การปลูกกรันเกรา


การปลูกกรันเกรา

เมื่อวานผมได้รับข่าวทางโทรศัพท์ จากหมายเลข 089-9454134 แจ้งว่าเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2549 ที่ผ่านมาทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านกล้วยไม้ไทย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี มีความภาคภูมิใจมากที่ได้ถูกรับเชิญให้ไปเป็นวิทยากรหลักในกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการเพาะพันธุ์พืชป่า ซึ่งประกอบไปด้วย เฟิร์น กล้วยไม้ และกันเกรา จากสำนักงานป่าไม้เขตจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งจัดขึ้นที่สถานีส่งเสริมและอนุรักษ์ฯ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม จังหวัดอุบลราชธานี

ภูมิใจอย่างไร ? คุณรำพึง แก้วเขียว "พันธมิตรทางวิชาการ" ประธานกลุ่มฯ เล่าให้ฟังอย่างตื่นเต้นว่าที่ภูมิใจเพราะว่าคนที่มาร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนั้น ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ มีแต่พนักงาน และข้าราชการ ตนเองเป็นเพียงเกษตรกรตาดำๆ คนหนึ่งเท่านั้น แถมก็น้อยด้วยคุณวุฒิ ที่ได้มีโอกาสเป็นวิทยากรหลักในการถ่ายทอดความรู้ และทุกคนมีความสนใจมากเป็นพิเศษในเรื่องของเทคนิคการเพาะพันธุ์กันเกรา ที่ประชุมบอกว่าเป็นความรู้ใหม่ ยังไม่เคยได้ยิน และเคยเห็นที่ไหนทำมาก่อน "เป็นชุดความรู้หนึ่งเดียวในโลก"

จัดการความรู้อย่างไร คุณรำพึง เล่าให้ฟังต่อว่าหลังจากที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (share & Learned) เทคนิคการเพาะกันเกรากับผมไปเมื่อปีก่อนโน้น จึงนำไปปฏิบัติดู (Learning by Doing) ปรากฏว่าได้ผลดีมาก กันเกรางอกดี และโตเร็ว กรมป่าไม้จึงมีความสนใจที่จะนำความรู้ไปใช้ในการขยายพันธุ์ต่อไป จึงมาขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย จากนั้นตนเองจึงได้เล่าประสบการณ์การเพาะกันเกราให้ฟังว่า

1.ปกติกันเกราจะออกดอกหอมโชยชื่น ประมาณเดือนเมษายน พฤษภาคม ของทุกปี แล้วผลจะสุกแก่เต็มที่ประมาณเดือน กันยายน พฤศจิกายน ของทุกปี

2. เก็บเมล็ดที่สุกแดงเต็มที่มาบีบเอาเมล็ดที่มีสีดำ หมักทิ้งเอาไว้ประมาณ 1 – 3 คืน

3. นำเมล็ดมาล้างน้ำ และทำความสะอาดให้เรียบร้อย จึงนำไปผึ่งไว้ในร่มประมาณ 2-3 วัน จึงนำเก็บในตู้เย็นประมาณ 5 องศาเซลเซียส พักเอาไว้ประมาณ 1 เดือน เพื่อทำลายการพักตัวของเมล็ด

http://astore.amazon.com/cheaptvs-vizio.lcdtv32-37hdtv-deal-20

 

4. การเพาะเมล็ด (เพาะได้ตลอดปี) สามารถเพาะได้ทั้งในตระกล้า และในแปลงแต่หากอยู่ในแปลงต้องเตรียมดินให้ละเอียด คลุกด้วยขี้เถ้าแกลบ หรือขุยมะพร้าว เพื่อช่วยในเรื่องของการระบายน้ำและอากาศ หากเป็นตระกล้าให้เอาดินกับวัสดุเพาะดังกล่าวผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันกับดินในท้องที่ อัตราส่วน 1:1 ส่วน

5. นำเมล็ดมาหว่าน หรือโรยเป็นแถวบางๆ

6. นำเอาดินที่คลุกส่วนผสมโรยทับเมล็ดบางๆ รดน้ำให้ชุ่ม

7. ทำเป็นกระโจมด้วยพลาสติกใสเพื่อรักษาความชื้น และให้มีอุณหภูมิประมาณ 30 องศาเซลเซียส ประมาณ 2-4 สัปดาห์ เมล็ดกันเกราจะเริ่มงอก และเลี้ยงต่อไปในกระโจมที่มีแสงผ่านแบบรำไรจะทำให้กันเกราโตเร็ว

8. เมื่อต้นสูงประมาณ 5-10 ซม. จึงแยกลงถุงปักชำต่อไป

ความภูมิใจ นี่จึงเป็นความภูมิใจของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านกล้วยไม้ไทย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี อย่างแท้จริงหลังจากที่ร่วมเรียนรู้เรื่องนี้กันมากว่า 3 ปี จนกระทั่งประสบความสำเร็จ และมีคนให้ความสำคัญในการไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพราะต้นกันเกรา หรือภาคใต้เรียกต้นตำเสา เป็นไม้มงคลที่ผู้คนทั่วไปมีความสนใจในการหาไปปลูกตามบ้านเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคล แต่มีวิธีการขยายพันธุ์ที่ยาก แถมยังโตช้าอีกต่างหาก แต่ ณ วันนี้เราเรียนรู้ได้สำเร็จแล้ว

ขอบคุณครับ

อุทัย อันพิมพ์

30 ธันวาคม 2549

ที่มา http://gotoknow.org/blog/uthaiunphim/70234

คำสำคัญ (Tags): #lcd#กันเกรา
หมายเลขบันทึก: 351075เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2010 17:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท