Best Practices ต้นแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความสำเร็จ


การบริหารสถานศึกษาสู่ความสำเร็จ
         อีสาน-บูรพา 53 รุ่น 15

      การดำเนินงานในสถานศึกษาต้นแบบที่ผู้ฝึกประสบการณ์ได้วิเคราะห์และถือเป็นแบบอย่างที่ดีในการนำไปประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ โครงการพัฒนากระบวนการคิดด้วยสถานการณ์ปลายเปิด (Open Approach) โรงเรียนชุมชนบ้านชนบท สำนักงานเขตพื้นที่ขอนแก่น เขต 2 ร่วมมือกับ ศูนย์วิจัยคณิตศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดทำโครงการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดด้วยสถานการณ์ปัญหาปลายเปิด (Open Approach) ตามแนวทางการพัฒนาวิชาชีพครูแบบ Lesson Study โดยส่งเสริมและพัฒนาความสามารถในการสำรวจ ค้นหา คิดวิเคราะห์ แสดงออกทางความคิด อย่างสร้างสรรค์ ทำการสอนโดยใช้สถานการณ์ปัญหาปลายเปิดทุกกลุ่มสาระ  เริ่มในระดับชั้น ป.1 และ ป.4 ในปีการศึกษา
        แนวคิดการบริหาร กลไกที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา คือ การพัฒนาครูให้มีคุณภาพ โดยเฉพาะในเรื่องของวิธีการสอน 
      การสอนแบบเปิด เพื่อให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนคณิตศาสตร์ในแนวทางตอบสนองความสามารถของพวกเขาควบคู่การตัดสินใจด้วยตนเอง มุ่งเน้นที่จะเปิดใจให้นักเรียนมากกว่าการสอนเนื้อหา ยึดหลัก ๓ ประการ
       1. ความสัมพันธ์กับความเป็นอิสระของกิจกรรมของนักเรียนตระหนักถึงคุณค่าให้เข้าไปแทรกโดยไม่จำเป็น
      2. มีความสัมพันธ์กับธรรมชาติของความรู้ทางคณิตศาสตร์มีลักษณะเชิงวิวัฒนาการและบูรณาการแบบอุปมา
      3. มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจที่เป็นประโยชน์ของครูบ่อยครั้งที่ครูต้องเผชิญกับแนวคิดของนักเรียนโดยไม่ได้คิดมาก่อน
หัวใจของการพัฒนาวิชาชีพครูแบบ Lesson Study

ร่วมสร้าง แผนการจัดการเรียนรู้ (Plan)

นำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ในชั้นเรียน และร่วมสังเกต   (Do)

ร่วมสะท้อนผล  (See)

ขั้นตอนในการดำเนินการ
  1. ร่วมจัดประชุม จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ (Plan)
  2. ร่วมสังเกตการสอน ครูร่วมสังเกตการสอนและการเรียนรู้ของนักเรียนในชั้นเรียน (Do)
  3. ร่วมสะท้อนผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หลังจากกิจกรรมการเรียนการสอน ร่วมสะท้อนผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อนำไปปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ในปีต่อไป  (See)
          ซึ่งจากการดำเนินการทำให้  ครูมีโอกาสร่วมมือการทางศึกษา ในกระบวนการพัฒนาวิชาชีพ โดยเฉพาะด้านการจัดเรียนรู้โดยการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทั้งการออกแบบการเรียนรู้  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ความร่วมมือในการจัดเตรียมสื่อ  การนิเทศและสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ เพื่อการปรับปรุง พัฒนาด้านการจัดการเรียนรู้ รวมถึงสถานศึกษายังเห็นความสำคัญในการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนทางการศึกษา โดยได้จัดงานเปิดเวที(Open Forum) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันในวิชาชีพกับสถานศึกษาอื่นๆ อีกยังเป็นแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาอีกด้วย

รองฯTop
หมายเลขบันทึก: 353002เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2010 12:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท