แนวคิดพื้นฐานในการจัดการทรัพย์สินในโลกเครือข่ายสังคมออนไลน์


ยุคของเครือข่ายสังคมออนไลน์ ถึงแม้ ในทางกฎหมายจะมีความชัดเจนเรื่องของ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ถือเป็นทรัพย์สิน แต่ในทางข้อเท็จจริงและยังมีข้อน่าพิจารณาอีก ๒ ประเด็น คือ ใครเป็นเจ้าของทรัพย์สิน และ แนวคิดเกี่ยกับการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ในระดับดุษฎีบัณฑิตเรื่อง “แนวคิดพื้นฐานทางกฎหมายในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์” คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

ในการจัดกระบวนความรู้ในการศึกษาเรื่อง แนวคิดพื้นฐานทางกฎหมายในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ประเด็นแรกของการศึกษาที่ต้องลงไปค้นแนวคิดก็คือ เรื่องของ การจัดสรรเอกชนในทางระหว่างประเทศ ต่างประเทศ และ ภายในประเทศไทย และ การจัดสรรเอกชนในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในโลกเครือข่ายสังคมออนไลน์

ประเด็นต่อมาของการศึกษา ก็คือ การจัดการความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายในเครือข่ายสังคมออนไลน์

ประเด็นที่สามของการศึกษา ก็คือ การจัดการทรัพย์สินในโลกเครือข่ายสังคมออนไลน์

ในส่วนของการจัดการทรัพย์สินนั้นพบว่า ในยุคดั้งเดิมนั้น การจำแนกทรัพย์สินตั้งแต่สมัยกฎหมายโรมัน จำแนกตามเป้าหมายของการใช้สอย (ประชุม โฉมฉาย : กฎหมายโรมันเบื้องต้น) ต่อมามีการจำแนกโดยใช้ รูปร่างและความสามารถในการเคลื่อนที่ โดยการจำแนกเป็น อสังหาริมทรัพย์ และ สังหาริมทรัพย์

ในเรื่องของสิทธิเหนือทรัพย์สิน มีทั้ง กรรมสิทธิ สิทธิครอบครอง อันหมายถึง สิทธิที่จะใช้ประโยชน์เหนือทรัพย์ของตนเอง

ในยุคต่อมามีการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งหมายถึง การที่เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา สามารถใช้สิทธิเหนือทรัพย์สินที่ตนเองสร้างสรรค์ขึ้นได้ โดยหลักการพื้นฐาน เพื่อเป็นการคุ้มครองให้กับเจ้าของผู้สร้างสรรค์ผลงานในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ซึ่งมีการจำแนกเป็น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า

ต่อมาในยุคของเครือข่ายสังคมออนไลน์ ถึงแม้ ในทางกฎหมายจะมีความชัดเจนเรื่องของ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ถือเป็นทรัพย์สิน แต่ในทางข้อเท็จจริงและยังมีข้อน่าพิจารณาอีก ๒ ประเด็น

(๑) ใครเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ในกรณีนี้หมายถึง ข้อมูลส่วนบุคคล หรือ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อผู้ที่นำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ปัญหาว่า ใครคือเจ้าของทรัพย์สินนั้น

  • ในกรณีของไอเทมในเกมคอมพิวเตอร์แบบออนไลน์ เราเป็นผู้ชำระราคาในการเลือกซื้อไอเทม ซึ่งมีการกำหนดระยะเวลา เมื่อพ้นระยะเวลา ไอเท่มนั้นก็ไม่สามารถใช้ได้ หรือ
  • เราชำระค่าบริการในการเข้าไปเล่นเกม ได้ไอเทมในเกม ปัญหาคือ ไอเทมนี้ใครเป็นเจ้าของที่แท้จริง หรือ
  • ในกรณีของ เกม barn buddy ที่ไอเทมในเกมสามารถถุกขโมยได้ หากเราเป็นเจ้าของไอเทมในเกม เราสามารถดำเนินการในฐานะเจ้าของทรัพย์สินได้หรือไม่
  • ยังมีกรณีของข้อมูลส่วนบุคคล ที่ยังเป็นปัญหาว่าใครคือเจ้าของข้อมูล จะเป็น ผู้ให้ข้อมูล หรือ ผู้เก็บข้อมูล (data controller)

(๒) แนวคิดในการจัดการทรัพย์สินในโลกเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะประเด็นของทรัพย์สินทางปัญญา มีแนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมในการแบ่งปัน เช่น creative common ซึ่งเป็นแนวคิดในการร่วมใช้ทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกันระหว่างเครือข่ายสังคมออนไลน์

เอกสารประกอบการรายงานความก้าวหน้า ครั้งที่ ๓ 

หมายเลขบันทึก: 354128เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2010 11:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 13:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท