สมรรถนะ (Competency) ของเจ้าพนักงานเวชกิจฉุกเฉิน


มีน้อง ๆ ER ขอข้อมูลบทบาทและสมรรถนะของ EMT-I 

เลยนำข้อมูลที่ได้จาก วสส  มาให้พิจารณาค่ะ

และต้องศึกษาจาก พรบ.การแพทย์ฉุกเฉิน 2551  เพิ่มอีกนะคะ

สมรรถนะ (Competency) ของเจ้าพนักงานเวชกิจฉุกเฉิน

 1. รับแจ้งเหตุและสั่งการ

     1.1  รับแจ้งเหตุทางวิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์  วิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร  ประเมินสถานการณ์  และให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวของผู้ที่อยู่ ณ จุดเกิดเหตุ

1.2  สั่งการออกปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ โดยมอบหมายทีมปฏิบัติการ (ขั้นต้น หรือขั้นสูง) ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ผู้ป่วย

1.3  ประสานงานกับรถพยาบาลฉุกเฉิน แม่ข่าย และระหว่างเครือข่ายกู้ชีพ/กู้ภัย

2.  เตรียมความพร้อมก่อนออกปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ

2.1  เตรียมความพร้อมด้านความรู้ ร่างกาย และจิตใจของตนเอง

2.2  จัดเตรียมและตรวจสอบรถพยาบาลฉุกเฉิน อุปกรณ์กู้ชีพ/กู้ภัย และวิทยุสื่อสารก่อนใช้งาน

2.3  บำรุงรักษารถพยาบาลฉุกเฉิน อุปกรณ์กู้ชีพ/กู้ภัย และวิทยุสื่อสารให้มีสภาพพร้อมใช้งาน
       ตลอด 24 ชั่วโมง

3.  ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ

     3.1 เตรียมความพร้อมก่อนถึงจุดเกิดเหตุ

          3.1.1  ใช้วิทยุสื่อสารประสานงานกับแม่ข่าย

          3.1.2  วิเคราะห์สถานการณ์

          3.1.3  เตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ขณะอยู่ในรถพยาบาลฉุกเฉิน

    3.2 ประเมินสถานการณ์ ณ จุดเกิดเหตุ

          3.2.1  ประเมินสถานการณ์แวดล้อม

          3.2.2  จอดรถพยาบาลฉุกเฉินในที่เข้าออกสะดวกและปลอดภัย

           3.2.3  ควบคุมสถานการณ์ร่วมกับหน่วยกู้ภัยและบรรเทาสาธารณภัย ตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

     3.3 ประเมินสภาพผู้บาดเจ็บหรือป่วยฉุกเฉิน

         3.3.1  จำแนกประเภทผู้ป่วยเพื่อจัดลำดับการช่วยเหลือตามความรุนแรง

         3.3.2  ประเมินระดับความรู้สึกตัว ทางเดินหายใจ การหายใจ และการไหลเวียนโลหิต

         3.3.3  ประเมิน Coma Score และวัดสัญญาณชีพ

         3.3.4  ประเมินสภาพผู้ป่วยทุกระบบของร่างกายในเวลาที่เหมาะสม

      3.4 ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ

         3.4.1  ปฏิบัติการ ณ จุดเกิดเหตุ โดยความรวดเร็วถูกต้องและปลอดภัย

         3.4.2  ช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR)  ช่วยใส่ท่อทางเดินหายใจ

         3.4.3  ปฐมพยาบาลและหัตถการเบื้องต้น ดังนี้

                   1) ให้ออกซิเจน

                   2) ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ

                   3) ฉีดยา เข้ากล้ามเนื้อ  เข้าใต้ผิวหนังชั้นลึก  และเข้าใต้ผิวหนังชั้นตื้น  

                   4) ให้ยาทางปาก

                   5) พ่นยา

                   6) ดูดเสมหะ

                   7) ใส่สายกระเพาะอาหาร

                   8)  ล้างท้อง

                   9)  สวนปัสสาวะ

                 10) ทำแผล

                 11) พันผ้า

                 12)  ยึดตรึงกระดูก

                 13) เย็บแผล

                 14) ตัดไหม

                 15) ประคบร้อน-เย็น

                 16) ล้างตา

                 17) เช็ดตัวลดไข้

                 18) ตรวจน้ำตาลในกระแสโลหิต

                 19) ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

                 20) ทำคลอดปกติในกรณีฉุกเฉิน

                 21) ถอดหมวกนิรภัย

                 22) ปฐมพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉิน

      3.4.4  ตัดสินใจ และให้การช่วยเหลือ รวมทั้งแก้ไขปัญหาอื่น ๆ ตามความเหมาะสม

      3.4.5  จัดท่า ยก เคลื่อนย้าย และลำเลียงผู้ป่วย           

      3.4.6  พิจารณาขอความช่วยเหลือจากประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

      3.4.7  ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวแก่ผู้เกี่ยวข้อง ณ จุดเกิดเหตุ

   3.5 รายงานสถานการณ์และเรียกขอความช่วยเหลือกับแม่ข่าย

4.  ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินระหว่างนำส่งโรงพยาบาล

     4.1  ประเมินสภาพผู้ป่วย

     4.2  ให้การช่วยเหลือผู้ป่วยตามสภาพ

     4.3  รายงานแม่ข่ายเกี่ยวกับสถานการณ์ อาการผู้ป่วย ขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการช่วยเหลือ
              และการเตรียมรับผู้ป่วย

     4.4  พิจารณานำส่งผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลที่เหมาะสม

5. ส่งมอบผู้ป่วย

      5.1 ยกและเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

      5.2 รายงานอาการผู้ป่วย การให้การช่วยเหลือ และสถานการณ์6.  บันทึกรายงานการปฏิบัติการ

      6.1 สรุปบันทึกรายงาน

      6.2 วิเคราะห์ข้อมูลและนำสารสนเทศไปใช้ในการวางแผนและบริหารงาน

7. ป้องกันและส่งเสริมสุขภาพกรณีฉุกเฉิน

8. บริหารจัดการหน่วยกู้ชีพ

     8.1  ออกแบบระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินร่วมกับทีมกู้ชีพในหน่วยงาน 

     8.2  ประสานงานและปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยกู้ชีพในเครือข่าย หน่วยงานบรรเทาสาธารณภัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน

หมายเลขบันทึก: 353001เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2010 12:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

มาทักทายพี่ไก่  ในวันที่ร้อนอบอ้าวค่ะ

พี่ไก่สบายดีไหมคะ.

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาศึกษาเรียนรู้ค่ะ
  • ติดตามข่าวความคิดเรื่องการยึดรถแพทย์ฉุกเฉิน  ฟังแล้วรู้สึกเป็นห่วงค่ะ
  • ขอบพระคุณค่ะ

พี่ไก่เก่งจังเลยครับ

พักผ่อนด้วยนะครับ

ขอบคุณทุกท่านนะคะที่เป็นห่วง

อยากทราบว่าที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ รับ EMT Pats timeใหมครับ

สวัสดีจ้าน้องไก่ ลูกศิษย์ก็ถามเรื่องสมรรถนะเยอะมาก คงมีเรื่องโต้แย้งกับที่ทำงาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท