กระทรวงพาณิชย์/ผู้นำรูปแบบใหม่


  เมื่อวันพุธที่ 21 มิถุนายน ผมได้ไปพูดที่กระทรวงพาณิชย์ซึ่งจัดโดยกรมการค้าต่างประเทศ ผมหวังว่า Blog นี้จะเป็นแหล่ง Share ความรู้ต่างๆกันนะครับ

                                       ขอบคุณ

วันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม 2549 ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ได้มาพูดให้ผู้บริหาร กระทรวงพาณิชย์อีกครั้ง เป็นกลุ่มเล็กๆ โดยมีการประชุมเชิงปฎิบัติการใน 3 หัวข้อ อยากให้ผู้เข้าร่วมรับฟังช่วยกรุณาตอบมาเป็นข้อคิดเห็นกันมากขึ้น

คุณราเชนทร์  พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวเปิดการประชุมและร่วมรับฟัง ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ในการบรรยายพิเศษเรื่อง ภาวะผู้นำของข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ ให้แก่ข้าราชการของกรมการค้าต่างประเทศ จำนวนกว่า 30 คน เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2549 ณ กระทรวงพาณิชย์

หมายเลขบันทึก: 35206เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2006 10:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น
ยม "บทเรียนจากความจริง บทเรียน HRDS ของ ศ.ดร.จีระ กล่าวถึง การได้ไปพูดที่กระทรวงพาณิชย์

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และ ท่านผู้อ่านทุกท่าน

  เช้าวันนี้ ผมแสวงหาอาหารทางสมอง ด้วยการค้นหาข้อมูลข่าวสารจาก Internet  ดังที่เคยปฏิบัติ รายการแรกที่ผมค้นหาก็คือ บทเรียนจากความจริง ของ ศ.ดร.จีระ จาก เว็ปของ น.ส.พ.แนวหน้า http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 อาจารย์เขียน เกี่ยวกับ บทเรียน :  HRDS  ได้สาระน่าสนใจมาก ผมทำงานด้าน HRM, HRD เมื่ออ่านบทความนี้แล้ว ผมเชื่อมั่นว่าผมจะสามารถนำสาระจากบทความนี้ไปบูรณาการในการพัฒนาตนเอง และการทำงานให้ดีขึ้นได้เป็นอย่างดี

 

ในบทความเรื่อง บทเรียน : HRDS ศ.ดร.จีระ อาจารย์เขียนถึงสิ่งที่อาจารย์ได้ทำประโยชน์เพื่อสังคม ในสัปดาห์ที่ผ่านมา และกล่าวถึง การไปพูดที่กระทรวงพาณิชย์ และที่อื่น ๆ อีกหลายแห่ง มีประเด็นน่าสนใจหลายประเด็น เช่น  

 
  • การไปบรรยายให้ คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี จันทบุรี
  • บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 
  • คำแนะนำของ ศ.ดร.จีระ ที่มีให้กับองค์กรที่ เชิญอาจารย์ไปบรรยาย ให้เอาจริง ให้เน้นคุณภาพ  เน้นวิธีการเรียนแบบ 4 L's และวัดผล ให้เป็นรูปธรรม (เรื่อง ทฤฏี 4 L’s ท่านผู้อ่านสามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดได้ที่ http://www.chiraacademy.com/chiratheory.html )
  • การไปบรรยายที่กระทรวงพาณิชย์ สาระที่สนทนากับอธิบดีราเชนทร์ พจนสุนทร
  • การไปบรรยายให้คณาจารย์และนักเรียนปริญญาเอกคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 35 คน
  • แนวคิดที่ ศ.ดร.จีระ ให้ไว้ 1 เรื่องคือ HRDS  น่าสนใจมากครับ  อาจารย์เขชื่อมโยง พระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้ากับ เรื่อง HRDS ได้เป็นอย่างดี  น่าสนใจมาก
 

รายละเอียดของบทความ บทเรียนจากความจริง เรื่อง บทเรียน :  HRDS ดูชื่อเรื่องจะเป็นฝรั่ง แต่สาระที่อาจารย์เขียนอ่านแล้วแบบไทย ๆ น่าเชิญชวนให้ติดตาม   ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถอ่านได้จากตอนท้ายของข้อความนี้ 

 

ท่านผู้อ่านสามารถติดตามสาระน่ารู้กับ ศ.ดร.จีระ ได้อีก นอกจากบทความใน น.ส.พ.แนวหน้าทุกวันเสาร์แล้ว  วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ทาง ททบ.ช่อง 5 เวลา 8.30 น. ท่านจะได้พบ กับ ศ.ดร.จีระ ในรายการ เจาะลึกประเทศไทย ส่วนวันอาทิตย์ทาง UBC รายการโทรทัศน์ "สู่ศตวรรษใหม่" ออกอากาศครั้งแรกทาง สทท.11 ทุกวันจันทร์สัปดาห์แรกของเดือน เวลา 14.00 - 14.50 น.  และออกอากาศซ้ำทาง UBC News ช่อง 07 ทุกวันอาทิตย์สัปดาห์ที่ 2 เวลา 13.05 - 14.00 น.  และรายการวิทยุ  "Knowledge for People”   ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00-19.00น.  สถานีวิทยุ F. M. 96.5 MHz. " คลื่นความคิด "  

 

 

  สุดสัปดาห์นี้ คนไทยเรายังคงมีความสุข ปิติยินดี กับไออุ่นจากการฉลองครองสิริราชสมบัติครบรอบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผมขอเชิญชวนท่านร่วมเขียนถวาย เขียนการทำความดี ถวายพระพรแด่พระองค์ท่าน ใน Blog เทิดพระเกียรติ 60 ปี ครองราชย์ ซึ่ง ศ.ดร.จีระ กรุณาเปิดให้บรรดาลูกศิษย์ ที่http://gotoknow.org/blog/chirakm  

 

สวัสดีครับ

 

ยม

 

น.ศ.ป.เอก รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (กทม.รุ่น 2)  

 

 

บทเรียน : HRDS[1]

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

 

ผมเขียนบทความนี้ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จันทบุรี บางท่านอาจจะยังไม่เคยรู้จัก เป็นพระราชวังเก่าของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี มีโรงแรมเล็กประมาณ 50 ห้อง มีห้องประชุมจัดสัมมนา ภายในยังมีสวนผลไม้ และมีอนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี สมกับทฤษฎี 4 L's Learning Environment ของผม


ผมพาเจ้าหน้าที่ระดับสูง C8 ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติหรือสภาวิจัย มาฝึกเรื่องเตรียมภาวะผู้นำ ในวันที่ 22 - 23 มิถุนายน 2549 บุคลากรเหล่านี้ เป็นผู้มีมันสมองยอดเยี่ยม เพราะอาชีพการวิจัยเป็นอาชีพที่สำคัญ ผมได้ทำต่อเนื่องกันมา รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 2 โดยผมอยู่ 1 วัน 1 คืนเต็ม ได้รับความกรุณาและอบอุ่นแบบครอบครัวเดียวกัน การเรียนรู้ยุคใหม่ ผู้ฝึกกับผู้เรียนต้องช่วยกันแสดงความเห็นร่วมกัน นำเอาความรู้ใหม่ ๆ ไปใช้ หวังว่าจะปรับพฤติกรรมของผู้เรียนบ้างไม่มากก็น้อย


บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติจะต้องเข้มแข็งและพัฒนาต่อไป เพราะ


- stake holders ข้างนอกมีมากมาย เช่น นักการเมือง , นักธุรกิจ , นักวิชาการ , ต่างประเทศ , สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป


- ของดีมีมาก แต่นำไปใช้ไม่เป็น เพราะขาดการประชาสัมพันธ์แบบมืออาชีพ


- Brand ยังไม่ชัดในสายตาคนทั่วไป


การอยู่ด้วยกันกับรุ่นแรก 60 ชั่วโมงได้ประโยชน์มากระดับหนึ่ง และรุ่น 2 อีก 40 คน ใน 60 ชั่วโมง คงจะได้อะไรมากขึ้นอีกไม่มากก็น้อย ผมบอกเขาว่า ต้องทำการพัฒนาแบบ


- ต่อเนื่อง


- เรียนในสิ่งที่ตัวเขาสนใจ นำไปใช้ และต่อยอด


- เรียนเพื่อสร้างสังคมการเรียนแบบ 4 L's


- เรียนกันเองเป็นทีม


- มีความคิดใหม่และนอกกรอบ


- work smart ไม่ใช่ work hard


ช่วงนี้ผู้อ่านที่ติดตามงานของผม จะเห็นว่ามีผู้สนใจเชิญผมหลายแห่ง สิ่งที่ผมขอองค์กรทุกแห่งที่เชิญคือ


- ให้เอาจริง


- ให้เน้นคุณภาพ


- เน้นวิธีการเรียนแบบ 4 L's


- วัดผล ให้เป็นรูปธรรม


นอกจากงานของสภาวิจัยแล้ว ผมภูมิใจที่มาเป็นแขกของกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพราะคุณพ่อผม นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ เคยเป็นรัฐมนตรี กระทรวงพาณิชย์ 2 สมัย กว่า 40 ปีแล้ว


ปัจจุบัน กระทรวงพาณิชย์และกรมการค้าต่างประเทศ ย้ายไปอยู่จังหวัดนนทบุรี สถานที่สบาย ติดแม่น้ำเจ้าพระยา


อธิบดีราเชนทร์ พจนสุนทร ซึ่งรู้จักกันมานาน เห็นความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร พยายามสร้าง capacity building ให้ข้าราชการทุกระดับ เป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะอธิบดีส่วนมากในระบบราชการไทย ใช้เวลาในการดูแลคนน้อยมาก อธิบดี รองอธิบดี และข้าราชการมีระดับ C8 , C7 ประมาณ 150 คน มาฟังการบรรยายของผม มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันโดยผ่านการถาม/ตอบ ซึ่งผมเน้นเรื่อง Leadership กับ Innovation ว่า กรมการค้าต่างประเทศจะต้องเร่งรัดเรื่อง การทำงานเร็ว นอกกรอบ เพราะ


- การค้าต่างประเทศจะเปลี่ยนแปลงเร็ว และมีปัจจัยหลากหลาย


- จะต้องเปิดโอกาสให้ Ideas ต่าง ๆ เกิดขึ้น และ share กัน


- ระดมความคิดให้เป็น bottom up มากขึ้น


- ผู้นำต้องกระตุ้นให้เกิด Execution ในโครงการใหม่ ๆ เพราะภาระงานประจำของกรมมีมากมาย


ส่วนเมื่อวันอังคารที่ 21 มิถุนายน ผมไปบรรยายให้คณาจารย์และนักเรียนปริญญาเอกคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 35 คน ปรากฏว่าได้ความรู้มากมาย เช่น


- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งมีภาควิชากว่า 10 ภาควิชายังทำงานไม่ข้ามศาสตร์ ต่างคนต่างทำ


- การวิจัยยังไม่บูรณาการเข้าหากัน ซึ่งจะต้องปรับการทำงานให้มากขึ้น


มหาวิทยาลัยทุกแห่งต้องทำงานเชิง paradigm shift และต้องพัฒนาวิธีการทำงานให้ผู้รับบริการได้ประโยชน์ตลอดเวลา


สัปดาห์นี้ ผมขอฝากแนวคิดไว้ 1 เรื่องคือ HRDS ทุกท่านน่าจะนำไปต่อยอด ซึ่งผมสร้างมาจากความปลื้มปีติของคนไทยทั้งชาติ ในช่วงมหามงคลเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


ผมคิดว่าบทเรียนที่เราได้รับจากความรู้และ wisdom ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีมากมาย และมีคุณค่ามหาศาล แต่ถ้าจะสรุป จะได้ 4 เรื่องใหญ่ คือ HRDS


- Happiness พระองค์ท่านทรงเน้น คำว่าประโยชน์สุข คนไทยต้องมีความสุข จึงจะประสบความสำเร็จ ไม่ใช่มองเงินเป็นเครื่องวัดความสุข ไม่ว่าจะทำงานหรืออยู่กับครอบครัว จะต้องเน้นความสุขก่อนเงิน คนที่เป็นนักธุรกิจ หรือนักการเมืองต้องเสียสละเพื่อคนอื่นบ้าง เรื่องความสุขจึงเป็นเรื่องใหญ่ และเป็นจุดสำคัญของทุนมนุษย์ 8 K's ที่ผมได้พูดไว้


" ทำอะไรจงทำเพื่อความสุข ไม่ใช่ทำเพื่อเงิน "


คนรวยบางคนมีเงินทองมากมาย แต่ครอบครัวแตกแยก ลูกเกเร ความสุขก็ไม่ได้เกิดขึ้น


- Respect ผมคิดว่าพระองค์ท่านทรงมองมนุษย์เท่ากัน ให้เกียรติและยกย่องซึ่งกันและกัน ผมคิดว่า สำหรับประเทศไทย นายจ้างมองแรงงานคล้ายๆ กันว่าได้เงินจากฉัน ต้องทำงานให้ฉัน ไม่ได้ให้เกียรติซึ่งกันและกัน


- Dignity เรื่องศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ก็สำคัญ การเป็นคนที่มีศักดิ์ศรี จะทำให้คนมีความภูมิใจ และจะทำให้เขาได้มีความสำเร็จในชีวิตและงาน


- Sustainability นอกจากมีผลงาน (Performance) แล้ว คนเป็นจุดสร้างความยั่งยืน ไม่ว่ามาจากคุณธรรม จริยธรรม หรือมองระยะสั้นให้สอดคล้องกับระยะยาว ที่จะต้องสร้างขึ้นมา เพราะสังคมไทยต้องการความยั่งยืน


ทั้งหมดนี้ น่าจะเป็นบทเรียนที่บรรดาคนไทยหรือชาวต่างประเทศ ให้มองเรื่องคน ในแนวเดียวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมองลึก และมักจะวัดในสิ่งที่วัดไม่ได้ (Intangible) และนำไปสู่ความสำเร็จ ท่านลองนำไปคิดดู ถ้าดี นำไปเป็นบทเรียนปรับตัวเองต่อไป

จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
 
  
ยม "แนะนำเว็ป น่าสนใจ เพิ่มช่องทาง ทันข่าวสารบ้านเมือง เศรษฐกิจและสังคม"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

วันนี้ วันศุกร์ที่ 30 มิ.ย. ศุกร์สิ้นเดือน และสุดสัปดาห์  ผมหวังว่า ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านคงสบายดี ผมใคร่ขอแนะนำเว็ปที่ผมอ่านพบจากหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง และลองเข้าไปติดตามหาอ่านอยู่ระยะหนึ่งแล้ว เห็นว่ามีประโยชน์  ชื่อเว็ป http://www.reporter.co.th/  เป็นเว็ป ที่รายงานข่าว สาระน่ารู้ แบบทันกาล รวดเร็วโดยเฉพาะ เว็ปนี้ วันนี้ มีคลิปวีดีโอที่น่าสนใจ ผมเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่าน  เชิญชวนท่านเข้าไปเยี่ยมชม 

 อย่างไรก็ตาม อย่าลืมที่จะติดตามสาระน่ารู้ ร่วมแชร์ความรู้ใน blog ของ ศ.ดร.จีระ  ที่ http://gotoknow.org/blog/chirakm/35206

 

สวัสดีครับ

ยม

 

ยม " บทเรียนจากความจริง ขอบคุณ:สมาชิกวุฒิสภา โดย ศ.ดร.จีระ"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

 จากบทความของ ศ.ดร.จีระ จากหนังสือพิมพ์แนวหน้า บทเรียนจากความจริง เรื่อง ขอบคุณ:สมาชิกวุฒิสภา  ผมอดที่จะขอขอบคุณพี่ พี่บุญญา หลีเหลด ซึ่งเรียนปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ด้วยกันไม่ได้  พี่บุญญามีส่วน เป็นจุดเริ่มต้นทำให้อาจารย์ของพวกเรา ได้มีโอกาสทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่ ที่น้อยคนจะได้มีโอกาสเข้าไป ณ จุดนี้ ในบทความนี้ ศ.ดร.จีระ เขียน บทเรียนจากความเป็นจริงได้น่าสนใจ เช่น
  • เป็นคนมีอิสรภาพ มีความสุข ไม่มีเจ้านาย มีความสมดุลในชีวิต มีคนให้เกียรติ (Respect) และใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี (Dignity) และชอบเรียนรู้ตลอดชีวิต ประโยคนี้ มีความหมายกับชีวิตมาก และน้อยคนที่จะทำได้ดี  แต่ ศ.ดร.จีระ เป็นอยู่ทุกวันนี้ อาจารย์น่าจะจัดอบรม ในเรื่องนี้ให้กับเยาวชนไทย ได้มีความรู้และเทคนิคเรื่องพวกนี้ เพราะคนเยาวชนไทย ส่วนมากเรียนแล้วมักจะเป็นลูกจ้างไปตลอดชีวิต ไม่มีอิสรภาพในชีวิตเพียงพอ ทำให้ขาดทุนทางความสุข เครียดกับงาน เป็นปัญหาสังคมอย่างหนึ่ง
  • ตุลาการศาลยุติธรรม เป็นบุคลากรที่เก่งเรื่องกฎหมายและคุณธรรม แต่ปัจจุบันกฎหมายเป็นเรื่องเกี่ยวกับประชาชนทั่วไป  ระบบตุลาการต้องกว้างขึ้น ไม่ใช่มองเฉพาะตัวบทกฎหมาย แต่ต้องมีการมองศาสตร์อื่นๆ ด้วย ประชาชนจะได้มีที่พึ่งประโยคนี้ สะท้อนให้เห็นว่า ในโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การมองข้ามศาสตร์ มองนอกกรอบ เป็นเรื่องสำคัญ องค์กรใดก็ตามถ้าใช้เพียงศาสตร์เดียวบริหาร สั่งการ จะทำให้มีปัญหาตามมาได้  และผู้มีอำนาจ ผู้บริหารที่มีหลายศาสตร์จะมีความได้เปรียบในการบริหารจัดการ เป็นที่พึ่งของประชาชนได้มากยิ่ง ๆ ขึ้น
  • ศ.ดร.จีระได้รับเกียรติให้ช่วยเรื่องทรัพยากรมนุษย์เกือบทุกสาขา ถ้าจะมารับใช้ระบบตุลาการก็จะเอาประสบการณ์มาแบ่งปันกัน  ประโยคนี้ ผมประทับใจอาจารย์ตรงที่ อาจารย์มักจะใช้คำว่า แบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นกัน  อาจารย์เป็นคนให้เกียรติผู้อื่นเสมอ แม้กระทั่งลูกศิษย์ของอาจารย์ ก็ได้รับเกียรติ ได้รับความรักกันทั่วหน้า สิ่งนี้ เป็นสิ่งสำคัญที่นักบริหารที่เป็นเลิศพึงมี  มีความเมตตา มีความปรารถนาดีต่อมวลมนุษย์  
  • ผมเองเป็นคนกลาง ไม่ได้เป็นคนของรัฐบาล อย่างน้อยผมมีจุดยืน และไม่ยอมรับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ประโยคนี้ ทำให้ผมคิดถึง อาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ และทราบว่า ศ.ดร.จีระ ก็เป็นลูกศิษย์คนสำคัญคนหนึ่งของท่าน ศ.ดร.จีระ เป็นแบบอย่างที่ดี ที่ซึบซับทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนอื่น ๆ จากอาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ อาจารย์ไม่ลืมครูอาจารย์ ทั้งยังสานต่อเจตนารมณ์ มุ่งมั่น ยึดมั่นทำความดี ต่อสังคมประเทศชาติ ตรงนี้ ตอกย้ำให้เห็นเป็นตัวอย่างที่ดีแก่บรรดาลูกศิษย์ ของอาจารย์จีระ ที่จะซึมซับคุณความดีเหล่านี้และนำไปปฏิบัติเป็นแบบอย่างทีดีต่อไป
  • การได้รู้จักระบบตุลาการศาลยุติธรรม จะเป็นการเรียนรู้ของผม ผมชอบเรียนรู้และคิดว่าจะศึกษาระบบตุลาการในต่างประเทศ และดูว่าในยุคโลกที่เปลี่ยนเร็ว และมีปัจจัยภายนอกมากระทบตุลาการศาลยุติธรรมไทยตลอดเวลา  ประโยคนี้ย้ำว่า ในยุคปัจจุบัน โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก และมีผลต่อการบริหารจัดการทุกองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน  จำเป็นที่จะต้องรู้ทันการเปลี่ยนแปลง และต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงให้ทันโลก มองภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงของโลก มาสูการปรับเปลี่ยนในประเทศ ในองค์กร ในชุมชน ระบบตุลาการศาลยุติธรรมโชคดีที่มีอาจารย์เข้าไปร่วมตรงนี้ เพราะอาจารย์มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล และมีทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางความสุข ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืนฯ ถึงขั้นที่พร้อมจะแบ่งบันให้กับสังคมโลก
  • เราจะสร้าง competencies เพิ่มเติมให้ผู้พิพากษา ให้มีความรู้ที่ทันสมัย ให้มีความสุขในการทำงานเชื่อมโยงกับประชาชนมากขึ้น มีระบบเปิดมากขึ้น ประโยคนี้ ทำให้เห็นวิสัยทัศน์และแนวความคิดในการบริหารที่เป็นเลิศ ของ ศ.ดร.จีระ มีวิสัยทัศน์เพราะการบริหารในสมัยนี้ และสมัยหน้า เน้น out put /out come ไม่ได้เน้นที่ วิธีปฏิบัติมากนัก หลายองค์กรจึงหันมาพูดถึงเรื่อง competencies กัน  ถ้าระบบตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีตรงนี้ จะมีประโยชน์มากกต่อการบริหารและการพัฒนาการทำงาน  และจะเกิดผลดีต่อประชาชน และ ศ.ดร.จีระ ยังเน้นเรื่อง ทุนทางความสุข เชื่อมโยงกับการทำงานกับประชาชน ซึ่งแม้แต่ฝรั่งยังทำได้ยาก และมาขอเรียนรู้กับอาจารย์  เป็นข้อคิดที่ดีว่า การทำงานต้องควบคู่กันไปกับการทำความสุข  จะนำไปสู่ความสุขในการทำงาน

เชิญท่านผู้อ่าน ติดตามอ่านบทความ บทเรียนจากความเป็นจริง ขอบคุณ : สมาชิกวุฒิสภา ได้จาก Blog ถัดไปนี้  ขอบคุณพี่บุญญา หลีเหลด อีกครั้ง ที่มีส่วนทำให้ผมได้เรียนรู้บทเรียนจากความเป็นจริงในเรื่องนี้  และหากพวกเราที่เรียน ป.เอก ทุกคน มีความคิดเช่น พี่บุญญา นี้ เมื่อเราจบ ป.เอก มาแล้ว เราจะทีมที่ช่วยประเทศชาติได้เป็นอย่างมาก

 

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 – 19.00 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์ บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 ผมขอเชิญให้คุณติดตามผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ 

 

 

เชิญท่านผู้อ่าน ติดตามอ่านบทความ บทเรียนจากความเป็นจริง ขอบคุณ : สมาชิกวุฒิสภา ได้จาก Blog ถัดไปนี้ 

 

 

สวัสดีครับ

ยม

น.ศ.ปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ยม " บทเรียนจากความจริง ขอบคุณ:สมาชิกวุฒิสภา โดย ศ.ดร.จีระ"

ขอบคุณ : สมาชิกวุฒิสภา[1]

โดย ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

 

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ลูกศิษย์และผู้เกี่ยวข้องต่างประหลาดใจ เมื่อปรากฏชื่อผมเป็นผู้แข่งขันเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ กับคุณประมุท สูตะบุตร ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์ อดีตผู้อำนวยการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย และเป็นรุ่นพี่ที่เทพศิรินทร์ ซึ่งผมได้รับคัดเลือกด้วยคะแนน 108 ต่อ 49

 ผมจะเล่าให้ฟังว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร เมื่อเกิดขึ้นแล้ว เป็นประโยชน์ต่อคนไทยอย่างไร ข้อสำคัญ บรรดาตุลาการศาลยุติธรรมซึ่งเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพและมีคุณธรรมคาดหวังอะไร เขาพอใจการเลือกตั้งวิธีนี้หรือไม่ ประเทศได้อะไร


ก่อนอื่น ชีวิตของผม ที่คุณโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ ได้สรุปว่า เป็นคนมีอิสรภาพ มีความสุข ไม่มีเจ้านาย มีความสมดุลในชีวิต มีคนให้เกียรติ (Respect) และใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี (Dignity) และชอบเรียนรู้ตลอดชีวิต

 

เหตุเกิดขึ้นเพราะ ลูกศิษย์ผมซึ่งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสงขลา ชื่อคุณบุญญา หลีเหลด เรียนปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

คุณบุญญาพยายามอธิบายว่าสมาชิกวุฒิสภาต้องสรรหาตุลาการศาลยุติธรรมแทนท่านที่ลาออกไปสมัครเป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

 

ผมจะทำอะไร ไม่เคยอยากเป็นหรือสมัคร และจะต้องมีตำแหน่งเพื่อทำงาน ในทางตรงกันข้าม ผมกลับหลีกเลี่ยงที่จะให้เสนอชื่อผมในตำแหน่งต่างๆ แม้กระทั่งการเป็นนายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผมก็ไม่เคยอยากเป็น แต่มีบรรดานักเรียนเก่าหลายกลุ่ม มาขอให้ผมช่วย

 

ผมเห็นว่าสมาชิกวุฒิสภาอย่างคุณบุญญาเห็นคุณค่าของผม ผมจึงส่งใบสมัครไปแข่งขัน หลังจากนั้นประมาณ 1 เดือน ผมถูกเรียกไปแสดงวิสัยทัศน์ต่อคณะกรรมการสรรหาของสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งมีอยู่ 10 กว่าท่าน และผมก็ได้เรียนท่านไปว่า ผมมาสมัครเพราะลูกศิษย์ผม คุณบุญญาอยากให้ผมได้ช่วยระบบตุลาการ และมีผู้สมัครที่มีคุณสมบัติทางกฎหมาย กรุณาอย่าเลือกผมเลย

 

บรรดากรรมการสรรหาก็รับฟังและยังอยากให้ผมมีโอกาส ถามผมว่า ถ้าผมเป็น ผมจะทำอะไร

 

ผมได้บอกว่า ระบบตุลาการศาลยุติธรรม เป็นบุคลากรที่เก่งเรื่องกฎหมายและคุณธรรม แต่ปัจจุบันกฎหมายเป็นเรื่องเกี่ยวกับประชาชนทั่วไป แต่ประชาชนยังไม่เข้าใจเรื่องกฎหมายนัก ผมยังอยากให้ระบบตุลาการเป็นระบบที่ทรงคุณค่า และเป็นที่พึ่งของประชาชนส่วนใหญ่ได้

 

ดังนั้นความรู้ของระบบตุลาการต้องกว้างขึ้น ไม่ใช่มองเฉพาะตัวบทกฎหมาย แต่ต้องมีการมองศาสตร์อื่นๆ ด้วย ประชาชนจะได้มีที่พึ่ง สิ่งที่ผมถนัดคือเรื่องพัฒนาคุณภาพของผู้พิพากษาและพัฒนาบุคลากรที่ทำงานในระบบศาลให้เขาทำงาน มีคุณภาพมากขึ้น สร้างบรรยากาศในการทำงาน ดูระบบการบริหารและการทำงานเป็นทีม อาจจะต้องพัฒนาระบบการทำงาน ใช้ IT มีการทำวิจัยให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง Networking กับต่างประเทศและมหาวิทยาลัยมากขึ้น ให้มีความยุติธรรมอย่างแท้จริง ซึ่งก็ทำได้ดีอยู่แล้ว เพียงแต่ให้ดีขึ้นเรื่อยๆ

 

เพราะอย่างน้อย ผมได้รับเกียรติให้ช่วยเรื่องทรัพยากรมนุษย์เกือบทุกสาขา ถ้าจะมารับใช้ระบบตุลาการก็จะเอาประสบการณ์มาแบ่งปันกัน เพื่อให้ระบบตุลาการได้ทำงานสะดวก มีการมองกฎหมายในมิติของธุรกิจ เศรษฐกิจระหว่างประเทศ สังคม การเมือง หรือมุมมองอื่นๆ

 

หลังจากผมได้แสดงวิสัยทัศน์แล้ว ได้ทราบว่า ผมได้คะแนน 10 จาก 12 ซึ่งเป็นคะแนนที่สูง ผมภูมิใจที่วุฒิสมาชิกส่วนใหญ่ เห็นความสำคัญ รู้ว่า ผมทำในสิ่งที่ผมพูด

 

หลังจากนั้น ผมลืมเรื่องนี้ไปเลย เพราะอาจจะไม่มีโอกาสได้ให้วุฒิสมาชิกทั้งคณะเลือก เพราะหากกรรมการสรรหาชนะ แต่อาจจะแพ้ที่คณะสมาชิกวุฒิสภาก็ได้ เพราะสมาชิกวุฒิสภาไม่ได้เป็นอิสระอย่างที่รู้ๆ กัน และยิ่งไปกว่านั้น เวลาก็น้อยลงเพราะหมดวาระแล้ว

 

แต่วันนั้นก็มีวาระเรื่องนี้ และสมาชิกวุฒิสภา 108 ท่านกรุณาลงคะแนนให้ผม ซึ่งผมต้องขอขอบคุณอย่างมากที่ให้โอกาส

 

ในชีวิตการทำงานของผม ถือว่าเป็นความรู้สึกลึกๆ ว่า มีคนในสังคมไทยยังมองผมดี มีประโยชน์ เป็นที่พึ่งของประเทศได้ เพราะผมไม่ได้ lobby อะไรเลย ถ้าผมไม่ได้ พี่ประมุทก็ทำงานได้ดี เพราะพี่ประมุทมีประสบการณ์มากกว่าผม

 

เมื่อผมได้รับเลือก ต้องการเรียนว่า ที่ว่าสมาชิกวุฒิสภาเป็น Block vote อะไรนั้น อาจจะไม่จริงทุกเรื่อง เพราะผมเองเป็นคนกลาง ไม่ได้เป็นคนของรัฐบาล อย่างน้อยผมมีจุดยืน และไม่ยอมรับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ท่านผู้อ่านก็ติดตามต่อไปว่า งานของผมจะเป็นอย่างไร แต่อย่าคาดหวังอะไรมาก เพราะตุลาการศาลยุติธรรมมีหน้าที่สนับสนุนให้ระบบบริหาร ระบบการแต่งตั้งของตุลาการให้มีความโปร่งใส ยุติธรรม

 

เรื่องที่น่าสนใจคือ ช่วงนี้มีคดีสำคัญที่เกี่ยวกับการเมือง การเลือกตั้ง อยากให้ทุกอย่างผ่านไป โดยให้ความยุติธรรมยังอยู่ โดยไม่มีอิทธิพลเหนือระบบตุลาการยุติธรรม เพราะประเทศไทย จะต้องอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป

 

ฉะนั้น การได้รู้จักระบบตุลาการศาลยุติธรรม จะเป็นการเรียนรู้ของผม ผมชอบเรียนรู้และคิดว่าจะศึกษาระบบตุลาการในต่างประเทศ และดูว่าในยุคโลกที่เปลี่ยนเร็ว และมีปัจจัยภายนอกมากระทบตุลาการศาลยุติธรรมไทยตลอดเวลา โดยเฉพาะการเมือง สังคมภาคประชาชน และธุรกิจ รวมทั้งเรื่องคดีต่าง ๆ ในระดับระหว่างประเทศด้วย เราจะสร้าง competencies เพิ่มเติมให้ผู้พิพากษา ให้มีความรู้ที่ทันสมัย ให้มีความสุขในการทำงานเชื่อมโยงกับประชาชนมากขึ้น มีระบบเปิดมากขึ้น ใช้วิธีการต่างๆ ช่วยให้ข้อพิพาทต่างๆ ได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งการเจรจา การประนีประนอมนอกศาล รวมทั้งทำงานร่วมกับระบบยุติธรรมอื่นๆ ไม่ว่าตำรวจ อัยการ หรือแม้กระทั่ง สภาทนายความ

 บรรดาผู้ที่เป็นที่รักของผม คงสนใจว่า ผมได้รับเลือกเพราะอะไร จะได้เข้าใจและช่วยส่งข้อมูลที่ดีๆ มาให้ผม ผมจะได้ทำงานให้ดีที่สุด และขอขอบคุณสำหรับความปรารถนาดีที่ส่งมาถึงผมมากมาย  

 

จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181


ยม "บทเรียนจากความจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ๆ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน    
เช้าวันนี้ วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2549  ผมแสวงหาอาหารทางสมอง เช่นเคย ด้วยการค้นหาข้อมูลข่าวสารจาก Internet   รายการแรกที่ผมอ่านในเช้าวันเสาร์ก็คือ บทเรียนจากความจริง ของ ศ.ดร.จีระ จาก เว็ปของ น.ส.พ.แนวหน้า http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 อาจารย์เขียน เกี่ยวกับ บทเรียนจากความจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ๆ :  มีบทเรียนที่ อาจารย์เขียนเกี่ยวกับกีฬาที่น่าเรียนรู้ โดยเฉพาะฟุตบอลโลกที่สามารถนำมาปรับ ใช้ต่อชีวิตและการทำงานได้เป็นอย่างดี  ในบทความนี้ ศ.ดร.จีระ เขียน บทเรียนจากความเป็นจริงได้น่าสนใจ ข้อความข้างล่าง แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม
   ·        ความ พ่ายแพ้ของอังกฤษ ส่วนหนึ่งมาจากการไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของ Rooney ความจริง ส่วนหนึ่งเพราะขาด Emotional Capital   เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ คนเราถ้าทำอะไร แล้ว ขาดไม่มีอารมณ์ที่ดี นอกจากจะเกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมาแล้ว โอกาสพ่ายแพ้ในชีวิต ย่อมมี การควบคุมอารมณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ต้องฝึกใช้ใน การดำรงชีวิต ที่บางครั้งจะทำให้ทุกอย่างพังพินาศในชั่วพริบตาเดียว


·        การที่นักฟุตบอลรุ่นเก่า เช่น Zidane หรือ Henry ถูกมองว่าแก่ และสู้พลังหนุ่มไม่ได้ ปรากฏความจริงว่า บางครั้งเราจะประมาทผู้อาวุโสไม่ได้ คนที่มีอายุ มากกว่า เราต้องยกย่อง อย่าดูถูกและประมาทเขา เพราะประสบการณ์ช่วยมาก  ชาติฝรั่งเศสเต็มไปด้วยผู้เล่นมีอายุ เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์เล่นฟุตบอล ผลคือได้เข้าชิงกับ อิตาลี ยุคนี้จึงต้องมองประสบการณ์และพลังหนุ่มให้สมดุลกัน สังคมไทยก็เช่นกันต้องยกย่อง ผู้สูงอายุด้วย

เรื่องนี้ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง  คนที่มีประสบการณ์ คนเก่าแก่ สะสมทุนมนุษย์ไว้มากมาย  การบริหาราทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร มักจะมองข้ามคนที่ใกล้เกษียณอายุ มองข้ามทุนมนุษย์ที่มีอยู่ในตัวของเขา  ทำกับสูญเสียคุณค่าในตัวคน เป็นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ   
·   การประชุม APEC Symposium on Socio-economic Disparity ที่กรุง โซล เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 ที่ผ่านมาพูดกันถึงช่องว่าง ระหว่างประเทศใน APEC และช่องว่างระหว่างกลุ่มประชาชนของประเทศใน APEC ซึ่งเป็นเรื่อง น่าสนใจว่า ปัจจุบันวิธีวัดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างมี 3 วิธี
-
วัดจากรายได้หรือ GDP ต่อหัว
-
วัดจาก Human Development Index  และ วัดจากคุณภาพของคน
ผมได้แสดงความเห็นว่า คนที่มีรายได้มากกว่า ไม่ใช่มีความสุขมากกว่าเสมอไป ควรจะ เริ่มวัดจาก Happiness ด้วย ปรากฏว่าที่ประชุมรับฟังอย่างสนใจ และเริ่มมองประเด็นเรื่อง Happiness Capital เน้นความสุข ความสมดุลด้วย ผมเห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เน้นความสุข ความสมดุล     
เรื่องการวัดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างของทรัพยากรมนุษย์ ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะนำทุนตามทฤษฎี 8K’s ของอาจารย์บางตัวมาวัด ด้วย อาทิเช่น ทุนทางความสุข Happiness capital ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ฯ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องความสมดุล ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ตรงนี้ สามารถนำมาใช้วัดช่องว่างระหว่างประชาชนในแต่ละจังหวัด ตำบล อำเภอได้  หรือนำมาใช้วัดช่องว่างระว่างประชาชนกลุ่มคนงานในแต่ละสถานประกอบการ แต่ละหน่วยงาน เพื่อนำมากำหนดยุทธศาสตร์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ก็ย่อมได้ 
 ·        ได้รับเกียรติจากนักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาจิตวิทยา อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ไปบรรยาย 4 ชั่วโมง ผมแนะนำว่า การเรียนจิตวิทยา เป็นสิ่งจำเป็น แต่จะให้มีความสำเร็จในการทำงานจะต้องมี 2 H's คือ
- Head
และ
- Heart 
 
ผมเห็นว่า 2 H’s เป็นหัวใจสำคัญในการจะทำการงานให้สำเร็จ  ต้องมีหัวคิด มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา(Head) และต้องมีทุนทางปัญญา ทางจริยธรรม ทุนทางความสุขต้องมีความสนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่ คือ Heart   ถือว่าเป็นหัวใจในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ก็ว่าได้  
 ·        ศ.ดร.จีระ ยังได้แนะนำทฤษฎีใหม่คือ 2 I's  

o        I แรกคือ Inspiration คือการเรียนยุคใหม่ เด็กนักเรียนต้องถูกกระตุ้นจุดประกายให้ เกิดความสุข และHappy ที่ถูกกระตุ้นให้ไปสู่ความเป็นเลิศ

 

             o       I ตัวที่ 2 เน้น Imagination เพราะ ไอ   น์สไตน์ ( Einstein ) ได้พูดไว้เลยว่า
" Knowledge สู้ Imagination ไม่ได้ " เพราะคนไทยปัจจุบันไม่ชอบมีจินตนาการ เราเรียนแบบท่องจำ จึงเกิด Innovation ได้ น้อย
  
เรื่องนี้ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เรื่องการบริหารโรงเรียนของรัฐบาล โดยเฉพาะในชนบท  มองไปทางไหน จะเห็นร่องรอยของการสอนเด็กนักเรียน แบบเก่า ไม่ได้เอื้อต่อการให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ น่าเป็นห่วงประเทศชาติ เพราะเด็กคืออนาคตของชาติ รัฐบาลก็น่าจะทุ่มเทสร้างคนเพื่อสร้างชาติให้ยั่งยืน Mega project ของรัฐ น่าจะมี Innovation ทางการศึกษาของเด็ก บ้าง  
 ·        เรื่องสุดท้ายคือที่โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล ซึ่งผมไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดย เตรียมตัวไปสู่โลกการทำงานให้เด็กมัธยมปลาย ประมาณ 40 คน  หลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรมซึ่ง เป็นนวัตกรรมของหลักสูตรสายสามัญ ต้องมีความรู้ที่กว้างและทันต่อเหตุการณ์  ให้เด็ก ส่ง Blog มาว่ามีความรู้สึกอย่างไรต่อการเรียนแบบนี้  ใน Blog เด็กก็ถามว่า จะมาสอนอีก เมื่อไร แสดงว่าการให้ความรู้ที่ตรงประเด็นที่นำไปใช้ได้ ดีกว่าสอนไปโดยไม่มีเป้าหมาย น่าจะ เน้นทฤษฎี 2 I’s และทฤษฎี 2 R’s ของผม    
อ่านมาถึงตรงนี้ ทำให้ทราบว่า ศ.ดร.จีระ ไม่ได้มุ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในระดับผุ้ใหญ่เท่านั้น  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้ยั่งยืน ต้องหยั่งรากลงไปพัฒนาถึงเด็นในโรงเรียน สิ่งนี้เป็นตัวอย่างที่ดี รัฐบาลควรศึกษา นำไปเป็นแบบอย่างในการมุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน  HR ในสถานประกอบการ ก็นำไปประยุกต์ใช้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับรากหญ้า ลูกหลานพนักงานที่จะสามารถมาเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดีขององค์กรได้ อนาคต  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องคิดให้ไกล ไปให้ถึง ให้ยั่งยืนและสมดุล ครับ

  ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 – 19.00 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 ผมขอเชิญให้ท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ  เชิญท่านผู้อ่าน อ่านบทความ บทเรียนจากความเป็นจริง  สร้าง Ideas ใหม่ๆ ของ ศ.ดร.จีระ ได้จาก Blog ถัดไปนี้  
    
ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน   
ยม  น.ศ.ปริญญาเอกรัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎี
บัณฑิต  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(รุ่น 2 กทม.)
ยม "บทเรียนจากความจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ๆ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์"
สร้าง Ideas ใหม่ๆ[1] 
ฟุตบอลโลกใกล้จะปิดฉากแล้ว ผมไม่ค่อยเขียนถึง เพราะมีเรื่องอื่นน่าสนใจหลายเรื่อง เช่น การเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่สร้างความ ปลาบปลื้มให้แก่คนไทย 64 ล้านคน

เมื่อจบงานพระราชพิธีไปแล้ว การเมืองร้อนเริ่มตึงเครียดอีกแล้ว ต้องอดทน และติดตาม ศึกษาต่อไป
มีบทเรียนมากมายจากการกีฬาที่น่าเรียนรู้ โดยเฉพาะฟุตบอลโลกที่เราสามารถนำมาปรับ ใช้ต่อชีวิตและการทำงานของเรา

สัปดาห์นี้ ผมจึงเลือกเสนอ Ideas ใหม่ๆ 2-3 เรื่องเท่านั้นว่า ควันหลงฟุตบอลโลกทิ้งอะไร เป็นบทเรียน
-
เรื่องทุนทางอารมณ์ใน 5 K's ของผม หรือ Emotional Capital เป็นจุดหักเหในความ พ่ายแพ้ของอังกฤษ ส่วนหนึ่งมาจากการไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของ Rooney ความจริง การ เล่น 10 คนของอังกฤษยังเกือบชนะโปรตุเกส
Rooney สมบูรณ์ทางร่างกาย หายจากบาดเจ็บทัน แต่ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ กระทืบเท้า ใส่คู่อริ แค่วินาทีเดียวก็ต้องโดนใบแดง การควบคุมอารมณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ต้องฝึกใช้ใน การดำรงชีวิต ที่บางครั้งจะทำให้ทุกอย่างพังพินาศในชั่วพริบตาเดียว
 
อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจคือ การที่นักฟุตบอลรุ่นเก่า เช่น Zidane หรือ Henry ถูกมองว่าแก่ และสู้พลังหนุ่มไม่ได้ ปรากฏความจริงว่า บางครั้งเราจะประมาทผู้อาวุโสไม่ได้ คนที่มีอายุ มากกว่า เราต้องยกย่อง อย่าดูถูกและประมาทเขา เพราะประสบการณ์ช่วยมาก วันนี้ฟุตบอลทีม ชาติฝรั่งเศสเต็มไปด้วยผู้เล่นมีอายุ เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์เล่นฟุตบอล ผลคือได้เข้าชิงกับ อิตาลี ยุคนี้จึงต้องมองประสบการณ์และพลังหนุ่มให้สมดุลกัน สังคมไทยก็เช่นกันต้องยกย่อง ผู้สูงอายุด้วย

อีกเรื่องหนึ่งคือ การประชุม APEC Symposium on Socio-economic Disparity ที่กรุง โซล เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 ที่ผ่านมา รัฐบาลเกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพ มีการพูดกันถึงช่องว่าง ระหว่างประเทศใน APEC และช่องว่างระหว่างกลุ่มประชาชนของประเทศใน APEC ซึ่งเป็นเรื่อง น่าสนใจว่า ปัจจุบันวิธีวัดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างมี 3 วิธี
-
วัดจากรายได้หรือ GDP ต่อหัว
-
วัดจาก Human Development Index วัดจากคุณภาพของคน

ผมได้แสดงความเห็นว่า คนที่มีรายได้มากกว่า ไม่ใช่มีความสุขมากกว่าเสมอไป ควรจะ เริ่มวัดจาก Happiness ด้วย ปรากฏว่าที่ประชุมรับฟังอย่างสนใจ และเริ่มมองประเด็นเรื่อง Happiness Capital เน้นความสุข ความสมดุลด้วย ผมเห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เน้นความสุข ความสมดุล ซึ่งจะเป็นประเด็นที่มีการกล่าวถึงกัน ระดับนานาชาติ ในระดับ APEC ในปีนี้และปีหน้าเฉลิมฉลองพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษาด้วย

ในฐานะที่ผมดูแลเรื่อง APEC HRD จะต้องเน้นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีความสุข ในภูมิภาค APEC มากขึ้น

ส่วนเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ผมได้รับเกียรติจากนักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาจิตวิทยา อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ไปบรรยาย 4 ชั่วโมง ผมแนะนำว่า การเรียนจิตวิทยา เป็นสิ่งจำเป็น แต่จะให้มีความสำเร็จในการทำงานจะต้องมี 2 H's คือ
- Head
และ
- Heart

Heart คือ Feeling ความรู้สึกมาจากใจ มี Heart อย่างเดียวก็ไม่พอ จะต้องมี Head ด้วย
Head
คือการมองเป้าหมาย การมีข้อมูล การมียุทธวิธี เข้าใจ การเงิน การตลาด การ แข่งขัน ที่ทำให้ Heart ไปสู่ความสำเร็จ

ถ้ามี Head แต่ไม่มี Heart ก็ไม่สำเร็จ ลูกศิษย์หลายคนบอกว่า วิศวกร มี Head มาก แต่ ไม่มี Heart เลย
ให้ดูตัวอย่างคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นวิศวกร แต่มี Heart ที่เห็นคุณค่าของคน ให้การทำงานของ Heart และ Head ไปด้วยกัน
ผมยังได้แนะนำทฤษฎีใหม่คือ 2 I's

- I แรกคือ Inspiration คือการเรียนยุคใหม่ เด็กนักเรียนต้องถูกกระตุ้นจุดประกายให้ เกิดความสุข และHappy ที่ถูกกระตุ้นให้ไปสู่ความเป็นเลิศ โดยการคิดสร้างสรรค์และนอกกรอบ อาจารย์มหาวิทยาลัยกว่า 95% เป็นอาจารย์ที่ลอกตำรามาสอน และบางครั้งไม่เคยฝึกวิธีการสอน ให้เด็กมีส่วนร่วม และ Apply กับความจริง

- ส่วน I ตัวที่ 2 ผมเน้น Imagination เพราะ ไอน์สไตน์ ( Einstein ) ได้พูดไว้เลยว่า " Knowledge สู้ Imagination ไม่ได้ "

เพราะคนไทยปัจจุบันไม่ชอบมีจินตนาการ เราเรียนแบบท่องจำ จึงเกิด Innovation ได้ น้อย

เรื่องสุดท้ายคือที่โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล ซึ่งผมไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดย เตรียมตัวไปสู่โลกการทำงานให้เด็กมัธยมปลาย ประมาณ 40 คน หลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรมซึ่ง เป็นนวัตกรรมของหลักสูตรสายสามัญ ต้องมีความรู้ที่กว้างและทันต่อเหตุการณ์ ปรากฏว่าให้เด็ก ส่ง Blog มาถึงผมว่ามีความรู้สึกอย่างไรต่อการเรียนแบบนี้ นักเรียนสนใจส่ง Blog มากเกือบทุก คน และแสดงความตั้งใจ คิดเป็น ไม่ว่าคุณภาพของเด็กจะอ่อนอย่างไร ถ้าสนใจก็สามารถพัฒนา สมองได้

การสอนหนังสือยุคใหม่ จะต้องสร้างแรงกระตุ้นให้เด็กสนใจ ซึ่งผมประทับใจมากที่เด็ก โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล กระหายจะได้ความรู้ และใน Blog ก็ถามว่า จะมาสอนอีก เมื่อไร แสดงว่าการให้ความรู้ที่ตรงประเด็นที่นำไปใช้ได้ ดีกว่าสอนไปโดยไม่มีเป้าหมาย น่าจะ เน้นทฤษฎี 2 I's และทฤษฎี 2 R's ของผม  
จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181  

ยม "บทเรียนจากความจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ๆ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์" (ปรับปรุงใหม่)

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

 

 

ผมปรับปรุงข้อความที่ผมเขียนเกี่ยวกับ บทเรียนจากความเป็นจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ ๆ เพิ่มเติม เนื่องจากเมื่อเช้านี้รีบเขียนไป แล้วเห็นว่าน่าจะปรับปรุงข้อความบางส่วนโดยเฉพาะในส่วนที่ผมเขียนต่อจากข้อความของ ศ.ดร.จีระ ตอนท้ายนี้/สีฟ้า/ ส่วนที่ผมเขียนแสดงความคิดเห็น ผมทำสีดำไว้   มีดังนี้ครับ

 

เช้าวันนี้ วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2549  ผมแสวงหาอาหารทางสมอง เช่นเคย ด้วยการค้นหาข้อมูลข่าวสารจาก Internet   รายการแรกที่ผมอ่านในเช้าวันเสาร์ก็คือ บทเรียนจากความจริง ของ ศ.ดร.จีระ จาก เว็บของ น.ส.พ.แนวหน้า http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 อาจารย์เขียน เกี่ยวกับ บทเรียนจากความจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ๆ :  มีบทเรียนที่ อาจารย์เขียนเกี่ยวกับกีฬาที่น่าเรียนรู้ โดยเฉพาะฟุตบอลโลกที่สามารถนำมาปรับ ใช้ต่อชีวิตและการทำงานได้เป็นอย่างดี  ในบทความนี้ ศ.ดร.จีระ เขียน บทเรียนจากความเป็นจริงได้น่าสนใจ ข้อความข้างล่าง แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม

 

   ·        ความ พ่ายแพ้ของอังกฤษ ส่วนหนึ่งมาจากการไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของ Rooney ความจริง ส่วนหนึ่งเพราะขาด Emotional Capital  ประโยคนี้จะเห็นว่า ศ.ดร.จีระ สะท้อนให้เห็น อารมณ์เป็นเรื่องสำคัญต่ออนาคต  ผมมีความเชื่อว่า คนเราถ้าทำอะไร แล้วไม่มีอารมณ์ที่ดี หรือมีอารมณ์มากเกินไป นอกจากจะเกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมาแล้ว โอกาสพ่ายแพ้ในชีวิต ย่อมมี การควบคุมอารมณ์ ความสมดุลทางอารมณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด  ทรัพยากรมนุษย์ที่มีทุนมนุษย์ ทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืนฯ จะมีความสมดุลทางอารมณ์ได้ดี  นักบริหาร นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือผู้เป็นบิดา มารดา ควรที่จะบริหารพัฒนาทุนมนุษย์ให้เกิดแก่สมาชิกในองค์กร สถาบันที่ตนเองเป็นผู้นำ อย่างมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน มีการติดตามประเมินผล มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ถ้าปล่อยให้สมาชิกในองค์กร ไม่มีความสมดุลทางอารมณ์ จะทำให้ทุกอย่างพังพินาศในชั่วพริบตาได้



·        การที่นักฟุตบอลรุ่นเก่า เช่น Zidane หรือ Henry ถูกมองว่าแก่ และสู้พลังหนุ่มไม่ได้ ปรากฏความจริงว่า บางครั้งเราจะประมาทผู้อาวุโสไม่ได้ คนที่มีอายุ มากกว่า เราต้องยกย่อง อย่าดูถูกและประมาทเขา เพราะประสบการณ์ช่วยมาก  ชาติฝรั่งเศสเต็มไปด้วยผู้เล่นมีอายุ เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์เล่นฟุตบอล ผลคือได้เข้าชิงกับ อิตาลี ยุคนี้จึงต้องมองประสบการณ์และพลังหนุ่มให้สมดุลกัน สังคมไทยก็เช่นกันต้องยกย่อง ผู้สูงอายุด้วย

ประโยคนี้น่าสนใจ ผมจับประเด็นได้ว่า  ทรัพยากรมนุษย์ ยิ่งนาน ยิ่งเก่า ยิ่งมีมูลค่าเพิ่ม  ไม่เหมือนเครื่องจักร ยิ่งนานไปยิ่งเสียค่าเสื่อม ใช้งานไม่ค่อยได้ดีเรื่องนี้ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง  คนที่มีประสบการณ์ คนเก่าแก่ สะสมทุนมนุษย์ไว้มากมาย จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายความวิสัยทัศน์ ความสามารถของนักบริหาร หรือผู้นำเป็นอย่างมาก ว่าจะมีศักยภาพเพียงพอที่จะทำให้คนเก่าแก่ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้หรือไม่ 

 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร มักจะมองข้ามคนที่ใกล้เกษียณอายุ มองข้ามทุนมนุษย์ที่มีอยู่ในตัวของเขา  เท่ากับสร้างความสูญเสียคุณค่าในตัวคน เป็นการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ   

 

·   การประชุม APEC Symposium on Socio-economic Disparity ที่กรุง โซล เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 ที่ผ่านมาพูดกันถึงช่องว่าง ระหว่างประเทศใน APEC และช่องว่างระหว่างกลุ่มประชาชนของประเทศใน APEC ซึ่งเป็นเรื่อง น่าสนใจว่า ปัจจุบันวิธีวัดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างมี 3 วิธี

- วัดจากรายได้หรือ GDP ต่อหัว

- วัดจาก Human Development Index  และ วัดจากคุณภาพของคน

ผมได้แสดงความเห็นว่า คนที่มีรายได้มากกว่า ไม่ใช่มีความสุขมากกว่าเสมอไป ควรจะ เริ่มวัดจาก Happiness ด้วย ปรากฏว่าที่ประชุมรับฟังอย่างสนใจ และเริ่มมองประเด็นเรื่อง Happiness Capital เน้นความสุข ความสมดุลด้วย ผมเห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เน้นความสุข ความสมดุล    

 

ประโยคนี้ ผมคิดว่า เป็นผลพวงจากการใช้ระบบทุนนิยม ในการบริหารสังคมโลก ทำให้เกิดผู้ได้เปรียบ ผู้เสียเปรียบ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมเกิดขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  จึงจำเป็นต้องมีการวัดความเหลื่อมล้ำของสังคม เป็นระยะ และควรมีมาตรฐานว่า ในแต่ละปัจจัยที่ใช้วัดความเหลื่อมล้ำนั้น ควรมีค่ามาตรฐานกำหนดไว้ เมื่อวัดออกมาแล้ว หัวข้อใดเหลื่อมล้ำมีแนวโน้มสูงขึ้น ก็ควรมีสัญญาณเตือนภัย เรื่องพวกนี้ และมียุทธศาสตร์ในการแก้ไขและปัองกันภัยแห่งความเหลื่อมล้ำของสังคม ไม่ให้เกิดภัยแก่ทรัพยากรมนุษย์ของชาติ ของโลก

 

เรื่องการวัดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างของทรัพยากรมนุษย์ ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะนำทุนตามทฤษฎี 8K’s ของอาจารย์บางตัวมาวัด ด้วย อาทิเช่น ทุนทางความสุข Happiness capital ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ฯ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องความสมดุล ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ตรงนี้ สามารถนำมาใช้วัดช่องว่างระหว่างประชาชนในแต่ละจังหวัด ตำบล อำเภอได้  หรือนำมาใช้วัดช่องว่างระว่างประชาชนกลุ่มคนงานในแต่ละสถานประกอบการ แต่ละหน่วยงาน เพื่อนำมากำหนดยุทธศาสตร์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ก็ย่อมได้ 

 

 ·        ได้รับเกียรติจากนักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาจิตวิทยา อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ไปบรรยาย 4 ชั่วโมง ผมแนะนำว่า การเรียนจิตวิทยา เป็นสิ่งจำเป็น แต่จะให้มีความสำเร็จในการทำงานจะต้องมี 2 H's คือ

- Head และ

- Heart  

 

ศ.ดร.จีระ มีงานได้รับเชิญไปสอนหลายแห่งมาก  ทั้งสถานบันการศึกษา องค์กรภาครัฐและเอกชน  อาจารย์มีโอกาสทำประโยชน์ให้กับสังคมมากมาย  เป็นตัวอย่างที่ดี สำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นำ เมื่อมีความรู้ เมื่อมีโอกาส ก็เผื่อแผ่เมตตา กับผู้อื่น  ผมได้มีโอกาสเรียนและใกล้ชิดกับ ศ.ดร.จีระ ทำให้ทราบว่า นอกจากท่านมีความรู้ มีประสบการณ์ มีอุดมการณ์ เหมือน ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ แล้ว ท่านยังมีความเมตตาต่อลูกศิษย์ และให้โอกาส ให้ความรู้ กับศิษย์เสมอ

 

จากประโยคข้างต้น ผมเห็นว่า 2 H’s เป็นหัวใจสำคัญในการจะทำการงานให้สำเร็จ ต้องมีหัวคิด มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา(Head) และต้องมีทุนทางปัญญา ทางจริยธรรม ทุนทางความสุขต้องมีความสนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่ คือ Heart   ถือว่าเป็นหัวใจในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ก็ว่าได้  

 

 ·        ศ.ดร.จีระ ยังได้แนะนำทฤษฎีใหม่คือ 2 I's  

 o        I แรกคือ Inspiration คือการเรียนยุคใหม่ เด็กนักเรียนต้องถูกกระตุ้นจุดประกายให้ เกิดความสุข และHappy ที่ถูกกระตุ้นให้ไปสู่ความเป็นเลิศ

 

 o       I ตัวที่ 2 เน้น    Imagination   เพราะ ไอน์สไตน์ ( Einstein ) ได้พูดไว้เลยว่า
" Knowledge สู้ Imagination ไม่ได้ " เพราะคนไทยปัจจุบันไม่ชอบมีจินตนาการ เราเรียนแบบท่องจำ จึงเกิด Innovation ได้ น้อย  

 

ข้อความนี้ ศ.ดร.จีระ กล่าวถึง แนวทางในการสอนเด็กของไทยเรา  ในอดีตเราสอนให้เด็กท่องจำ คนไหนท่องจำเก่ง คนนั้นคะแนนดี คนไหนคิดนอกกรอบ จะโดนข้อหาว่า นอกคอก ทำตัวไม่เหมือนคนอื่น ทำให้ผลผลิตของโรงเรียน ได้นักเรียนที่จบการศึกษา  ได้ทรัพยากรมนุษย์ ที่คิดในกรอบเท่านั้น และที่อันตรายมาก คือใครคิดไม่เหมือนตนเองคือคนไม่ดี ต้องขจัดออกไป พอโลกหรือสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการปรับตัวให้อยู่รอด ไม่มีความคิดใหม่ ๆ มาพัฒนาชาติ ใครคิดใหม่ ๆ จะถูกวิจารณ์อย่างมาก  ประเทศเราไม่สามารถพัฒนาไปได้รวดเร็วนัก

 

เมื่อไม่กี่วันมานี้ ผมไปเยี่ยมโรงเรียนแห่งหนึ่งในชนบท  มีการจัดสถานที่ให้เด็กเล็กไว้เล่นคือมีสวนเด็กเล่น กั้นคอกไว้ ข้างในมีพื้นเป็นทราย และมีล้อยางรถเก่าอยู่ สี่ห้าเส้น ผมถามว่านั่นคืออะไร  ได้รับคำตอบว่าเด็กชอบเล่นทราย จึงทำไว้ให้เด็กเล่น  ของเล่นภายในไม่ได้เอื้อให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์นัก ปัญหามาจากผู้ใหญ่ที่ขาดความคิดสร้างสรรค์เพียงพอ กลายเป็นวัฐจักรแห่งความทางตันแห่งความคิดสร้างสรรค์

 

เรื่องการบริหารโรงเรียนของรัฐบาล โดยเฉพาะในชนบท  ยังมีการสอนแบบนี้อยู่มาก  นโยบายของรัฐ เกี่ยวกับบริหารการศึกษา การสอนเด็กนักเรียน  ไม่ได้เอื้อต่อการให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ น่าเป็นห่วงประเทศชาติ เพราะเด็กคืออนาคตของชาติ รัฐบาลก็น่าจะทุ่มเทสร้างคนเพื่อสร้างชาติให้ยั่งยืน Mega project ของรัฐ น่าจะมี Innovation ทางการศึกษาของเด็ก บ้าง  

 

 ·        เรื่องสุดท้ายคือที่โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล ซึ่งผมไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดย เตรียมตัวไปสู่โลกการทำงานให้เด็กมัธยมปลาย ประมาณ 40 คน  หลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรมซึ่ง เป็นนวัตกรรมของหลักสูตรสายสามัญ ต้องมีความรู้ที่กว้างและทันต่อเหตุการณ์  ให้เด็ก ส่ง Blog มาว่ามีความรู้สึกอย่างไรต่อการเรียนแบบนี้  ใน Blog เด็กก็ถามว่า จะมาสอนอีก เมื่อไร แสดงว่าการให้ความรู้ที่ตรงประเด็นที่นำไปใช้ได้ ดีกว่าสอนไปโดยไม่มีเป้าหมาย น่าจะ เน้นทฤษฎี 2 I’s และทฤษฎี 2 R’s ของผม    

 

อ่านมาถึงตรงนี้ ทำให้ทราบว่า ศ.ดร.จีระ ให้ความรู้ และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลากหลายทั้งในระดับผู้ใหญ่ และเยาวชน  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้ยั่งยืน ต้องหยั่งรากลงไปพัฒนาถึงเด็กในโรงเรียน และถ้าจะลึกไปกว่านั้น ต้องพัฒนาตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์มารดา ด้วย 

  

สิ่งนี้เป็นตัวอย่างที่ดี รัฐบาลควรศึกษา นำไปเป็นแบบอย่างในการมุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน  HR Manager หรือผู้บริหารในสถานประกอบการ ต่าง ๆ ก็สามารถนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับรากหญ้า ถึงระดับลูกหลานพนักงานที่มีแนวโน้มที่จะมาเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดีขององค์กรได้อนาคต  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคนี้ ต้องคิดให้ไกล ไปให้ถึง ให้ยั่งยืนและสมดุล อย่างมียุทธศาสตร์ครับ

 


  ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 – 19.00 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 ผมขอเชิญให้ท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ  เชิญท่านผู้อ่าน อ่านบทความ บทเรียนจากความเป็นจริง  สร้าง Ideas ใหม่ๆ ของ ศ.ดร.จีระ ได้จาก Blog ถัดไปนี้ 

     

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน  

 

ยม  

น.ศ.ปริญญาเอกรัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต  

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(รุ่น 2 กทม.) 

ยม "บทเรียนจากความจริง โบนัส 7 พันล้าน : ได้ผลจริงไหม โดย ศ.ดร.จีระ"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ /นักศึกษาและท่านผู้อ่านทุกท่าน 

จากบทความของ ศ.ดร.จีระ จากหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 15 ก.ค. 2549 บทเรียนจากความจริง โบนัส 7 พันล้าน : ได้ผลจริงไหม(http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97)  มีบทเรียนที่ อาจารย์เขียนประเด็นที่ได้จากชีวิตจริง ที่อาจารย์ได้พบมานำมาสู่แนวทางในการบริหารจัดการที่ยั่งยืนน่าสนใจมากครับ

 

 

 ผมได้อ่านและ comment เพิ่มเติม ข้อความแถบสีน้ำเงินคือข้อความที่คัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม มีดังต่อไปนี้ ครับ

   การเมืองของเยอรมันสมัย Hitler ครองประเทศ 12 ปี ก็โหดร้ายทารุณมาก ฮิตเลอร์ (Hitler) สร้างความหายนะให้แก่ประชาชนมากมาย ทั้งที่คนเยอรมันก็ฉลาด  

ประโยคนี้ ทำให้คิดได้ว่า เหนือฟ้า ยังมีฟ้า คนฉลาดอาจกลายเป็นคนที่ไม่ฉลาดได้ ถ้าใช้ชีวิตอย่างประมาท   คนฉลาดอย่างเดียวไม่พอ ควรควบคู่ไปกับการปฏิบัติธรรม คุณงามความดี  การประพฤติปฏิบัติธรรม ธรรมย่อมคุ้มครองผู้ปฏิบัติ

 

  ระยะหลังเด็กไทยไม่สนใจประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะเด็กที่สนใจทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เลยรู้ไม่จริง ไม่เป็นสังคมการเรียนรู้ โดยเฉพาะการวิเคราะห์การเมืองของสื่อมวลชนของไทย ที่ทำข่าวไปวันๆ มองประเด็นไม่ชัดเจน ทำให้คนไทยสับสน

ประโยคนี้ ผมมองสองประเด็น ประเด็นแรก เป็นเรื่องเด็กไทยไม่สนประวัติศาสตร์ ไม่น่าเชื่อว่า ศ.ดร.จีระ เชื่อมโยงให้เห็นถึงผลเสียของกระทำดังกล่าว มีผลกระทบต่อการวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อตัดสินใจเรื่องสำคัญ   ประวัติศาสตร์จึงมีบทเรียนที่ทรงคุณค่า เป็นฐานข้อมูลในการตัดสินใจเพื่ออนาคตได้ส่วนหนึ่ง ครูผู้สอนควรตระหนักคุณค่าของประวัติศาสตร์ ทุกแขนง และนำมาถ่ายทอดให้ลูกศิษย์ได้ ไม่ให้ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องน่าเบื่อ

  ประเด็นที่สอง การที่สื่อบางสื่อ  ทำข่าวไปวัน ๆ นอกจากมีปัญหาเรื่องขาดศักยภาพในเชิงวิเคราะห์ แล้ว ผมคิดว่า อาจเป็นเพราะถูกสภาพแวดล้อมทางธุรกิจกดดัน ให้ต้องแข่งขัน ต้องทำตามกระแส และที่สำคัญมักจะขาดวิสัยทัศน์ ในการบริหารข่าว ขาดการการควบคุมคุณภาพของข่าว ขาดความรับผิดชอบต่อสิ่งที่นำเสนอ ซึ่งอาจจะมีผลต่อสังคม เศรษฐกิจ การเมือง  ประเทศชาติ  มีสักกี่สื่อที่ทำสื่อเพื่อแผ่นดินไทยจริง ๆ 
  ความเห็นเรื่อง รัฐบาลทักษิณให้โบนัสแก่ข้าราชการไทยอีก 7 พันล้านบาท ซึ่งเป็นข่าวที่น่ายินดี แต่จะขอเพิ่มเติมและมีมุมมองเพิ่มขึ้นโดยชี้ให้เห็นว่า การจะช่วยให้ระบบราชการให้อยู่รอดได้ ต้องทำ 3 เรื่อง วงกลมที่ 1 ต้องให้องค์กรราชการเป็นองค์กรที่กะทัดรัดซึ่งจะต้องทำงานเป็น process หรือกระบวนการ เป็นแนวนอนไปสู่ลูกค้า โดยต้องการทำงานที่       
(1)เร็ว
(2)
แม่นยำ
(3)
ทำให้เสร็จในครั้งเดียว
(4)
คุ้มค่ากับการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด

วงกลมที่ 2 เรื่องให้สร้าง Competencies มี 5 เรื่อง
(1) Functional Competency
รู้ในเรื่องเฉพาะทางที่ตัวเองถนัด
(2) Organizational Competency
รู้จักเรื่องการบริหารจัดการ
(3) Leadership Competency
ต้องมีภาวะผู้นำ (4) Entrepreneurial Competency มีจิตวิญญาณการเป็นผู้ประกอบการ
(5) Macro and Global Competency
รู้จักโลกและมองภาพรวม

 วงกลมสุดท้าย ผมขอชมเชยนายกฯ ที่สร้างขวัญกำลังใจให้มากขึ้น แต่ในทฤษฎี 3 วงกลม ต้องให้ทั้งการปรับองค์กร การสร้าง Competencies และ Motivation ไปด้วยกัน”            
ในความเห็นของผม เห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ ที่ชื่นชมท่านนายกฯ  ที่สร้างขวัญกำลังใจให้มากขึ้นกับข้าราชการ   ถ้าผมอยู่ในฐานนะอย่างท่านนายกฯ ก็จะทำเช่นนั้น แต่ก็ควรทำการปรับองค์กร การสร้าง Competencies และ Motivation ไปด้วยกัน  และจะไม่สร้างอำนาจด้วยการให้เพียงอย่างเดียว  ผมขอเสนอต่อท่านนายกฯ เพิ่มเติมว่าการบริหารระบบราชการควรต้องคำนึ่งถึง  คำว่า CEO ด้วยเช่นกัน คำว่า CEO ในที่นี่ไม่ใช่ Chief Executive Officer แต่หมายถึง
C = Customer Satisfaction ก็คือ ความพึงพอใจ ของลูกค้า ของผู้ใช้บริการในระบบราชการ รวมทั้งประชาชนทั่วไป แบบยั่งยืน  
E =  Employee Satisfaction คือ ความพึงพอใจของพนักงาน เจ้าหน้าที่ราชการ ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ แบบยั่งยืน และ
Organization Result คือ สัมฤทธิ์ผลของหน่วยงานราชการ ผลประโยชน์ที่ประเทศชาติ แบบยั่งยืน
  ซึ่งจะทำให้ นายกฯ  มีทุนแห่งความเชื่อ และศรัทธามากขึ้นอย่างยั่งยืน  (Trust Capital)  ในการบริหารจัดการองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในวันนี้และวันข้างหน้า เรื่อง ความเชื่อถือ ความศรัทธา ทุนแห่งความเชื่อถือ จะมีบทบาทสำคัญต่อผลประกอบการขององค์กร  ประเทศชาติ  ประเทศใดทีประชาชน มีทุนทางความเชื่อถือ ความศรัทธาใน ผู้นำมาก ๆ จะมีผลทำให้เกิดทุนทางความสุข และทุนทางการเงิน  
  พูดถึงพรรคการเมือง ขอเสนอผ่าน blog ของศ.ดร.จีระ ฝากไปยังนักการเมือง พรรคการเมืองทั้งหลายที่มีอยู่ขณะนี้ ควรทำงานเพื่อแผ่นดินอย่างจริงมากขึ้น  ทำงานเพื่อแผ่นดินคือทำงานเพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและประชาชน เป็นหลัก  ไม่ทำเพื่อประโยชน์ของพรรคเป็นหลัก  พรรคการเมืองควรเลิกที่จะกล่าวร้ายต่อกัน  ให้มาใช้การบริหารพรรค ตามแนวพุทธศาสตร์ และตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งสอดคล้องกับประโยคต่อไป ของ ศ.ดร.จีระ ที่เขียนไว้ว่า  

ผู้นำ ต้องเอาจริง อย่าให้ยาหอมเพื่อหวังผลทางการเมืองระยะสั้นเท่านั้น  

นักการเมืองที่หวังผลระยะสั้น เพียงอย่างเดียว ไม่ใช่นักการเมืองสายพันธ์แท้ นักการเมืองพันธุ์แท้ ต้องหวังผลทั้งระยะสั้น ระยะปานกลางและระยะยาว เสียสละทำเพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน  
ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 – 19.00 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 ผมขอเชิญให้คุณติดตามผลงานของ ศ.ดร.จีระ บทเรียนจากความจริง โบนัส 7 พันล้าน : ได้ผลจริงไหม  ได้จากข้อความใน Blog ต่อไปและร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ    
ขอความสวัสดี จงมีแด่ผู้อ่านทุกคน ครับ 
ยม
น.ศ.ปริญญาเอก
รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(กทม.2)
ยม "บทเรียนจากความจริง โบนัส 7 พันล้าน : ได้ผลจริงไหม โดย ศ.ดร.จีระ"

โบนัส 7 พันล้าน : ได้ผลจริงไหม[1]

 

  

ระหว่างนี้การเมืองยังมีความไม่แน่นอนอยู่มาก ขอให้ทุกท่านตั้งสติให้ดี ในฐานะที่ผมเป็นนักอ่านประวัติศาสตร์อยู่บ้าง เหตุการณ์แบบนี้ไม่ใช่เกิดเฉพาะประเทศไทย บางประเทศก็มีปรากฏการณ์คล้ายๆ ของเราหลายครั้ง


เมื่อมองการเมือง เช่น การเมืองของรัสเซีย สมัยเปลี่ยนจากระบบพระเจ้าซาร์ มาเป็นระบบคอมมิวนิสต์ มีความโหดร้าย ทารุณ เช่น ยุคเลนิน ยุคสตาลิน


- การเมืองของเยอรมันสมัย Hitler ครองประเทศ 12 ปี ก็โหดร้ายทารุณมาก ฮิตเลอร์ (Hitler) สร้างความหายนะให้แก่ประชาชนมากมาย ทั้งที่คนเยอรมันก็ฉลาด


- การเมืองในจีนสมัยเหมา เจ๋อ ตุง ขึ้นปกครองระบบคอมมิวนิสต์ ก็น่าศึกษา


ระยะหลังเด็กไทยไม่สนใจประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะเด็กที่สนใจทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เลยรู้ไม่จริง ไม่เป็นสังคมการเรียนรู้ โดยเฉพาะการวิเคราะห์การเมืองของสื่อมวลชนของไทย ที่ทำข่าวไปวันๆ มองประเด็นไม่ชัดเจน ทำให้คนไทยสับสน
ขอกลับเข้าเรื่องควันหลงฟุตบอลโลกมีหลายเรื่องน่าสนใจ


เรื่องแรกคือ ทุกคนถามว่า ทำไม Zidane จึงควบคุมอารมณ์ของตัวเองไม่ได้ เกิดผลเสีย ไม่ได้เตะลูกโทษ ทั้งที่ มีเวลาเหลืออยู่แค่ 10 นาที การมีการฝึกควบคุมอารมณ์ Emotional Intelligence นับว่าเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ทฤษฎี 8 K's และ 5 K's ของผม มักจะ apply ได้เสมอ


Zidane มีเรื่องการควบคุมอารมณ์ไม่ได้มานานแล้ว ในประวัติถูกใบแดงทั้งหมด 16 ครั้ง คู่ต่อสู้คงรู้จุดอ่อน เพราะถ้ายิงลูกโทษ โดยไม่มี Zidane โอกาสที่อิตาลีชนะคงมีสูง ถ้า Zidane ถูกใบแดง อิตาลีมีโอกาสชนะ ฟุตบอลคือธุรกิจ และกลยุทธ์ (Tactics) ต่างๆ ที่นำเอามาใช้ ขอให้คนไทยหรือเยาวชนไทยมองให้เป็นบทเรียนและนำมาใช้ในการดำรงชีวิต ช่วยในการทำธุรกิจ หรือช่วยในการเป็นนักกีฬาฟุตบอลที่ดีและเก่ง มากกว่าเล่นการพนันอย่างเดียว


ฟุตบอลโลกจะทำให้ฟุตบอลอังกฤษดังมากขึ้น เพราะนักฟุตบอลดีๆ จากยุโรป อยู่ในพรีเมียร์ลีกของอังกฤษมากมาย คนไทยคงจะได้ดูสนุกต่อไป


ฟุตบอลกลายเป็นการทูตที่ยิ่งใหญ่ มีคนพูดกันว่า แม้กระทั่งการก่อการร้ายยังเว้นวรรค เพราะผู้ก่อการร้ายก็ชอบฟุตบอลด้วย พอฟุตบอลโลกจบก็เริ่มการก่อการร้ายอีก เช่น ในอินเดีย เป็นต้น


ผมจะทำรายการโทรทัศน์เรื่องควันหลงฟุตบอลโลก โดยเชิญอาจารย์อัษฎางค์ ปาณิกบุตร อดีตนักฟุตบอลโรงเรียนเทพศิรินทร์และทีมชาติไทยมาแสดงความเห็น และเชิญคุณอิสรพงษ์ ผลมั่ง มาออกอากาศในรายการคิดเป็น ก้าวเป็นกับดร.จีระ ในวันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคม เวลา 13.00 - 14.00 น.ทาง UBC 7 ติดตามมุมมองของเราให้ดีด้วยนะครับ


ฟุตบอลกลายเป็น Global Brand อย่างแท้จริง ทำให้อเมริกาเสียหน้ามาก เพราะนึกว่ากีฬาของโลกต้องเป็นเบสบอล หรืออเมริกันฟุตบอล ทุกทวีปของโลกบ้าฟุตบอล ไม่ได้บ้าคลั่งกีฬาของอเมริกาอย่างที่คนอเมริกันคิด


ผมคิดว่าฟุตบอล อาจจะช่วยการพัฒนาประเทศและสร้างสันติภาพของโลกด้วย เช่น อีก 4 ปีข้างหน้าจะไปแข่งที่ South Africa ทวีปแอฟริกากำลังเริ่มตื่นตัวทางเศรษฐกิจ เมื่อจะมีฟุตบอลโลกด้วย ก็จะเร่งให้คนในโลกหันมามองทวีปแอฟริกามากขึ้น ผมจะทำรายการโทรทัศน์กระตุ้นให้คนไทยสนใจทวีปแอฟริกามากขึ้น โดยจะเชิญทูตของ South Africa ซึ่งเป็นสุภาพสตรีมาออกรายการโทรทัศน์ เป็นพันธมิตรกันมากขึ้น ท่านผู้อ่านทราบหรือไม่ว่า วันนี้ประเทศจีนมีนโยบายผูกมิตรกับแอฟริกาอย่างมากมาย สิงคโปร์และมาเลเซีย ก็เข้าไปผูกมิตร ซึ่งผมจะทำเรื่องการทูตภาคประชาชนกับประเทศในกลุ่มAfrica ต่อไป เพื่อเสริมนโยบายของรัฐบาล


ก่อนจบ ผมอยากเสนอความเห็นเรื่อง รัฐบาลทักษิณให้โบนัสแก่ข้าราชการไทยอีก 7 พันล้านบาท ซึ่งเป็นข่าวที่น่ายินดี แต่จะขอเพิ่มเติมและมีมุมมองเพิ่มขึ้นดังต่อไปนี้


- ประการแรก การปฏิรูประบบราชการของนายกฯทักษิณเป็นเรื่องดี เน้นแต่จะทำการปฏิรูปที่รวดเร็ว หวังผลง่ายๆ ไม่ได้ ต้องเน้นการทำงานให้ได้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ยากเพราะต้องใช้เวลา และทำให้ถูกต้อง


ข้อแรกคือ นายกฯทักษิณหวังดีต่อระบบราชการ แต่ต้องเข้าใจระบบราชการว่า เขามีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร ระบบราชการแตกต่างกับภาคเอกชน แต่ค่อยๆ ปรับให้ดีขึ้นได้


ข้อที่สอง ผมเคยได้ยินท่านพูดหลายครั้งว่า การปฏิรูประบบราชการ จะปฏิรูปพฤติกรรม ไม่ใช่ปฏิรูปโครงสร้างเท่านั้น


ดังนั้นการให้โบนัสถือว่าเป็นการให้ Motivation ที่ดี แต่ทฤษฎี 3 วงกลมของผมได้เน้นอีก 2 เรื่อง


ซึ่งชี้ให้เห็นว่า การจะช่วยให้ระบบราชการให้อยู่รอดได้ ต้องทำ 3 เรื่อง
(1)
วงกลมที่ 1 ต้องให้องค์กรราชการเป็นองค์กรที่กะทัดรัด ไม่อุ้ยอ้าย บางแห่งเรียกว่า Lean หรือ Mean ซึ่งจะต้องทำงานเป็น process หรือกระบวนการ เป็นแนวนอนไปสู่ลูกค้า โดยต้องการทำงานที่ :
(1)
เร็ว
(2)
แม่นยำ
(3)
ทำให้เสร็จในครั้งเดียว
(4)
คุ้มค่ากับการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด
ตั้งแต่มีการปฏิรูปมา ยังไม่มีการทำแบบนี้ ยุคก่อนนายกฯทักษิณ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือ ก.พ.ได้เคยเชิญที่ปรึกษามาปฏิรูปการทำงานแบบ Re-engineering เป็นการจัดองค์กรให้ทันสมัย ซึ่งอาจจะยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะยังไม่ทำงานต่อเนื่อง และยังไม่ได้เน้นการบริหารการเปลี่ยนแปลง อยากให้ท่านนายกฯลองพิจารณาประเด็นการปรับองค์กรให้กระทัดรัดด้วย
(2)
วงกลมที่ 2 เรื่องให้สร้าง Competencies มี 5 เรื่อง
(1) Functional Competency
รู้ในเรื่องเฉพาะทางที่ตัวเองถนัด
(2) Organizational Competency
รู้จักเรื่องการบริหารจัดการ
(3) Leadership Competency
ต้องมีภาวะผู้นำ
(4) Entrepreneurial Competency
มีจิตวิญญาณการเป็นผู้ประกอบการ
(5) Macro and Global Competency
รู้จักโลกและมองภาพรวม
ผมได้ทราบว่า การกำหนด Benchmark การลงทุนในการพัฒนาบุคลากรของรัฐยังไม่แน่นอน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ หรือ ก.พ.ร. ยังไม่ได้ทำให้ชัดเจน บางหน่วยงานก็ถูกตัดงบพัฒนาบุคลากรที่กรรมาธิการงบประมาณ เพราะต้องเอาไปใช้ในงบกลาง ถ้านายกฯจะเอาจริงเรื่องคุณภาพของข้าราชการต้องลงทุนอย่างต่อเนื่อง มีงบประมาณพอเพียงและทำให้ได้ผล ผมได้มีโอกาสทำงานให้หน่วยงานหลายแห่งอย่างต่อเนื่อง เช่น กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือโรงเรียนมัธยมบางแห่ง ซึ่งได้ผลมาก และกำลังจะทำให้ระดับการบริหารท้องถิ่นด้วย
การสร้าง Competency ไม่ใช่ตามตำรา แต่ต้องมีคนทำอย่างมืออาชีพ มีวิธีการเรียนที่น่าสนใจ โดยเน้น 4 L's
- Learning Methodology
วิธีการเรียนต้องน่าสนใจ
- Learning Environment
สภาพแวดล้อมในการเรียนต้องดี
- Learning Opportunity
โอกาสในการได้ปะทะกันทางปัญญา
- Learning Communities
สร้างชุมชนการเรียนรู้
และเน้น 2 R's คือ
- Reality
มองความจริง
- Relevance
ตรงประเด็น
ส่วนวงกลมสุดท้าย ผมขอชมเชยนายกฯ ที่สร้างขวัญกำลังใจให้มากขึ้น แต่ในทฤษฎี 3 วงกลม ต้องให้ทั้งการปรับองค์กร การสร้าง Competencies และ Motivation ไปด้วยกัน
ท่านเป็นผู้นำ ต้องเอาจริง อย่าให้ยาหอมเพื่อหวังผลทางการเมืองระยะสั้นเท่านั้น เพราะ ถ้าทำอย่างนั้น ก็ไม่ทำให้ราชการมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน และในยุคโลกาภิวัตน์ ข้าราชการตามโลกไม่ทันครับ
จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181  
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ปฏิวัติการวัดค่าทรัพย์สิน (WEALTH)"
ปฏิวัติการวัดค่าทรัพย์สิน (WEALTH)
โดย ศ.ดร.จีระ (คัดมาจาก หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 5 ส.ค. 2549)
การจะทำอะไรสักอย่างต้องเกิดจากความชอบ ความสนุก อยากทำและท้าทาย การเขียน บทความของผมก็เช่นกัน ระยะแรกก็ไม่นึกว่า จะมีคนอ่าน และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เพราะผมมักจะ พูดเรื่องที่กว้างไปสู่แคบ ที่ไม่ใช่กระแสหลักแบบการเมืองหรือธุรกิจ
เพราะอยากเห็นคนไทยสนใจเรื่อง ทรัพยากรมนุษย์
ผมได้พบกับ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น คุณเจตน์ ธนวัฒน์ เมื่อวันพุธที่ 2 สิงหาคม ในการ ประชุมที่สภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ท่านบอกผมว่า ได้อ่านบทความ รู้สึกว่ามีค่าและมีประโยชน์ เพราะ พูดความจริงและตรงประเด็น
ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ นายกเทศมนตรี ที่สนใจเรื่องระยะยาว ชอบสังคมการเรียนรู้ แบบสด ทันสมัย ข้ามศาสตร์ มีเหตุมีผล และนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มได้ ผมก็มีกำลังใจที่จะทำและเขียนต่อ ผมรู้สึกมีความสุขมาก นับเป็นโชคดี ที่ท่านผู้ว่าฯเจตน์ จะไปรับตำแหน่งอธิบดีกรมการปกครองคนต่อไป คง จะสร้างการเรียนรู้ในหมู่นักปกครองมากขึ้น
เมื่อดูทฤษฎี 3 วงกลม ที่ผมคิด ผม highly motivated มีแรงกระตุ้น แรงผลัก แรงดึง เพื่อไปสู่ ความเป็นเลิศ 
 หากพูดถึงเรื่อง motivation คนไทยมักจะมองแคบ คือ มองถึงอำนาจ เงินทอง เพชร นาฬิกา รถ แพงๆ คอนโดมิเนียม เป็นต้น เท่านั้น ไม่นึกถึงสิ่งที่วัดไม่ได้ เช่น ความสุข ความมีสมาธิ การแบ่งปัน การ มองส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว หรือสำหรับผม ให้คนอ่าน คิดเป็น วิเคราะห์เป็น
ดังนั้น สิ่งที่เขียนมาทั้งหมด คือ ผมพยายามทำ แลกเปลี่ยน แบ่งปัน หากใครสนใจก็เป็นแนวร่วม ได้ ยิ่งแนวร่วมขยายวง ประเทศก็จะเจริญขึ้นแน่นอน
มีลูกศิษย์ถาม อาจารย์ป๋วยว่า "ทำอะไรมากมาย ซึ่งเน้นทำความดีและเสียสละเพื่อส่วนรวม ทำไป เพื่ออะไร" ท่านตอบว่า "ในประเทศไทย ถ้าคนดีไม่ทำอะไร คนชั่วก็ต้องชนะ เพราะคนชั่วมีมากกว่าคนดี "
ผมมีความเห็นต่อว่า คนดีมักจะเก็บตัวเงียบ อาย ไม่มีแนวร่วม ขาด social capital อยู่อย่างสงบ แต่คนไม่ดีจะบ้าอำนาจ ใช้อำนาจเหนือทุกอย่างที่ตนเองมีพลัง
บทความผมอยู่ใน website ของแนวหน้า www.naewna.com ทุกวันเสาร์ โดย click ไปที่ " บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ "
ผมสังเกตว่า ยิ่งนานวัน บทความของผม ยิ่งมีคน click ไปมากขึ้นทุกสัปดาห์
อีกประการหนึ่ง ผมสอนหนังสือเกือบจะทุกอาทิตย์ ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ซึ่งให้ นักเรียนอ่าน
 บทความ โดยให้วิเคราะห์ว่า
- ผมเขียนโดยใช้ style อะไร
- ได้อะไรที่โป๊ะเชะบ้าง
- สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไรและปรับใช้กับตัวเองอย่างไร
เช่นสัปดาห์ที่แล้ว เรื่องตรงต่อเวลา สอนให้ผมดำเนินชีวิตอย่างมีวินัย พยายามไม่ผิดเวลา โดยเฉพาะยิ่งเราเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ต้องขอขอบคุณพี่อุทัย พิมพ์ใจชน มากที่แนะนำสิ่ง ดีๆ
สัปดาห์นี้มีกิจกรรมเรื่อง เทพศิรินทร์ ซึ่งคิดว่ามีประโยชน์ต่อกลุ่มอื่นด้วย จึงขอแบ่งปันให้อ่าน

เรื่องแรกคือ วันที่ 1 สิงหาคม คณะกรรมการสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ชุดใหม่ เข้าไปเยี่ยมคำนับและรายงานผลให้องคมนตรี พลอากาศตรีกำธน สินธวานนท์ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ของ เรา การได้ใกล้ชิดกับผู้ใหญ่ที่เมตตาต่อโรงเรียน นักเรียนเก่า และนักเรียนปัจจุบัน รวมทั้งคณาจารย์ด้วย เป็นเรื่องที่ได้ประโยชน์ พี่กำธนของเรา ได้เน้นว่า เด็กเทพศิรินทร์ต้องเก่งและดี ทั้งกีฬาและวิชาการ ต้อง เป็นคนมีมารยาท มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และเน้นว่าเทพศิรินทร์มี 7 แห่ง ไม่ใช่มีแห่งเดียวเหมือนเดิม แต่เทพศิริ นทร์ 7 แห่งเป็นหนึ่งเดียว คือ สถานที่อาจจะแยกกันอยู่ แต่จิตวิญญาณมีเทพศิรินทร์หนึ่งเดียว
ในวันรุ่งขึ้น ผมและคณะไปเยี่ยมโรงเรียนเทพศิรินทร์ขอนแก่น ซึ่งนักเรียนเก่าท่านหนึ่ง คือ คุณ อดิศร เพียงเกษ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดขอนแก่น ผลักดันให้เทพศิรินทร์มีสาขาที่ภาคอีสาน ด้วย
ผมภูมิใจมาก เพราะผมมาขอนแก่นบ่อย แม้เมื่อยังไม่ได้เป็นนายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ผมได้มา 2 ครั้งแล้ว ครั้งนี้ได้พบนักเรียนกว่า 600 คน และคณาจารย์ด้วย ผมได้ให้กำลังใจว่า อะไรที่ผม และสมาคมช่วยได้ จะทำอย่างสุดความสามารถ เพราะการศึกษาของนักเรียนต่างจังหวัดเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นการยกฐานะของโรงเรียนต่างจังหวัดให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ
เด็กเทพศิรินทร์ขอนแก่น มีความภาคภูมิใจมาก ที่มีส่วนเป็นเทพศิรินทร์ ได้ศึกษาประวัติความ เป็นมาของเทพศิรินทร์ ผมได้มอบทุนก้อนหนึ่งให้เด็กที่ชนะการประกวดเรียงความเรื่อง "ขอนแก่นกับโลกา ภิวัตน์" ปรากฏว่า เด็กเทพศิรินทร์ขอนแก่นสามารถเขียนเรียงความได้ดี
ในอนาคต จะพยายามส่งครูเทพศิรินทร์ทั้ง 7 แห่ง ไปฝึกอบรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ มาก ขึ้น ในโครงการ "Super Teacher" ให้ต่อเนื่อง
ผมภูมิใจในบรรยากาศการเรียนรู้แบบ 4 L's ระหว่างผมกับนักเรียนเทพศิรินทร์ขอนแก่น 600 คน
สุดท้าย ผมขอหยิบยกหนังสือเล่มล่าสุดของ Alvin Toffler เรื่อง "Revolutionary Wealth" มาเล่า สู่กันฟัง เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ดร.อำนวย วีรวรรณ ได้เชิญ Toffler มาพูดที่ประเทศไทย ผมได้ใกล้ชิดและ สัมภาษณ์เขา Toffler เป็นนักทำนายอนาคต Futurist เป็นที่ยอมรับที่สุดของโลกในปัจจุบัน หนังสือเล่มที่ดังมาก ที่สุดคือ "The Third Wave" มอง

เกษตร-----------อุตสาหกรรม-----------เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)

แต่มาวันนี้ เขาบอกว่า นอกจาก IT แล้ว จะมีความรู้เป็นคลื่นลูกที่ 4 และความรู้เป็นทรัพย์สินที่ สำคัญที่มองไม่เห็น ( Intangibles ) ทรัพย์สินไม่ใช่เฉพาะ ที่ดิน เงิน หรือวัตถุ แต่ทรัพย์สินในอนาคตเป็นสิ่ง ที่มองไม่เห็น ( Intangibles ) เช่น

- Happiness
- Blog
- การสร้างสังคมการเรียนรู้
- การเสียสละให้แก่ส่วนรวม
- การอ่านหนังสือ
- การใช้เวลากับลูก
- การสอนหนังสือ
- การมีสุขภาพทางกายและใจที่สมบูรณ์
- การนั่งสมาธิ ทำใจให้สงบ
- การทำงานอาสาสมัครให้ส่วนรวม

ซึ่งตรงกับทฤษฎี 8 K's และ 5 K's ของผมในบางส่วน

เพราะผมได้ wealth จากการที่ใช้ชีวิตโดยแสวงหาความรู้อย่างไม่หยุดยั้ง และมีความสุขที่ได้ แลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้ แต่ความรู้และความสุขไม่ได้มาฟรีๆ ต้องเปลี่ยนทุนมนุษย์มาเป็นทุนทาง ปัญญา คือต้องคิดเป็น ทำเป็น ทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอีก 2 ทุนคือ ทุนทางจริยธรรม และทุนแห่งความยั่งยืน ซึ่ง 2 Kนี้วัดไม่ได้ คนไทยจึงไม่เข้าใจ
แต่ผมและ Alvin Toffler เข้าใจครับ  
จีระ หงส์ลดารมภ์

โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3

โทรสาร 0-2273-0181
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ปฏิวัติการวัดค่าทรัพย์สิน (WEALTH)"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ /ชาวกระทรวงพาณิชย์/และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

 

  เช้าวันนี้วันที่ 5 สิงหาคม  2549 หลายท่านคงดีใจ ปิติยินดีกันทั่วหน้า ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา ทรงปลอดภัยและเสด็จกลับไปพักรักษาพระองค์ที่พระราชวังสวนจิตฯ ได้แล้ว  วันนี้ ผมศึกษาบทความจาก น.ส.พ.แนวหน้า จาก http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 ศึกษาบทความ ของ ศ.ดร.จีระ บทเรียนจากความจริง ปฏิวัติการวัดค่าทรัพย์สิน (WEALTH)และคัดมาบางประโยคจากบทความที่ ศ.ดร.จีระ เขียนไว้ (สีนำเงิน) ส่วนที่ผมมีความเห็นเพิ่มเติม ผมเขียนไว้ทำเป็นสีดำ เพื่อแชร์ความคิด ที่อาจจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน นักศึกษาที่สนใจ  รายละเอียดมีดังนี้    

  
  การจะทำอะไรสักอย่างต้องเกิดจากความชอบ ความสนุก อยากทำและท้าทายเรื่องนี้ ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง กับ ศ.ดร.จีระ ที่ว่า คนเราจะทำอะไรสักอย่างต้องเกิดจากความชอบ ความสนุก อยากทำและท้าทาย  ผมขอเสริมตรงนี้ อยากจะฝากครู อาจารย์ในบ้านเมืองเรา ให้เข้าใจ และเห็นความสำคัญของสิ่งที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวในประโยคนี้  เพื่อนำไปใช้กระตุ้นให้เด็กนักเรียน เกิดความชอบ สนุก และอยากเรียนรู้ และท้าทายที่จะทำและคิดสิ่งใหม่ ๆ ส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ได้ เช่น การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ  ตามโรงเรียน สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ควรให้ความสำคัญในเรื่องการกระตุ้นเด็กนักเรียน ให้เกิดความชอบ ในการเรียนภาษาอังกฤษ สนุกที่จะเรียนรู้คำศัพท์ต่าง ๆ และอยากเรียนต่อ ไม่ใช่บังคับให้ท่องศัพท์ ท่องจำ เป็นต้น   
การจะทำอะไรสักอย่างต้องเกิดจากความชอบ ความสนุก อยากทำและท้าทาย ที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวไว้นี้  ยังสอดคล้องกับแนวพุทธศาสตร์ กล่าวคือพระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า ธรรมแห่งความสำเร็จ ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา  รวมกันเรียกว่า อิทธิบาท 4  เป็นรากฐานแห่งความสำเร็จ เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น 4 คือ 
1.      ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น 
2.      วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น 
3.      จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น 
4.      วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น ตรงนี้ อยากจะจุดประกายให้นักศึกษา ลูกศิษย์ ศ.ดร.จีระ และลูกศิษย์ของผมได้ยึดเป็นหลักแห่งความสำเร็จ ในการเรียน และการดำเนินชีวิตทั้งปัจจุบันและอนาคต  
บทความ รู้สึกว่ามีค่าและมีประโยชน์ เพราะ พูดความจริงและตรงประเด็น

บทความของ ศ.ดร.จีระ ถ้าอ่านแล้วคิดวิเคราะห์ต่อยอดจะเกิดประโยชน์กับตนเองและสังคม  เพราะ ศ.ดร.จีระ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ทันสมัย มีความรู้ใหม่ สด และยังเป็นผู้มีอุดมการณ์ คล้ายกับ ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ คือ มีความเป็นชาตินิยมสูงมาก คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมของ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นที่ตั้ง ด้วยความเป็นคนเช่น การคิด การเขียน การกระทำ การพูดก็ตาม ล้วนมีสาระ จริง ตรงประเด็นและเกิดประโยชน์ (อย่าไปคิดแค่พูดเพราะ หรือไม่เพราะ) ลูกศิษย์ ศ.ดร.จีระ ที่ฟังแล้วคิดวิเคราะห์ ต่อยอดเป็นคือ ฟังและเรียนรู้อย่างผู้มีบุญ คือ ฟังอย่างสนใจ ใส่ใจและเอาใจใส่ ก็จะเกิดปัญญา ลูกศิษย์บางคนเริ่มแรกอาจจะตามอาจารย์ไม่ทัน อาจจะเกิดอาการมึนบ้าง แต่ถ้าตามติด อ่านต่อ จะเริ่มเห็นสัจจะธรรม คุณประโยชน์ ในบทความนั้น   
“motivation คนไทยมักจะมองแคบ คือ มองถึงอำนาจ เงินทอง เพชร นาฬิกา รถ แพงๆ คอนโดมิเนียม เป็นต้น เท่านั้น ไม่นึกถึงสิ่งที่วัดไม่ได้ เช่น ความสุข ความมีสมาธิ การแบ่งปัน การ มองส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว หรือสำหรับผม ให้คนอ่าน คิดเป็น วิเคราะห์เป็น
เรื่อง Motivation เป็นเสมือนเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ถ้าใช้โดยปราศจากความรู้ ความเข้าใจ จะไม่เกิดประโยชน์กลับจะมีโทษตามมา
 การ Motivation ยังเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้ในการสร้าง ใช้และรักษาอำนาจ กล่าวคือเป็นการสร้างอำนาจได้ด้วยการให้  Motivation เป็นการให้อย่างหนึ่งที่ผู้บริหาร ผู้นำ มักใช้กันทั้งภาครัฐและเอกชน   
ปัญหาอย่างหนึ่งที่พบ อย่างที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวไว้ ว่า Motivation ไม่ใช่แค่เรื่องการให้ทางวัตถุ เงินทอง ครับ แต่หลายองค์กรนำไปใช้ ด้วยการให้แก้ว แหวน เงินทอง ของใช้ต่าง โดยปราศจากความรู้และเทคนิคของการให้  การให้ดังกล่าว สมาชิกในองค์กรจะรู้สึกว่า การให้ให้แก้ว แหวน เงินทอง ของใช้ต่างดังกล่าว ถ้าเป็นการให้ครั้งแรก ผุ้ได้รับจะรู้สึกชื่นชมผู้ให้  ครั้งที่สองผู้ได้รับ จะรู้สึกขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง พอครั้งที่สาม จะขอบคุณผู้ให้และเริ่มคาดหวังว่าจะได้อีกมากขึ้นในคราวต่อไป พอถึงเวลาที่ควรจะให้ครั้งที่สี่ แล้วไม่ได้หรือได้น้อยกว่าที่เคยได้ ก็จะเกิดปัญหา ความผิดหวังเกิดขึ้น ทำให้เกิดปัญหาแรงงานสัมพันธ์ในองค์กรมากมาย เป็นมูลเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสหภาพแรงงานในองค์กรได้ และมีปัญหาตามมาอีกมากมาย  แนวทางในการแก้ไขและป้องกัน ผมแนะนำว่า การให้แก้ว แหวน เงินทองเป็นสิ่งที่ดี แต่อย่าให้โดยปราศจากเหตุผลของการให้   และควรให้ความรู้ ควบคู่จริยธรรม หลักศาสนา ไปให้มากกว่า ทรัพย์สินที่ให้  พระพุทธเจ้า ได้ให้หลักการให้  Motivation ไว้ว่า การให้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการให้ความรู้ ให้โอกาส ให้อภัย ให้ธรรมตามกาล   
อาจารย์ป๋วยว่า "ทำอะไรมากมาย ซึ่งเน้นทำความดีและเสียสละเพื่อส่วนรวม ทำไป เพื่ออะไร" ท่านตอบว่า "ในประเทศไทย ถ้าคนดีไม่ทำอะไร คนชั่วก็ต้องชนะ เพราะคนชั่วมีมากกว่าคนดี "

คนดีมักจะเก็บตัวเงียบ อาย ไม่มีแนวร่วม ขาด social capital อยู่อย่างสงบ แต่คนไม่ดีจะบ้าอำนาจ ใช้อำนาจเหนือทุกอย่างที่ตนเองมีพลัง

  ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เขาคงไม่ถามกันใช่ไหมครับอาจารย์ เพราะคนส่วนใหญ่ในประเทศเหล่านั้น ล้วนมีหน้าที่ต้องทำความดี เสียสละเพื่อส่วนรวม เช่นประเทศญี่ปุ่นเป็นต้น  
 ในประเทศของเรา กำลังพัฒนา  ศ.ดร.ติน ปรัชพฤกษ์ ท่านเคยสอนไว้ว่า การพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงจะทำให้เกิดการเจ็บปวด คนเป็นผู้นำ คนเป็นนักพัฒนาต้องพร้อมรับและกล้าเผชิญกับความเจ็บปวดเหล่านี้ จึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลง  ขอให้คนดีทั้งหลายอย่าได้ท้อใจ เพราะท่านกำลังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาครับ ถ้าคนดีไม่ทำ แล้วใครจะทำ พอไม่มีใครทำความดี คนชั่วก็จะได้ใจ และเป็นใหญ่ในสังคม จะทำให้เกิดปัญหาความไม่สงบสุข ความไม่เจริญเกิดขึ้นในบ้านเมืองได้ 
ผมเชื่อมั่นว่า คงมีหลายคนถามประโยคนี้กับ ศ.ดร.จีระ ด้วยเช่นกัน เพราะอาจารย์ ทำงานอุทิศตนเหมือนเป็นนายกรัฐมนตรีผู้รักชาติ ทำงานพัฒนาคน พัฒนาชาติ โดยไม่ยึดมั่นในตำแหน่ง ไม่ต้องรอให้มีตำแหน่งแล้วจึงจะทำ  ผมหวังว่าสังคมประเทศชาติของเราจะพัฒนาขึ้นโดยเร็วและให้ผู้นำประเทศหันมาให้ความสำคัญกับบุคคลผู้ทรงคุณค่า บุคคลของแผ่นดิน เช่นนี้ ด้วยการให้การสนับสนุนทุกรูปแบบ 

บทความผมอยู่ใน website ของแนวหน้า www.naewna.com ทุกวันเสาร์ โดย click ไปที่ " บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ "

นอกจากที่อาจารย์กล่าวไว้  บทความดังกล่าวของ ศ.ดร.จีระ ยังมีอยู่ใน http://gotoknow.org/blog/chirakm ด้วย ครับ

  

ผมสอนหนังสือเกือบจะทุกอาทิตย์ ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ซึ่งให้ นักเรียนอ่านบทความ โดยให้วิเคราะห์ว่า
-
ผมเขียนโดยใช้ style อะไร
-
ได้อะไรที่โป๊ะเชะบ้าง
-
สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไรและปรับใช้กับตัวเองอย่างไร

 

 ผมเป็นลูกศิษย์ในโครงการปริญญาเอก คนหนึ่ง ที่ ศ.ดร.จีระ เป็นผู้สอน  และส่วนหนึ่งที่ผมได้จาก ศ.ดร.จีระ คือ ได้นิสัยแห่งการเรียนรู้ การคิด การเขียน โดยเฉพาะการเขียนผ่าน Blog มากขึ้น จากการสอนของ ศ.ดร.จีระ ที่ต้องการเปลี่ยน และสร้างนิสัย ที่ดีให้กับลูกศิษย์  การเขียน Blog นี้ได้ประโยชน์มาก ผมต้องอ่าน คิด วิเคราะห์ และต่อยอดให้ได้ และผมจะฝึกต่อว่าต้องให้ได้ในเวลาที่ต้องให้รวดเร็ว การเขียน Blog นี้ จะปรากฏต่อสาธารณะชน  จึงต้องคิดไตร่ตรอง เขียนให้ดี ได้นิสัยระมัดระวังในการเขียนด้วย คือต้องเป็นกลาง มีสาระ เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน เป็นต้น ขอบคุณอาจารย์ที่เพิ่มทุนเรื่องนี้ให้ผม 
   คณะกรรมการสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ชุดใหม่ เข้าไปเยี่ยมคำนับและรายงานผลให้องคมนตรี พลอากาศตรีกำธน สินธวานนท์ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ของ เรา การได้ใกล้ชิดกับผู้ใหญ่ที่เมตตาต่อโรงเรียน นักเรียนเก่า และนักเรียนปัจจุบัน รวมทั้งคณาจารย์ด้วย เป็นเรื่องที่ได้ประโยชน์ พี่กำธนของเรา ได้เน้นว่า เด็กเทพศิรินทร์ต้องเก่งและดี ทั้งกีฬาและวิชาการ ต้อง เป็นคนมีมารยาท มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี 
ผมเพิ่งทราบว่า ที่เทพศิรินทร์ มีท่านองค์คมนตรี พลอากาศตรีกำธน สินธวานนท์ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่น่าเคารพ ศรัทธาอย่างยิ่งเป็นศิษย์เก่าด้วย  เทพศิรินทร์สร้างคนที่ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคม ประเทศชาติเป็นอย่างมากไว้หลายท่าน น่าภูมิใจแทนคนไทยทั้งชาติ 
  ศ.ดร.จีระ ยังมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้ โรงเรียนเทพศิรินทร์ ทั่วทุกแห่งมีคุณภาพเท่าเทียมกัน คือสร้างเด็กนักเรียนที่เทพศิรินทร์ให้เป็นคนเก่งและดี ทั้งกีฬาและวิชาการ ต้องเป็นคนีมารยาท มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี  ผู้ปกครองนักเรียนถ้าได้เห็นได้ยินเช่นนี้ คงจะสบายใจ  เพราะจากบทความของ ศ.ดร.จีระ แสดงให้เห็นว่า โรงเรียนเทพศิรินทร์แสดงมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม และมีการปฎิบัติอย่างจริงจัง เช่นนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี
 โรงเรียนหลาย ๆ แห่ง โดยเฉพาะนโยบายของรัฐ ในการบริหารด้านการศึกษา และพัฒนาเด็กนักเรียน น่าจะมาศึกษานโยบายในการบริหารโรงเรียนเทพศิรินทร์ แล้วนำไปเป็นหนึ่งในยุทธ์ศาสตร์บริหารโรงเรียน สร้างคนเพื่อสร้างชาติ ต่อไป  

การศึกษาของนักเรียนต่างจังหวัดเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นการยกฐานะของโรงเรียนต่างจังหวัดให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ

 

 เรื่องการบริหารการศึกษา ในต่างจังหวัด น่าเป็นห่วงครับ ผมดีใจที่ ศ.ดร.จีระ มีความคิดที่จะยกฐานะของโรงเรียนต่างจังหวัดให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งน่าจะเป็นงานสำคัญของรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ มาช่วยสนับสนุนความคิดของอาจารย์ให้เป็นจริงโดยเร็ว  ท่านนายกฯทักษิณ น่าจะบริจาคเงินสร้างโรงเรียน ตัวอย่างทั่วทุกภาค เป็นโรงเรียนแห่งอนาคต เป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพทั้งคุณภาพครู อาจารย์ คุณภาพสถานศึกษา สภาพแวดล้อม เพื่อที่จะเอื้ออำนวยในการสร้างคนที่มีคุณภาพให้ชาติ เพื่อวางรากฐานความเข้มแข็งทางทุนมนุษย์ของชาติในอนาคต  
  ”Toffler เป็นนักทำนายอนาคต Futurist เป็นที่ยอมรับที่สุดของโลกในปัจจุบัน หนังสือเล่มที่ดังมาก ที่สุดคือ "The Third Wave" มอง

เกษตร-----------อุตสาหกรรม-----------เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)

แต่มาวันนี้ เขาบอกว่า นอกจาก IT แล้ว จะมีความรู้เป็นคลื่นลูกที่ 4 และความรู้เป็นทรัพย์สินที่ สำคัญที่มองไม่เห็น ( Intangibles ) ทรัพย์สินไม่ใช่เฉพาะ ที่ดิน เงิน หรือวัตถุ แต่ทรัพย์สินในอนาคตเป็นสิ่ง ที่มองไม่เห็น ( Intangibles )
-  Happiness
- Blog
- การสร้างสังคมการเรียนรู้
- การเสียสละให้แก่ส่วนรวม
- การอ่านหนังสือ
- การใช้เวลากับลูก
- การสอนหนังสือ
- การมีสุขภาพทางกายและใจที่สมบูรณ์
- การนั่งสมาธิ ทำใจให้สงบ
- การทำงานอาสาสมัครให้ส่วนรวม

ซึ่งตรงกับทฤษฎี 8 K's และ 5 K's ของผมในบางส่วน “ใช้ชีวิตโดยแสวงหาความรู้อย่างไม่หยุดยั้ง และมีความสุขที่ได้ แลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้ แต่ความรู้และความสุขไม่ได้มาฟรีๆ ต้องเปลี่ยนทุนมนุษย์มาเป็นทุนทาง ปัญญา คือต้องคิดเป็น ทำเป็น ทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอีก 2 ทุนคือ ทุนทางจริยธรรม และทุนแห่งความยั่งยืน ซึ่ง 2 Kนี้วัดไม่ได้ คนไทยจึงไม่เข้าใจ “

จากประโยคที่ ศ.ดร.จีระ เขียนไว้ ผมสรุปได้ว่า คลื่นลูกที่สี่ คือ ความรู้ เกษตร-------อุตสาหกรรม-------เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) --------ความรู้
ในอดีตประเทศใด องค์กรใด สังคมใด จะมีความเจริญมั่งคั่งหรือไม่ ดูที่การเกษตร ต่อมาดูที่การอุตสาหกรรม ต่อมาดูที่การเทคโนโลยีสารสนเทศ ในประเทศ ในองค์กร ในสังคมนั้น ๆ ตรงนี้ ในประเทศญี่ปุ่นเห็นชัดเจนมาก  ญี่ปุ่นพัฒนาตนเอง จากประเทศเกษตร เป็นประเทศอุตสาหกรรม และพัฒนามาทำเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้รวดเร็วมาก
ในประเทศอินเดีย จากประเทศยากจน กำลังจะพลิกผันเป็นประเทศผู้นำด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ในประเทศจีน หลายท่านคงทราบดีว่า จีนมีครบหมด เกษตรอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และฐานความรู้ศาสตร์ต่าง ๆ ของจีนที่มีคุณค่าสะสมมานับพันปี ก็มีหลายศาสตร์
ในสังคม ในองค์กร ยุคปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องหันมาทบทวนเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ และเรื่องการจัดการด้านความรู้  ส่งเสริมให้คนในสังคม ในองค์กร เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ในยุคนี้ถ้าคนในองค์กร ในประเทศ มีทุนทางความรู้มากเท่าใด ยิ่งสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทุกรูปแบบ ความรู้ที่คู่คุณธรรมจึงเป็นฐานของทุนมนุษย์   ทั้งภาครัฐและเอกชนควรให้ความสำคัญในเรื่องนี้มากกว่ารถประจำตำแหน่ง วัตถุนิยมต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่ความยั่งยืนขององค์กร ของชาติ
  

ท่านผู้อ่านที่สนใจติดตามสาระน่ารู้ กับ ศ.ดร.จีระ ท่านสามารถติดตามได้จากรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 – 19.00 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 ผมขอเชิญให้ท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ   

ขอโชคดีจงมีแด่ผู้อ่านทุกท่าน 
   
สวัสดีครับ 
ยม   
น.ศ.ปริญญาเอก   
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์   
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (กทม.2
พลภัทร พรคุณานุภาพ
ผมเป็นผู้ช่วย ศ.ดร.จีระ ได้มีโอกาสติดตามอาจารย์มาที่กรมการค้าต่างประเทศ ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ผมคิดว่า การทำงานต่อเนื่องเป็นเรื่องดี โดยครั้งแรกที่ผมมาเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ซึ่งอาจารย์ได้บรรยายโดยเน้นเรื่องผู้นำกับนวัตกรรม ส่วนครั้งนี้เน้นเรื่องทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ โดยเน้นทฤษฎีว่า ถ้าจะทำ HR ให้ได้ผล จะต้องพัฒนาความเชื่อและศรัทธาในทรัพยากรมนุษย์ก่อน  และต้องทำให้บุคลากรถึงพร้อมในทฤษฎี 8 K’s และ 5 K’sในครั้งนี้ผมประทับใจ อธิบดีราเชนทร์ พจนสุนทร เพราะท่านได้เข้ามานั่งฟังอย่างสนใจตลอด 3 ชั่วโมงจนกระทั่งจบการบรรยาย ซึ่งผมไม่เคยเห็นอธิบดีในประเทศไทยคนไหนที่จะอยู่นั่งฟังตลอดเวลา ผมคิดว่าเป็นความโชคดีของกรมการค้าต่างประเทศและประเทศไทย ที่ได้อธิบดีที่สนใจการเรียนรู้  เพราะการเรียนรู้ตลอดเวลา ทำให้เราสามารถก้าวทันโลก รู้ว่าเราจะดำเนินยุทธวิธีอย่างไร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรและประเทศในอนาคต และในการประชุมครั้งนี้ ได้มีการทำ workshop โดยมีผลสรุปว่า เจ้าหน้าที่ระดับสูงสนใจอยากเรียนรู้เรื่อง-        Team work-        การสร้างความรัก ความผูกมิตรในองค์กร -        การเป็นเจ้าขององค์กร ความภักดีต่อองค์กรเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่ท่านทั้งหลายมีความคิดที่รักและภักดีต่อองค์กร พร้อมที่นำองค์กรให้เติบโตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ประเทศไทย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท