ตั้งใจจะไปสังเกตุการณ์ว่า ทีมงานที่แต่งตั้งเป็นคณะทำงานทั้งในระดับจังหวัดและรดับพื้นที่ ได้มีการประชุม ถึง 3 ครั้งแล้ว คงจะทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมถึงกลวิธีดำเนินงานแผนแม่บทสุขภาพชุมชนแล้ว และปรับแนวคิดประชาคมสุขภาพในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ระหว่างรอการเขียนโครงการและลงพื้นที่ ได้เข้าเวบไซร์เพื่อศึกษาแผนสุขภาพชุมชนและแนวคิดประชาคมสุขภาพ พบว่าในพื้นที่พัทลุงก็มีประชาคมสุขภาพในแง่หมู่บ้านและตำบลบ้างแล้ว จึงรู้สึกไม่หนักใจว่า พื้นที่ที่เราเชิญและได้รับการตอบรับเข้าร่วมโครงการมีความพร้อมในความต้องการแก้ปัญหาแบบยั่งยืน ทั้งนี้เมื่อลงพื้นที่ จึงนำแบบสอบถามแนวคิดการสร้างสุขภาพไป 25ชุด (แจกไป 15 ชุดได้คืนมาเพียง 5 ชุดเท่านั้น )ได้อ่านแนวคิดของผู้ส่งคืนมาแล้วทุกคน ตั้งแต่คืนแรกที่เดินทางกลับ ส่วนที่เหลืออาจจะมีปัญหาบางประการ จึงยังไม่ได้ส่ง อย่างไรก็ตามผู้เข้าร่วมช่วงเช้านั้นจะมาด้วยเหตุอันใดก็ตาม ถ้าเขาพร้อมปรับเปลี่ยนและต้องการเรียนรู้จริง พื้นที่คงเห็นแววและนำมาคัดผิวหน่อยคงงานผ่องและเข้าใจการทำงานเป็นทีมได้ อีกปัญหาที่ได้รับทราบคือ เงินหนึ่งแสน ในมุมมอง คิดว่าพื้นที่น่าจะแก้ปัญหาได้ เพราะมีอยู่ 2-3ประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจกับผู้ข้องใจ ขอเป็นกำลังใจให้นะจ๊ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท