ผ่านไปแล้วครับงานพระราชพิธี รัฐพิธี และกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติต่างๆ ระหว่างวันที่ 9-13 มิถุนายน 2549 เพื่อเฉลิมฉลองครองราชย์ครบรอบ 60 ปีของในหลวงของเราทั้งชาติ ผมมีเรื่องที่จะมาสะเดาะข้อมูลคำนำหน้าพระนามของพระมหากษัตริย์ของประเทศต่างๆที่มีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุข โดยวิเคราะห์จากหนังสือพิมพ์มติชนรายสัปดาห์ ฉบับวันที่ วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 26 ฉบับที่ 1348 ดังนี้
ข้อความที่นำมาวิเคราะห์มีอยู่ว่า......
นับแต่วันที่ 9 ถึงวันที่ 13 มิถุนายน ข่าวการจัดงานพระราชพิธี รัฐพิธี และกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติต่างๆ ที่เผยแพร่ออกไปผ่านสำนักข่าวต่างประเทศ ได้สร้างปรากฏการณ์ความตื่นตะลึงให้กับสายตาชาวโลก โดยเฉพาะการเสด็จฯ เยือนไทยของสมเด็จพระราชาธิบดี สมเด็จพระราชินี และผู้แทนองค์พระประมุขต่างประเทศจำนวน 25 ชาติ ในฐานะพระราชอาคันตุกะ อันประกอบด้วย
สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตและสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ แห่งญี่ปุ่น, เจ้าชายจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก มกุฎราชกุมาร พระราชโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี ซิงเย วังชุก แห่งภูฏาน, พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี แห่งกัมพูชา
สมเด็จพระราชาธิบดีตวนกู ไซอิด ซิรัจอุดดิน อิบนี อัลมาร์ฮูม ตวนกู ไซอิด ปุตรา จามาลุลไลล์ ยังดีเปอร์ตวน อากง และสมเด็จพระราชินีตวนกู เฟาชิอะห์ บินดี อัลมาร์ฮูม เติงกู อับดุล รอชีด รายาประไหมสุหรี อากง แห่งมาเลเซีย
สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ และสมเด็จพระราชินีราชา อิสตรี เป็งงีรัน อานัก ฮัจญะห์ ซาเลฮาแห่งบรูไน ดารุซาราม
เชคฮามัด บิน คอลิฟะห์ อัลซานี แห่งกาตาร์ พร้อมด้วยเชคเคาะห์เมาซา บินด์ เนเซอร์ อัลมิสนัด พระชายาองค์ที่สอง, ชีคซอบะห์ อัลอะห์มัด อัลจาบีร์ อัลซอบะห์ แห่งคูเวต, สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 บิน อัลฮุสเซน แห่งจอร์แดน
เชคคอลิฟะห์ บิน ซัลมาน อัลคอลิฟะห์ แห่งบาห์เรน, เจ้าหญิงลัลลา ซัลมา เบนนานี พระชายาในสมเด็จพระราชาธิบดีโมฮัมเหม็ดที่ 6 แห่งโมร็อกโก, เชคโมฮัมเมด บิน ไซอิด อัลนะห์ยัน มกุฎราชกุมารแห่งอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
เจ้าชายซัยยิด ซีฮาบ บิน ตาริก ตัยมูร อัล-ซาอิด สุลต่านแห่งโอมาน, สมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 และพระราชินีมาเซเนต โมฮาโต เซเอโซ แห่งเลโซโท, สมเด็จพระราชาธิบดีสวาดิที่ 3 แห่งสวาซิแลนด์ เสด็จมาพร้อมเจ้าหญิงลาดูเบ พระชายาองค์ที่ 12, เจ้าชายทูโพทัว มกุฎราชกุมาร แห่งตองกา
เจ้าชายเฮนริก พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก, เจ้าชายโฮกุ้น มกุฎราชกุมาร แห่งนอร์เวย์, เจ้าชายวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ มกุฎราชกุมาร แห่งเนเธอร์แลนด์, เจ้าชายฟิลิป มกุฎราชกุมาร และเจ้าหญิงมาธิลด์ มกุฎราชกุมารี แห่งเบลเยียม
เจ้าชายอัลแบร์ที่ 2 แห่งโมนาโก, สมเด็จพระราชินีโซเฟีย ในสมเด็จพระราชาธิบดีฮวน คาร์ลอสที่ 1 แห่งสเปน, สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟ และสมเด็จพระราชินีซิลเวีย แห่งสวีเดน
เจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก พระราชโอรสองค์ที่สองของสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธ แห่งสหราชอาณาจักร บริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ, แกรนด์ ดยุก อองรี แห่งลักเซมเบิร์ก และเจ้าชายอาโลอิส มกุฎราชกุมาร แห่งลิกเตนสไตน์
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์สะเดาะข้อมูล :
องค์พระประมุขและผู้แทนองค์พระประมุขจำนวน 25 ประเทศ เสด็จมาประเทศไทยในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเข้าร่วมในงานพระราชพิธี รัฐพิธี และกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติต่างๆที่จัดโดยรัฐบาล มี “คำนำหน้าพระนาม” ต่างๆกันไปดังนี้
1) พระบาทสมเด็จ.....มีพระองค์เดียวคือ พระบาทสมเด็จ
พระบรมนาถนโรดม สีหมุนี แห่งกัมพูชา
2) สมเด็จพระจักรพรรดิ... มีพระองค์เดียวคือ สมเด็จพระ
จักรพรรดิอากิฮิโต แห่งญี่ปุ่น
3) สมเด็จพระราชาธิบดี…. มีหลายพระองค์คือ 1.สมเด็จพระราชาธิบดีตวนกู ไซอิด ซิรัจอุดดิน อิบนี อัลมาร์ฮูม ตวนกู ไซอิด ปุตรา จามาลุลไลล์ ยังดีเปอร์ตวน อากง แห่งมาเลเซีย , 2.สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ แห่งบรูไน , 3.สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 บิน อัลฮุสเซน แห่งจอร์แดน , 4.สมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 แห่งเลโซโท , 5.สมเด็จพระราชาธิบดีสวาดิที่ 3 แห่งสวาซิแลนด์ , 6.สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 บิน อัลฮุสเซน แห่งจอร์แดน , 7.สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟ แห่งสวีเดน
4) เชค.... มีหลายพระองค์คือ 1.เชคฮามัด บิน คอลิฟะห์ อัล
ซานี แห่งกาตาร์ , 2.เชคคอลิฟะห์ บิน ซัลมาน อัลคอลิฟะห์ แห่งบาห์เรน, เชคโมฮัมเมด บิน ไซอิด อัลนะห์ยัน มกุฎราชกุมารแห่งอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
5) ชีค...มีพระองค์เดียวคือ ชีคซอบะห์ อัลอะห์มัด อัลจาบีร์ อัลซอบะห์ แห่งคูเวต,
ข้อสังเกตุ :
- ในสมัยก่อนที่พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี
แห่งกัมพูชาจะเสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาที่เป็นพระมหา
กษัตริย์องค์ก่อน สื่อมวลชนไทยมักจะกล่าวพระนามของพระองค์
(พระราชบิดา)ว่า “เจ้า” แล้วตามด้วยพระนามเช่นเรียกว่า “เจ้านโรดม
สีหนุ” ผมไม่เคยเห็นหนังสือพิมพ์ไทยฉบับใดที่เขียนว่า “พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหนุ”
- ในโลกใบนี้ประเทศที่มีองค์พระประมุขเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีคำนำหน้าพระนามว่าเป็น “พระจักรพรรดิ” มีเพียงประเทศเดียวที่สืบทอดราชบัลลังค์ต่อๆกันมา คือประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสมเด็จพระจักรพรรดิองค์ปัจจุบันนับเป็นองค์ที่ 125 แห่งราชวงศ์
ก่อนหน้านี้ประมาณ 10 กว่าปีก่อน มีประเทศหนึ่งในทวีปอัฟริกา ชื่อประเทศเอธิโอเปีย ได้มีการปฏิบัติวัติประหารแล้วสถาปนาตนเองขึ้นเป็น “พระจักรพรรดิ” มีพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิไฮเล เซ รัสซี่ ในปัจจุบันผมไม่แน่ใจว่าประเทศนี้ยังปกครองในระบอบ”ราชอาณาจักร” หรือระบอบ “สาธารณรัฐ” การที่อยู่ๆเป็นสามัญชนแล้วสถาปนาตนเองขึ้นมาเป็น “เจ้า” หรือ “กษัตริย์” หรือ “จักรพรรดิ” มักจะเกิดขึ้นในประเทศที่ยังไม่มีการพัฒนา ตัวอย่างเช่นข้างๆ ประเทศไทยของเรา เดิมเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากสามัญชน อยู่ๆก็สถาปนาตนเองขึ้นมาเป็น “สมเด็จ…” ก็เคยมีมาแล้วและยังเป็น “สมเด็จ…” จนถึงในปัจจุบัน แต่ไม่รู้ว่าประชาชนในประเทศนั้นๆ คิดอย่างไร จะจงรักภักดีเหมือนอย่างประเทศที่มีการสืบทอดราชบัลลังค์หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
- “เชค” และ “ชีค” เป็นพระนามนำหน้าของพระมหากษัตริย์ที่ส่วนใหญ่อยู่ในย่านตะวันออกกลาง(Midle East) ที่ยังปกครองในระบอบ“ราชอาณาจักร” ซึ่งก็คือ “องค์สุลต่าน” ของรัฐ/ประเทศนั้นๆ ยกเว้นประเทศเดียวที่มีพระนามนำหน้าของพระมหากษัตริย์เป็น “พระราชาธิบดี” คือสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 บิน อัลฮุสเซน แห่งจอร์แดน
- “พระราชาธิบดี” เป็นพระนามนำหน้าของพระมหากษัตริย์
ที่ส่วนใหญ่ที่เหลืออยู่จาก 25 ประเทศที่มาร่วมงานพระราชพิธี รัฐพิธีของประเทศไทย(ไม่นับรวมเจ้าชาย , เจ้าหญิง และผู้แทนองค์พระประมุข)มีข้อสังเกตอย่างหนึ่งว่าพระราชาธิบดีของประเทศต่างๆ เกือบทั้งหมดขึ้นครองราชย์โดยการสืบทอดราชบัลลังค์จากพระมหากษัตริย์องค์ก่อน ยกเว้นประเทศมาเลเซียประเทศเดียวที่พระราชาธิบดีที่เป็นองค์พระประมุขของประเทศมิได้มาจากสืบทอดราชบัลลังค์จากพระมหากษัตริย์องค์ก่อน(ของประเทศไม่ใช่ของรัฐ) แต่เป็นการหมุนเวียนเปลี่ยนกันทำหน้าที่เป็นองค์พระประมุขของประเทศคราวละ 4 ปี จาก “สุลต่าน” รัฐต่างๆ ในประเทศมาเลเซีย เมื่อครบวาระการเป็นองค์พระประมุขของประเทศ(พระมหากษัตริย์)ก็กลับไปเป็นองค์พระประมุข(สุลต่าน)ของรัฐตามเดิม
ประเทศมาเลเซียประกอบด้วย “รัฐต่างๆ” 12 รัฐและแต่ละรัฐจะมีองค์สุลต่านเป็นองค์พระประมุข ยกเว้น 2 รัฐคือรัฐปีนัง และรัฐซาราวัคที่ไม่มีองค์สุลต่าน
ดังนั้นองค์พระประมุขของประเทศมาเลเซียที่มีพระนามนำหน้าว่า “พระราชาธิบดี” นั้นผมเห็นว่าน่าจะเรียกได้ถูกต้อง เนื่องจาก…
พระราชาธิบดี = พระราชา + ธิบดี
และเป็นการเป็น “พระมหากษัตริย์” ที่มีวาระการดำรงตำแหน่ง
คราวละ 4 ปี คล้ายๆกับประธานาธิบดี จึงเป็นที่มาของ“พระราชาธิบดี” ส่วน “พระราชาธิบดี” ของประเทศอื่นๆที่มีการสืบทอดจากการครองราชบัลลังค์ ไม่มีวาระการดำรงตำแหน่ง เช่น สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟ แห่งสวีเดน ที่ถูกต้องน่าจะเรียกคำนำหน้าพระนามเหมือนอย่างของประเทศไทย หรือประเทศกัมพูชา ว่า ....
“พระบาทสมเด็จ....” เพราะการเขียนคำนำหน้าพระนามเป็นภาษาอังกฤษ ของพระมหากษัตริย์ของประเทศสวีเดนและประเทศกัมพูชา ก็ไม่ได้เขียนแตกต่างกันแต่ประการใด แต่พอเขียนเป็นภาษาไทยกลับเขียนคำนำหน้าพระนามของพระมหากษัตริย์ประเทศสวีเดนเป็น “พระราชาธิบดี...” และของประเทศกัมพูชา ว่า “พระบาทสมเด็จ…”
หรือท่านผู้อ่านท่านใด จะมีความเห็นเป็นประการใด ?
เรียน คุณแพรว
ที่คุณแพรวถามไปว่าประเทศที่ต้องเลือกตั้งพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น ไม่มีครับ มีแต่ประเทศมาเลเซียเพื่อนบ้านของเราที่มีประมุขเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ได้มาจากการหมุนเวียนเปลี่ยนกันเป็นพระมหากษัตริย์จากประมุขของรัฐต่างๆ ในมาเลเซียโดยมีวาระการเป็นประมุข(เป็นกษัตริย์) 4 ปี เมื่อครบวาระแล้วก็กลับไปเป็นประมุขของรัฐ(เป็นสุลต่าน)
มีอยู่ 2 รัฐจาก 14 รัฐในมาเลเซียที่ไม่มีสุลต่าน คือ
รัฐปีนังที่อยู่ใกล้ๆไทย และรัฐซาราวัค ตั้งอยู่บทเกาะ
ซาราวัค ที่เรียกว่ามาเลเซียตะวัน
อยากทราบว่าพระมหากษัตริย์ที่มาฉลองครบสิริราชครบ60ปีมีใครบ้าง
เรียน คุณปุยฟ้าย......
พระมหากษัตริย์ที่มาฉลองครบสิริราชครบ
60 ปี มากันเกือบทุกประเทศในโลกใบนี้ เท่าที่ผม
จำได้มีเพียง 2 พระองค์(ในสองประเทศ) ที่ไม่มา
ร่วมพิธีคือ
1) King ของประเทศซาอุดิอารเบีย ที่ลด
ระดับความสัมพันธ์ทางการทูตจากเอกอัครราชทูต
เหลือเพียงระดุบอุปทูต ตั้งแต่คดีเพชรซาอุฯ
2) King ของประเทศเนปาล เข้าใจว่าที่ไม่
มาร่วมในขณะนั้นอันเนื่องมาจากความมั่นคงภาย
ในประเทศ ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับรัฐบาล
นอกนั้น King มาครบทุกประเทศครับ...