ผมสงสัยต่อว่าเปิดเพื่อใคร?


เช้าวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๓  วันนี้เป็นวันพญาวัน  แต่บางคนบอกว่าเป็นเมื่อวานนี้ ผมเองไม่อยากสงสัย เพราะคนที่อยู่กับไมค์พูดอะไรไป   ผู้ฟังที่ไม่มีความรู้ถ่องแท้จะเชื่อถือ  ได้แง่คิดแต่ต้องทำใจว่านี้มันอะไรกัน  จะจัดการอย่างไรกับความผิดพลาดคลาดเคลื่อน ใครควรเข้ามาดูแลแก้ไข เป็นการบ้านที่พวกเราในจังหวัดน่านจะได้มาตั้งวงถกกันให้ตกผลึก อย่าได้ให้ลูก ๆ หลาน ๆ หรือวิญญาณบรรพบุรุษต้องมาตำหนิ หรือจะให้ชาว ตปท.มาจัดการให้

ชื่อบันทึกคราวนี้ขอยืมมาจากประโยคสุดท้าย ที่ อ.วิจารณ์ พานิช บันทึกไว้เมื่อวันที่ ๑๕ พ.ค.๒๕๕๐  โดยหัวเรื่องของท่านชื่อ  " สื่อมวลชนกับความรับผิดชอบต่อสังคม " อาจารย์ร้อยเรียงประสบการณ์สะท้อนแง่คิดให้ผู้อ่านทราบว่า จากการเดินทางไปต่างประเทศได้เห็นหนังสือพิมพ์กล่าวใส่ร้ายองค์กร และประเทศไทย  กรณีที่เกิดขึ้นรัฐบาลไทยจะฟ้องเรียกค่าเสียหายแทนคนไทยได้ไหม?

อาจารย์ให้ข้อสังเกตทิ้งท้ายว่า  " เวลานี้คนรักชาติรักประเทศน้อยลง เพราะถูกชัดจูงว่าในยุค globalization สังคมต้องเกิด ผมสงสัยว่าเปิดเพื่อใคร " http://gotoknow.org/blog/thaikm/96056

ได้ติดตามข่าวสารในระดับชาติของเรามานานด้วยความรักชาติ อาจไม่ยิ่งใหญ่เหมือนผู้มีอำนาจเพราะพวกเราอยู่ชนบท อยู่ในจังหวัดไม่ใหญ่โตนัก   ติดตามใกล้ชิดก่อนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. ยังติดตามอยู่ http://gotoknow.org/blog/gotonan/351033  ในยุคลดค่าเงินบาท เคยร่วมทำงานกับกองทุนเพื่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอยู่ในแวดวงสื่อก่อนปี ๒๕๓๐ เมื่อได้อ่านบันทึกอาจารย์เช้าวันนี้  ผมพริ้นบันทึกที่สนใจเป็นพิเศษของมาอ่าน  วันนี้ได้พบบันทึกโดยบังเอิญขณะค้นหาเอกสารจะสรงน้ำพระที่บ้าน และไหว้พระภูมิเจ้าที่  อ่านแล้วต้องนึกย้อนเกี่ยวกับภายในจังหวัดน่านและขอบันทึกฉบับนี้ไว้

ในระดับจังหวัดพวกเราได้พูดคุยกัน และยังคงต้องพูดคุยกันอีกเกี่ยวกับการสังคมปัจจุบันและการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน องค์กรหลายภาคส่วน  พวกเราคงไม่อาจคิดและทำอะไรใหญ่โตในระดับข้ามจังหวัดหรือระดับชาติได้  เพราะด้วยข้อจำกัดหลาย ๆ ด้าน หากแต่เท่าที่ได้ติดตามพบว่า ชาวน่านรักน่าน ได้แสดงออกเพื่อแผ่นดินถิ่นเกิดกันมากกว่าที่ผ่านมา

ต่อไปไม่แน่หากชาวน่านไม่รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและไม่รู้จักการจัดการความรู้ ขอเรียนว่า พวกเรากำลังจะมีกิจกรรม เมืองน่านในทศวรรษหน้า แน่นอนครับจะมีคำถามว่า   เปิดน่านเพื่อใคร?  เมื่อห้ามเปิดกันไม่ได้แล้ว  จำเป็นต้องเรียนรู้อยู่กันไปโดยใช้ปัญญา สติ รู้อย่างเท่าทัน ในการเก็บเกี่ยว ประสบการณ์ของทุกท่านการสะท้อนความปรารถนาดีวันนั้น จะมีจัดการความรู้ในกิจกรรมและจะได้มาบอกเล่าให้ทราบในบันทึกนี้ต่อไป เชื่อว่าผู้เกี่ยวข้องรับผิดชอบโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นายวีรวิทย์ วิวัฒนวานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน มีความตั้งใจให้รับรู้และมีส่วนร่วมกันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

หมายเลขบันทึก: 351871เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2010 07:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • นกเคยรับราชการที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดพิษณุโลกก่อนย้ายมารับราชการที่สำนักการศึกษาพิษณุโลก  ด้วยเขตความรับผิดชอบต้องเดินทางไปจังหวัดน่านแทบทุกเดือน ทุกซอกมุมของน่านแทบจะรู้หมดเพราะไปบ่อย  สิ่งหนึ่งที่ชื่นชมก็คือวัฒนธรรมของน่านยังคงรักษาไว้ได้ ไม่เหมือนเมืองพิษณุโลกซึ่งกลายเป็นเมืองแห่งการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว 
  • คำกล่าวที่ว่า เมืองน่านเป็นเมืองปิด หากไม่ตั้งใจไปน่านก็จะไปไม่ถึงเพราะน่านเป็นเมืองชายแดนและเป็นเมืองที่ต้องตั้งใจไปจริง ๆ จึงจะไปถึง  แต่เมื่อไปถึงก็จะอดชื่นชมไม่ได้  ตั้งแต่บรรยากาศของต้นไม้ที่ทอดตัวนำทางไปยังน่าน  ผู้เฒ่าผู้แก่ยังคงใส่ผ้าซิ่น เสื้อพื้นเมืองดูเพลินตา    ผ้าลายน้ำไหลก็ยังเป็นสินค้ายอดฮิตที่เพื่อน ๆ มักจะฝากให้ซื้อเสมอ ๆ
  • เปิดเมืองน่าน  เปิดน่านเพื่อใคร.... เป็นโจทย์ที่คนเมืองน่านต้องเตรียมและวางรากฐานทางวัฒนธรรมอันดีงามให้คงอยู่ให้ได้  ใช่ค่ะให้ได้   ไม่อยากให้เหมือนเมืองใหญ่บางเมืองที่นำความเจริญเข้ามาแล้ว  วัฒนธรรมพื้นเมืองที่งดงามกลับค่อย ๆ จางหายไป   รักเมืองน่านค่ะ และยังอยากชื่นชมวัฒนธรรมของที่นี่   แต่อย่างไรก็คงจะปฏิเศษความเจริญที่จะเข้ามาไม่ได้  เป็นกำลังใจให้คนน่านค่ะ

 

คุณPเพ็ญศรี(นก)

  • ขอบคุณครับจะรวบรวมข้อเสนอแนะให้เป็นประเด็นสาธารณะต่อไป หากมีเพิ่มเติมอีกขอเชิญเพิ่มเติม
  • หรือเพื่อสมาชิกที่เข้ามาจะได้กรุณาเพิ่มเติมอีก ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท