รายการสายใย กศน. 26 เม.ย., 3, 10, 17, 24, 31 พ.ค., 7 มิ.ย.53


26 เม.ย.53 เรื่อง "มุมมองความหลากหลายกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต", 3 พ.ค.53 เรื่อง “การรักษาความปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ”, 10 พ.ค.53 เรื่อง "รางวัลครูเจ้าฟ้ากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์", 17 พ.ค.53 งด, 24 พ.ค.53 เทปซ้ำวันที่ 10 พ.ค.53, 31 พ.ค.53 เรื่อง "การทำนาข้าวหอมมะลิอินทรีย์ด้วยวิถีเกษตรธรรมชาติ", 7 มิ.ย.53 เรื่อง "การนิเทศการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา"

รายการสายใย กศน. วันที่  7  มิถุนายน  2553

 

         เรื่อง “การนิเทศการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา”

         วราภรณ์  บุญพรวงศ์  ดำเนินรายการ

         วิทยากรโดย
         - สุวรรณา  ล่องประเสริฐ  ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ
         - ทองพิน  ขันอาสา  ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ


         สถานศึกษาหลายแห่งรวมทั้งสถานศึกษานำร่องบางแห่ง ยังไม่ได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา  ศึกษานิเทศก์จึงควรเข้าไปนิเทศแนะนำให้สถานศึกษาสามารถทำหลักสูตรสถานศึกษาได้   ศึกษานิเทศก์บางท่านก็ไปเป็นวิทยากร บางท่านก็ลงไปพาทำ  แต่จำนวนศึกษานิเทศก์มีน้อย ขณะนี้ทั่วประเทศมี 13 ท่าน ( ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคละ 2 คน )  งานนิเทศภายในของจังหวัดจึงต้องไปนิเทศด้วย

 

         ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ของหลักสูตร เป็นคนละอย่างกับ ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ของสถานศึกษา
         ( หลักสูตรท้องถิ่นเป็นหลักสูตรเล็ก ๆ ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตในชุมชน จัดโดยหลายหน่วยงานรวมทั้งการศึกษาต่อเนื่องของ กศน.  นำมาเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา )

         หลักสูตรแกนกลางเป็นหลักสูตรที่ส่วนกลางกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ไว้   เวลาประเมินคุณภาพภายนอกต้องใช้หลักสูตรสถานศึกษาเป็นตัวตั้ง เพราะต้องจัดการศึกษาไปตามหลักสูตร สู่เป้าหมายที่ให้เป็นคนดีคนเก่งคนมีสุข  เน้นผู้เรียนเป็นหลัก และให้ความสำคัญกับข้อมูลของชุมชน

         เริ่มจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโดยทบทวน บริบท - กำหนด ปรัชญา - วิสัยทัศน์ - พันธกิจ ( ภารกิจ ) - เป้าหมาย/หลักการ/จุดมุ่งหมาย - กลุ่มเป้าหมาย - กรอบโครงสร้าง - สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ - แผนการลงทะเบียนเรียนแต่ละภาคเรียน - วิธีการจัดการเรียนรู้ - การจัดกระบวนการเรียนรู้ - สื่อการเรียนรู้ - การเทียบโอน - การวัดและประเมินผล - การจบหลักสูตร


         ผู้นิเทศระดับต่าง ๆ ต้องให้ความสำคัญกับหลักสูตรสถานศึกษา
         สถานศึกษาต้องพัฒนาหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง ให้สอดคล้องและเทียบโอนเข้าสู่หลักสูตรสถานศึกษาได้   ตัวอย่างหลักสูตรสถานศึกษาที่ค่อนข้างสมบูรณ์คือของ กศน.อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม  นอกจากนี้ยังมีคู่มือต่าง ๆ




รายการสายใย กศน. วันที่  31  พฤษภาคม  2553

 

         เรื่อง “การทำนาข้าวหอมมะลิอินทรีย์ด้วยวิถีเกษตรธรรมชาติ”

         นายอิทธิเดช  สุพงษ์  ดำเนินรายการ

         วิทยากรโดย
         - นายปราโมทย์  กลีบทอง  ผู้อำนวยการ ศฝช.สุรินทร์
         - มะลิ  เสาะหายิ่ง  ครูอาสาสมัคร.ศฝช.สุรินทร์
         - มธุรส  ไม้จันดี  ครูอาสาสมัคร.ศฝช.สุรินทร์


         สมัยก่อนใช้วิธีเกษตรธรรมชาติ  แต่ปัจจุบันใช้เทคโนโลยีที่มีสารเคมีมาก เพื่อให้ได้ผลผลิตเร็วขึ้นมากขึ้น แต่มีพิษภัยต่อร่างกายมาก จึงหันกลับไปหาวิธีเกษตรธรรมชาติ ซึ่งเป็นโยบายของเลขาฯ กศน.ด้วย โดยให้มีศูนย์สาธิตทดลององค์ความรู้อยู่ใน ศฝช.

         สุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ รวม 111 หมู่บ้าน ที่ ศฝช.สุรินทร์รับผิดชอบ ประชาชนมีอาชีพทำนาเป็นหลัก ใช้สารเคมีมาก การเปลี่ยนแปลงต้องใช้เวลา ต้องทำให้ชาวบ้านเชื่อว่าวิถีเกษตรธรรมชาติมีข้อดีมากกว่า  โดยใช้ครู 1 คน ต่อ 1-2 ครอบครัว เลือกเฉพาะชุมชนที่มีปัญหา   ศฝช.สุรินทร์ ( มีครู 43 คน ) ดำเนินการ 2 ส่วน คือ
         1. ศูนย์สาธิตทดลอง   โดยนำประชาชนมาเรียนรู้ใน ศฝช.
         2. นำองค์ความรู้ที่ได้ ไปสู่ชุมชน  สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ชุมชนเห็นประโยชน์


         หลักเกษตรธรรมชาติ  ( ศฝช.สุรินทร์ ใช้หลักการนี้กับการทำไร่ทำนาปลูกผักสวนครัว )
         1. ปรับปรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ โดย
             - ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ชุมชนผลิตเอง เพื่อสามารถควบคุมไม่ให้ปนสารเคมีได้
             - ปลูกพืชคลุมดิน เพื่อไม่ให้เสื่อมความอุดมสมบูรณ์
         2. ปลูกพืชหมุนเวียน หลายชนิด เช่น ถั่ว ข้าวโพด ข้าว หมุนเวียนเพื่อต้านทานโรคและแมลง
         3. อนุรักษ์แมลง  ( สารเคมีจะทำลายแมลงทุกชนิด ) เพื่อให้กินแมลงที่เป็นศัตรูพืช และเกื้อกูลให้ดินอุดมสมบูรณ์


         การนำหลักเกษตรธรรมชาติไปใช้ในการทำนาข้าว

         1. การเตรียมดินและการเตรียมแปลงเพาะกล้า
             เลือกแปลงเพาะกล้าที่ไม่ลาดเอียง ไถกลบตอซัง หว่านปุ๋ยพืชสด ( ต้นปอเทือง ) เมื่อออกดอกก็ไถกลบ

         2. เตรียมเมล็ดพันธุ์ โดยคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ตรงตามสายพันธุ์ ต้านทานโรคและแมลง เหมาะสมกับพื้นที่ ( หอมมะลิอินทรีย์ 105 )

         3. หว่านปุ๋ยหมักอินทรีย์รองพื้น 100 กก./ไร่ ฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพ ปล่อยน้ำเข้านา ไถแปร ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ ให้วัชพืชย่อยสลาย ระบายน้ำออก แล้วหว่านเมล็ดพันธุ์

         4. การตกกล้า  นำเมล็ดพันธุ์ 8-10 กก./ไร่ ไปแช่น้ำแยกเมล็ดลีบออก พักในร่ม 1 คืน ให้งอกเป็นตุ่ม นำไปหว่าน 1 สัปดาห์จึงปล่อยน้ำเข้า

         5. เมื่อต้นกล้าอายุ 25-30 วัน หว่านปุ๋ยหมัก ให้รากพองตัวถอนง่าย 1 สัปดาห์ใช้มือถอน ใช้ตอกมัด ตัดใบเพื่อลดการคายน้ำ แช่น้ำ 1-2 วัน ให้รากแข็งแรง

         6. การปักดำ  หว่านปุ๋ยหมัก 100 กก./ไร่ ฉีดน้ำหมักชีวภาพ ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ ไถคราด ( พรวน ) ปักดำต้นกล้ากอละ 3-5 ต้น ระยะห่างระหว่างกอ 25 X 30 ซม. ปล่อยน้ำออกหมดเพื่อไล่หอยปู 1-2 สัปดาห์ปล่อยน้ำเข้ามาสูง 10-15 % ของต้นกล้า ถ้าน้ำท่วมข้าวจะไม่แตกกอ เมื่อต้นข้าวอายุ 30 วัน หว่านปุ๋ยหมัก อายุ 45 วัน ฉีดพ่นน้ำหมัก อายุ 120 วัน เก็บเกี่ยว ( ข้าวเป็นสีเหลือง 80 % ของแปลง ) ลงแขกเกี่ยวข้าวด้วยมือ อนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมไทยดั้งเดิม นวดข้าวโดยใช้แรงงานคนใช้ไม้ตี

         ที่ใน ศฝช.สุรินทร์ ใช้เครื่องจักรกลเฉพาะตอนไถนา ทำอยู่ 15 ไร่ ปีที่ 2 ดินดีขึ้น ได้ข้าว 5 ตันกว่า ใกล้เคียงกับนาที่ใช้สารเคมี ซึ่งถือว่าคุ้มเมื่อเทียบกับการลงทุนเพราะลงทุนไม่มาก หิ่งห้อยปูปลาในนากลับมา ระบบนิเวศกลับคืนมา คุณภาพชีวิตดีกว่า   ( ถ้าประชาชนเจ็บป่วยเพราะสารเคมีจึงจะเปลี่ยนแปลงมาใช้เกษตรอินทรีย์เพราะการใช้สารเคมีสะดวกสบายกว่า )

         ที่ประเทศญี่ปุ่นก็หันมาเน้นวิถีธรรมชาติเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพ


 

 


รายการสายใย กศน. วันที่  24  พฤษภาคม  2553        
         เทป ซ้ำวันที่ 10 พ.ค.53 เรื่อง “รางวัลครูเจ้าฟ้ากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์”

 


วันที่ 17 พฤษภาคม 2553 ถ่ายทอดสดพิธิเปิดอย่างเป็นทางการ กศน.ตำบล : แหล่งเรียนรู้ราคาถูก จาก Hall 4 Impact เมืองทองธานี ( งดรายการสายใย กศน. )

 

 

 

รายการสายใย กศน. วันที่  10  พฤษภาคม  2553

 

         เรื่อง “รางวัลครูเจ้าฟ้ากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์”

         วราภรณ์  บุญพรวงศ์  ดำเนินรายการ

         วิทยากรโดย
         - นางชุลีพร  ผาตินินนาท  ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมปฏิบัติการ
         - พิสมัย  เหมะธุลิน  ครู ศศช. (แม่ฟ้าหลวง)  บ.แม่หลองใต้ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่
         - ภัชรินทร์  หน่อแก้ว  ครู ศศช. (แม่ฟ้าหลวง)  บ.ห้วยปูด อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน
         - วราภรณ์  วัฒนะนุกูล  ครูอาสาสมัคร กศน. อ.ธารโต จ.ยะลา


         ความเป็นมาของรางวัลครูเจ้าฟ้ากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์  สืบเนื่องจาก เคยมีครู ศศช. อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน เขียนจดหมายไปขอความช่วยเหลือในการดำเนินงานที่ นสพ.เดลินิวส์  สมเด็จย่าทรงทราบจึงให้ข้าราชบริพารไปสืบความจริงและทรงพระราชทานความช่วยเหลือ  ต่อมาเมื่อสิ้นพระชนม์ฯ สมเด็จพระพี่นางฯ (เจ้าฟ้ากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ) ทรงพระราชทานความช่วยเหลือต่อ  และเมื่อสมเด็จพระพี่นางสิ้นพระชนม์ จึงได้คิดโครงการ “รางวัลครูเจ้าฟ้ากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์”   ปีนี้เป็นปีที่ 2  กศน.ได้รับรางวัล 3 คน  รางวัลคือ
         1) โล่พระราชทาน
         2) เงินสดคนละ 30,000 บาท
         3) งบประมาณการจัดเศรษฐกิจพอเพียง คนละ 10,000 บาท
         4) กรมธรรม์ประกันสุขภาพ

         ผู้ได้รับรางวัล ( เมื่อ 6 พ.ค. 53 ) คือ


         1.  พิสมัย  เหมะธุลิน   เป็นครู ศศช. ( แม่ฟ้าหลวง ) มาแล้ว 10 ปี  เป็นคน จ.สกลนคร  สอนภาษาไทยโดยทำหนังสือเอง ให้สอดคล้องกับปัญหาในวิถีชีวิต เน้นเรื่องสุขภาพอนามัย   สอนทำน้ำยาเอนกประสงค์   กลางวันสอนเด็ก 94 คน  กลางคืนสอนผู้ไม่รู้หนังสือ   เดิมจบรัฐศาสตร์รามคำแหง  ในระหว่างเป็นครู ศศช. เรียนสาขาครู เอกประถม มสธ. เพิ่ม  ยึดในหลวงและพระบรมวงศานุวงศ์เป็นแบบอย่าง


         2. ภัชรินทร์  หน่อแก้ว   อายุ 46 ปี  ตอนไปเป็นครู ศศช. ที่บ้านห้วยปูด  เด็ก ๆ และพี่น้องประชาชนให้การต้อนรับดีมาก จึงมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้พี่น้องประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ( มีอยู่มีกิน สุขภาพดี มีการศึกษา )   เมื่อชาวบ้านเจ็บป่วย ครูจะเป็นที่พึ่งคนแรก ครูต้องมียา   ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงโดยให้ชาวบ้านปลูกผัก ปลูกกล้วย เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ทุกครัวเรือน   ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ  เป็นครู ศศช. มาแล้ว 11 ปี ได้รับเสด็จสมเด็จพระเทพฯ 3 ครั้ง  เดินทางขึ้นเขาด้วยเท้าใช้เวลา 2 ชั่วโมง  ขาลงใช้เวลา 1 ชั่วโมง 45 นาที  ขึ้นวันจันทร์ลงวันศุกร์  กลางคืนสอนผู้ไม่รู้หนังสือ กลางวันจัดการศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน และ กศ.ขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ที่ไม่เรียนในระบบ  ส่งเสริมอาชีพกลุ่มจักสานไม่ไผ่และไม้กวาด ส่งจำหน่ายในศูนย์ภูฟ้า   กลุ่มแม่บ้านทำน้ำยาเอนกประสงค์จากผลไม้รสเปรี้ยว เพื่อลดรายจ่าย ชาวบ้านเลิกซื้อน้ำยาล้างจาน   มีคติว่า ทำวันนี้ให้ดีที่สุด  ยึดองค์สมเด็จพระเทพฯเป็นหลัก


3. วราภรณ์  วัฒนะนุกูล  ทำหน้าที่ตามบทบาทครูอาสาฯในสถาบันศึกษาปอเนาะ ตั้งแต่ปี 2547  ทำงานด้วยความสนุก เพราะเป็นคนในพื้นที่ พูดภาษายาวีได้ เป็นที่พึงพอใจของโต๊ะครู  หน่วยงานอื่น ๆ เข้าไปสนับสนุน  ยึดในหลวงเป็นครูในดวงใจ  ยึดหลัก “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”   มีความรู้สึกหวั่นไหวกับเหตุการณ์ความไม่สงบบ้าง เคยประสบเหตุรถโดนตะปูเรือใบใกล้การเผาโรงเรียน  ก่อนออกจากบ้านแต่ละวันพ่อแม่อวยพรให้เดินทางปลอดภัย  ใช้สภาพปัญหาในชุมชนเป็นตัวตั้งในการจัดการศึกษา ใช้ภาษามลายูร่วมกับภาษาไทย จัดการศึกษาตามอัธยาศัย ส่งเสริมการอ่าน  จัดตั้งห้องสมุดในตำบล ชาวบ้านร่วมบริจาค ทำเป็นอาศรมคลังหนังสือ มีหน่วยงานต่าง ๆ เช่น อบต. เข้ามาช่วย   จบมาทางด้านนิเทศศาสตร์วารสารศาสตร์ และเรียน ป.บัณฑิตวิชาชีพครูเพิ่ม   อยากให้ปรับครู กศน. ทั่วประเทศเป็นข้าราชการ




รายการสายใย กศน. วันที่  3  พฤษภาคม  2553

 

         เรื่อง “การรักษาความปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ”

         นายอิทธิเดช  สุพงษ์  ดำเนินรายการ

         วิทยากรโดย
         - นายกษิพัฒ  ภูลังการ  นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มแผนงาน

         - นายสุพจน์  มงคลพิชญรักษ์  ครูชำนาญการิเศษ สำนักงาน กศน.จ.สระบุรี


         สำนักงาน กศน., สนง.กศน.จ./กทม., หสม.จ./อ./ข.  ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และเก็บข้อมูลตาม พรบ.การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550   โดยประเทศไทยยึดมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยด้าน ICT ตาม
ISO/IEC 27001:2005   ปัจจุบันเป็น Vertion 2.5  แบ่งกระบวนการเป็น 4 ส่วน คือ P D C A 
         - Plan  ( กำหนดระบบบริหารจัดการความมั่นคงและปลอดภัย ) โดยส่วนกลางได้ประกาศแผนสำรองภาวะฉุกเฉินด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา  กำลังจะส่งเอกสารแผนฯไปให้หน่วยงานในสังกัด ( กำหนดเรื่องการ Backup ข้อมูล,  การใช้ UPS, การติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส โปรแกรมฟรีที่เหมาะกับระบบ Windows คือโปรแกรม AVG, การไม่นำดิสค์ทั่วไปมาใช้ ไม่ต่ออินเตอร์เน็ตกับเครื่องที่เก็บข้อมูลสำคัญ, ติดตั้งระบบไฟร์วอล, ฯลฯ )
         - Do  ( ลงมือปฏิบัติและดำเนินการ )
         - Check  ( เฝ้าระวังและทบทวน )
         - Act  ( บำรุงรักษาและปรับปรุงระบบ )

         ( ไดส่งมาตรฐานการรักษาความปลอดภัย ให้ผู้บริหารทุกแห่งทราบทาง e-Mail เมื่อประมาณ 2 เดือนแล้ว )

         สำหรับในส่วนภูมิภาค บุคลากรใช้บริการอินเตอร์เน็ตกันเป็นประจำทุกบริการ ไม่มีการปิดกั้น  ระบบอินเตอร์เน็ตก็เร็ว กำลังจะเปลี่ยนจาก 2 เป็น 4 เมกกะบิท ( ของจังหวัด จะเป็น 10 เมกกะบิทในปี 2555 )  บุคลากรยังไม่ตระหนักในการรักษาความปลอดภัย  และถ้าใช้ระบบไวเรสท์ มีคนเข้ามาใช้ระบบได้ง่าย ยิ่งจำเป็นต้องมีระบบไฟร์วอลป้องกันระบบอินทราเน็ตของ สนง.กศน.จ./กทม.   หลายจังหวัดตัดยอดงบประมาณ ตรวจสอบวุฒิ ส่งข้อมูล กศ.พื้นฐาน ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องป้องกัน


         ระบบคอมพิวเตอร์ในห้องสมุดอำเภอและ ศรช. ที่ได้รับจัดสรรตามโครงการ SP2  ต้องมีคอมฯ 1 เครื่อง เป็นไฟร์วอล ( กศน.ใช้โปรแกรม IP Cop เป็นโปรแกรมไฟร์วอล ควรใช้โปรแกรมเดียวกันทุกแห่งเพื่อให้สามารถช่วยเหลือกันได้ )  แต่ยังไม่ได้จัดสรรระบบไฟล์วอลให้อำเภอเพราะรอให้เป็นระบ ADSL ทุกแห่งก่อน ( ทุกองค์กรต้องแต่งตั้งผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เป็นผู้รับผิดชอบถ้ามีการกระทำผิดแล้วหาตัวผู้กระทำผิดไม่ได้  ระบบไฟร์วอลจะกำหนด Username และ Password  ทำให้หาตัวผู้กระทำผิดได้ )


         สำหรับโปรแกรมทะเบียนนักศึกษาหลักสูตรใหม่ ได้ทำการอบรมวิทยากรแกนนำเสร็จไปแล้ว  วิทยากรแกนนำจะไปอบรมบุคลากรจังหวัดในเดือนพฤษภาคม ให้เสร็จภายในเดือนมิถุนายน   ( โปรแกรมใหม่จะไม่แยกนักศึกษาคูปอง เพราะจะไม่มีนักศึกษาคูปองแล้ว ถึงมีก็บันทึกรวมกับนักศึกษาปกติได้ )




รายการสายใย กศน. วันที่  26  เมษายน  2553

 

         เรื่อง “มุมมองความหลากหลายกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต”
         นายอิทธิเดช  สุพงษ์  ดำเนินรายการ

         วิทยากรโดย
         - นางชุลีพร  ผาตินินนาท  ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมปฏิบัติการ
         - นายดาบตำรวจเปี๊ยก  มากเสนอ  ศิษย์ปัจจุบันดีเด่น กศน.เขตตลิ่งชัน
         - นางสาวสายกมล  เพิ่มพูน  ครูศูนย์การเรียนชุมชน กศน.เขตหนองแขม
         - นายจิระวัฒน์  ทองดี  ผู้แทนองค์กรนักศึกษาดีเด่น กศน.เขตหนองแขม


         คุณภาพ = ลักษณะที่ดี,  ชีวิต = ความเป็นอยู่,   คุณภาพชีวิต หมายถึงลักษณะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เป็นสิ่งที่ทุกคนทุกวัยต้องการ
         คุณภาพชีวิต จะขาดการศึกษาไม่ได้


         ด.ต. เปี๊ยก  มากเสนอ เคยเป็นวิทยากรเรื่องยาเสพติดให้แก่ครู กศน. คิดจะเรียนต่อ ม.ปลาย อยู่ตลอด แต่งานตำรวจมาก  ปัจจุบันอายุ 58 ปี  มาเรียน กศน. ม.ปลายร่วมกับคนหลายวัย  อายุมากกว่าทุกคนในกลุ่ม จึงเป็นหัวหน้า  คิดว่าเมื่อเกษียณจะเล่นการเมืองท้องถิ่น ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นให้ตั้งใจเรียน และเห็นว่าเรียนฟรี มีหนังสือให้ยืม  ขณะเรียนจะส่งงานตลอดไม่เคยขาด

         ถ้าผู้นำองค์กรท้องถิ่นเห็นความสำคัญของการศึกษา ก็จะให้ความสำคัญในการพัฒนาคนในชุมชนให้มีการศึกษา มีคุณภาพชีวิตที่ดี


         การจัดการเรียนรู้ต้องจัดให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน  ใช้หลักจิตวิทยา  ไม่เน้นเรื่องการเรียนมาก ไม่ให้เครียด  นักศึกษาต้องมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ เป็นกันเองกับนักศึกษาให้มากที่สุด พยายามรู้ประวัติของนักศึกษา  ไม่ตำหนิ  ใช้ประสบการณ์ของนักศึกษาให้เกิดประโยชน์  เพื่อให้นักศึกษาเปิดใจ
         สองสัปดาห์แรก มีการปรับพื้นฐานความรู้ของนักศึกษา และจัดการเรียนรู้ให้เหมาะกับแต่ละคน  พบกลุ่มสัปดาห์ละ 3 ชม. และสื่อสารทางโทรศัพท์

         นักศึกษาส่วนมากมีงานทำ บางวันมาเรียนไม่ได้ องค์กรนักศึกษาจึงมีโครงการ “น้ำใจเพื่อนแบ่งปันสู่เพื่อน” ช่วยเหลือกันทางวิชาการ ( สอนต่อ, คัดลอกบันทึก ฯลฯ )   กรรมการองค์กรนักศึกษามาจากตัวแทนนักศึกษาทุก ศรช. รวมประมาณ 13 คน  แม้แต่ช่วงปิดภาคเรียนก็มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ  จนบางคนไม่อยากเรียนจบเพราะกลัวจบแล้วเหงา  กิจกรรมเช่น วันไหว้ครู วันเข้าพรรษา กิจกรรมต่อต้านยาเสพติดที่บ้านแรกรับเด็กหญิง  โดยนักศึกษาทำทุกอย่างเอง ได้รับประสบการณ์มากทุกขั้นตอน

         สิ่งสำคัญที่สุดในการสร้างเครือข่ายคือ ต้องมี “กิจกรรมต่อเนื่อง” อยู่เสมอ


หมายเลขบันทึก: 354134เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2010 11:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ทึ่ง  ด.ต. เปี๊ยก  มากเสนอ มากครับ
  • กศน ที่กรุงเทพฯ
  • มีกิจกรรมน่าสนใจนะครับ
  • ครั้งก่อนไปที่เขตวังทองหลาง  บึงกุ่ม  สะพานสูง และเขตสายไหม สนุกมากครับ
  • http://gotoknow.org/blog/yor03/277390
  • http://gotoknow.org/blog/yahoo/276297
  • http://gotoknow.org/blog/yahoo/276637
  • ขอบคุณพี่เอกชัยมากที่เล่าให้ฟัง
  • วันที่ 29 พค อยู่ด้วยกันนะครับ
  • ขอบคุณครับ

ได้เข้าไปอ่านทุกบล็อกที่อาจารย์ แนะนำแล้ว รู้สึกว่าอาจารย์คลุกคลีอยู่กับ กศน. ไม่น้อยเลยนะครับ
         สำหรับ e-learning   ตอนนี้ผมก็กำลังเรียน e-learning กับสถาบัน กศน.ภาคกลาง อยู่เรื่องนึงครับ

ขอบคุณอาจารย์มากครับที่สรุปรายการสายใย กศน. ให้ได้อ่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท