บริษัทเชิญ ผศ.นพ.จิตวัต รุ่งเจิดฟ้า(หัวหน้าหน่วยงานของพี่เม่ยนี่เอง) ให้ช่วยบรรยายเรื่องการประยุกต์ใช้ผลการทดสอบทางโลหิตวิทยาในการดูแลรักษาผู้ป่วย และ พี่เม่ยบรรยายเรื่องการบริหารคุณภาพห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยา โดยให้เวลาทั้งวันในการบรรยาย พี่เม่ยประเมินคร่าวๆดูแล้ว..โห!..เห็นทีว่าก็ต้องรับผิดชอบการบรรยายกันอย่างน้อยคนละ 2.5-3 ชม.
พอดีมีโอกาสได้ปรึกษากับผู้จัดการอบรม จึงขอเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เอาเป็นว่าบรรยายช่วงเช้าแบ่งกันคนละหนึ่งชั่วโมงก็พอ ช่วงบ่ายจัดเป็นวงเสวนาโต๊ะกลม เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็น และซักถามวิทยากร หรือซักถามกันเองได้อย่างอิสระ น่าจะดีนะ! เนาะ!... ผู้จัดเห็นด้วยค่ะ
พี่เม่ยอมยิ้ม...ไม่ยอมบอกความลับให้รู้หรอกค่ะ...ว่าเรานำวิธีของการจัดการความรู้เข้าไปให้กลุ่มผู้เข้าอบรมได้ใช้แล้วโดยไม่ให้เขารู้ตัว นั่นคือจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไปพร้อมๆกับ เพื่อนช่วยเพื่อนนั่นเองค่ะ
ดีใจจริงๆค่ะ ที่ได้มีส่วนสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ให้กับชาวห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยา......ในรูปแบบ...ธรรมชาติค่ะ..ธรรมชาติ!...
ขอชื่นชมพี่เม่ยที่ได้ขยายวงวิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการค่ะ เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่าวิธีการที่เราทำจนเป็นธรรมเนียมแล้วนี่ จะฝึกให้คนเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งในแต่ละช่วงเวลา คือเอาแต่"รับ" หรือเอาแต่"ให้" ซึ่งมนุษย์เราฉลาดกว่านั้น เราควรใช้ความฉลาดของเราให้ครบถ้วนกระบวนความ คือทั้ง"รับ"และ"ให้"ไปพร้อมๆกันเวลาดำเนินการปฏิสัมพันธ์กัน โดยเฉพาะในเชิงงานวิชาการ
จะพยายามช่วยขายไอเดียนี้ทุกโอกาสที่ทำได้เลยค่ะ ทำไม่นาน รับรองใครๆก็ต้องชอบ เพราะมีแต่ win-win กันทุกฝ่าย
คิดถึงพี่เม่ยและวิธีการเขียนที่น่าอ่าน สบายๆแต่ได้สาระแบบนี้จังเลยค่ะ เผอิญหลุดเข้ามาด้วยเหตุอันใดก็ไม่รู้ แต่ทำให้ได้มีโอกาสมาทำให้บันทึกดีๆกลับไปอยู่หน้าแรกอีกที นี่คือข้อดีของ GotoKnow และยังเป็นการส่งความคิดถึงไปถึงคนเขียนได้ด้วยนะคะ