specialist vs generalist


specialist generalist

เมื่อครั้งที่ผมจบมาทำงานใหม่ๆ ตอนนั้นธุรกิจโทรคมนาคมและไอทีกำลังฟูเฟื่องครับ ผมก็ได้มีโอกาสได้ร่วมงานกับบริษัททางด้านโทรคมนาคม หลายแห่งส่วนใหญ่ก็เป็นงานด้วยควบคุมโครงการ การสร้างเครือข่าย ในขณะนั้นจะสามารถเห็นผู้จัดการด้านวิศวกรรมที่อายุประมาณ 25-26 ปีได้เยอะมาก และนั้นก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ผมและเพื่อนๆ ปารถนา ในขณะนั้นผมเคยได้มีโอกาสสนทนากับผู้บริหารระดับสูงท่านหนึ่ง ในองค์กรที่ผมทำงานอยู่ ท่านได้เล่าให้ผมฟังเกี่ยวกับหนทางการเจริญก้าวหน้า ในหน้าที่การงานของผม ท่านเล่าให้ผมฟังว่าทางเดินมีอยู่ 2 ทาง ทางแรกคือการเจริญเติบโตเป็น specialist คือผู้ชำนาญเฉพาะทาง มีความรู้ความสามารถทางด้านเทคนิคเฉพาะเรื่อง กับสายที่สองคือการเจริญเติบโตเป็น generalist คือเข้าใจงานทุกอย่าง แบบพื้นฐาน แต่มีความสามารถในการคุมคนที่เก่งเฉพาะทางต่างๆ ให้ทำงานให้ได้อย่างเช่นท่านเป็นต้น ในตอนนั้นเองใจผมเทให้กับทางเดินที่สองหมดใจครับ เพราะเห็นจากตัวอย่างของผู้บริหารท่านนี้ครับ ตอนนั้นคิดอย่างเดียวว่าต้องการเป็น project manager ให้ได้

วันเวลาก็ผ่านไปครับ ผมก็ได้มีโอกาสได้ทำงานกับอีกหลายโครงการ และได้ทำงานร่วมกับผู้บริหารอีกหลายท่าน คนไทยบ้าง ต่างชาติบ้าง เก่งมากบ้าง เก่งน้อยบ้าง ทำให้ผมเริ่มเข้าใจว่า จริงๆ แล้วไม่มี specialist หรือ generalist หรอกครับ มีแต่ผู้บริหาร และผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จครับ เพราะผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ เท่าที่ผมรู้จักท่านจะเริ่มต้นจากการเป็น specialist จากนั้นถ้าท่านใดสามารถพัฒนาทักษะด้านการบริหารคนได้จึงเติบโต ขึ้นมาและเริ่มเรียนรู้งานด้านอื่นๆ (ที่หลายท่านเรียกว่า generalist ครับ)
 ผมสังเกตว่าท่านเหล่านี้จะเรียนรู้ได้เร็วมาก เรียกว่าเรียนรู้ได้ทัน และจับผิดลูกน้องที่ทำงานมานานกว่านับ 10 ปีได้

อันนี้เป็นข้อสังเกตส่วนตัวครับ ผู้บริหารที่โตมาทางสาย specialist มักมีคุณสมบัติ เช่น

1. เรียนรู้ได้เร็วมากครับ และรู้แบบอ่านได้ทะลุครับ  (ต้องยอมรับหัวสมองท่านจริงๆ ครับ) ซึ่งผมคิดว่าท่านพัฒนาทักษะด้านนนี้ในขณะที่ท่านเป็น specialist ครับ เพราะท่านต้องรู้ลึกรู้จริงครับ และรู้เร็วด้วยครับ

2.  มองงานออกตั้งแต่ต้นจนจบครับ เท่าที่ผมสังเกตคือ คนส่วนใหญ่จะมองงานจากระดับหยาบ 1 และค่อยๆ ละเอียดขึ้นเป็น 2 และ3 และ4 (สมมติว่ามี 4 ขั้นครับ) แต่ท่านเหล่านี้จะสามารถมอง 1 ไป 4 แล้วค่อยกลับมา 2 และ 3 ครับ คือท่านมีความสามารถในการมองทะลุไปจนถึงขั้นตอนสุดท้ายเลยครับ

3. อ่านใจลูกน้องออกครับ อาจจะเป็นเพราะท่านเหล่านั้นเคยทำงานเชิงลึกมาก่อนจึงเข้าใจ ความยากลำบาก และปัญหาในแต่ละขั้นตอนได้ดี จึงเข้าใจหัวอกของ ผู้ปฏิบัติงานครับ

4. เป็นคนจริง หรือเรียกว่า ได้ใจลูกน้องครับ เท่าที่ผมสังเกตท่านเหล่านี้ ไม่เคยทิ้งลูกน้องครับ และพร้อมจะยืนหน้่าลูกน้องเมื่อมีปัญหาเสมอครับ เรียกว่าลูกน้องมั่นใจได้ว่า มีท่านเสมอครับไม่ว่าสุขหรือทุกข์  แบบว่าร่วมสุขและร่วมทุกข์ด้วยครับ (หลายท่านจะเคยพบแบบ ร่วมสุขไม่ร่วมทุกข์ หรือแบบร่วมทุกข์ไม่ร่วมสุขบ้างนะครับ)

 วันนี้เท่าที่นึกออกก็มีแค่ 4 ข้อครับ ทุกท่านก็ทดลองมองดูคนรอบๆข้าง และสังเกตดูนะครับว่าเห็นเหมือนผมไหม? เอาไว้จะค่อยๆ เรียบเรียงเอามาเล่าให้ฟังอีกครับ 

คำสำคัญ (Tags): #management_by_experience
หมายเลขบันทึก: 35137เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2006 21:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 16:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ได้อ่าน specialist vs generalist รู้สึกประทับใจมากเลยค่ะ

ขออนุญาตนำข้อมูลนี้ไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักศึกษาสาขาบริหาร ได้ไม๊คะอาจารย์เอก

มีข้อคิดเห็นอย่างไรจะนำกลับมาเล่าสู่กันฟังค่ะ  คิดว่าคงจะได้แนวคิดจากนักศึกษาที่เค้ามีประสบการณ์การบริหารอย่างหลากหลาย

พี่อรอนงค์ แจ่มผล

เรียน ท่านอาจารย์เอก

ไปพบ http://gotoknow.org/ask/klao_t/52 ก็เลยลองนำมาให้ท่านอาจารย์อ่านค่ะ วันนั้นมีภาพถ่ายตอนท่านอาจารย์ทั้ง 2 กำลังทานข้าว(อาหารกล่อง) ในห้องอบรมด้วยนะคะ เป็นรูปภาพที่น่ารักมาก ไม่นำมาลงบล็อกแต่อย่างส่งให้ท่านอาจารย์ทั้ง 2 ชมทางอีเมล์ค่ะ

เรียน ท่านอาจารย์เอก

              ได้ทราบจากท่านอาจารย์ตู่ว่าอาจารย์ได้พบวิธีการสร้างชุมชนวิชาการออนไลน์ในรอยเตอร์แบบใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพ

              ท่านอาจารย์กรุณานำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่นี่บ้างนะคะ

 

kpruqateam

 

generalist และ specialistคืออะไรค่ะอาจารย์

อยากได้คำตอบตอนนี้ได้ไหมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท