พระพุทธเจ้าทำKMมานานแล้ว


โปรดใช้วิจารณญาณในการติดตาม

        ก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะดับขันธปรินิพพาน พระอานนท์ทูลถามพระองค์ว่า “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หลังจากพระองค์ปรินิพพานแล้ว พระองค์จะทรงตั้งใครเป็นศาสดาแทนพระเจ้าข้า”
         พระพุทธเจ้าตรัสตอบเป็นภาษาบาลีว่า “โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา” แปลว่า ดูก่อน อานนท์ ธรรมและวินัยใดที่เรา ได้แสดงแล้วและบัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย ในเมื่อเราล่วงลับไป

         หมายความว่า พระพุทธเจ้าตรัสสั่งให้คำสั่ง สอนของพระองค์ เป็นศาสดาแทนพระองค์  

        

           หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน ๓ เดือน พระอรหันตสาวก ๕๐๐ รูป นำโดยพระมหากัสสปะเถระได้ร่วมกัน ประชุมทำสังคายนา คือ ดำเนินการรวบรวมพระดำรัสของ พระพุทธเจ้า จัดเป็นหมวดหมู่ คัมภีร์ที่รวบรวมพุทธพจน์ บรรจุพระธรรมวินัยนั้นไว้ เรียกว่า พระไตรปิฎก


          คัมภีร์ที่บันทึกหลักธรรมคำสั่งสอนของพุทธศาสนานั้นเรียกว่า พระไตรปิฎก ซึ่งถือว่าเป็นคัมภีร์ที่สำคัญที่สุดของพุทธศาสนา เพราะเป็นคัมภีร์ที่จารึกคำสอนของพระพุทธเจ้าและของพระอรหันตสาวกไว้โดยมี กระบวนการสืบทอดคำสอนของพระพุทธองค์ไว้ในรูปแบบของการสังคายนาอย่างระมัด ระวังและรัดกุมที่สุด ตั้งแต่สมัยที่พระพุทธองค์ทรงพระชนม์ชีพอยู่ จนถึงการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖ มาตามลำดับ


          หลักธรรมคำสั่งสอนทางพุทธศาสนาได้มีการสืบทอดกันมาโดยมุขปาฐะ คือ การท่องจำสืบๆ กันมา (Oral Tradition) การท่องจำนี้ ได้กระทำมาจนถึงสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๕ ในลังกาทวีป

           การจารึกเป็นคัมภีร์ครั้งแรกเมื่อคราวสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๔๕๐ บางตำราว่า พ.ศ. ๔๓๓ (ถ้านับเฉพาะที่ทำสังคายนาในศรีลังกาก็เป็นครั้งที่ ๒ )ในรัชสมัยของพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย โดยมีพระรักขิตมหาเถระเป็นประธาน ทำที่อาโลกเลณสถาน ณ มตเล ชนบทหรือที่เรียกว่า มลัยชนบท

            สาเหตุของการจารึกพระพุทธวจนะลงในใบลาน ก็เพราะว่าถ้าจะใช้วิธีท่องจำพระพุทธวจนะต่อไป ก็อาจมีข้อวิปริตผิดพลาดได้ง่าย เพราะปัญญาในการท่องจำของกุลบุตรเสื่อมถอยลง นอกจากนั้น พระสงฆ์ยังได้รับความกระทบกระเทือนจากภัยธรรมชาติและภัยสงคราม อยู่เนืองๆทำให้ไม่มีเวลาท่องจำพระพุทธวจนะ จะทำให้ช่วงการสืบต่อขาดลงได้ และในการจารึกครั้งนี้ได้จารึกอรรถกถาลงไว้ด้วย

           

           มีผู้สงสัยว่า สมัยพุทธกาลคนไม่รู้จักการเขียนหนังสือหรืออย่างไร? จึงไม่ปรากฏว่ามีตำรับตำราจารึกไว้เป็นหลักฐาน พระมหาเสฐียรพงษ์ ปุณฺณวณฺโณได้ประมวลทัศนะนี้ไว้ในหนังสือภาษาศาสตร์ภาษาบาลี ไว้ว่า
           "ความจริงการเขียนหนังสือน่าจะมีมาก่อนพุทธกาลแล้ว ในพระไตรปิฎกเองก็มีข้อ ความเอ่ยถึงการขีดเขียนเป็นครั้งคราว เช่น ตอนหนึ่ง ห้ามภิกษุเล่นเกม "อักขริกา" ได้แก่ การทายอักษรในอากาศหรือบนหลังเพื่อนภิกษุ วิชาเขียนหนังสือ(เลขา) ได้รับยกย่องว่าเป็นศิลปะพิเศษอย่างหนึ่ง

           สิกขาบทบางข้อห้ามภิกษุณีเรียนศิลปะทางโลก หนึ่งในศิลปะเหล่านี้คือวิชาเขียนหนังสือ ในบทสนทนาภายในครอบครัว พ่อแม่ปรารภว่าจะให้บุตรเรียนวิชาอะไรดี ถ้าจะให้เรียนเขียนหนังสือ บุตรก็อาจยังชีพอยู่ได้อย่างสบาย แต่ก็อาจเจ็บนิ้วมือ ถ้าภิกษุเขียนหนังสือพรรณนาคุณของอัตตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตายเอง) ปรับทุกกฎทุกตัวอักษร ถ้ามีผู้อ่านพบข้อความนั้นเข้าเห็นดีเห็นงามด้วย แล้วฆ่าตัวตายตามนั้น ปรับอาบัติปาราชิก หลักฐานเหล่านี้แสดงว่าอักษรหรือการเขียนมีมาก่อนสมัยพระพุทธเจ้าแล้ว

           แต่ที่พระพุทธองค์ไม่นิยมใช้ หันมาใช้วิธีมุขปาฐะแทน น่าจะทรงเห็นประโยชน์อานิสงส์บางสิ่งบางอย่างกระมัง หรือว่าระบบการขีดเขียนยังไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าที่ควร ทั้งยังไม่มีอุปกรณ์การขีดการเขียนเพียงพอ ก็ยากที่จะทราบได้

           แต่ข้อที่น่าคิดอยู่อย่างคือ วิธีเรียนด้วยมุขปาฐะนี้ นอกจากจะสร้างสัมพันธภาพอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้เรียนและผู้สอนแล้ว ยังเป็นการสร้างสมาธิฝึกจิตของผู้เรียนไปในตัวด้วย นักปราชญ์ยุคก่อนที่มีความคิดเช่นนี้ก็มีไม่น้อย

 

           เปลโต้เคยกล่าวไว้ว่า "การคิดอักษรขึ้นใช้ แทนการท่องจำ ทำให้มนุษย์ขาดอานุภาพแห่งความทรงจำ คือแทนที่จะจดจำจากอินทรีย์ภายใน ต้องอาศัยสัญลักษณ์นอกเข้าช่วย"

           อ้างอิง..พระมหาเสฐียรพงษ์ ปุณณวณโณ ภาษาศาสตร์ภาษาบาลี, ชุดวรรณไวทยากร, กรุงเทพฯไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๑๔)

บทวิเคราะห์ส่วนตัวจริงๆ

           ในขณะที่ผมอ่านหนังสือ บริหารคนและงานตามหลักการของพระพุทธเจ้าของรศ.กมล ฉายาวัฒนะ ไม่น่าเชื่อว่า กระบวนการคิด แนวทางการบริหารสมัยใหม่หลายเรื่อง พระพุทธเจ้าท่านเห็นมาก่อน ทำมาก่อน แม้เวลาจะผ่านไปหลายพันปี แนวคิด ปรัชญาของพุทธองค์ไม่เปลี่ยนแปลง แต่กลับทันสมัยอมตะ

           Knowledge Management การแลกเปลี่ยนเรียนรู้อาจจะเป็นเช่นกัน มีKey Word 2 คำที่ผมสงสัยว่า จะเกี่ยวพันกับ KM อย่างน่าสงสัย คือ มุขปาฐะกับสังคายนา ทั้งสองสิ่งนี้น่าจะเป็นเครื่องมือในการแลกเปลียนเรียนรู้จนเกิดเกลี่ยวความรู้หมุนผ่านกาลเวลามาถึงเราจวบจนทุกวันนี้

            อย่าเพิ่งคิดว่า ผมถูกหรือผิด แค่อยากให้คิดต่อไปด้วยกันอย่างสร้างสรรค์เท่านั้นเอง

            พระไตรปิฎก คือ คลังความรู้ ใช่หรือไม่?

หมายเลขบันทึก: 349651เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2010 22:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

เป็นบันทึกที่ดีมากๆค่ะ..ขอชมๆ

โดนมากครับๆ

ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ

เอิร์ทอยากแชร์ว่า นี้มัน KM ดีๆนี้เอง ( Model : SECI ของ Takeuchi และ Nonaka )

ที่เอิร์ทจับจุดได้ที่เห็นเลยคือในส่วนของ

"การที่พระมหากัสสปะเถระได้ร่วมกัน ประชุมทำสังคายนา"

ตรงส่วนนี้เอิร์ทมองว่ากับ S : Socialization ครับ คือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันด้วยการประชุม

"การรวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าด้วยการจัดหมวดหมู่ เอาไว้ใน "

ตรงนี้มันคือ C : Combination ครับ โดยไปเต็มๆในเรื่องของการจัดประเภทและหมวดหมู่

ตีเป็น I : Internallization ยังได้เลยครับ... ตรงจุดที่ "หลักธรรมคำสั่งสอนทางพุทธศาสนาได้มีการสืบทอดกันมาโดยมุขปาฐะ"

การสืบทอดต่อกันมาก็เหมือนกับการที่คนในต้องการให้คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าคงอยู่

ซึ่งก็เกิดจากคนในยังต้องการที่จะเก็บส่วนที่ดีอันนี้ไว้เผยแพร่ต่อ

ส่วน E : Externalinzation (อันนี้ไม่แน่ใจนะครับ) น่าจะอยู่ตรงจุดเริ่มต้นของเรื่องเลยครับ

"คืออานนท์มีความกังวลว่าถ้าพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระองค์จะทรงตั้งใครเป็นศาสดาแทน"

ตรงจุดนี้พระพุทธองค์ได้ตอบไปว่า "พระพุทธเจ้าตรัสสั่งให้คำสั่งสอนของพระองค์ เป็นศาสดาแทนพระองค์"

ตรงจุดนี้ละครับ แทนที่พระองค์จะระบุบไปว่า ศาสดาคนต่อไปคือใคร พระองค์ตอบว่า "คำสั่งสอนนั้นละ คือศาสดา"

ซึ่งมันไม่เกี่ยวกับตัวบุคคุล และตรงจุดนี้เองที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้มี พระไตรปิฎก เกิดขึ้น

=====================================================

ความคิดเห็นส่วนตัวล้าวๆนะครับ อ่านแล้วโดนมากครับ เลยอยากแชร์ว่าผมคิดว่ามันก็ KM จริงๆด้วย ^^

สวัสดีค่ะ...คุณสุดปฐพี...

เห็นด้วยอย่างยิ่งเลยค่ะ... ว่า... พระไตรปิฎก คือ คลังแห่งความรู้ ค่ะ...ถึงบอกว่าอย่าว่าคนโบราณ บานบุรี เชียวนะค่ะ...พี่คิดว่าบางแง่มุมของคนยุคก่อนดีกว่าคนในยุคปัจจุบันอีกค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

สวัสดีค่ะคุณสุดปฐพี

            Key Word 2 คำที่คุณสุดปฐพีสงสัยว่า จะเกี่ยวพันกับ KM อย่างน่าสงสัย คือ มุขปาฐะกับสังคายนา 

                มุขปาฐะ เป็นวิธีการศึกษาการเรียนรู้แบบเก่า สมัยที่หนังสือหายาก จำต้องอาศัยการท่องบ่นทรงจำแบบปากเปล่าหรือแบบปากต่อปากเป็นพื้น แม้พระไตรปิฏกก็ทรงจำกันมาแบบมุขปาฐะนี้ โดยมีการสวดสาธยายพร้อมๆ กัน เท่ากับสอบทานกันไปในตัว แม้ปัจจุบันการสวดมนต์ของพระในพิธีต่างๆ ก็สืบเนื่องมาจากแบบมุขปาฐะนี้

            สังคายนา หมายถึง การรวบรวม การเรียบเรียง การร้อยกรอง การสะสาง

การสวดพร้อมกัน การสวดเป็นแบบเดียวกัน ฯ คือพระธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรง

แสดงไว้....มีมากเพื่อให้พระธรรมเหล่านั้นเป็นหมวดหมู่ และเป็นที่ทราบโดยทั่วกันว่า

พระธรรมคืออย่างนี้       ที่นอกจากนี้ไม่ใช่พระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ดังคำกล่าวของท่านพระมหากัสสปตอนปรารถการทำสังคายนาว่า


                    ..............................................................เอาเถิด   ท่านทั้งหลายพวกเราจงสังคายนาพระธรรมและพระวินัยเถิด     ในภายหน้าสภาวะมิใช่ธรรมจักรุ่งเรือง    ธรรมจักรเสื่อมถอย    สภาวะมิใช่วินัยจักรุ่งเรื่อง    วินัยจักเสื่อมถอย  ภายหน้าอธรรมวาทีบุคคลจะมีกำลัง   ธรรมวาทีบุคคลจักเสื่อม    อวินยวาทีบุคคลจักมีกำลังวินัยวาทีบุคคลจักเสื่อมกำลัง. 

                   
     การทำสังคายนาพระธรรมวินัยที่ปรากฏในพระไตรปิฎกและอรรถกถา   อันเป็นที่

รับรองกันโดยทั่วไปคือ  ๓ ครั้ง 

ครั้งที่ ๑ หลังพระพุทธองค์ปรินิพพานประมาณ ๒ เดือน     ท่านพระมหากัสสปเป็น

ประธานพร้อมด้วยพระอรหันต์ ๔๙๙ รูป  

ครั้งที่ ๒ หลังปรินิพพาน   ๑๐๐ ปี  ท่านพระเรวัตตะและพระอรหันต์ ๗๐๐ รูป   

ครั้งที่ ๓ หลังปรินิพพาน ๒๓๕ ปี ท่านพระโมคคัลลีบุตรและพระอรหันต์ ๑,๐๐ รูป

             ดังนั้น 2 คำที่สงสัย  จึงน่าจะเป็นเครื่องมือในการแลกเปลียนเรียนรู้ จนเกิดองค์ความรู้ผ่านวิถีชีวิต จากรุ่นสู่รุ่น มาจนทุกวันนี้  จึงเห็นด้วยว่าพระไตรปิฎก คือ คลังความรู้....เป็น KM  (Knowledge Management )

เรียน คุณสายน้ำ ขุนเขา ลำเนาไพร

  • ขอบคุณมากครับ

เรียนคุณ Baby

  • ขอบคุณมากๆๆอีกเช่นกัน

เรียน คุณเอิร์ท ครับ

  • ผมดีใจมากๆที่ได้กัลยาณมิตรบนโลกเสมือนจริงที่ไม่คิดว่าจะมีได้
  • ผมได้รับความรู้จากคุณเอิร์ทให้ไปค้นหาอีกมาก ชอบที่ซู้ด
  • ขอบคุณจากใจเลยครับ

เรียน คุณมาตายี

  • ขอบคุณสำหรับข้อมูลอันเป็นประโยชน์เพิ่มเติม
  • ผมรักนักการเมืองได้อย่างไรเนี่ย
  • ขอบคุณครับ

เรียน พี่บุษยมาส

  • ของเก่า ยิ่งเก่ายิ่งดีผมเชื่ออย่างนั้น
  • ไม่เชื่อ มาดูภรรยาผมที่เชียงรายสิครับ ยังดีมากๆๆอยู่เล้ย

สวัสดีค่ะอาจารย์ P สุดปฐพี

 

 บันทึกนี้ของอาจารย์ เต็มอิ่ม และมีคุณค่าที่ไม่ต้องมีข้อคิดเห็นใดๆ เพิ่มเติมอีก

ขอกล่าวเพียงคำว่า ชื่นชม และขอบคุณมากค่ะ

 

อยากเข้ามาบอกอาจารย์ว่า

เรื่องราวของอาจารย์ที่กรุณาให้เกียรติเล่าไว้ที่บันทึกของครูใจดี  ทำให้ครูใจดีน้ำตาไหลเลย... ประสบการณ์เกี่ยวกับคุณพ่อของอาจารย์  เป็นบทเรียนที่ทำให้อาจารย์เรียนรู้ว่า เป็นสิ่งที่ สามีไม่ควรกระทำกับภรรยา โดยใช้กำลังทารุณกรรม  และอาจารย์ได้สร้างสิ่งที่งดงามนั้นทดแทนให้ผู้หญิง ที่เป็นภรรยาได้อย่างวิเศษสุด.... ครูใจดีคิดว่า คงไม่มีใครทำได้เท่าอาจารย์อีกแล้ว หรืออาจจะมีบ้าง คงจะน้อยมาก

   ผมกลัวว่า ผมจะมอบความรักและการดูแลให้ภรรยาผมไม่เพียงพอ...

** คงยิ่งกว่าพออีกนะคะ.... อยากพูดอีกว่า ภรรยาและลูกของอาจารย์ โชคดีที่สุดในโลกค่ะ....

** ขอบคุณเรื่องราวที่งดงาม ที่อาจารย์กรุณานำมาแบ่งปัน  เพื่อให้ทุกคนในครอบครัวมองเห็นคุณค่าของกันและกัน และจับมือกัน จูงมือกันล้อมรั้วล้อมรักกันจนชั่วนิรันดร์

** ต้องขอบคุณ ความเจ็บป่วย ที่ทำให้ครูใจดีเขียนเรื่องนี้ และทำให้ได้รู้จัก สุภาพบุรุษชื่อ สุดปฐพี คุณพ่อที่แสนดีของน้อง wawa และ cheng cheng และสามีที่แสนประเสริฐของศรีภริยา


  

 

สวัสดีอีกรอบค่ะอาจารย์ P 

 

ผมจะพาภรรยาไปฮันนีมูนรอบที่เท่าไหร่จำไม่ได้ โดยการขี่จักรยานชมเมืองน่าน  โรแมนติกน่าดูเลย...  อย่างนี้ไม่ให้ชื่นชมได้ยังงัยคะ

* อาจารย์ไปทานข้าวที่ "วังปลาหน้าเขื่อนซิคะ"  อาหารอร่อย ร้านของเพื่อนครูใจดีเองค่ะ  เราเรียนด้วยกันมาตั้งแต่ ม.1 ค่ะ เป็นเพื่อนสนิทกันมาก ก๊วนเดียวกัน เรียนด้วยกัน ฝึกสอนที่เดียวกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมานานมาก... จะได้โทรบอกให้ลดเป็นพิเศษ.... (ยา กับพี่ช้าง เป็นคนอุตรดิตถ์ แต่ไปทำธุรกิจที่นาน ทั้งครอบครัวเลย)

* ไปกันตามลำพัง   ก็ฮันนีมูนนีนา  ฮิ ฮิ   มีคนดูแลลูกให้ ดีค่ะจะได้ไปอย่างไม่กังวล

* ช่วง 21-23 เมย. ครูใจดี  คงกำลังปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดเขาอินทร์ (วัดป่าไตรภูมิพระร่วง จ.สุโขทัย  7  วัน ) พาลูกสาวไปด้วย   ส่วนลูกชาย ติดซ้อมบาส ให้พ่อเขาดูแลค่ะ....

* ปิดเทอม ตุลา ที่ผ่านมา ครูใจดีก็ไปพักผ่อนที่พัทยาค่ะ ยังได้เขียนบันทึก ไว้ในบล็อกเลย..."หากเราเหนื่อย....การพักจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด!.."   

- มีสถานที่ให้เด็กๆ สนุกๆ เยอะค่ะ  ครูใจดีไปลงเรือดำน้ำ  ดูทิฟฟานี  เป็นประสบการณ์ชีวิตค่ะ  พักผ่อนกับครอบครัว มีความสุขมาก พักที่ Welcome to The Cottage Resort…

* ขอบคุณที่ไปส่งข่าวให้ร่วมยินดีกับความรักในครอบครัวของอาจารย์ค่ะ เป็นเกียรติมากค่ะ

* ขอให้มีความสุขกับการพักผ่อนและฮันนีมูนนะคะ

 

     

 

ขอบคุณทุก ๆ ท่านครับสำหรับความรู้ดี ๆ เช่นนี้

พุทธศาสนายังคงทันสมัยอยู่เสมอนั้น เป็นการกล่าวอย่างตรงจริงทีเดียวครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท