"การขอหนังสือรับรองการเกิด..กรณีเด็กไม่ได้เกิดที่โรงพยาบาล"


ยังไงก็ตาม..ต้องขอบคุณพี่ชายคนนี้ ที่หยิบเรื่องนี้ขึ้นมาถาม ทำให้เราได้มีโอกาสทบทวนความคิด ค้นคว้าหาความจริงมาตอบให้ และก็ทำให้เราได้รู้ว่าสิ่งที่เรารู้นั้นถูกหรือผิดอย่างไร!?!

วันนี้ได้มีโอกาสคุยทาง msn กับพี่ชายคนหนึ่ง คือ "อาทิตย์ วงศ์อทิติกุล" ปัจจุบันเป็นนักศึกษาปริญญาโท จากคณะรัฐศาสตร์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งตอนนี้พี่เขาก็กำลังทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับคนไร้รัฐไร้สัญชาติอยู่เหมือนกัน

ประเด็นที่พี่เขาหยิบขึ้นมาถาม คือ การขอหนังสือรับรองการเกิดที่อำเภอต้องทำอย่างไรบ้าง?? เนื่องจากพี่เขามี case นึงที่เกิดโดยหมอตำแย ต้องพาไปขอหนังสือรับรองการเกิดที่อำเภอไว้ก่อน แต่ไม่แน่ใจว่าต้องใช้พยานหลักฐานอะไรบ้าง..

โดยหลักแล้ว..

หากเด็กเกิดที่โรงพยาบาล เด็กก็จะได้รับ ทร.1/1 เป็นหนังสือรับรองการเกิดที่ออกโดยโรงพยาบาล

แต่หากเด็กไม่ได้เกิดที่โรงพยาบาล ก็ต้องไปขอหนังสือรับรองการเกิดที่อำเภอที่เด็กเกิด พยานบุคคลที่ใช้ได้แก่

1. พยานที่รู้เห็นการเกิด ซึ่งอาจจะเป็น "หมอตำแย" ที่เป็นคนทำคลอดและรู้เห็นการเกิดของเด็ก

2. พยานอื่นอีก 2 คน ซึ่งในทางปฏิบัติทางอำเภอจะเรียกร้องให้กำนันหรือผู้ใหญ่บ้านเป็นคนรับรองการเกิดของเด็ก

ส่วนพ่อแม่ของเด็กจะเป็นแค่ผู้มีส่วนได้เสียในการนี้เท่านั้น

เมื่อพากันไปที่อำเภอแล้ว ทางอำเภอก็จะสอบปากคำหมอตำแย และพยานคนอื่นๆ หากเป็นที่เรียบร้อยทางอำเภอก็จะออกหนังสือรับรองการเกิดให้

"ยังไงก็ตาม..ต้องขอบคุณพี่ชายคนนี้ ที่หยิบเรื่องนี้ขึ้นมาถาม ทำให้เราได้มีโอกาสทบทวนความคิด ค้นคว้าหาความจริงมาตอบให้ และก็ทำให้เราได้รู้ว่าสิ่งที่เรารู้นั้นถูกหรือผิดอย่างไร!?!"

ปล. คำตอบที่ได้รวบรวมมาจากอาจารย์แหววค่ะ!!

หมายเลขบันทึก: 34976เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2006 19:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 สิงหาคม 2013 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

     เด็กที่ไม่ได้เกิดที่โรงพยาบาลก็สามารถออกหนังสือรับรองการเกิด (ทร.1/1) ได้ครับ เพราะเรา (หมอนามัย) ก็สามารถออกได้ หากเป็นผู้ทำคลอดเองจริง ๆ แม้จะเป็นการคลอดนอกสถานบริการ (สถานีอนามัย)
     เมื่อคราวผมอยู่ที่สถานีอนามัย และเป็น จนท.ที่อยู่บ้านพักในตอนกลางคืนคนเดียว ผมไปทำคลอดที่บ้านร่วมกับหมอตำแย (โต๊ะบิแด) แต่ไปในนามสถานีอนามัยที่ผมประจำการอยู่ หลายต่อหลายครั้งจนเป็นเรื่องปกติ หากเขาไปตามหมอตำแย หมอตำแยก็จะให้ใครมาตามผมไปสมทบ หากเขามาตามผม ผมก็จะไปชวนหมอตำแยด้วย เราร่วมกันช่วยทำคลอดโดยใช้ศาสตร์และฐานเชื่อด้วยความเคารพกันและกัน ทุกรายผมเป็นคนออก ทร.1/1 เองครับ และก็ไม่มีปัญหาใด ๆ ในการไปแจ้งเกิดที่อำเภอครับ
     ยินดีที่ได้ ลปรร.กันนะครับ ส่วนคุณ"อาทิตย์ วงศ์อทิติกุล" เป็นเพื่อนที่เรียนหมออนามัยรุ่นเดียวกันกับผมที่ วสส.ยะลา ครับ ฝากความระลึกถึง และขอฝากบอกด้วยว่า ให้สำเร็จการศึกษาสมตามที่มุ่งหวังนะครับ

ขอบคุณนะคะ..ที่ช่วยสร้างความกระจ่าง.. เตือนจะทำความเข้าใจเสียใหม่ค่ะ :)

พรุ่งนี้ อ.แหววจะอธิบายให้เตือนฟังนะคะ แล้วเอามาเขียนใหม่ ยังมีรายละเอียดอีกพอสมควรที่จะต้องตอบให้อาทิตย์ทราบนะคะ

เสริมคุณชายขอบ กรณีของการทำคลอดของหมอตำแย ที่ทำงานร่วมกับอนามัย ก็เป็นที่มาของ ท.ร.๑/๑ ได้ค่ะ

แต่ที่จะต้องให้เตือนแยกแยะให้ชัดสำหรับคุณอาทิตย์ ก็คือ (๑) ขั้นตอนการรับรองการเกิด ซึ่งทำโดยผู้ทำคลอด (๒) ขั้นตอนการรับแจ้งการเกิดและออกสูติบัตร โดย อำเภอหรือเทศบาลหรือเขต แล้วแต่กรณี (๓) ขั้นตอนการเพิ่มชื่อหรือลงรายการในทะเบียนราษฎรโดย อำเภอหรือเทศบาลหรือเขต แล้วแต่กรณี

 

เรียน อาจารย์แหวว

     คงต้องเรียกว่าการออกหนังสือรับรอง ทร.1/1 ให้ความสำคัญที่ใครเป็นผู้ทำคลอดหลัก (รับผิดชอบ) และคนนั้นมีสิทธิ์ที่จะออก ทร.1/1 ได้หรือไม่ (หมออนามัยที่ปฏิบัติงานประจำ ณ สถานบริการ มีสิทธิฯ ทุกคน ภายใต้การมอบอำนาจให้จาก นพ.สสจ.) ส่วนจะเป็นคลอดที่ไหนไม่สำคัญครับ

อันที่ต้องระวัง ก็คือ "สิทธิ" ที่ว่านั้น มีกฎหมายรองรับไหม ?

ดิฉันเอง ก็อยากให้ สสจ.มีอำนาจตามกฎหมาย แต่ตอนนี้ เปิดกฎหมายดู ก็ไม่พบ เมื่อ สสจ.ไม่มีอำนาจตามกฎหมาย คนที่รับมอบอำนาจจาก สสจ. จึงมีอำนาจไม่ได้

ดิฉันสู้เรื่อง "การแจ้งเกิด" มาหลายปี หัวเสียมาก กับการที่เด็กตกเป็นคนไร้รัฐเอาง่ายๆ ด้วย ความไม่ชัดเจนของกฎหมายในเรื่องนี้

ตอนนี้ กำลังผลักดันให้กระทรวงมหาดไทยแก้กฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรให้ชัดเจนเสียที เหนื่อยต่อการที่จะต้องไปโต้แย้งกับอำเภอบ้าง เทศบาลบ้าง เขตบ้าง

ความเอื้ออาทรต่อเด็กนั้น มันไม่เกิดทั่วไปค่ะ

งานของเราลงใต้ตอนนี้ เคยคิดว่า ใต้ไม่มีปัญหา แต่เราเข้าใจผิด มีปัญหาเยอะเหมือนกัน

ลองอ่านดูแล้วกันค่ะ

http://www.archanwell.net/autopage/admin/p_autopage.php?t=66

ต้องการความช่วยเหลือค่ะ พวกนักกฎหมายก็เหมือนหมอ ถ้าไม่ทราบปัญหาในเชิงข้อเท็จจริงแบบชัดๆ การสร้างหรือแก้กฎหมายและนโยบายให้มีประสิทธิภาพ ก็ยากค่ะ

หนังสือรับรองการเกิดนั้นสำคัญมากค่ะ ผู้รับรองต้องรู้เห็นการเกิด ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยพยานหลักฐาน ถ้าหมออนามัยมาออก ท.ร.๑/๑ โดยไม่รู้เห็นการเกิดจริงๆ กล่าวคือมาออกแทนคนอีกคนหนึ่ง (หมอตำแย) เวลาขึ้นศาล น้ำหนักก็จะน้อยมาก

     เน้นย้ำด้วยความชัดเจนครับ...หมออนามัยมีสิทธิภายใต้บริบทที่ผมเขียนถึง 100% ครับ รวมไปถึงการประกอบวิชาชีพทุกอย่างตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ ให้เป็นไปภายใต้การคบคุม กำกับ ของ นพ.สสจ.จังหวัดนั้น ๆ ด้วย
     ส่วนการออก ทร.1/1 โดยไม่มีการรู้เห็นการเกิดนั้น จะกระทำมิได้ ประเด็นที่ผมเขียนไว้ ไม่มีส่วนนี้ ผมสื่อสารอย่างชัดเจนว่าผม(หมออนามัย)ร่วมทำคลอดด้วย และเป็นผู้รับผิดชอบหลัก 
     ผมก็สนใจเรื่องประเด็นนี้ ยังมีคนพิการอีกหลายท่านในเครือข่ายฯ ที่พัทลุง ไม่มีเลข 13 หลัก เพราะไม่มีการแจ้งเกิดให้ถูกต้อง (จริง ๆ เพราะรัฐไปยกเว้นให้เขาตั้งแต่ต้น ภายหลังกลับนำการมีเลข 13 หลัก มาบังคับใช้อย่างถ้วนหน้า) ยังผลให้การเข้าถึงสิทธิใด ๆ เป็นปัญหา และแก้ยากมาก
     ฉะนั้นผมพิจารณาแล้วว่าหากปัญหา(รากเหง้าของปัญหา)ที่ท่านสนใจ (เชิงวิชาการ) กับปัญหาในบริบทจริง ๆ ยังแยกส่วนกัน ผมก็หวังยากขึ้นในฐานะผู้รอคอยที่จะได้รับการบรรเทาปัญหา ซึ่งถือว่าต้องแก้ไขเชิงนโยบายเท่านั้น ครับผม เอวัง!

เรื่องทะเบียนการเกิดสำหรับเด็กภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรากำลังคุยกันนี่ล่ะค่ะ

กฎหมายไทยที่ใช้อยู่ มีหลายจุดที่ทำให้เด็กในบางสถานการณ์ไม่ได้รับการจดทะเบียนการเกิด โดยเฉพาะบุคคลของพ่อแม่ที่ไม่มีบัตร แม้ได้ ทร.๑/๑ จากโรงพยาบาล ก็ไม่อาจนำเด็กไปสู่ "สูติบัตรได้"

ยังมีทางปฏิบัติที่ขัดต่อกฎหมายในความเป็นจริงหลายจุด ถ้ากฎหมายไม่ดี ก็ต้องแก้ไขกฎหมาย ถ้าทางปฏิบัติไม่ดี ก็ต้องแก้ไขที่ทางปฏิบัติ

ดิฉันคงต้องเรียนคุณชายขอบว่า หากที่คุณว่า ตอนท้ายๆ หมายความว่า เราไม่สนใจแก้ปัญหาของเด็กนะคะ เราก็คงเสียใจค่ะที่ถูกตัดสินเช่นนั้น อย่าตัดสินกันง่ายๆ เลยค่ะ ลองพยายามเรียนรู้กันก่อน น่าจะดีกว่าว่า พวกเรากำลังพยายามทำเพื่อใคร ? และเพื่ออะไร ?

แฮ่ ๆๆ ดีใจจังที่มีชื่อปรากฎอยู่ใน บทความ แห่งนี้ แต่ก็ นั้นแหละ ครับ อยากจะแจ้งว่า "น้องคนนั้น" ไปติดต่อที่อำเภอแล้ว โดยแจ้งความประสงค์ ว่าจะมา จัดการด้านการทะเบียนอะไรสักอย่าง (ซึ่งน้องเขาพูดมาผมก็ยัง งง ๆ อยู่ ว่า ไปทำอะไร แน่ ) แต่สิ่งที่หนึ่งที่ผม รับรุ้จากน้องเขา ก็คือ ถูก "เจ้าหน้าที่อำเภอ ท่านหนึ่ง " ตำหนิแกมดุ มาว่า "มาติดต่อทำไม ในเมื่อไม่ได้มีเอกสารเรียกให้มาดำเนินการ ตอนนี้ไม่ทำให้หรอก เพราะงานยุ่งจะแย่อยู่แล้ว " เกิดความสับสนว่า เอ๊ะ เราในฐานะราษฎรจะไปติดต่อกับทางอำเภอนี่ จำเป็นต้องมี หนังสือแจ้งให้ไป ด้วยหรือ ????? ถ้าเราไปเองโดยที่เรามีธุระส่วนบุคคลที่คิดว่า "มีความจำเป็นต่อตัวเรา" เราจะไปติดต่อไม่ได้เชียวหรือ และไม่อาจทำอะไร ไม่ได้เชียวหรือ เป็นความผิดมากแค่ไหนถ้าไปติดต่อโดยไม่ได้มีการนัดหมาย ผมได้ฟังแล้วก็ "ลมออกหู" เมื่อทราบว่า "น้องคนนั้น" ได้ถูกปฏิเสธการติดต่อกับทาง ที่ว่าการอำเภอฯ มันเสียความรู้สึก อย่างมากมาย และเสียใจต่อ "ข้าราชการท่านนั้น" ที่รับเงินเดือนจากภาษีประชาชน ได้มาเป็นข้าราชการ มีเกียติยศศักดิ์ศรี คำสรรเสริญ และบรรดาศักดิ์ ความนับหน้าถือตา แต่หาได้เป็นการเลื่อนชั้น เลื่อนตนเป็นเจ้านายหรือผู้มีอำนาจเหนือประชาชนคนไทยไม่ ใจจริงอยากจะระบุ ว่าเป็นที่ทำการอำเภอแห่งใด แต่ เกรงถึง ควสามเสถียรภาพ และด้านต่าง ๆ ของ "น้องคนนั้น" จึงมิอาจระบุลงไปได้ เพียงแต่ขอเขียนไว้เป็น อุทาหรณ์และแง่คิด ถึงคนที่เป็น "ข้าราชการ" และ "ผู้ใฝ่รู้ทั้งหลาย" แต่สำหรับ บุคคลที่รู้จักผม ย่อมทราบดี ว่าที่ว่าการอำเภอแห่งนั้น คือที่ใด ????

สวัสดีค่ะ"คือตอนนี้หนูอายุ17แล้วยังไม่ได้สัญชาติไทยกำลังยื่นคำร้องค่ะเอกสารครบหมดแล้วยกเว้นแต่ใบเกิดค่ะ

หนูยังไม่มีใบเกิดหนูไม่ได้เกิดในโรงพยาบาลหนูเกิดกับหมอตำแยค่ะ

หนูต้องไปแจ้งเกิดที่ไหนค๊ะ?

แล้วหนูต้องนำหลักฐานอะไรไปแจ้งค๊ะ?

หนูต้องเอาหมอตำแยคนที่ทำคลอดไปแจ้งเกิดไช่ไหมค๊ะ

หนูเป็นคนหนึ่งที่มีปัญหาเรื่องนี้ หนูเกิดกับหมอตำแย พอเกิดเสร็จ พ่อแม่ ก็พาเข้ามาพัทยาหางานทำ และไม่เคยกลับบ้านเกิดอีก แต่รุ้ว่าอยู่ที่ไหน รู้ว่า หมอตำแย คือใคร เลย พอ อายุได้ 7-8 ขวบ พ่อเสีย แม่หายตัวไป หนู่อยู่คนเดียวคือเรื่องยาวมากอ่ะค่ะ ตอนนี้ ที่มีอยู่ที่ตัว คือ บัตรเลข0นำหน้า

เอกสารการเรียน เท่านี้ ขอทำเรื่องมามากกว่า 10ปี จนตอนนี้ ท้อมาก

คิดว่า ถ้าทำอะไรไม่ได้เลย ต้องอยู่แบบคนที่ทำอะไรไม่ได้ แบบนี้หรอค่ะ??

ขอความเห็นใจค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท