somtawin
นาง สมถวิล somtawin โชติคณาทิศ

“โมเดลปลาทู” พัฒนาไปสู่ “โมเดลฝูงปลาตะเพียน”


“โมเดลปลาทู” พัฒนาไปสู่ “โมเดลฝูงปลาตะเพียน”

โมเดลปลาทู พัฒนาไปสู่ โมเดลฝูงปลาตะเพียน

     การจัดการความรู้ในรูปแบบของ “โมเดลปลาทู” ที่แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัวปลา หรือส่วนของเป้าหมายของการจัดการความรู้ (Knowledge Management Vision), ส่วนของตัวปลา หรือส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) และส่วนของหางปลา หรือตัวคลังความรู้ (Knowledge Assets) โดยปลาทูตัวเดียว ก็เหมือนกับการจัดการความรู้ของหน่วยงานเดียว           ในกรณีที่เป็นองค์กรใหญ่ที่ประกอบด้วยงานย่อยๆ ภายในองค์กร         ก็จะเหมือนกับปลาตัวเล็กหลายๆ ตัวที่แต่ละตัวก็เป็นการจัดการความรู้ของแต่ละงาน          ที่ต้องเชื่อมโยงและรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรใหญ่หรือปลาตัวใหญ่ด้วย คล้ายกับ “โมบายปลาตะเพียน” ของเล่นของเด็กไทยสมัยโบราณที่ผู้ใหญ่สานเอาไว้แขวนเหนือเปลเด็ก เป็นฝูงปลาที่หันหน้าไปในทิศทางเดียวกัน มีเป้าหมายใหญ่ไปในทิศเดียวกัน และ          มีความเพียรที่จะว่ายไปในกระแสน้ำที่เปลี่ยนแปลงได้อยู่ตลอดเวลา 

และที่สำคัญปลาแต่ละตัวไม่จำเป็นต้องมีรูปร่างและขนาดเหมือนกัน เพราะการจัดการความรู้ของแต่ละที่มีบริบทไม่เหมือนกัน รูปแบบของการจัดการความรู้ของ            แต่ละหน่วยงานจึงสามารถสร้างสรรค์ ปรับให้เข้ากับแต่ละที่ได้อย่างเหมาะสม เราจะได้เห็นปลาที่มีเอกลักษณ์ บางตัวอาจจะท้องใหญ่เพราะต้องมีส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาก บางตัวอาจเป็นปลาที่หางใหญ่เพราะต้องใช้ส่วนคลังความรู้มาก แต่ทุกตัวต้องมีตา               ที่มองเห็นเป้าหมายที่จะไปที่ชัดเจน   

แหล่งที่มา   สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)

หมายเลขบันทึก: 34858เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2006 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ปลาทูของโรงเรียนท่านหน้าตาเป็นอย่างไร     ตาใสหรือขุ่นมัว  ตัวโตหรือผอมโซ  หางยาวหรือหางสั้น

ได้ความรู้เพิ่มมากขึ้นและเข้าใจมากขึ้นด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท