สังคม ABS


คนเก่งที่ไม่ดี น่ากลัวกว่าคนไม่เก่ง แต่เป็นคนดี...

                                         

ท่านอาจารย์ขจิต ฝอยทองได้ให้ข้อคิดเห็นในเรื่อง “องค์กรยุคใหม่ อย่างไรดี” เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2549 ว่า “คนเก่งที่ไม่ดี น่ากลัวกว่าคนไม่เก่ง แต่เป็นคนดีครับ”

เรื่องนี้ทำให้ผู้เขียนได้ข้อคิดอะไรเพิ่มขึ้น จึงขออนุญาตนำข้อคิดเห็นของผู้เขียนมาเล่าสู่กันฟังดังต่อไปนี้...

คนเก่ง+ไม่ดี = อันตรายมากกว่าคนไม่เก่ง+ดี... จริงครับ

เรื่องนี้คล้ายแนวพระราชดำริที่ว่า สังคมมีทั้งคนดี และคนไม่ดี ไม่ควรให้คนเลวปกครอง ควรให้คนดีปกครอง

ถ้าสังเกตดู... เวลาคนเลวปกครองมักจะใช้วัฒนธรรม "ABS" มอมเมาผู้คน...

สังคม ABS:                                                                                       

ABS ในที่นี้... ไม่ใช่ anti-brake lock system ที่ใช้ป้องกันล้อล็อค(ตาย)เวลาเบรคในรถชั้นดี ทว่า... หมายถึง ask (ขี้ขอ), borrow (ขี้ยืม) & seeding (แพร่พันธุ์)

  1. Ask (ขี้ขอ):
    คนดีส่งเสริมให้คนทำงานเลี้ยงชีพ คนเลวมักจะส่งเสริมให้คนเรียกร้องสิทธิประโยชน์ ไม่ทำงาน ชอบ(โกงมา)แจกแบบ "สลากกินแบ่ง"
  2. Borrow (ขี้ยืม):
    คนดีส่งเสริมให้ประหยัด ไม่ก่อหนี้ คนปลอดหนี้มีทุกข์น้อยกว่า อยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียงได้ คนเลวมักจะส่งเสริมให้คนก่อหนี้ มีสุขชั่ววูบ มีทุกข์ทยอยไปนาน
  3. Seeding (เล่นเส้น):
    คนดีส่งเสริมให้เคารพกฎกติกา คนเลวมักจะส่งเสริมเส้นสาย ญาติพี่น้อง พรรคพวกของตัวเอง เปรียบคล้ายมะเร็งที่แพร่กระจายในเยื่อบุช่องท้องคล้ายวัชพืช

    สุขภาพองค์กร:                                                                                   

    องค์กรอาจจะแบ่งได้เป็น 3 ประเภทตามระดับสุขภาพได้แก่ องค์กรสุขภาพดี (healthy) องค์กรเนื้องอกดี (tumourous) และองค์กรเนื้อร้ายหรือมะเร็ง (cancerous)

    1. องค์กรสุขภาพดี (healthy):
      องค์กรสุขภาพดีเป็นองค์กรที่มีประสิทธิผลสูง บริหารโดยธรรม
    2. องค์กรเนื้องอกดี (tumourous):
      องค์กรเนื้องอกดีเป็นองค์กรที่เริ่มป่วย มีคน หรือหน่วยงานบางส่วนมีประสิทธิผลต่ำ กินแรงคนอื่น หรือค่าจ้างสูงผิดปกติ เช่น คนขับรถเงินเดือนเป็นหมื่น + สวัสดิการต่างหาก ทั้งๆ ที่เงินเท่ากันจ้างคนอื่นดีกว่านี้+ถูกกว่านี้ได้ ฯลฯ
    3. องค์กรเนื้อร้าย (cancerous):
      องค์กรเนื้อร้ายเป็นองค์กรที่มีหัวหน้าหน่วยงานโกงกิน และใช้วัฒนธรรม ABS เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลเสียต่อวัฒนธรรมองค์กรในระยะยาว
    4. แหล่งข้อมูล:                                                                                      

      • ขอขอบคุณ > ท่านอาจารย์ขจิต ฝอยทอง. ข้อคิดเห็นในเรื่อง “องค์กรสมัยใหม่ อย่างไรดี”. 22 มิถุนายน 2549.
      • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ศูนย์มะเร็งลำปาง จัดทำ > ๒๓ มิถุนายน ๒๕๔๙ >
        สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๔๙. ท่านผู้อ่านนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมได้ครับ...

        เชิญดาวน์โหลด และอ่านที่นี่...                                                                  

หมายเลขบันทึก: 35304เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2006 19:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอขอบคุณท่านอาจารย์หมอวัลลภค่ะ

ดิฉันเห็นด้วยกับข้อสังเกตุที่อาจารย์กล่าวมาค่ะ

องค์กรที่กำลังเป็นมะเร็งมีผลต่อบุคคลากรส่วนดีด้วยเพราะจะถูกมะเร็งร้ายตามไปทำลาย

คนที่ตั้งใจทำงานมักจะถูกบั่นทอนกำลังใจในการทำงานเรื่อยๆ เมื่อเห็นความอยุติธรรมในองค์กร

ขอขอบคุณอาจารย์วันเพ็ญ และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • องค์กรใดที่มีผู้บริหารเลวน่าจะมีส่วนทำลาย...

(1). วัฒนธรรมองค์กร (เป้าหมายของกิจกรรมคุณภาพจริงๆ คือ การเปลี่ยนวัฒนธรรม)
(2). ทำลายคนดี และทำลายขวัญ+กำลังใจ
(3). ทำลายคน "ดีได้" (คนที่มีศักยภาพที่จะพัฒนา) เนื่องจากคนเลวมักจะส่งเสริมญาติพี่น้อง คนใน หรือพรรคพวก (เส้น....)

  • น่าจะมีระบบตรวจสอบผู้บริหาร ระบบเหล่านี้ควรเน้นการตรวจสอบ (ไม่ใช่จับผิด) เช่น

(1). ตรวจสอบทรัพย์สินผู้บริหาร รวมทั้งญาติพี่น้อง และ "โนมินี (nominee)" หรือผู้ถือหุ้น / ทรัพย์สินแทน 
(2). ตรวจสอบการว่าจ้าง / ประมูลในหน่วยงาน โดยเฉพาะกรณีมี "คนเดิม" หรือบริษัทเดิมๆ เข้ามารับงานซ้ำซาก
(3). สุ่มตรวจผู้บริหารที่ไปต่างประเทศพร้อมกันบ่อยๆ เป็นกลุ่ม(มักจะบ่งชี้ว่า รับสินบนจากบริษัทเอกชน หรือคนที่ไปต่างประเทศเกิน 6 ครั้ง/ปี ยกเว้นไปแสดงผลงาน บรรยายวิชาการ 
(4). ไม่ควรให้ผู้บริหารอยู่ที่เดิมเกิน 4-6 ปี เพื่อป้องกันการสร้างอิทธิพล และกลั่นแกล้งคนดี
(5). ไม่ควรให้คนในจังหวัดเดิมขึ้นเป็นผู้บริหาร ควรเน้นผู้บริหารที่สรรหาจากคนทั้งประเทศ

  • ขอขอบคุณครับ...                                        

อ่านแล้วได้แรงใจการทำงานพอสมควรค่ะ แต่ขอให้อาจารย์กรุณาแนะนำเพิ่มเติมค่ะ 

1.  เราจะกันป้องกันหรือแก้ไข "วัฒธรรมองค์กร ABS" ได้อย่างไร

2.  ถ้าผู้บริหารคนใหม่ต้องมารับภาระองค์กรที่มี "วัฒนธรรม ABS" เขาต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง

3. องค์กรที่มีผู้นำแบบ "ABS" จะกำจัดหรือควบคุมคุมอย่างไรไม่ให้แพร่เชื้อ

ขอบพระคุณค่ะ

ขอขอบคุณอาจารย์ "คนตั้งใจทำงาน"...                    

(1). การป้องกันวัฒนธรรม ABS คงจะต้องเริ่มที่ระดับประเทศครับ... ถ้าเป็นไปได้, เราควรเลือกพรรคการเมืองที่ซื่อสัตย์ ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่เน้นการใช้เงินรัฐไปหาเสียง การเลือกรัฐบาลเป็นตัวกำหนดความอยู่รอดของชาติในอนาคต...

(2). จำเป็นต้องมีระบบการสรรหา และตรวจสอบผู้บริหาร (กล่าวไว้ในข้อคิดเห็นที่ 2 / 26 มิย. 49 เวลา 08.43 น.) -> ระบบสำคัญกว่าบุคคล...

(3).  ผู้บริหารยุคหลัง ABS (postABS) คงจะลำบากพอสมควร... เนื่องจากผู้บริหาร ABS มักจะผลาญทรัพยากรหน่วยงานไปก่อนสิ้นวาระ ทิ้งเด็กเส้นที่มักจะเป็นตัวปัญหา ความแตกแยกในองค์กร และวัฒนธรรม ABS ทิ้งไว้

(4). ตอนเรียนจบใหม่ๆ อาจารย์จากชมรมแพทย์ชนบทฯ ท่านแนะนำไว้ดีครับ ท่านว่า "ไปทำงาน 6 เดือนแรก... อย่าเพิ่งเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคน ให้ทำตัวให้ดี ให้มีบารมี(เป็นที่ยอมรับของคนดีส่วนใหญ่)เสียก่อน"

(5). ตอนนี้เรามีกระบวน km ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาองค์กรได้ดีมากๆ เรียนเสนอว่า ผู้บริหารน่าจะตั้งอยู่ในธรรม(ทศพิธราชธรรม โดยเฉพาะความเที่ยงธรรม / ไม่ลำเอียง) + นำกระบวนการ km ลงไป + ส่งเสริมแนวคิดพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

(6). แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเน้นการทำงาน + การเป็นอยู่แบบขยัน เรียบ ง่าย ประหยัด อดออม --> แนวคิดนี้... ถ้าผู้บริหารยุคหลัง ABS น้อมนำไปใช้ได้ก็น่าจะปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรได้ทีละน้อยๆ

  • มีอะไรที่คนทำงานทุกระดับน่าจะนำไปใช้... เท่าที่ทำได้
    (1). เห็นใครทำอะไรดี --> ชมไว้ก่อน อย่าตระหนี่(ขี้เหนียว)คำชม ขอเพียงชมแต่เรื่องจริง และชมแบบไม่ลำเอียงเท่านั้น...
    (2). เชื่อมั่นว่า คนเรามักจะทำอะไรดีๆ ได้มากกว่าที่คิดเสมอ
  • คนที่เป็นผู้บริหารปกติจะเป็นคนที่มีบุญ(เก่า... ไม่ใช่บุญใหม่)
    (1). ถ้าตั้งใจทำดีต่อไป(ทำบุญใหม่)จะทำได้มากกว่าคนทั่วไป
    (2). ถ้าตั้งใจจะกินบุญเก่า(โกง กิน...)จะทำบาปได้มากกว่าคนทั่วไปเหมือนกัน...

ขอให้กำลังใจกับท่านผุ้อ่านทุกท่านที่มีส่วนในการทำคุณงามความดีครับ...

  • เรียนอาจารย์ "คนตั้งใจทำงาน"... ขอแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม...

ปัญหาเรื่องคนเป็นปัญหาใหญ่ ศาสตราจารย์ดรักเกอร์กล่าวว่า "การตัดสินใจเรื่องคนเป็นการตัดสินใจที่สำคัญที่สุดขององค์กร"

  • ท่าน ศ.นพ.ประเวศ วะสี ท่านกล่าวถึงองค์กรทางสังคมว่า ความเข้มแข็งของสังคม หรือชุมชนเป็นภูมิต้านทานสำคัญต่อพิษภัยต่างๆ
  • เมืองไทยเรายังโชคดีที่มีชุมชนคนดีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น ชุมชนบน Go2Know ครับ
  • ขออภัยล่วงหน้าถ้าตอบคำถามได้ไม่ดีเท่าที่ควร เพราะปัญหาที่อาจารย์ถามมาเป็นกลุ่มปัญหา "โลกแตก" เหมือนกัน...
  • ขอบคุณคุณหมอมากครับ
  •  “องค์ยุคใหม่ อย่างไรดี” ตกไป 1 ตัวครับ
  • ได้ทั้งแนวคิดและภาษาอังกฤษเลย
  • เรียกว่า Kill two birds with one stone.
  • คุณหมออธิบายและต่อองค์ความรู้ได้ดีมากครับ
ขอบพระคุณ อจ. หมอ อย่างยิ่งค่ะ อ่านคำตอบนอกจากมีแรงใจการทำงานแล้ว พลังใจการดำเนินชีวิตก็เพิ่มขึ้นด้วย ในเมื่อเรามี "อิทธิบาทสี่" เป็น "ธรรมะ" สำหรับคนทำงาน ดิฉันเชื่อมั่นว่ากรรมดีที่เราทำไว้ย่อมส่งผลดีต่อตัวเราและองค์กร ค่ะ

ขอขอบคุณอาจารย์ขจิต อาจารย์คนตั้งใจทำงาน และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • ขอขอบพระคุณอาจารย์ขจิตที่ชี้แนะ... แก้ไขคำผิดแล้ว สาธุ สาธุ สาธุ
  • จริงอย่างที่อาจารย์คนตั้งใจทำงานกล่าวครับ... ถ้าเราทำงานดี ทำงานโดยธรรม ตรงนี้นับเป็นบุญประเภทหนึ่งเหมือนกัน

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า การทำงานเป็น "สัมมาอาชีวะ" ได้ถ้าพ้นจากกายทุจริต 3และวจีทุจริต 4 ถ้าทำงานให้ดีๆ... น่าจะได้บุญทุกวันทีเดียว

  • กายทุจริต 3 ได้แก่ การฆ่า-เบียดเบียนสัตว์ การลักทรัพย์(คดโกง คอรัปชั่น...) และประพฤติผิดในภรรยาผู้อื่น(ชู้)
  • วจีทุจริต 4 ได้แก่ พูดคำหยาบ ส่อเสียด เพ้อเจ้อ และพูดเท็จ
  • การทำงานกับฆราวาส(ผู้ที่ไม่ใช่พระ)ท่านเน้นเมตตา + อโลภะ(ไม่โลภมาก มีการให้ทาน การแบ่งปัน การช่วยเหลือกันเป็นต้น)

ทำงานให้ดี = ได้บุญทุกวันครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท