การเริ่มต้นชีวิตวิจัยในสมัยเป็นนักศึกษาปริญญาตรีช่วยวิจัย ได้รับมอบหมายให้ช่วยงาน รศ.ดร.นิมิตร วรสูตร (ปัจจุบัน ข้าราชการบำนาญ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น) ในการเก็บข้อมูลอุตุนิยมวิทยาจะเครื่องมือต่าง ๆ ในสนามอุตุฯ ของหมวดพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาขอนแก่น ต้องตื่นแต่เช้าเพื่อเข้าไร่และจดบันทึกข้อมูลจากเครื่องมือหลายชนิด ได้แก่ เครื่องวัดอุณหภูมิอากาศ เครื่องวัดปริมาณน้ำฝน ถาดน้ำระเหย เปลี่ยนกระดาษเครื่องวัดพลังงาน แสงอาทิตย์ วัดอุณหภูมิยอดหญ้า จากนั้นจึงกลับหอพักและเตรียมตัวไปเรียนหนังสือต่อไป
การนำใช้ข้อมูลนั้นมีความซับซ้อนเกินความเข้าใจของนักศึกษาเกษตรในชั้นปี 3 หลายด้าน ได้แต่วัดตามที่อาจารย์มอบหมาย แต่สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงานมีค่ามากมาย และยังติดตัว มาถึงปัจจุบัน ได้แก่
๑. การที่คณาจารย์สอนให้มีความเคารพการทำงานของตนเอง ตรงต่อเวลาในการตรวจวัดเครื่องมืออุตุฯ ทุกวันไม่มีวันหยุด
๒. สอนให้มีความเคารพใน การทำงานของระบบธรมชาติ เชื่อมโยงกับระบบของเกษตรกรและชาวบ้าน เพราะข้อมูลที่วัดได้จะถูกนำไปใช้งานเพื่อการวิจัยและพัฒนาให้ระบบเกษตรดีขึ้น
จึงทำให้มีความเข้าใจและขึ้นใจเสมอว่าต้องทำงาน ให้ดีที่สุด เพื่อให้ผลงานวิจัยของเราช่วยเหลือชาวบ้านได้ ตามสาขาวิชาที่เกี่ยวกันกับปัญหา
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย อรรถชัย จินตะเวช ใน วิถีวิจัยของคนธรรมดา
ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับท่านอาจารย์ครับ
ความรู้ที่แท้จริงย่อมต้องสามารถพิสูจน์ให้เห็นผลได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม มิฉะนั้นก็คงจะเป็นเพียงตัวหนังสือบนกระดาษหรือความคิดฟุ้งซ่านในสมอง หาประโยชน์อันใดไม่ได้ครับ
เพราะฉะนั้นเราคงต้องถามตัวเราบ่อยๆ ว่าเราฟุ้งซ่านอยู่รึเปล่า? ถ้าเราคิดว่าความรู้ที่เรามีเป็นของจริงก็ขอจงช่วยกันพิสูจน์ให้เห็นชัด ด้วยการช่วยกันพัฒนาประเทศของเราครับ แบ่งเบาภาระของพ่อหลวงครับ
ผมคิดว่าความรู้มีหนึ่งเดียวครับ คือความรู้ที่แก้ไขปัญหาได้ ไม่มีภาคทฤษฎี ไม่มีภาคปฏิบัติครับ