PSU KMinRM WS (19-20/06/2005): เบื้องหลังการถ่ายทำ


PSU KMinRM WS (19-20/06/2005): เบื้องหลังการถ่ายทำ

ผมพบกับท่านอาจารย์วิจารณ์ ที่งานพระราชทานเพลิงศพของอดีตอธิการบดีของ มอ. (ท่านอาจารย์ศิริพงษ์ ศรีพิพัฒน์) ที่วัดธาตุทอง กทม. เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม ศกนี้ ได้ทราบว่าอาจารย์ไปจัด WS เรื่อง Km in Research Management ให้กับหลายสถาบันมาแล้ว และในส่วนตัวก็สนใจเรื่อง Research Management มาก่อน และเคยเรียนปรึกษาอาจารย์วิจารณ์ มาตั้งแต่เมื่อ 2 ปี ก่อน จึงได้เรียนขอให้อาจารย์ไปจัดให้ มอ.บ้าง

ในวันนั้น อาจารย์วิจารณ์ไม่ได้รับปากเสียทีเดียว แต่มีการแบ่งรับแบ่งสู้ทำนองตั้งข้อสงสัยว่า ผมสนใจและจริงจังมากน้อยเพียงใด ผมจึงยืนยันหนักแน่นว่าเอาจริง (ทั้งๆที่ “จริงๆ” แล้วจะเป็นอย่างไรก็ยังไม่รู้) ท่านก็เลยตอบด้วยประโยคมาตรฐานทำนองว่า ถ้าจะให้มาทำก็ต้องลงมือปฏิบัติจริง และ มอ.ต้องเอาจริง ถ้า มอ.ไม่จริงจังกับเรื่องนี้ ท่านจะไม่มาให้อีกต่อไป

ผมกลับมาหาดใหญ่ในวันรุ่งขึ้น เข้า Office และเปิด Email ในตอนเช้า พบ Email ของอาจารย์วิจารณ์รออยู่ แจ้งว่าถ้าจะให้มาจัด WS จะจัดได้ในวันที่ 19-20 มิถุนายน ศกนี้ ถ้าไม่เอาช่วงนี้ ก็อาจจะต้องรอไปอีกหลายเดือน หรืออาจเป็นปีก็ได้

ผมรีบตอบรับในหลักการทันที Workout กับน้องๆที่ สำนักวิจัยและพัฒนา ถึงความพร้อมต่างๆ ทั้งในแง่งบประมาณ เวลา และสถานที่ แล้วก็ทำเรื่องขออนุมัติมหาวิทยาลัย พอได้รับอนุมัติผมก็ตอบ Confirm อาจารย์วิจารณ์ไปทันที

ทีนี้ละครับ ถึงตอนสนุก คำสั่งดำเนินการจากอาจารย์วิจารณ์ออกมาเป็นระลอกๆ ผมถูกสั่งให้กำหนดตัว “คุณกิจ” จัดหา “คุณอำนวย” หารือ “คุณเอื้อ” ในระดับมหาวิทยาลัย ที่สำคัญจะต้องจัดทำ “ตารางแห่งอิสระภาพ” ส่งภายใน 31 พฤษภาคม ศกนี้ แถมยังต้องทำแผนแบบ “เบาะๆ” เสนอไปว่า หลัง WS ว่า มอ.จะมีแผนต่อไปอย่างไรบ้าง แล้วให้ส่งแผนมาให้ ภายใน 6 มิถุนายน ศกนี้

ว่ากันจริงๆแล้ว ความรู้ของผมในเรื่อง KM มีขนาดใกล้ๆกับ “0” หรือ Approach Zero คือ ในระดับงูๆปลาๆ แบบว่า “งูก็งูดิน ปลาก็ปลาซิว” ว่างั้นเถอะ แม้ว่าเวลาขับรถมาทำงานตอนเช้าๆ แม่บ้าน(ที่แตกฉานเรื่อง KM) ที่นั่งรถมาข้างๆ จะLecture เรื่อง KM ให้ฟังเกือบทุกวัน แต่ก็ทำนองเข้าหูซ้าย ทะลุหูขวา เพราะยังคิดว่าเป็นเรื่องที่ยังไกลตัว และตัวเองยังมีเรื่องอื่นที่หนักกว่าและรีบด่วนกว่าที่จะต้องคิดและทำ   ความหมายของชื่อ “คุณ” ทั้งหลายคืออะไรไม่เคยรู้ ความหมายของ KV KS KA อะไรต่อมิอะไร ไม่เคยทราบ (รู้จักแต่ K and K ที่เป็นร้านค้าส่งในหาดใหญ่)

อย่างไรก็ตาม อีกสองสามวันต่อมา คุณธวัช หมัดเต๊ะ จาก สคส. ได้ส่งเอกสารมาให้ผมจำนวนหนึ่ง มีหนังสือมือใหม่หัดขับ ของท่านอาจารย์ประพนธ์ กับ CD ที่เป็น Narrated Powerpoint ของอาจารย์วิจารณ์และอาจารย์ประพนธ์ และที่สำคัญ อาจารย์วิจารณ์ส่ง File ฉบับ(ร่าง) หนังสือที่อาจารย์เขียนยังไม่เสร็จ ชื่อ “การจัดการความรู้ฉบับ “ทำจริง” ฉบับปฏิบัติการอย่างง่าย” หนังสือนี้มี 9 บท พิมพ์บนกระดาษ A4 หนาประมาณ 80 หน้า ไปให้ผมด้วยหนังสือนี้มี 9 บท พิมพ์บนกระดาษ A4 หนาประมาณ 80 หน้า ไปให้ผมด้วย

ผมใช้เวลา 1 สัปดาห์ กับ 1 สุดสัปดาห์ ศึกษาเอกสารที่ได้รับมา โดยเฉพาะ CD นั้น ฟังไปหลับไปหลายตื่นกว่าจะจบ และในที่สุดก็บรรลุธรรมะเรื่อง KM ใน ระดับอนุบาล” คือพอจะบอกได้ว่า ถ้อยคำทั้งหลายที่เกี่ยวกับ KM นั้น คืออะไร เท่านั้นจริงๆนะครับ เพราะฉะนั้น ผมจึงกำหนด Prerequisite สำหรับทั้ง “คุณกิจ” และ รวมทั้ง “คุณลิขิต” ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องในการจัด WS ให้ต้องอ่านหนังสือของอาจารย์ประพนธ์ “มือใหม่หัดขับ” เป็นอย่างน้อย ทุกคน (ยกเว้นคนที่เคยศึกษาและเกี่ยวข้องกับ KM มาก่อน) ดังนั้น คุณกิจที่ได้รับเชิญให้เข้า WS ครั้งนี้ จะได้รับแจกหนังสือ “มือใหม่หัดขับ” ของอาจารย์ประพนธ์ และ CD อีก 1 แผ่น และกำหนดเป็น Minimum requirement ว่า ต้องอ่านและศึกษาหนังสืออาจารย์ประพนธ์ มาเป็นอย่างน้อย (ต้องขอโทษ “คุณอำนวย” หรือ Group facilitators ที่ไม่ได้ส่งให้ เพราะเชื่อว่าท่านทั้งหลายแตกฉานในเรื่องนี้แล้ว)

ในที่สุด “ตารางแห่งอิสระภาพฉบับปฐมฤกษ์” ก็ยกร่างเสร็จ ส่งไปให้วิทยากรและปรับแก้กันหนเดียวก็ใช้ได้ (ที่ว่าใช้ได้ก็คือวิทยากรไม่ตอบกลับมาเป็นหนสอง) หลังจากนั้นอีก 1 สัปดาห์ แผนดำเนินการภายใน 1 ปี ก็ถูกส่งไป เดาเอาเองว่าคงใช้ได้กระมัง เพราะไม่เห็นว่าอะไรนี่

ในที่สุด การจัด WS “ตลาดนัดความรู้ด้านการจัดการงานวิจัย” ก็เกิดขึ้นในวันที่ 19-20 มิถุนายน 2548 โดยการดำเนินการของทีมงานของ สำนักวิจัยและพัฒนา ร่วมกับ งานพัฒนาและฝึกอบรม กองการเจ้าหน้าที่ จากการสนับสนุนของ ท่านรองฯ พิชิต เรืองแสงวัฒนา (ผู้รับผิดชอบเรื่อง KM ของมหาวิทยาลัย) และ รองฯ วรัญ ตันชัยสวัสดิ์ (ผู้ดูแลรับผิดชอบด้านการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัย) โดยใช้งบประมาณด้านการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัย ก็เกิดขึ้นในวันที่ 19-20 มิถุนายน 2548 โดยการดำเนินการของทีมงานร่วมกับ จากการสนับสนุนของ (ผู้รับผิดชอบเรื่อง KM ของมหาวิทยาลัย) (ผู้ดูแลรับผิดชอบด้านการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัย) โดยใช้งบประมาณด้านการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัย

จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมมีทั้งสิ้นประมาณ 140 คน (จากเดิมที่เรากำหนดไว้ประมาณ 60 คน และเดิมกำหนดจะจัดที่โรงแรมหาดแก้วรีสอร์ท อ.สิงหนคร จ. สงขลา แต่เนื่องจากมีการปรับแผนและเชิญผู้เข้าประชุมเพิ่มขึ้น จึงต้องย้ายมาจัดที่ โรงแรม เจบี หาดใหญ่)

ในการประชุมนี้ มีกลุ่มย่อยที่เป็น “คุณกิจ” ทั้งสิ้น 7 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มนักวิจัย 4 กลุ่ม (เป็น Active researchers ที่คาดว่ามี Success stories ) กลุ่มฝ่ายสนับสนุนการวิจัย 2 กลุ่ม (จากคณะ/หน่วยงานต่างๆ) และกลุ่มผู้บริหารงานวิจัย 1 กลุ่ม (ส่วนใหญ่จะเป็นระดับรองคณบดีที่รับผิดชอบงานวิจัย) คณะวิทยากร ประกอบด้วย ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช คุณธวัช หมัดเต็ะ และ คุณนภินทร ศิริไทย

การวางแผนกระบวนการจัด WS ครั้งนี้ ได้รับการกำหนด และคำแนะนำจาก ท่านอาจารย์วิจารณ์ และ คุณธวัช หมัดเต๊ะ จาก สคส. มาตั้งแต่ต้น เป็นกิจกรรมนำร่องของมหาวิทยาลัย ในการนำ KM มาใช้ในภาระกิจหลักของมหาวิทยาลัย และเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินการจัดการความรู้ด้านการปฏิบัติจริงของ มอ.ในส่วนของการจัดการงานวิจัย

คณะวิทยากรและผู้จัดมีความกังวลใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสมาชิกในกลุ่มย่อยมีจำนวนมาก (11-13 คนต่อกลุ่ม) อาจเกิดปัญหาทั้งในด้านกระบวนการและการจัดการทั้งหลาย แต่ทุกอย่างก็ดำเนินการไปได้ด้วยดี มีเสียงบ่น(ที่ได้ยิน) ไม่มากนัก ผู้เข้าประชุมทุกคนมี Participation สูงมาก ด้วยกิจกรรมที่วิทยากรกำหนด ขุมปัญญาถูกขุดแคะออกมาอย่างมากมาย (ทางผู้จัดจะนำขึ้น Blog ในเร็วๆนี้) จนกระทั่งความกังวลที่เรามีอยู่แต่แรก ผ่อนคลายลงไปเป็นอันมาก การที่มีคนจำนวนมากในกลุ่มสอนบทเรียนบางอย่างให้เรา  Feed back และข้อเสนอแนะในช่วง AAR เป็นสิ่งที่มีประโยชน์สำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับ KM เป็นอันมาก

หลังเสร็จสิ้น WS แล้ว ก็เป็นที่ประจักษ์ว่า การจัดการประชุมคราวนี้ มี Impact สำคัญเกิดขึ้นกับคนของ มอ. (และผู้เข้าประชุมจากสถาบันอื่น) คือมีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง KM ที่ชัดเจนมากขึ้น แต่เรากำลังเข้าไปสู่ขั้นตอนที่ยากยิ่งขึ้น นั่นคือขั้นตอนที่จะนำ KM ไปสู่การปฏิบัติในชีวิตจริง เหมือนที่อาจารย์วิจารณ์กล่าวว่า “ต้องพยายามทำให้ KM เป็นจิตใต้สำนึกในการทำงานให่ได้” เอาละซิ จะรอดหรือไม่รอดก็คราวนี้แหละ………. ผมจะ(พยายาม)เอาตอนต่อไปมาเล่าสู่กันฟัง

รศ. ดร. ปิติ ทฤษฎิคุณ (หัวหน้าทีมจัดประชุม)

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 349เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2005 08:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 11:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นเรื่องเล่าที่ดี และจะมีประโยชน์ต่อผู้ที่จะจัดตลาดนัดในอนาคตมากครับ   เพิ่มส่วนของการโต้ตอบ อี-เมล์ ที่นำไปสู้การจัดตลาดนัดที่มีคน ๓ กลุ่มเข้าร่วม ด้วย ดีไหมครับ    และอยากฟัง AAR ของ อ. ปิติ ว่าตลาดนัดแบบนี้ เมื่อเทียบกับมีแต่นักวิจัยมาเข้า   อันไหนจะดีกว่า เพราะอะไร

และอยากให้เล่าเพิ่มว่าแผนปฏิบัติในอนาคต ที่ร่างไว้ กับที่คิดใหม่หลังตลาดนัดเสร็จ ต่างกันอย่างไรบ้าง เพราะอะไร

ขอแสดงความยินดีอีกครั้งครับ   ควาทสำเร็จเกิดจาก อ. ปิติ และทีมงานเตรียมการณ์ดีมาก

วิจารณ์

 

ขอชมทีมงานของอาจารย์ ที่เอาข้อมูลขึ้น บล็อก แล้ว ตั้งแต่วันที่ ๒๐    น่าชื่นชมที่ทำงานรวดเร็วมาก    แต่ที่นั่นไม่มีให้ comment   จึงมา comment ที่นี่

วิจารณ์

ตอนนี้เปิดให้ comment และประชาสัมพันธ์แล้วค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ศศิธร/สำนักวิจัยฯ ม.อ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท