ตัวอย่างการใช้ Appreciative Inquiry ในธนาคาร FPB (จบ)


เมื่อองค์กรเข้าใจจุดแข็งของตัวเองก็เป็นเรื่องง่ายสำหรับองค์กรที่จะประสบความสำเร็จ

         ต่อจากความเดิม

       ผลของ AI ที่เกิดขึ้นต่อองค์กร FPB (Impact of AI Process on FPB)

              หลังจากที่ FPB ได้นำกระบวนการ AI ทั้ง 5 ขั้นตอนไปใช้  องค์กรได้พบว่ากระบวนการ AI  นั้นส่งผลกระทบที่ทรงพลังมากต่อการเปลี่ยนรูปแบบการสนทนาในชีวิตประจำวันของคนในองค์กร   พนักงานเริ่มมองเห็นปัญหากลายเป็นเหมือนโอกาส และสิ่งที่อยู่ในบทสนทนาทำให้พวกเขารู้สึกมีพลัง   พนักงานพร้อมที่จะทำงานอย่างมีความหวังมากกว่าที่จะอยู่อย่างซังกะตายด้วยใบหน้าที่มีแต่ปํยหาและรอคอยโชคชะตา 

           staff ของ FPB ต่างยอมรับว่าการนำ AI มาใช้ สามารถสร้างลมหายใจ, ความเข้มแข็งและความตื่นตัวต่อภาวะวิกฤต  ความคิดเห็นของพนักงานและวิสัยทัศน์ร่วมที่ได้จากกระบวนการ AI  ทำให้องค์กรสามารถมุ่งไปข้างหน้าเพื่อรักษาเสถียรภาพได้       

             และภายในระยะเวลา 1 ปีที่เอา AI ไปใช้  ปรากฏว่าทำให้  FPB ได้ร่วมหุ้นกับธนาคารอื่นกลายเป็นบริษัทขนาดใหญ่ระดับชาติ  ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมื่อองค์กรเข้าใจจุดแข็งของตัวเองก็เป็นเรื่องง่ายสำหรับองค์กรที่จะประสบความสำเร็จ

           เห้นได้ว่า FPB case เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของผลสำเร็จของการนำ AI ไปใช้ในสถานการณ์ที่เป็นลบ

 

       บทสรุป

      - กระบวนการ AI ใน FPB เป็นทั้ง Invitation (การเชื้อเชิญ) และ Catalyst (การกระตุ้น)       ที่เป็นการเชื้อเชิญเพราะเป็นการเชิญให้เข้าร่วมในกระบวนการเปิดกว้างขององค์กร ที่ซึ่งทุกคนที่อยู่ในแต่ละที่มีโอกาสจะคิดกลยุทธ์การดำเนินงานและใช้จินตนาการสร้างอนาคตขององค์กรได้      ที่เป็นการกระตุ้น  คือ จากรายงานประมวลผลที่แสดงให้เห็นภาพอนาคตองค์กรทีทรงพลังภายในพริบตา

      - ในตัวอย่างของ FPB มีลักษณะเฉพาะ 3 ประการ คือ

              1. AI ที่นำมาใช้ที่นี่เกิดขึ้นเองจากการริเริ่มของฝ่าย HR ไม่ใช่ Top management จึงทำให้พนักงานมีอิสระในการคิดและตอบคำถาม

              2. AI ได้สลายช่องว่างความต่างระหว่างผู้บริหาร กับ พนักงาน  โดยทำให้ทุกคนรู้สึกเหมือนได้สร้างพันธะสัญญาต่อกันที่จะปฏิรูปองค์กร

              3. ตัวอย่างของ FPB นี้ยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า พลังของ AI เป็นเหมือนพลังในการผลักดันการเปลี่ยนผ่านองค์กร  คำถามในการสำรวจได้สร้างเรื่องราวที่มีพลังที่สามารถปลดปล่อยจินตนาการของคนอย่างไม่มีที่สิ้นสุด  ที่สามารถรักษาองค์กรไว้ได้ ทำให้เกิด powerful paradigm shift   ที่ที่การมอง "ปัญหา"  ถูกเปลี่ยนเป็น "สิ่งที่เป็นไปได้"  และ  "อะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดที่สามารถทำใด้"   เกิดความตระหนักรู้ในรุปแบบใหม่   เหมือนกับที่ Einstein เคยกล่าวว่า  "No problem can be solved from the same level of consciousness that created it"

                                                                                                อ้อ_สคส.

คำสำคัญ (Tags): #appreciative#inquiry#ai#สคส.
หมายเลขบันทึก: 34952เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2006 15:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น
เยี่ยมมากๆ เลยครับ ตอนนี้ทาง สคส. ใช้หลักการนี้ในการบริหารงานบุคคลอยู่แน่ ๆ เลยครับ องค์กรถึงได้เจริญเติบโตเร็วขนาดนี้
ขอบคุณที่เล่าเรื่องดีๆให้ทราบและจะไปทดลองใช้   ได้ผลอย่างไรจะเล่าให้ฟังค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท