มูลนิธิสื่อเพื่อเยาวชน
ว่าที่ร้อยตรี จิรศักดิ์ กรรเจียกพงษ์

สร้อยอักษร อ่อนพฤกษ์ภูมิ : เล่าเรื่องเหล้า...จากพื้นที่ ( ตอนที่ 3 )


เมื่อวันที่  29  พฤษภาคม  2549  ฝ่ายพัฒนาภาคีของสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า   ได้เข้าพบกับบาทหลวงอนุชา  ชาวแพรกน้อย  เจ้าอาวาสวัดแม่พระปฏิสนธินิรมลแห่งเหรียญอัศจรรย์ โรงหมู  ผู้ประสานงานโคเออร์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยและผู้ลี้ภัย  พร้อมกับอาจารย์ธนศักดิ์  สุวาระรัศมี  ผู้ช่วยครูใหญ่ฝ่ายกิจการนักเรียนและส่งเสริมพิธีกรรมโรงเรียนสามัคคี สงเคราะห์ ชุมชนคลองเตย กรุงเทพมหานคร  เพื่อหารือถึงแนวทางความร่วมมือในการรณรงค์ต่อต้านเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาที่กำลังจะมาถึง  และต่อไปนี้คือการสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวระหว่าง ทั้งสองฝ่าย…
 
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
 
ถาม… ถ้ามองไปที่ปัญหาของชาวชุมชนคลองเตย ซึ่งแน่นอนว่ามีทั้งเรื่องเหล้าและยาเสพติด แม้ทุกวันนี้จะเบาบางลงไปเพราะที่ผ่านมามีการปราบปรามอย่างหนัก  ในส่วนของอาจารย์ซึ่งคลุกคลีกับปัญหามานานเพราะเติบโตมาจากที่นี่ตั้งแต่ ยังเป็นเด็ก  ขณะที่คุณพ่อซึ่งทำงานกับชาวชุมชนเห็นว่าจะมีการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ถาวรได้หรือไม่ หรืออาจจะต้องแก้ไขเฉพาะหน้าไป
 
 
ตอบ…มองว่า เป็นเรื่องที่แก้ได้ แต่จะให้มันหมดไปอย่างราบคาบ…ไม่ได้ เพราะคนในชุมชนมีมากและมาจากหลากหลายที่ เพราะคลองเตยเป็นชุมชนเปิดมีการเปลี่ยนแปลงประชากรอยู่เสมอ  ถ้าเราทำอย่างยั่งยืนถาวรที่ไม่ใช่การขจัดให้หมดทีเดียวก็ทำได้  แต่เราต้องมีองค์กรของรัฐมาช่วยสนับสนุนอย่างต่อเนื่องแล้วก็มีแบบแผนยุทธ วิธีลงมา หรือเราอาจจะทำเป็นชุมชนตัวอย่างมาก่อนถ้ามันดีมันใช้ได้ เราก็อาจจะเอายุทธการนี้ไปใช้กับชุม
ชนอื่นๆ  ซึ่งอาจจะมีการปรับเปลี่ยนวิธีการไปตามบริบทแวดล้อมของแต่ละชุมชน
 
 
ถาม…สำหรับชุมชนคลองเตยจะต้องใช้ยุทธวิธีอะไรจึงจะเหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของพื้นที่
 
 
ตอบ… ผมเคยเรียนรู้ว่าคำว่าต่อต้านกับป้องกันสำหรับเด็กๆ เราจะใช้คำว่าต่อต้านไม่ได้ แต่เราต้องใช้คำว่าป้องกัน ถ้าเด็กทุกคนได้รับความรู้จากผู้รู้ เด็กก็จะมีภูมิต้านทาน อย่างตอนนี้เด็กรุ่นใหม่ๆ บางคนไม่มีภูมิต้านทานทุกอย่างก็เข้ามาง่าย รับได้ง่ายแล้วก็ไปตามเค้าได้ง่ายเด็กขาดภูมิต้านทานคือการป้องกันที่ถูก ต้อง ทางด้านผู้ปกครองก็สำคัญมากเพราะพ่อแม่ผู้ปกครองเค้าต้องทำมาหากินวันๆ อยู่กับลูกไม่ถึงชั่วโมงเค้าก็ต้องไปแล้วลูกก็นอนพ่อแม่ก็เพิ่งกลับมา  ดังนั้นเราจึงต้องใช้ระบบป้องกันไว้ก่อนใช้ระบบชักจูงใจให้ไปทางที่ดี
 
 
ถาม…ในฐานะที่มีบทบาทเป็นคุณครูได้ฉีดวัคซีนสร้างภูมิต้านทานให้กับเด็กๆ อย่างไรบ้าง
 
 
ตอบ… อย่างเช่นที่นี่ ผมก็พยายามปลูกฝังให้เค้าได้เล่น ได้ทำกิจกรรมเยอะๆ  ทั้งกีฬาและศิลปะหรือทำในสิ่งที่เค้าถนัดแล้วก็พูดคุยกับเค้านั่งคุยกับเค้า ให้เค้าได้เล่นได้เจอกับคนที่เค้าไม่ได้เจอกับเพื่อนต่างสถานที่แล้วเค้าก็ ได้มาแลกเปลี่ยนกัน เด็กที่จบจากที่นี่ไปอย่างน้อยเค้าเล่นกีฬาเป็น เค้าวาดรูปเป็นเค้าได้เอาไปใช้ที่โรงเรียนอื่นได้โดยที่เป็นตัวเชื่อมกับ บุคคลอื่น อย่างกีฬา สมมติถ้าเราเล่นฟุตบอลเป็นเราก็สามารถเล่นกับเพื่อนใหม่ๆ ได้ และถ้าเราเล่นกีฬาเป็นเราก็จะไม่มีเรื่องยาเสพติดแต่เราจะมีเพื่อน ที่ชวนไปเล่นกีฬาชวนไปแข่งกีฬากัน เพราะว่าเป็นทางที่ดีเป็นทางป้องกันอย่างหนึ่งให้เรียนรู้ด้วยว่าเรื่องแพ้ ชนะและประสบการณ์เพื่อใช้ชีวิตในสนามแข่ง แล้วก็มาประยุกต์ใช้กับตัวเอง  หรืออย่างศิลปะ เด็กบางคนชอบอยู่คนเดียวไม่รู้จะปลดปล่อยยังไงแต่เค้ามีความสามารถ คือถึงแม้จะชอบอยู่คนเดียวแต่ก็สามารถปลดปล่อยได้โดยการวาดภาพทำงานศิลปะ เพลินๆ มันก็ทำให้เค้ามีผลงาน เพื่อไม่ให้เค้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่ดีได้ด้วย  ในขณะเดียวกันเด็กบางคนไม่รู้ว่าตัวเองจะปลดปล่อยยังไง บางครั้งก็เก็บกด บางครั้งก็อยู่เงียบเราจึงต้องหาทางออกให้เค้าเราต้องดึงศักยภาพของเค้าออก มาแล้วก็ชี้ให้เค้าไปทางนั้น แต่ถ้าเค้าหลงทางเมื่อไหร่เราก็คอยดูคอยปรับทิศทางให้เค้า   แต่ไม่ใช่การบังคับเพราะทุกอย่างอยู่ที่ตัวเค้าเราเป็นเพียงผู้ชี้แนะ  เราควรให้เค้าได้สัมผัสเองว่าทำอย่างนี้แล้วมันดีหรือไม่ดี สนุกหรือไม่สนุกยังไง  นี่เป็นสิ่งที่น่าจะป้อนให้เด็ก
 
 
ถาม…ทุกวันนี้คลองเตยก็ยังขึ้นชื่อทางด้านสิ่งเสพติดอยู่หรือไม่  เรื่องนี้ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร
 
 
ตอบ… นั่นเป็นเรื่องของเมื่อก่อน แต่ในปัจจุบันทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมีการเข้ามาจัดกิจกรรมกับชาวชุมชน อยู่เสมอๆ ทำให้เค้าได้แสดงศักยภาพ 
 
 
ถาม…แล้วถ้าการที่พ่อแม่ดื่มเหล้าอะไรต่างๆ ให้ลูกเห็นบ่อยๆ มันอาจจะกลายเป็นเรื่องปกติสำหรับลุกไปได้หรือไม่
 
 
ตอบ…ใช่  ตรงนี้แหละพอเด็กอยู่ระดับ ม. 2 ม. 3 แล้วรู้สึกว่าตัวเองโตขึ้น พ่อก็กินได้  ทำไมเราจะกินไม่ได้
 
 
ถาม… ถ้าเป็นแบบนี้ วัคซ๊นที่คุณครูฉีดให้มันจะครอบคลุมเฉพาะที่โรงเรียนหรือเปล่า เพราะว่าพอไปที่บ้านก็ไปเห็นไปเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากครอบครัวอยู่ดี
 
 
ตอบ… นั่นแหละ  ผมถึงบอกว่าผู้ปกครองนี่สำคัญมาก เพราะว่าตัวอย่างต่างๆ ตั้งแต่ลูกเกิดมา ก็ต้องเห็นพ่อแม่ก่อนอันดับแรก ไม่ได้มาเห็นครูหรือคนอื่นๆ สำหรับตัวผม พ่อกับแม่หย่าร้างกันมาตั้งแต่ผมยังเด็ก  แต่ขณะที่เด้กบางคนอาจจะคิดว่าการที่พ่อแม่ทะเลาะกันเลิกรากันและตัวเองมี ปัญหาต้องแก้ปัญหาด้วยการให้คนอื่นมารัก ต้องทำตัวเด่นอะไรเหล่านี้  เรื่องนี้ถ้าเด็กคิดเองได้ว่าตัวเราไม่เป็นเด็กที่มีปัญหาแต่ดีด้วยซ้ำไป ที่เราได้สู้ด้วยตัวเอง ถ้าเด้กคิดเป็นอย่างนี้ก็คือได้ทำดีโดยที่คนอื่นดูเราอยู่ถ้าเราดีได้เค้า ก็ชื่นชมในตัวเรา  แต่ถ้าพ่อแม่เราเป็นแบบนี้แล้วตัวเรายังทำตัวมีปัญหาอีก คนอื่นเค้าก็ต้องมาเหยียบย่ำเราอีก ผมอยากให้เด็กคิดอย่างนี้แต่เด็กพวกนี้พอมีปัญหาแล้วเค้าไม่คิดอย่างนี้แต่ กลับคิดเป็นอย่างอื่นไป ผมถึงบอกว่าผู้ปกครองเป็นตัวอย่างที่สำคัญ
 
 
ถาม… อย่างที่คุณครูเห็นว่าครอบครัวเป็นตัวอย่างที่สำคัญสำหรับเด็กแล้วหน่วยงาน ภาครัฐหรือเอกชนที่เข้ามาทำกิจกรรมกับชุมชนมีองค์กรไหนมั้ยที่ไม่ได้ทำแค่ กับเด็ก  แต่ยังทำไปถึงครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมด้วยเคยมีบ้างมั้ย
 
 
ตอบ…เคยมีพวกศูนย์บริการชุมชนที่เมื่อก่อนเป็นกรมประชาสงเคราะห์ เค้าก็ลงมาในเรื่องผู้ปกครอง ผู้สูงอายุ อันที่เห็นได้ชัด
ถาม…เค้าทำกิจกรรมอะไรบ้าง
 
 
ตอบ…มีการเข้าค่ายครอบครัวกับผู้สูงอายุและพ่อแม่
 
 
ถาม…มีการรวบรวมคนมาเข้าค่ายกันได้เยอะมั้ย
 
 
ตอบ…มีการให้คณะกรรมการชุมชนไปรวบรวมคนมา
 
 
ถาม…แล้วความยั่งยืนของกิจกรรมนี้เป็นอย่างไร
 
 
ตอบ… ไม่ยั่งยืน เพราะมันไม่ต่อเนื่อง  เป็นลักษณะของการพาครอบครัวไปเที่ยวสองสามวัน แล้วก็กลับมาจากนั้นทุกอย่างก็เหมือนเดิม  แต่เท่าที่เห็นก็มีศูนย์บริการชุมชนนี่แหละที่ทำแล้วเห็นภาพได้ชัดเจนโดย เค้าจะเจาะลงมาที่คนสูงอายุก่อนจากนั้นจึงมาที่เด็กเล็ก
 
 
ถาม…คุณ ครูบอกว่าที่นี่เด็กอายุไม่ถึงสิบแปดก็สูบบุหรี่กันแล้ว ม. ต้นก็กินเหล้ากัน  อย่างนี้อาจจะแปลว่าร้านค้าก็ขายสิ่งเหล่านี้ให้เด็กโดยไม่ได้คำนึงถึงอายุ ของเด็กใช่ไหม
 
 
ตอบ…อันนี้เป็นปัญหาเหมือนกันเพราะว่า ปีที่แล้วผมเห็นเด็กเราสองสามคน เดินสูบบุหรี่ ก็สงสัยว่าไปซื้อบุหรี่มาจากไหน  ผมไปถามพ่อค้าแม่ค้าที่สนิทกันว่า เด็กที่โรงเรียนเดินถือบุหรี่สูบ ป้าขายให้เค้ารึเปล่า ป้าบอก  ไม่เคยขาย  ผมก็ยังสงสัยอยู่เลยไปสอบถามกับพวกเค้าซึ่งเค้าก็บอกว่าซื้อมาจากแถวโน้น  แถว 70 ไร่  เค้าเป็นเด็กศูนย์เมอร์ซี่  เด็กเหล่านี้บางคนก็โตแล้วพอมีก็เอามาให้เพื่อนบ้าง หรือว่าตัวเองก็มีในกระเป๋าบ้าง  ศูนย์เมอร์ซี่เซ็นเตอร์ของคุณพ่อไมเออร์ช่วยเหลือเด็กโรคเอดส์ และเด็กที่ถูกกระทำหรือเด็กที่มีปัญหาทางครอบครัวเอามาเรียนอะไรต่างๆ โรงเรียนของเรามีเด็กของคุณพ่อมาเรียนที่นี่จำนวนมาก
 
 
ถาม…หมายถึงเด็กที่บำบัดแล้วใช่หรือไม่
 
 
ตอบ… อยู่ในระหว่างการบำบัดก็มี  มีหลายสภาพ แต่ส่วนใหญ่คือเด็กที่มีปัญหาครอบครัวและพ่อแม่ไม่สามารถที่จะเลี้ยงดูได้ ศูนย์นี้เค้าก็เอาตัวออกจากพ่อแม่มาแล้วก็ส่งเรียนจนเด็กสามารถเลี้ยงตัว เองได้  นอกจากนี้คุณพ่อไมเออร์ยังสร้างศูนย์เด็กเล็กที่เมื่อก่อนชื่อว่าโรงเรียน วันละบาทตามชุมชนต่างๆ  ในเขตคลองเตยเป็นผู้ริเริ่มมาก่อนคุณครูประทีปอีก  คุณพ่อเริ่มต้นจากที่โรงหมูเป็นครั้งแรก คุณพ่อก่อตั้งวัด ก่อตั้งชุมชนโรงหมูโดยการรวบรวมชาวบ้านที่ทำงานที่โรงหมูเป็นอันดับแรก
 
 
ถาม…โรงเรียนนี้มีตั้งแต่ชั้นอะไร
 
 
ตอบ…ป. 1 ถึง ป. 6
 
 
ถาม…ถ้าจบจากที่นี่แล้วส่วนใหญ่จะไปเรียนต่อกันที่ไหน
 
 
ตอบ…วันธาตุทอง  ปทุมคงคา  สายน้ำผึ้ง  นนทรีวิทยาแถบๆ นี้ประมาณ 3 – 4 โรงเรียน
 
 
ถาม…คุณครูมองว่าสำหรับเรื่องเหล้า บุหรี่ ยาเสพติดในชุมชนนี้ คนที่เป็นผู้ใหญ่แล้วเค้าตระหนักกับมันบ้างมั้ย
เพระว่าเค้าก็เป็นต้นแบบให้ลูกให้หลาน เค้าเอง
 
 
ตอบ… บางครั้งเค้าก็อาจจะคิดแต่ว่าเด็กก็เห็นไปแล้ว  ถ้าเค้าพูดไปมันก็อาจจะไม่มีประโยชน์อะไรเพราะว่าเค้าเลิกไม่ได้  ถ้าเค้าพูดว่าพ่อยังกินได้ทำไมหนูจะกินไม่ได้ พ่ออาจจะพูดว่า ลูกเป็นเด็ก รอให้อายุเท่าพ่อแล้วมีเงินเดือนเหมือนพ่อหรือว่ากินแล้วควบคุมอารมณ์ได้ อันนั้พ่ออนุญาต เราควรจะพูดในแนวนี้ก่อนเพื่อยืดเวลาไปก่อน ต่อไปภายภาคหน้าเมื่อเค้าเห็นว่ากินเหล้าแล้วมันเกิดอาการไม่น่าดูต่างๆ เด็กอาจจะเปลี่ยนความคิดไปทางที่ดีก็ได้ 
 
 
ถาม…ในช่วงเทศกาลต่างๆ เช่น สงกรานต์ ปีใหม่ ปัญหาในชุมชนเรื่องเหล้ามีเยอะมั้ย หมายถึงกินแล้วตีกันใช้กำลังอะไรต่างๆ
 
 
ตอบ… เยอะ  ตั้งแต่ปีใหม่ สงกรานต์ ไม่ต้องพูดถึงเลยเรื่องกินเบียร์ ถือเหล้าตามจุดต่างๆ มีเยอะมาก มันก็เป็นปัญหา บางครั้งก็เดินผ่านไป ก็เขม่นกันก็มีเป็นประจำในช่วงเทศกาล  แต่ถ้าเป็นเด็กวัยรุ่นเค้าจะไม่ค่อยกินให้ใครเห็นเด่นชัดเหมือนที่ผู้ใหญ่ ทำจะแอบๆ หน่อย  แต่ถ้าเป็นช่วงเทศกาลอันนั้นเป็นอีกเรื่องนึง 
 
 
ถาม…มีอะไรบ้างที่แฝงมากับวงเหล้า ยาเสพติดมีมั้ย
 
 
ตอบ…ไม่ค่อยมี มักจะมีแต่เหล้าโซดา
 
 
ถาม…สำหรับคณะกรรมการชุมชนถ้าหมดวาระแล้วจะทำอย่างไร
 
 
ตอบ…ก็เลือกตั้งใหม่  วาระหนึ่งประมาณ 2 ถึง 3 ปี สำนักงานเขตเค้าจัดตั้งไว้
 
 
ถาม…สำหรับคุณพ่อเองซึ่งมารับตำแหน่งเจ้าวัดของชุมชนนี้ รู้สึกอย่างไรต่อบริบทแวดล้อมแบบนี้
 
 
ตอบ… พ่อมีความคุ้นเคยอยู่แล้ว เพราะสมัยที่อยู่บ้านเณร เป็นนักศึกษาแสงธรรมแล้วต้องมาทำงานที่นี่ก็เห็นคนที่เป็นกรรมกรผู้ใช้แรง งานกินเหล้ากันเป็นเรื่องปกติตามริมทาง เพราะฉะนั้นนี่เป็นสภาพชีวิตโดยทั่วไปของเค้า
 
 
ถาม…จากการที่คุณพ่อได้เห็นคนดื่มเหล้ากันขนาดนั้น คุณพ่อคิดว่ามันเป็นปัญหาที่ควรจะแก้ไขหรือไม่
 
 
ตอบ… คิดว่าน่าจะแก้ไขที่ปัญหาในเด็กและเยาวชนซึ่งอยากจะเข้าไปทดลองกับสิ่ง เหล่านี้ก่อน เพราะถ้าเค้ายังไม่ถึงวัยผู้ใหญ่ก็ยังไม่ควร เราต้องป้องกันเด็กเหล่านั้นก่อน แต่ถ้าระดับผู้ใหญ่ที่กินแล้วเมามายขาดสติแล้วเกิดปัญหาหรือมีเรื่องใน ครอบครัวอะไรต่างๆ อันนี้ก็ต้องแก้ไขต้องดูเป็นกรณีไป  ทีนี้ถ้าในชุมชนสภาพเค้าเป็นอย่างนี้แล้วเราไปลดไปอะไรต่างๆ แล้วต้องถือว่าต้องค่อยๆ ทำให้เบาบางลง สำหรับเด็กนั้น พอเค้าเป็นวัยรุ่นเค้าจะคิดได้ระดับหนึ่ง พอเค้าเป็นผู้ใหญ่เค้าจะคิดถึงการตัดสินใจว่าจะกินเหล้าให้มันมากๆ หรือจะกินอย่างพอประมาณหรือแม้แต่จะไม่กินเลย เค้าจะต้องบรรลุวุฒิภาวะที่จะตัดสินใจได้ที่เค้าจะเลือกเส้นทางสำหรับการ ประพฤติปฏิบัติ  ทั้งนี้ในช่วงวัยรุ่นบางทีเค้ายังตัดสินใจไม่ค่อยได้ เพราะวัยรุ่นจะชอบเลียนแบบผู้ใหญ่ แต่ถ้าเราบอกให้พ่อแม่สอนลูกของเค้าว่ายังไม่ถึงเวลา ให้ถึงเวลาก่อนก็เป็นการยืดเวลาที่พ่อเห็นด้วย  แล้วก็การที่ทำให้เด็กตระหนักถึงพิษภัยของแอลกอฮอล์และยาเสพติดต่างๆ ต่อไปถ้าเค้าได้เห็นว่ามันไม่ดีแต่พร้อมกันนั้นก็ได้เห็นตัวอย่างที่ดีของ นักกีฬาที่เค้าต้องบำรุงร่างกายและประสบความสำเร็จโดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่ง เหล่านี้  ถ้าเราจะทำให้เด็กไปสู่หนทางที่ดีก็ต้องสร้างตัวอย่างที่ดี หมายความว่าคุณฉีดวัคซีนที่เป็นตัวคุณธรรมให้เค้าเพื่อให้เค้าได้ตระหนักใน สิ่งที่ดี ถ้าเกิดว่าเค้าไปผิดพลาดไปพลั้งเผลออะไรต่างๆ เค้าก็ต้องหวนกลับมายังต้นทางหรือว่าแนวทางชีวิตที่ดี  ดังนั้นถ้าเค้าเห็นว่าการกินเหล้ามันสร้างปัญหาทะเลาะเบาะแว้งไม่ว่าจะเป็น ในชุมชนหรือในครอบครัวของเค้า แล้วถ้าเค้าได้เปรียบเทียบกับครอบครัวข้างๆ ที่พ่อแม่ขยันเป็นกรรมกรเหมือนกันแต่ว่าไม่กินเหล้ามีชีวิตครอบครัว เค้าก็จะได้คิด
 
 
ถาม…ขอชี้แจงถึงบทบาทของสำนักงานเครือข่าย องค์กรงดเหล้า คือเรารณรงค์ให้คนปรับทัศนคติและพฤติกรรมอันนำไปสู่การลด ละ เลิกบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเราเห็นว่าสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความล่มสลายในครอบครัวเยอะมากในมิติ ต่างๆ กัน เราจึงพยายามที่จะหาภาคีแนวร่วมที่มีใจ มีอุดมการณ์หรือแนวความคิดคล้ายๆ กันเพื่อดูว่าเราจะทำอะไรไปด้วยกันได้บ้าง  ซึ่งสำหรับในชุมชนคลองเตยนี้เราคงต้องขอความคิดเห็นจากเจ้าบ้านว่า ถ้าเราจะลงมาทำงานที่นี่เราควรจะเริ่มจากจุดไหนก่อน ระหว่างโรงเรียน วัด หรือชุมชน เพราะอย่างน้อยๆ ที่นี่ก็มีทุนทางสังคมอยู่พอสมควรเนื่องจากมีหลายๆ หน่วยงานเข้ามาก่อร่างสร้างโครงเอาไว้บ้างแล้ว อย่างที่คุณพ่อได้บอกเอาไว้เมื่อครู่นี้เกี่ยวกับการสร้างความตระหนักหรือ สร้างต้นแบบควรจะเริ่มจากจุดไหน
 
 
ตอบ…ถ้าเราเริ่มจากในชุมชน ขอบข่ายมันก็ใหญ่ นอกจากนี้จุดศูนย์รวมของชุมชนมันก็ยังไม่มี  แต่ถ้าพูดถึงโรงเรียนในเขตคลองเตยก็จะมีประมาณ 5 – 6 โรงเรียน ถ้าเราขอความร่วมมือ ก็อยู่ในชุมชนของเราอยู่แล้วและโรงเรียนก็เป็นจุดศูนย์รวมนักเรียนอยู่แล้ว เราก็ต้องเริ่มจากโรงเรียนก่อนเพราะว่าเด้กๆ ก้อยู่ในชุมชนละแวกนี้อยู่แล้วถ้าเราเจาะไปตามชุมชนหมุนเวียนกันไป  แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันไปพร้อมกับทำโครงการให้มันยุ่งยนไม่ใช่ว่าทำแค่ ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วก็หายกันไป  พอสิ่งต่างๆ มันต่อเนื่องแล้วเราอาจจะเอาแต่ละโรงเรียนมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน มาวางแผนด้วยกันแล้วแผนที่เราวางก็ลงตามโรงเรียน ขณะเดียวกันหน่วยงานที่รับผิดชอบก็ลงมาช่วยลงมาดูแลอย่างต่อเนื่องกันไป ถ้ามันสัมฤทธิ์ผลที่ดีก็ขยายโครงการออกไปอีกเรื่อยๆ 
 
 
ถา ม…สมมติในชุมชนของเรามีอยู่สิบครอบครัว คุณครูประมาณการได้หรือไม่  ว่ามีกี่ครอบครัวที่รอดจากความเสื่อมจากความเหลวแหลกที่มาจากการกินเหล้า เมายา
 
 
ตอบ…ผมเคยคุยกับน้าผมว่า เด็กร้อยคนมาอยู่กับเราแล้วเค้าติดยาหมดเลยแล้วเราจะทำให้เค้าเลิกได้ยังไง ผมนึกท้อ  น้าผมตอบว่า ถึงแม้เราทำได้แค่คนเดียวเราก็ประสบความสำเร็จแล้ว เหมือนกันสิบครอบครัว ถ้ามีครอบครัวเดียวไม่แตะต้องเหล้าเลยในขณะที่อีกเก้าครอบครัวกินทั้งหมด แต่สำหรับครอบครัวเดียวที่เลิกเหล้าได้ นั่นคือเราประสบความสำเร็จ เราต้องทุมเทลงไปก่อนไม่ว่าจะเป็นแผนไม่ว่าจะเป็นรูปแบบอะไรถ้าได้แค่ ครอบครัวเดียวก็ โอเค. 
 
 
ถาม…ในชุมชนนี้มีครอบครัวที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับแอลกอฮอล์ สิ่งเสพติดหรืออบายมุขมั้ย
 
 
ตอบ… ผมคิดว่ามี  อันนี้ต้องทำกระบวนการสืบค้นหาคนดีมีคุณธรรมในชุมชน หรือทำแผนที่ครอบครัวปลอดเหล้าซึ่งเราอาจจะแบ่งเป็นระดับโรงเรียนกับระดับ ชุมชน ถ้าทำระดับโรงเรียนก็จับเครือข่ายโรงเรียนมาทำด้วยกันตามสถานภาพที่ใกล้ เคียงกันมันจะง่ายขึ้น  ระดับชุมชนก็ต้องหาชุมชนแกนนำแล้วก็รวมกลุ่มชุมชนอื่นๆ เข้ามาเป็นเครือข่าย คือเครือข่ายชุมชนของเค้าถ้าเกิดว่าเค้าทำได้ในกระบวนการเพื่อลดการบริโภค เพื่อสืบค้นครอบครัวคนดีก็น่าที่จะทำได้ หรือถ้าเกิดว่ามีตัวโครงการหนึ่งที่เกิดการประสานกันระหว่างจากโรงเรียนสู่ ชุมชน เพราะเด็กมีพ่อแม่อยู่ในชุมชนก็เป็นอีกลักษณะหนึ่ง และเช่นเดียวกันจากโรงเรียนสู่ชุมชนก็อย่างเช่น สมมติว่าโรงเรียนสามัคคีสงเคราะห์อยู่ในพื้นที่โรงหมูก็จับมือทำโครงการกับ กรรมการชุมชนโรงหมู  โรงเรียนเป็นตัวกระตุ้นคอยเร่งปฏิกิริยาเข้าไปในคณะทำงานกรรมการชุมชนเข้า มามีส่วนร่วมทำให้เกิดการแสวงหาอาสาสมัครนำเรื่องนี้ลงไปทำในชุมชน กรรมการชุมชนก็รับทราบแต่ว่ามีอาสาสมัครอาจจะเป็นหนึ่งในกรรมการชุมชนที่ รับผิดชอบดุแลและชาวบ้านที่มีใจในเรื่องนี้มาช่วยกันทำกระบวนการนี้
 
 
ถาม… ไม่ทราบว่าทางโรงเรียนได้รับหนังสือเชิญร่วมโครงการรณรงค์เรื่องปัญหายาเสพ ติด ปัญหาเรื่องเหล้าตอนนี้ กทม. ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขเค้าพยายามสร้างแกนนำครูและนักเรียน ตอนนี้โรงเรียนหลักที่ทำงานอยู่มีประมาณ 20 โรง เราก็พยายามสืบค้นว่าโรงเรียนไหนที่มีครู – นักเรียนซึ่งมีใจทำเรื่องนี้ และตอนนี้ก็จะขยายผลให้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ใน กทม.  ย้อนกลับมาที่เร่องชุมชน ไม่ทราบว่าในช่วงเทศกาลต่างๆ อย่างเข้าพรรษา มีคนในชุมชนที่ประพฤติปฏิบัติตัวอยู่ในศีล 5 ข้อ คืองดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บ้างหรือไม่ 
 
 
ตอบ…อาจจะเป็น ส่วนน้อยแต่ก็มี อย่างบางคนอาจจะเลิกแค่วันเดียว ส่วนที่งดไปเลยทั้งสามเดือนก็มี หรือบางคนที่เลิกแล้วเลิกเลยก็มีอีกเหมือนกัน
 
 
ถาม…ในชุมชนมีครอบครัวที่ตกอยู่ในสภาพวิกฤติหนักเพราะสมาชิกในบ้านกินเหล้าบ้างมั้ย
 
 
ตอบ… เราต้องดูก่อนว่าคนกินเหล้ากินยังไง ถ้าเป็นขั้นวิกฤติที่ส่งผลกระทบต่อคนรอบข้างก็มีเป็นส่วนน้อย เพราะคนที่ทำอาชีพใช้แรงงานจะกินหนักมากไม่ได้เพราะส่งผลถึงการทำงานแต่ก็ มีบ้างสำหรับคนที่กินหนักๆ 
 
 
ถาม…เรามองว่าเหล้าส่งผล กระทบเรื่องค่าใช้จ่ายในครอบครัวด้วยนอกเหนือจากบริบทที่ทำให้ครอบครัวร้าว ฉานและนำไปสู่การล่มสลาย  ซึ่งคุณครูบอกว่ากรณีวิกฤติมีไม่มาก
 
 
ตอบ…ไม่มากเท่าไหร่ แต่ปัญหาเหล่านี้มันอยู่ที่พ่อแม่ลูก หรือสามีภรรยาว่าจะคุยกันยังไง  มีความเข้าใจกันแค่ไหน
 
 
ถาม…ประเภทที่แฝงอยู่คือไม่รุนแรงถึงขั้นแตกหักก็ยังมีอยู่ใช่หรือไม่
 
 
ตอบ…ก็ยังมีอยู่
 
 
ถาม… แต่เรื่องแบบนี้ก็ถือว่าเป็นระเบิดเวลาในครอบครัว เพราะลูกๆ ต้องเห็นแทบทุกวันภาพต่างๆ มันก็ซึมเข้าไปทีละนิดละหน่อยแล้วก็หล่อหลอมเค้า ซึ่งมันก็อาจจะมีสองทางที่เด็กเลือกที่จะเป็น คือ หนึ่ง เกลียดเหล้าไปเลย หรือ สอง เดินตามรอยสิ่งที่พ่อแม่ทำ จริงๆ เด็กระดับประถมอย่างที่โรงเรียนสอนอยู่ก็เป็นเสน่ห์ของครอบครัว เพราะบางทีผู้ปกครองจะเลิกดื่มได้ก็อาจจะมาจากลูกที่ไปพูดไปให้สติ คือผู้ใหญ่อาจจะมีสำนึกมีความละอายเกิดขึ้น แบบนี้ก็จะรุกคืบเข้าสู่ครอบครัวได้ เช่น ถ้าเด็กไปพูดว่าตัวเองเป็นทีมรณรงค์ต่อต้านแอลกอฮอล์นะ พ่อต้องหยุดก่อนนะ คือจะเป็นเหมือนกิจกรรมที่เค้าทำไว้แล้วให้เค้ากลับมาเล่าหรือแลกเปลี่ยน กับเพื่อนๆ ถึงเรื่องราวความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในครอบครัวของแต่ละคน  รวมถึงทางโรงเรียนอาจจะไปเยี่ยมบ้านของพวกเค้าด้วย นั่นหมายถึงว่าเราต้องบ่มเด็กต้นแบบจำนวนหนึ่งก่อน ขอหารือว่าหากเราจะปูพื้นงานตรงนี้ก่อนด้วยการให้เด็กๆ ได้ปฏิญานตน และเอาใบปฏิญานตนว่าจะลด ละ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปให้กับพ่อแม่และคนในครอบครัวของเค้า  อย่างแรกก็ช่วงเข้าพรรษานี้เป็นเบื้องต้น ส่วนในเชิงลึกคงต้องหารือกันต่อไป คุณครูคิดถึงเรื่องความเป็นไปได้หรือความน่าจะเป็นอย่างไรบ้าง 
 
 
ตอบ..ก็น่าจะได้ และน่าจะลองดู
 
 
ถาม… มันจะเป็นไปได้หรือไม่หากคุณครูจะมีการรวบรวมตัวแทนนักเรียนขึ้นมาจำนวน หนึ่ง แล้วให้การอบรมด้านข้อมูลกับพวกเค้าถึงแนวคิดเรื่องการต่อต้านเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ซึ่งซักวันหนึ่งมันอาจจะเป็นตัวการทำลายครอบครัวของเค้าก็ได้  จากนั้นก็บอกถึงบทบาทและหน้าที่ของเค้าในฐานะอาสาสมัครของโครงการนี้ ก่อนที่เราจะปล่อยเค้าลงพื้นที่จริง พร้อมกับใบปฏิญานตน
 
 
ตอบ…คือนำไปแจกเพื่อนบ้านของเค้า หนึ่งคนไปแจกอีกสิบครอบครัว
 
 
ถาม… เห็นด้วยกับวิธีนี้ เพราะจะทำให้เด็กนำไปปฏิบัติด้วยความตระหนักเริ่มจากตัวแทนของเด็กที่มี พลังอยู่แล้ว เมื่อผู้ใหญ่เห็นความพร้อมใจใฝ่ดีของเด็กก็น่าที่จะได้คิด อย่างน้อยๆ การใช้เด็กเป็นจุดเริ่มต้นก็น่าจะดีกว่านโยบายที่องค์กรซักองค์กรมาสั่งให้ ทำ  กล่าวคือผู้ใหญ่จะมีเปลือกห่อหุ้มตัวตนเอาไว้เยอะแต่ว่าเด็กจะปอกเปลือกออก ง่ายกว่าเพราะเค้าไม่ซับซ้อน ถ้าเราได้ใจเด็กหรือว่าเราบ่มเด็กจนเค้าสุกแล้วเค้ารู้ว่าหน้าที่เค้ามี อะไรที่สำคัญมากกว่าการอยู่ไปวันๆ เพื่อรอการเติบโตเป็นผู้ใหญ่  อาจจะให้เค้าคิดขึ้นมาเองก็ได้ว่าเค้าอยากจะทำอะไรในเรื่องของการรณรงค์งด เหล้าในช่วงเข้าพรรษาที่กำลังจะมาถึงนี้ก่อน  ซึ่งเค้าอาจจะสนุกและเกิดความภาคภูมิใจกับหน้าที่เพราะเค้าอาจจะมีใจอยู่ แล้วแต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มตรงตรงจุดไหน 
 
 
ตอบ…ทีนี้เด็ก ก็จะได้นำเครื่องมือคือใบปฏิญานตนนั้นเดินเข้าไปในชุมชน  พบปะกับครอบครัวอื่นแล้วก็มีลายเซ็นกลับมาด้วยว่าเค้าได้เคยไปแจกกับ ครอบครัวนี้ได้เคยไปพูดกับครอบครัวนี้เรื่องนี้ 
 
 
ถาม…ถ้า หากทางโรงเรียนสนใจทางเราอาจจะประสานกับเยาวชนที่ทำเรื่องนี้อยู่ ให้เข้ามาอบรมน้องๆ ได้ ที่สำคัญคือเป็นการฝึกเด็กของเราที่เค้าทำงานนี้อยู่แล้วมาให้เค้ามาเป็น ฝึกการพี่เลี้ยงได้ด้วย  เพราะเด็กๆ เค้าจะสื่อกันได้ดี
 
 
ตอบ…ใช่ การสร้างวิทยากรกระบวนการจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับเยาวชนได้
 
 
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
 
 
 
ติดต่อ คุณครูธนศักดิ์ ได้ที่  02 – 2499587 – 8  ( โรงเรียนสามัคคีสงเคราะห์ )

ที่มา :: http://www.stopdrink.com/webboard/public/view.php?id=251<hr width="100%" size="2" />

หมายเลขบันทึก: 35139เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2006 22:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 เมษายน 2014 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท