Wave the buzz หรือจะ buzz the wave ดี


ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงย่อมมีโอกาสซ่อนอยู่

หากจะคุยเกี่ยวกับนวัตกรรมต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต
คงหนีไม่พ้นการพูดถึงผลิตภัณฑ์ของ Google
และนั้นก็เป็นที่มาของเรื่องที่เราจะคุยกันในวันนี้ครับ มีหลายคนสงสัยว่า
Google buzz ที่เพิ่งออกมาไม่นานมันเหมือนหรือต่างจาก Twitter อย่างไร?
จะว่าไปแล้ว Google wave ที่เปิดตัวมาช่วงก่อนก็ยังไม่ทันได้เข้าใจเลย
แล้วตัวใหม่นี้จะมาแว๊บๆ เหมือนตัวก่อนไหม มันจะมี impact
กับคนไทยมากน้อยแค่ไหน
เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นเราไปดูรายละเอียดของบริการเหล่านี้กันเลยดีกว่านะครับ
ขอเริ่มจาก Google wave ก่อนเลย
บริการตัวนี้เปิดตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภา 2009
มันถูกนิยามว่าเป็น เครื่องมือแบบใหม่ในการสื่อสารและร่วมมือกันบนเว็บ
ซึ่งเป็นสิ่งที่อีเมลควรจะเป็นถ้าหากอีเมลที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันถูกสร้างขึ้นใหม่ในตอนนี้
เพราะ Google wave ถูกออกแบบมาให้รวมเอาความสามารถของ e-mail, instant
messaging (IM), wiki, และ social networking เข้าด้วยกัน
แถมยังสามารถใช้งานแบบ real-time อีกด้วย
แบบว่าในขนาดที่เรากำลังพิมพ์อยู่นั้นเพื่อนที่อยู่ใน wave
(ทุกคนที่อยู่ในการสนทนา) เดียวกันก็จะเห็นตัวอักษรนั้นๆ เลย
จึงทำให้เส้นแบ่งระหว่าง e-mail และ IM หายไป แถมมันก็ยังคล้ายกับ wiki
เพราะแต่ละคนจะสามารถช่วยกันแก้ไขบทสนทนา และเอกสารรูปแบบต่างๆ
ที่ถูกแนบเข้าไปใน wave ได้ ไม่ว่าจะเป็นใน format ของ ตัวอักษร ภาพ
เสียง และ วิดีโอ พร้อมยังมีการเก็บเป็นเวอร์ชั่นให้ play back
ดูได้อีกด้วย สุดท้ายที่ขาดไม่ได้ก็คือมีระบบบริหารจัดการเพื่อน
เหมือนบริการ Socail network ต่างๆนั้นเอง
ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เหมือนจะเป็นการผสมผสานระหว่างสิ่งต่างๆ
ที่เรามีใช้กันอยู่แล้วในปัจจุบันให้เข้ามาอยู่ในบริการตัวเดียว
(ซึ่งเหมือนจะดีและน่าสนใจ) แต่สิ่งหนึ่งที่อาจจะถูกมองข้ามไปคือ
ในเมื่อมันมีอยู่แล้ว แล้วอะไรหละคือ คุณค่าที่จะเข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภค
ทำไมเราต้องเปลี่ยนมาใช้บริการตัวนี้ ว่าแล้ว Google
จึงเริ่มปฏิบัติการสร้างความอยากให้เกิดขึ้น
โดยการจำกัดจำนวนผู้ใช้เบื้องต้น เหมือนตอนสมัยครั้งออก Gmail ใหม่ๆ
ที่คนที่มี account ต้องถูกเชิญเข้ามา และก็ขยายวงไปเรื่อยๆ
จนเปิดให้สมัครเองได้เลยในที่สุด ซึ่งกลยุทธนี้ก็เหมือนจะดูดีมากๆ
ในตอนแรกเพราะสามารถกลบกระแส Bing บริการ Search engine ตัวใหม่ของ
Microsoft ไปโดยสิ้นเชิง แถม invite ที่มีจำกัดก็กลายเป็นสินค้าราคาสูงใน
eBay นับได้ว่าได้รับเสียงตอบรับอย่างดีในกลุ่ม Innovator และ First
adopter แต่เมื่อเวลาผ่านมารู้สึกคลื่นลูกนี้ของ Google จะซาไป
ไม่สามารถข้าม Chasm มายังกลุ่มผู้ใช้ทั่วไปได้ แม้สิ่งที่ทำนี้จะเป็น
Opensource แถมมี API แจกให้เอาไปใช้กันฟรีๆ หลายคนเอาใจช่วย
และอยากเห็นไม้เด็ดของ Google ว่าจะปล่อยอะไรออกมาเป็นคลื่นลูกถัดไป
ซึ่ง Google ก็มีจริงๆ ครับ บริการตัวใหม่มาในชื่อของ Google buzz
ออกมาเมื่อเดือนกุมภา 2010 แต่ไม่ได้ต่อยอดจาก Google wave ครับ
ไปต่อยอดจาก Gmail ที่มีฐานผู้ใช้อยู่กว่า 170 ล้านคนทั่วโลก
และเน้นไปที่บริการเชิงสังคม ที่มองว่าจะคล้ายๆ กับ Facebook และ Twitter
เลย แน่นอนมันใช้ในการอัพเดตสถานะปัจจุบันของผู้ใช้ แชร์รูป แชร์ link
แชร์วิดีโอ สามารถกด like พิมพ์ comment ได้
ทั้งนี้ยังเชื่อมต่ออัตโนมัติเข้ากับบริการอื่นๆ อย่าง Flickr, Picasa,
YouTube และ Twitter นอกจากนั้น Google ยังจับ Google buzz ไปใส่ใน
Android ระบบปฏิบัติการมือถือของ Google
ทำให้มือถือที่ใช้สามารถสื่อสารกันแบบ realtime
พร้อมทั้งยังมีพิกัดระบุบนแผนที่ Google map อีกต่างหาก การมาครั้งนี้ของ
Google buzz ไม่ธรรมดาครับ Sergey ผู้ก่อตั้ง Google กล่าวว่า Google
Buzz จะมาเป็นสะพานในการเชื่อมระหว่างชีวิตการทำงานและเวลาว่างในแต่ละวันของเราเลยทีเดียว
(ผมมองว่ามันจะต้องถูกเอาเข้าไปใส่ใน Google App แน่ๆ
เพราะหลายหน่ยวงานต้องการมาตั้งนานแล้วว่าจะเอา Twitter
ไปใช้ในการทำงานได้อย่างไร)
Techcrunch.com กล่าวว่า หาก Google wave จะเป็นการสื่อสารแห่งอนาคต
Google buzz คือปัจจุบันของ Google ในวันนี้ เพราะปัญหาหลักของ Google
wave คือความยากของมัน ไม่ใช่แค่เรียนรู้ว่ามันใช้งานยังไง
แต่สำหรับผู้พัฒนายังต้องเรียนรู้ว่ามันสร้างยังไง Protocol
ในการติดต่อทางเทคนิคของ wave ทำงานอย่างไร ตรงกันข้ามกับ Google buzz
ที่ออกมาทำงานแค่เฉพาะอย่าง แถมวิธีใช้งานก็คุ้นๆ
เหมือนเคยเห็นที่ไหนก่อน แต่หากจะมองให้ลึกก็เหมือนว่า Google
กำลังพยายามสอนตลาดให้รู้จักและคุ้นเคยกับการสื่อสารในรูปแบบใหม่ที่เป็นการผสมผสานหลายๆ
อย่างเข้าไว้ด้วยกัน และรอจนกว่าผู้บริโภคจะพร้อม (หรือเปล่า?)
ซึ่งถ้าจะให้ผมตอบคำถามว่ามันจะมีผลกับคนไทยเราไหม
ตอนนี้ก็คงยังไม่เห็นชัดครับ เพราะ Internet user
ชาวไทยส่วนใหญ่จัดอยู่ในกลุ่ม Majority adopter เลยไปแถบๆ Late adopter
ด้วยซ้ำไป ดังนั้นหากคนดังๆ ยังไม่ใช้ ไม่เป็นข่าว ไม่เป็นกระแส
ถึงจะมีประโยชน์สักแค่ไหน ก็รอไปก่อนนะครับ
ครับเรื่องราวสนุกๆ และนวัตกรรมจาก Google ยังมีอีกมากมาย
เราสามารถแอบเข้าไปดูกันได้ที่ http://www.googlelabs.com
ซึ่งหมวดที่มาแรงน่าสนใจมากๆ สำหรับผมตอนนี้เห็นจะเป็น หมวด Android
อย่าง Google Goggles ซึ่งเป็นบริการค้นหาผ่านกล้องบนโทรศัพท์มือถือ
แค่ได้ยินก็สุดยอดแล้วใช่ไหมนะครับ ไว้ว่างๆ
เดี๋ยวผมจะหยิบมาเล่าให้ฟังกันอีกที
สำหรับวันนี้ผมอยากจะฝากไว้ว่าคนไทยเราเก่งครับ เรารู้ เราเข้าใจ
แต่เรามองอยู่ห่างๆ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงย่อมมีโอกาสซ่อนอยู่
และเราก็มักจะปล่อยให้โอกาสนั้นหลุดลอยไป
หากวันนี้เราเห็นแล้วจะลงมือทำเลยได้ไหม แล้วคุณหละคิดอย่างไร how do u
think?
* บทความนี้ ลงในนิตยสาร D+Plus ฉบับเดือน เมษายน-พฤษภาคม 2553

หากจะคุยเกี่ยวกับนวัตกรรมต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตคงหนีไม่พ้นการพูดถึงผลิตภัณฑ์ของ Googleและนั้นก็เป็นที่มาของเรื่องที่เราจะคุยกันในวันนี้ครับ มีหลายคนสงสัยว่าGoogle buzz ที่เพิ่งออกมาไม่นานมันเหมือนหรือต่างจาก Twitter อย่างไร?จะว่าไปแล้ว Google wave ที่เปิดตัวมาช่วงก่อนก็ยังไม่ทันได้เข้าใจเลยแล้วตัวใหม่นี้จะมาแว๊บๆ เหมือนตัวก่อนไหม มันจะมี impactกับคนไทยมากน้อยแค่ไหนเพื่อให้เข้าใจมากขึ้นเราไปดูรายละเอียดของบริการเหล่านี้กันเลยดีกว่านะครับ

ขอเริ่มจาก Google wave ก่อนเลยบริการตัวนี้เปิดตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภา 2009มันถูกนิยามว่าเป็น เครื่องมือแบบใหม่ในการสื่อสารและร่วมมือกันบนเว็บซึ่งเป็นสิ่งที่อีเมลควรจะเป็นถ้าหากอีเมลที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันถูกสร้างขึ้นใหม่ในตอนนี้เพราะ Google wave ถูกออกแบบมาให้รวมเอาความสามารถของ e-mail, instantmessaging (IM), wiki, และ social networking เข้าด้วยกันแถมยังสามารถใช้งานแบบ real-time อีกด้วยแบบว่าในขนาดที่เรากำลังพิมพ์อยู่นั้นเพื่อนที่อยู่ใน wave(ทุกคนที่อยู่ในการสนทนา) เดียวกันก็จะเห็นตัวอักษรนั้นๆ เลยจึงทำให้เส้นแบ่งระหว่าง e-mail และ IM หายไป แถมมันก็ยังคล้ายกับ wikiเพราะแต่ละคนจะสามารถช่วยกันแก้ไขบทสนทนา และเอกสารรูปแบบต่างๆที่ถูกแนบเข้าไปใน wave ได้ ไม่ว่าจะเป็นใน format ของ ตัวอักษร ภาพเสียง และ วิดีโอ พร้อมยังมีการเก็บเป็นเวอร์ชั่นให้ play backดูได้อีกด้วย สุดท้ายที่ขาดไม่ได้ก็คือมีระบบบริหารจัดการเพื่อนเหมือนบริการ Socail network ต่างๆนั้นเอง

ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เหมือนจะเป็นการผสมผสานระหว่างสิ่งต่างๆที่เรามีใช้กันอยู่แล้วในปัจจุบันให้เข้ามาอยู่ในบริการตัวเดียว(ซึ่งเหมือนจะดีและน่าสนใจ) แต่สิ่งหนึ่งที่อาจจะถูกมองข้ามไปคือในเมื่อมันมีอยู่แล้ว แล้วอะไรหละคือ คุณค่าที่จะเข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภคทำไมเราต้องเปลี่ยนมาใช้บริการตัวนี้ ว่าแล้ว Googleจึงเริ่มปฏิบัติการสร้างความอยากให้เกิดขึ้นโดยการจำกัดจำนวนผู้ใช้เบื้องต้น เหมือนตอนสมัยครั้งออก Gmail ใหม่ๆที่คนที่มี account ต้องถูกเชิญเข้ามา และก็ขยายวงไปเรื่อยๆจนเปิดให้สมัครเองได้เลยในที่สุด ซึ่งกลยุทธนี้ก็เหมือนจะดูดีมากๆในตอนแรกเพราะสามารถกลบกระแส Bing บริการ Search engine ตัวใหม่ของMicrosoft ไปโดยสิ้นเชิง แถม invite ที่มีจำกัดก็กลายเป็นสินค้าราคาสูงในeBay นับได้ว่าได้รับเสียงตอบรับอย่างดีในกลุ่ม Innovator และ Firstadopter แต่เมื่อเวลาผ่านมารู้สึกคลื่นลูกนี้ของ Google จะซาไปไม่สามารถข้าม Chasm มายังกลุ่มผู้ใช้ทั่วไปได้ แม้สิ่งที่ทำนี้จะเป็นOpensource แถมมี API แจกให้เอาไปใช้กันฟรีๆ หลายคนเอาใจช่วยและอยากเห็นไม้เด็ดของ Google ว่าจะปล่อยอะไรออกมาเป็นคลื่นลูกถัดไป

ซึ่ง Google ก็มีจริงๆ ครับ บริการตัวใหม่มาในชื่อของ Google buzzออกมาเมื่อเดือนกุมภา 2010 แต่ไม่ได้ต่อยอดจาก Google wave ครับไปต่อยอดจาก Gmail ที่มีฐานผู้ใช้อยู่กว่า 170 ล้านคนทั่วโลกและเน้นไปที่บริการเชิงสังคม ที่มองว่าจะคล้ายๆ กับ Facebook และ Twitterเลย แน่นอนมันใช้ในการอัพเดตสถานะปัจจุบันของผู้ใช้ แชร์รูป แชร์ linkแชร์วิดีโอ สามารถกด like พิมพ์ comment ได้ทั้งนี้ยังเชื่อมต่ออัตโนมัติเข้ากับบริการอื่นๆ อย่าง Flickr, Picasa,YouTube และ Twitter นอกจากนั้น Google ยังจับ Google buzz ไปใส่ในAndroid ระบบปฏิบัติการมือถือของ Googleทำให้มือถือที่ใช้สามารถสื่อสารกันแบบ realtimeพร้อมทั้งยังมีพิกัดระบุบนแผนที่ Google map อีกต่างหาก การมาครั้งนี้ของGoogle buzz ไม่ธรรมดาครับ Sergey ผู้ก่อตั้ง Google กล่าวว่า GoogleBuzz จะมาเป็นสะพานในการเชื่อมระหว่างชีวิตการทำงานและเวลาว่างในแต่ละวันของเราเลยทีเดียว(ผมมองว่ามันจะต้องถูกเอาเข้าไปใส่ใน Google App แน่ๆเพราะหลายหน่ยวงานต้องการมาตั้งนานแล้วว่าจะเอา Twitterไปใช้ในการทำงานได้อย่างไร)

Techcrunch.com กล่าวว่า หาก Google wave จะเป็นการสื่อสารแห่งอนาคตGoogle buzz คือปัจจุบันของ Google ในวันนี้ เพราะปัญหาหลักของ Googlewave คือความยากของมัน ไม่ใช่แค่เรียนรู้ว่ามันใช้งานยังไงแต่สำหรับผู้พัฒนายังต้องเรียนรู้ว่ามันสร้างยังไง Protocolในการติดต่อทางเทคนิคของ wave ทำงานอย่างไร ตรงกันข้ามกับ Google buzzที่ออกมาทำงานแค่เฉพาะอย่าง แถมวิธีใช้งานก็คุ้นๆเหมือนเคยเห็นที่ไหนก่อน แต่หากจะมองให้ลึกก็เหมือนว่า Googleกำลังพยายามสอนตลาดให้รู้จักและคุ้นเคยกับการสื่อสารในรูปแบบใหม่ที่เป็นการผสมผสานหลายๆอย่างเข้าไว้ด้วยกัน และรอจนกว่าผู้บริโภคจะพร้อม (หรือเปล่า?)ซึ่งถ้าจะให้ผมตอบคำถามว่ามันจะมีผลกับคนไทยเราไหมตอนนี้ก็คงยังไม่เห็นชัดครับ เพราะ Internet userชาวไทยส่วนใหญ่จัดอยู่ในกลุ่ม Majority adopter เลยไปแถบๆ Late adopterด้วยซ้ำไป ดังนั้นหากคนดังๆ ยังไม่ใช้ ไม่เป็นข่าว ไม่เป็นกระแสถึงจะมีประโยชน์สักแค่ไหน ก็รอไปก่อนนะครับ

ครับเรื่องราวสนุกๆ และนวัตกรรมจาก Google ยังมีอีกมากมายเราสามารถแอบเข้าไปดูกันได้ที่ http://www.googlelabs.com ซึ่งหมวดที่มาแรงน่าสนใจมากๆ สำหรับผมตอนนี้เห็นจะเป็น หมวด Androidอย่าง Google Goggles ซึ่งเป็นบริการค้นหาผ่านกล้องบนโทรศัพท์มือถือแค่ได้ยินก็สุดยอดแล้วใช่ไหมนะครับ ไว้ว่างๆเดี๋ยวผมจะหยิบมาเล่าให้ฟังกันอีกทีสำหรับวันนี้ผมอยากจะฝากไว้ว่าคนไทยเราเก่งครับ เรารู้ เราเข้าใจแต่เรามองอยู่ห่างๆ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงย่อมมีโอกาสซ่อนอยู่และเราก็มักจะปล่อยให้โอกาสนั้นหลุดลอยไปหากวันนี้เราเห็นแล้วจะลงมือทำเลยได้ไหม แล้วคุณหละคิดอย่างไร how do uthink?


* บทความนี้ ลงในนิตยสาร D+Plus ฉบับเดือน เมษายน-พฤษภาคม 2553

คำสำคัญ (Tags): #buzz#communication#google#wave
หมายเลขบันทึก: 353009เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2010 12:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท