งาน HR อันเป็นที่รัก


อายุงาน 19 ปี

หลังจากได้ปริญญาบัตรด้านบริหารการตลาดมา 1ใบ แล้วดิฉันก็เข้ามาในโลกการทำงานสู่อ้อมอกงาน HR ตลอดมา นับรวมได้19 ปี รู้อะไรบ้างเกี่ยวกับงานHR (ไม่ใช่น้อยหมายถึงเวลาไม่ใช่น้อยค่ะ ไม่ใช่รู้ไม่ใช่น้อย)

ภาพงานราชการของดิฉันเมื่อวัยสาว(ต้องคิดย้อนไปหลายปีหน่อยนะคะแต่พอจะจำได้)คืองานนั่งโต๊ะ แอร์เย็นๆ มีคนมาติดต่อเราทำงานก๊อกแก๊กๆ ผู้มาติดต่อรอรับงานไปพร้อมกับขอบคุณรอยยิ้ม เมื่อหมดเวลาราชการก็มาติดต่อเริ่มวันใหม่วงจรของการทำงานวนเวียนไปอย่างนี้จนหมดวันหมดเดือน หมดปีแต่เมื่อเข้ามาทำงานในระบบราชการจริง....หาเป็นเช่นนั้นไม่

ภาพงานราชการที่ว่าสบาย...ดิฉันติดภาพเหล่านั้นมาจากไหนกันอ๋อ!ดิฉันไปกับแม่ที่อำเภอ ที่ดิน จังหวัด ทุกวันนี้หน่วยราชการเหล่านั้นก็เปลี่ยนรูปโฉมไปหมดแล้ว

งาน HR ที่ดิฉันทำสนุกกว่านั้น และสบายน้อยกว่านั้น..มาก.... 
ดิฉันสนุกเพลิดเพลินกับงานจนคนใกล้ตัวสัพยอกว่าอุตส่าห์หาภรรยาเป็นข้าราชการหวังจะพึ่งพิงให้มีเวลาดูแลลูกน้อยหอยสังข์เต็มที่..หาเป็นเช่นนั้นไม่ดิฉันตอบขำๆ ไปว่า"นี่เป็นผลกรรมของพี่โดยแท้ที่แอบมี Hidden agenda "

เรื่องราวที่เขียนในวันนี้เกิดจากที่ได้ฟัง Sharing เรื่องการดำเนินการในเรื่อง HR จากบริษัท "บ้านปู" ที่ได้รับรางวัล TQC ในหมวดการจัดการทรัพยากรบุคคล ฟังแล้วทึ่งวิทยากรนำแลกเปลี่ยนคือ คุณ เวโรจน์ ลิ้มจรูญ ผู้อำนวยอาวุโสสายงานทรัพยากรบุคคล 

ตอนหนึ่งของการฟังท่านวิทยากรพูดว่าเราต่างเคยได้ยิน 
"Put the right man in the right job."  แต่นั่นมันเก่าไปซะแล้วในยุค HR ปัจจุบันที่หันมาจดจ้องที่คำว่าความสำเร็จขององค์กรอยู่ที่ "The Right People are..." (เลือกคนได้ถูกต้อง เข้ามาในองค์กร)

การบริหารงานบุคคลในยุคปัจจุบันจึงทุ่มเทไปที่ สรรหาคนที่ Fit กับองค์กร เป็นประเด็นสำคัญเพราะคนเป็นต้นทุนขององค์กร

หลายองค์กรเจอปัญหาว่า

"ตอนที่สอบสัมภาษณ์ก็ใช่ Fit อยู่ เหมาะอยู่แล้วทำไมอยู่ไปๆ กลายเป็นไม่ใช่ เลือกคนไม่เหมาะ ไม่ถูก ไปได้" 

เพราะการเลือกที่หยาบเกินไปจะไม่ได้คนถูกเข้ามาในองค์กร
โดยเฉพาะการเอาคนออกจากงานในเมืองไทยที่มีลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัยสูงทำได้ยากมากยิ่งถ้าเข้ามาในระบบราชการยิ่งยากที่สุด(การประเมินก็อ่อนแอ ตัววัดด้านผลประกอบการก็เจือจาง...ยังไงก็ไม่ขาดทุน...ในวงเล็บนี้แอบคิดเองนะคะวิทยากรไม่ได้พูด)

เมื่อรับเข้ามาแบบไม่ถูกไม่ต้อง เนื่องจากสอบสัมภาษณ์วัดไม่ได้ถ้าไม่ชำนาญ การสอบข้อเขียนวัดไม่ได้ทั้งหมด แถมหากมีระบบเครือญาติเข้ามาพัวพันอีกยิ่งเป็นสัดส่วนความเสี่ยงที่จะรับคนไม่ถูก เข้ามาในองค์กรมากขึ้น

หลายองค์กรเช่นกันมีปัญหาจากการรับคนไม่ถูกเข้ามาให้เหนื่อยกับการสร้างตัววัด รวมถึงมาตรการต่างๆ ถ้าผลงานไม่ถึงเป้า งาน HR จึงต้องมาสาระวนกับ เรื่องการประเมินผลการปฏิบัติงาน แทนที่จะใช้เวลาไปคิดเรื่องอื่นๆ ท้ายสุดก็ทำเรื่องขอคนใหม่มาถึง HR เพราะคนเก่าที่รับมาผิดไม่สามารถตอบสนองผลงานตามที่ต้องการได้

คนที่ Fit กับองค์กร น่าจะหมายถึง
มีวินัยในตนเอง
มีวินัยในการทำงาน
ส่งผลให้องค์กรมีสมรรถนะ สูงสุด

งาน HRหนีกันไม่พ้นกับเรื่อง Competency "บ้านปู"มองคน 1คน ประกอบด้วย Competency 3 ส่วนคือ
1.ประสบการณ์ที่จะช่วยในตำแหน่งนั้น  Working Experience
2.ความรู้เกี่ยวกับ  OrganiZational 
3.นิสัยบุคลิคภาพส่วนตัวกับงานที่รับผิดชอบ

งานหลักๆ ของHR "บ้านปู"  คือ

ทำอย่างไรที่จะบริหารความต่างของบุคคลที่เขารับเข้ามาให้ลงตัว
(บริหารทีมงานในรูปแบบต่างๆ)

กระตุ้นself motivate ของบุคคล
(แรงจูงใจในด้านดี เช่นแรงจูงใจสู่ความสำเร็จของงาน)

ตอบแทนความต้องการของบุคคลได้ครอบคลุม(ตอบแทนตามความต้องการที่อยากได้)

การรักษาคนเก่งไว้กับองค์กร(ไม่เสียคนเก่งคนดีให้คู่แข่งรวมถึงบุคลากรมีความจงรักภัคดีต่อองค์กร)

บนพื้นฐานความเชื่อว่า "ความยากของงานคือการบริหารความลงตัว ของบุคลากรที่มีความต่าง" ความต่างที่ว่าอันเกิดมาจากการเลี้ยงดู สภาพแวดล้อม และการได้รับการตอบสนองที่เสมอภาคสอดคล้องกับผลการปฏิบัติงาน

เล่าสู่กันฟังเพื่อการแบ่งปันค่ะ
สำหรับ "19 ปีกับงาน HR ดิฉันรู้อะไรบ้าง" 
รอคลอดนะคะ..ตั้งท้องอยู
มีความสุขกับวันหยุดช่วงเทศกาลปีใหม่ไทยค่ะ

หมายเลขบันทึก: 351302เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2010 17:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 09:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มารับความสุขช่วงเทศกาลปีใหม่ค่ะ

พระอาจารย์ไร้กรอบเคยบอกว่า

"วันสัมภาษณ์" คือวันที่คนโกหกมากที่สุดในชีวิต (อิอิ...ยังแอบขำขำ)

เพราะระบบการสอบแข่งขันโดยการสัมภาษณ์วัดได้น้อยมากในการรับคนเข้าทำงาน

และการตัดสินของคณะกรรมการในวันเดียว ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะได้คนที่เหมาะสมกับงานในองค์กร

ระบบการสอบแข่งขันก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่องค์กรราชการยังใช้ในการสอบเข้า  และบางทีก็ไม่ได้ฟิตกับงานที่ทำ แต่เป็นเพราะจำเก่ง ท่องเก่ง แต่มนุษย์สัมพันธ์ ฯลฯ อาจจะแปรผัน (อิอิอิ)

หลัง ๆ มานี่มีระบบสอบแข่งขัน ถ้าให้ออกข้อสอบระเบียบ ตัวเองก็จะให้คนสอบออกข้อสอบเอง  แล้วก็วิเคราะห์ดูว่า ที่เขาได้เรียนรู้จากการอ่ากนระเบียบเพื่อสอบเข้าทำงาน เขามีวิธีการอย่างไร  เพราะจริง ๆ แล้วระเบียบก็สามารถเข้ามาเรียนรู้เรื่องทำงานได้ แต่กระบวนการเรียนรู้ในองค์ความรู้ที่มีอยู่ต่างหากที่เป็นสิ่งจำเป็น ไม่อย่างนั้น เราไม่มานั่งฝึก นั่งทำ นั่ง(ฝัน) กันอยู่ทุกวันนี้

...............

นาน ๆ มาที ก็เขียนมากหน่อย เพื่อเล่าสู่กันฟ้ง

ตามมาเรียนรู้ด้วยคนค่ะ

สบายดีนะคะ

สวัสดี ปีใหม่ไทย ค่ะน้องรัก

ชอบใจ 

"วันสัมภาษณ์" คือวันที่คนโกหกมากที่สุดในชีวิต (อิอิ...ยังแอบขำขำ)

เพราะระบบการสอบแข่งขันโดยการสัมภาษณ์วัดได้น้อยมากในการรับคนเข้าทำงาน

และการตัดสินของคณะกรรมการในวันเดียว ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะได้คนที่เหมาะสมกับงานในองค์กร

ของน้องอึ่งอ๊อบมากค่ะ พี่โอ๋เพิ่งพบประสบการณ์ตรงมาไม่นานนี้เอง ซึ้งมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท