วิธีใหม่ในการวัดคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา


นี่คือ student-based assessment และวัดที่กิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อสะท้อนคุณภาพการศึกษา (learning process – based assessment)

วิธีใหม่ในการวัดคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา

เพราะไป download ตัวอย่างหนังสือ Student Engagement in Higher Education ที่มี Shaun R. Harper และ Stephen John Quaye เป็นบรรณาธิการมาอ่าน    จึงนำผมไปพบโครงการ NSSE – National Survey of Student Engagement ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีเว็บไซต์ ที่นี่  

นี่คือนวัตกรรมใหม่ในการวัดคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา   ริเริ่มโดย Pew Foundation แล้วหลังจากนั้น มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมลงขันกันเอง และ Carnegie Foundation ช่วยเหลือส่วนหนึ่ง   โดยเน้นเป้าหมายเพื่อการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพตนเอง (ไม่ใช่เน้นเป้าหมายการจัดอันดับ)  ทำกันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๙๗   และทำทุกปี   มีรายงานออกมาทุกปี ดังตัวอย่าง รายงานของปี ๒๐๐๐ ซึ่งเป็นปีแรก

ผมขอยกเอาบางตอนในรายงานนี้มาลงไว้ดังนี้

 “…The NSSE survey instrument, The College Student Report, was designed by national assessment experts. It focuses squarely on the teaching and learning activities that personally and intensely involve all types of students at all types of colleges and universities. When students read more, write more, and interact more in positive ways with their teachers and peers, they gain more in terms of essential skills and competencies, such as critical thinking, problem solving, effective communication, and responsible citizenship. ….”

“ … More than 63,000 randomly selected undergraduates from 276 colleges and universities filled out The College Student Report in spring 2000. The students represent a broad cross-section of first-year and senior students from every region of the country. …”

แบบสอบถามมี ๕ หมวด ดังนี้

The five national benchmarks :

  • Level of academic challenge
  • Active and collaborative learning
  • Student interactions with faculty members
  • Enriching educational experiences
  • Supportive campus environment

แต่ละหมวดมีคำถามแยกย่อยออกไป

ผมตีความว่า นี่คือ student-based assessment  และวัดที่กิจกรรมการเรียนรู้   เพื่อสะท้อนคุณภาพการศึกษา (learning process – based assessment)   ที่บ้านเราไม่มีการทำกัน   

รายงานนี้ไม่ได้บอกคะแนนของแต่ละมหาวิทยาลัย   แต่รายงานเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัย   แจกแจงแต่ละหมวดของ benchmark   เพื่อทำความเข้าใจภาพใหญ่   โดยรายงานผลของแต่ละมหาวิทยาลัยจะแจ้งไปยังมหาวิทยาลัยนั้นโดยตรง 

ประโยชน์ที่สำคัญของ NSSE คือเป็นข้อมูลสำหรับปรับปรุงตัวเองของแต่ละมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม   รวมทั้งเป็นข้อมูลสำหรับผู้ปกครองและนักเรียนในการเลือกมหาวิทยาลัยที่เหมาะสำหรับตนเอง    ผมตีความว่า NSSE จะช่วยเป็นข้อมูลให้คนอเมริกันประเมินคุณภาพของการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยได้แม่นตรงมากขึ้น   ลดมายาคติที่สร้างโดยระบบ University Ranking ซึ่งลำเอียงไปทางชื่อเสียงด้านวิจัยเป็นหลัก   มหาวิทยาลัยที่วิจัยเด่น อาจไม่ค่อยเอาใจใส่ นศ. ป. ตรี ก็ได้

นอกจากนั้น ตัว นศ. เองก็ได้รับประโยชน์จากรายงาน NSSE Annual Report   ดังอ่านได้จาก Press Release ของ Annula Report 2007 ที่นี่   นศ. จะเห็นแนวทางในการปรับตัว เพื่อให้ตนเองได้เรียนรู้และรับประโยชน์มากขึ้นจากช่วงชีวิตการเป็น นศ. ป. ตรี

NSSE ได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ   มีมหาวิทยาลัยเข้าร่วมเพิ่มขึ้น   และ นสพ. USA Today ก็ยอมรับและเอาผลการประเมินไปไว้บนเว็บไซต์ของเขา ที่นี่   โดยมีผลการประเมินของมหาวิทยาลัยที่ยอมเปิดเผยผลประเมินของตนให้ดูได้ในเว็บไซต์ของ USA Today นี้   

ผมคิดถึงอุดมศึกษาไทย   ว่า กกอ./สกอ., สคช., และ สมศ. น่าจะร่วมกันทำความเข้าใจ NSSE   อาจขอความร่วมมือจากมูลนิธิฟุลไบรท์ ขอผู้บริหารโครงการมาเล่าให้เราฟัง   เพื่อพิจารณาว่าเราควรทดลองทำไหม   ผมคิดว่าน่าทำ เพราะน่าจะส่งผลพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีปัญหาอยู่ในเวลานี้   ผมเห็นด้วยกับ USA Today ว่า NSSE ช่วยเปลี่ยนมุมมองต่อมหาวิทยาลัย เปลี่ยนวิธีตัดสินจุดแข็งจุดอ่อนของมหาวิทยาลัย  ผมขอแนะนำให้อ่าน ข้อเรียนรู้ ๑๐ ข้อจาก NSSE ในเว็บไซต์ดังกล่าว ที่นี่   อาจารย์และผู้บริหารที่เอาใจใส่ปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนของตนจะได้ประโยชน์จากเว็บไซต์นี้มาก   อ่าน brochure เชิญชวนมหาวิทยาลัยให้เข้าร่วม NSSE 2009 ได้ที่นี่   อ่านแล้วจะเข้าใจเป้าหมาย หลักการ และวิธีการ ของ NSSE

เมื่อได้รู้จัก TQF ผมถามผู้รู้ว่า NQF ในแนวอเมริกันเป็นอย่างไร   ไม่มีใครตอบได้   ผมคิดว่า NSSE คือ American NQF แต่เป็นแบบไม่บังคับ   เป็น NQF แบบเน้นเรียนรู้จากที่ปฏิบัติจริง โดยอาศัยข้อมูลจาก นศ.   เป็น NQF แบบเน้นหวังผลที่การเรียนรู้ของ นศ. ไม่ใช่ที่ Framework

วิจารณ์ พานิช

๑๕ เม.ย. ๕๓

 

        

        

       

         

        

        

 

หมายเลขบันทึก: 351872เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2010 07:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เจริญพร ท่านอาจารย์ ได้ความรู้มาก

มีแหล่งข้อมูลมาแบ่งปันให้ค้นคว้าเพิ่มเติมมากขึ้นด้วย

ขอขอบพระคุณ

พระมหาสาธิต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท