การเก็บรักษาเครื่องราชอิสริยาภรณ์


การเก็บรักษาเครื่องราชอิสริยาภรณ์

 

 

  

 

  "การเก็บรักษาเครื่องราชอิสริยาภรณ์"

 

                 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยเป็นศิลปวัตถุ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมแสดงความเป็นเอกลักษณ์ ของชาติไทยมาแต่โบราณ พระมหากษัตริย์ทรางสร้างขึ้นพระราชทานไห้ประดับเป็นเกียรติยศแก่ผู้มีความชอบ ในทางราชการและส่วนพระองค์ เป็นเครื่องหมายแสดงความชอบของผู้ประกอบคุณงามความดี บุคคลมีสิทธิ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เสมอกัน ถ้าได้ประกอบคุณงามความดีทัดเทียมกัน

                เครื่องราชอิสริยาภรณ์ย่อมมีการเสื่อมสภาพชำรุดเสียหายได้ตามธรรมชาติ หรือจากการใช้งาน การเสื่อมสภาพจากสาเหตุต่าง ๆ ย่อมจะป้องกันได้ด้วยการดูแลเก็บรักษาไว้ในสถานภาพที่เหมาะสม การ ระมัดระวังในการประดับไปในงานต่าง ๆ

                  เครื่องราชอิสริยาภรณ์ก็จะคงสภาพเดิมได้นานเท่านาน การจะยืดอายุการใช้งานได้โดยไม่ต้อง จ่ายค่าบำรุงรักษาเพิ่ม และจะเป็นการช่วยกันรักษาเครื่องประดับเกียรติยศอันเป็นมงคลและสูงค่าของชาติ ให้คงสภาพดี พร้อมที่จะใช้ประดับได้ตลอดเวลา ทั้งจะเป็นการช่วยลดงบประมาณค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ของทาง ราชการได้ด้วย

                 1. เครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นของสูง ควรเก็บรักษาในที่สูง เหมาะสม ควรแก่การเคารพบูชา เป็นการแสดงความจงรักภักดี น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้พระราชทาน จะเป็นมงคลสูงสุด ก่อให้เกิดความสุขความเจริญแก่ตนเองและครอบครัว

                 2. ควรเก็บในที่ปลอดภัย ป้องกันการสูญหาย

                 3. ภายหลังการใช้ประดับแต่ละครั้ง ควรใช้ผ้าสะอาด นุ่น ทำความสะอาดเบา ๆ แล้วห่อด้วย กระดาษแก้วไว้ให้มิดชิด นำใส่กล่องปิดฝาให้สนิท ป้องกันฝุ่นละอองและไม่ให้กระทบกับอากาศ

                 4. ไม่ควรเก็บในสถานที่ที่มีแดดส่องตลอดเวลา หรือมีแสงไฟร้อนแรง และต้องไม่อับชื้น ปกติมัก จะเก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง แต่ถ้าเป็นห้องปรับอากาศได้จะดีที่สุด

                 5. ดวงตรา ดารา และเหรียญอิสริยาภรณ์ อาจเสื่อมสภาพได้จากความไม่บริสิทธิ์ของอากาศ ฝุ่นละออง ก๊าซเสียชนิดต่าง ๆ ถ้าเก็บไว้ในตู้นิรภัย หรือตู้เหล็ก ควรห่อให้มิดชิดตามข้อ 3 เพราะสีที่ใช้พ่นหรือทาตู้เหล็กจะทำปฏิกิริยากับโลหะเงินและจะทำให้เงินดำ

                 6. ไม่ควรใช้สารกันแมลงชนิดต่าง ๆ เนื่องจากเมื่อสารระเหยออกมา จะทำปฏิกิริยากับ โลหะเงินและส่วนที่กะไหล่ทองในเครื่องหมายแพรปัก ดิ้นเงิน ดิ้นทอง ทำให้เปลี่ยนเป็นสีดำได้

                 7. สายสะพายและแพรแถบทอด้วยด้ายและใยไหม ควรเก็บในที่ไม่ร้อน ไม่อับชื้น เพราะความ ร้อนและความชื้นจะทำให้เนื้อผ้ายืดขยายและหดตัวอยู่ตลอดเวลา จะทำให้เนื้อผ้าแห้งแข็งกรอบ ถ้ามีความชื้น ทำให้เนื้อผ้ายุ่ยเปื่อย อาจเกิดเชื้อรา และรอยด่าง อายุการใช้งานจะสั้น

                 8. แสงสว่างเป็นอันตรายต่อสีของผ้า สายสะพายและแพรแถบ แสงจะทำให้สีของผ้าซีดได้เร็ว ควรเก็บในตู้ทึบแสง ในห้องปรับอากาศได้ก็จะดี

                 9. ผ้าสายสะพายควรเก็บโดยมีวิธีม้วนเป็นวงกลม ผ้าจะได้ไม่ยับ หรือเก็บโดยวิธีวางได้ตามยาว การเก็บโดยวิธีพับซ้อนกัน จะทำให้เกิดรอบพับ จะเกิดรอยด่าง สีซีดตามแนวของรอยพับนั้น

               10. เมื่อเก็บไว้โดยมิได้นำมาประดับเป็นเวลานาน ควรตรวจสอบบ้างเป็นครั้งคราวเป็นของที่ทรงสร้างขึ้นสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในพระองค์

             

  ที่มา :  สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

 

 

 

  

  

หมายเลขบันทึก: 353941เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2010 14:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท