เมื่อผู้ให้บริการปรึกษา เจอปัญหา.....ใครช่วยได้บ้าง ?


ประสบการณ์ไม่ว่าจะดี หรือไม่ดี จะทำให้เราฉลาดขึ้น

    เมื่อคนๆนึงมีปัญหา โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับโรคเอดส์ด้วยยิ่งแล้ว อาจทำให้ผู้ติดเชื้อ /คู่สมรส หรือญาติ ไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใครได้ ด้วยเหตุผลหลายประการ โดยเฉพาะความลับที่รั่วไหล อาจกระทบความมั่นใจที่จะอยู่ในสังคมได้อีกต่อไป...ผู้ให้การปรึกษาจึงเป็นที่พึ่งของผู้รับบริการที่กำลังทุกข์ใจซึ่งหลายหน่วยงานได้จัดให้มีบริการปรึกษาซึ่งบำราศฯก็เช่นเดียวกัน

       ตุ๊ก (นามสมมุติ) อายุ 24ปี เป็นน้องสาวผู้ติดเชื้อ เพิ่งทราบผลเลือด มีความกังวลใจกลัวพี่ชายจะป่วย ตุ๊กมารับบริการต่อเนื่องพร้อมพี่ชายในระยะแรก แต่ระยะหลังตุ๊กมาคนเดียว จะพูดถึงพี่ชายแต่เมื่อผู้เขียนถาม และบอกว่าพี่สบายดี.....

    ผู้รับบริการอยากเปลี่ยนสถานะ  ! !                         สัมพันธภาพที่ดีเป็นสิ่งสำคัญมากในกระบวนการให้การปรึกษา....ดังนั้น...ตุ๊กขอเป็นน้องสาวพี่ได้ไหม?(ตุ๊กบอก)  ผู้เขียน...ไม่ตอบ..แต่คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร...ผู้หญิงเหมือนกันคงไม่เป็นอะไรหรอก (ผู้เขียนคิด)  ตุ๊กสนิทสนมมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเห็นว่าเขากำลังทุกข์ใจ จึงไม่ได้ระวังตัว....ตุ๊กอยากรู้ และได้ข้อมูลเรื่องส่วนตัวผู้เขียนไปทีละน้อย....ตุ๊กมาดักรอเวลาเลิกงาน....ไปรอเมื่อรู้ว่าเราไปออกกำลังกายที่ไหน...ชอบซื้อฝากมาให้ถึงที่พัก(เวลาส่วนตัว) ....สามีผู้เขียน งง.ง..ใครกัน? ผู้เขียนต้องอธิบาย...และบอกว่าจะแก้ปัญหานี้เอง

     ความกลัว..ความระแวงเข้ามาแทนที่.....ช่วยด้วย. ผู้เขียนรู้ถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น...พี่ๆในทีมได้หาแนวทางช่วยเหลือร่วมกัน              Peer support group ึงเกิดขึ้น....เริ่มจาก ตกลงเวลาให้บริการ....ไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่..ขอเวลาอีกหน่อยนะ.......

ส่งโน๊ตให้ผู้เขียน ประชุมด่วน... รีบออกมาเลย....ช่วยได้ดี555.....ส่งต่อให้ผู้ให้บริการท่านอื่น....ไม่สำเร็จ เพราะไม่อยากเปลี่ยน คือเหตุผลของตุ๊ก

    ยอมเสียสัมพันธภาพ !!! เคยมีนักจิตจากต่างประเทศแนะนำ...ให้เราพูดกับเขาตรงๆ ซึ่งเราก็ไม่กล้าพูด...กลัวเขาเสียใจอีก (ทั้งที่ตัวเราเองก็รู้สึกไม่ดีเลย) ท่านใดเคยเป็นแบบนี้ไหม?

                 ประสบการณ์ไม่ว่าจะดี  หรือไม่ดี

ี                จะทำใ้ห้เราฉลาดขึ้นจริงไหม?

                                                                      by skywalker

หมายเลขบันทึก: 34717เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2006 22:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2012 10:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น
     อ่านแล้วน่าติดตามมากครับ ผมไม่ค่อยถนัดเลยอยากทราบว่าทำไงได้อีกบ้าง เผื่ออาจจะต้องจำเป็นทำหน้าที่...ด้วยวิญญาณนักสาธารณสุข ไม่แน่เมื่อถึงคราว อยากทราบตอนต่อไปครับ
ภาวะพึ่งพิงผู้ให้คำปรึกษามักเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง...ที่ผู้มารับคำปรึกษาเกิดความรู้สึกไว้วางใจและปลอดภัยเมื่อได้คุยกับผู้ให้คำปรึกษา...หากสิ่งสำคัญที่ผู้ให้คำปรึกษาอาจเกิดความรู้สึกได้ถึงความอึดอัด...ก็จำต้องบอกและชี้แจง..ให้ case ได้ทราบตรงๆ ด้วยท่าทีที่เป็นมิตรและจริงใจ...ใจแข็งอีกนิดแต่ไม่ใช่หักหาญ...และให้เขารู้สึกได้ว่ามิตรภาพแห่งความจริงใจนั้นยังมีอยู่...และจำเป็นต้องมีขอบเขตแห่งมิตรภาพนั้น..ร่วมด้วย...

เรื่องน่าสนใจดีค่ะ    เอาใจช่วยและคิดว่าคงhappy    ending นะคะ

ขอบคุณ คุณชายขอบและ Dr.Ka-Poom ที่ติดตามเรื่องราวของงานให้คำปรึกษา สบร. นะคะ  ประสบการณ์เกี่ยวกับการทำงานภาค 2 กำลังจะตามมาค่ะ ช่วงนี้เรากำลังยุ่งๆกับการจัดบูธนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการที่ รร.ปรินซ์พาเลซ ซึ่งจะสิ้นสุดวันนี้แล้วค่ะ กำลังบันทึกเก็บตกเรื่องสนุกๆเกี่ยวกับการการจัดบูธ มาเล่าให้ฟัง อย่าลืมติดตามนะคะ...!!!

จะติดตามตอนต่อไปค่ะ

เพิ่งเปิดมาอ่านเห็นแล้วเป็นเรื่องน่าสนใจ น่าติดตาม เคยมีการแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้ในหมู่คณะผู้การปรึกษากันอยู่เสมอ และก็มีบางท่านได้ให้คำแนะนำแล้ว  ทั้งนี้ทั้งนั้นคงมีปัจจัยหลายประการในการที่จะนำมาช่วยแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ให้เกิดความเข้าใจบทบาทของแต่ละคน มีข้อเสนอแนะจากบางท่านว่าบางครั้งควรใช้ขบวนการกลุ่มเข้ามาช่วยเหลือ  บางท่านก็ใช้ผู้ให้การปรึกษาที่สามารถช่วยเหลือให้เกิดความมั่นใจและวิตกกังวลแก่ผู้ให้บริการเข้าร่วมให้การปรึกษาด้วยกันโดยบอกถงความจำเป็นที่จะกิดประโยชน์แก่ผู้มารับบริการ  ลองพิจารณานำไปใช้ ถ้าได้ผลเป็นอย่างไรช่วยบอกกล่าวด้วยนะ ขอเป็นกำลังใจให้แก่ผู้ให้บริการทุกท่าน

    skywalker ตอบ...ขอบคุณมากค่ะที่เป็นกำลังใจให้ และมีความคิดเห็นที่ดีๆของ คุณtwenty one เมื่อผู้ให้คำปรึกษามีปัญหา เราต้องการผู้ที่ให้คำปรึกษาเราได้ ภายใต้บรรยากาศของความไว้วางใจ การใช้กระบวนการกลุ่มอาจจะไม่เหมาะก็ได้นะคะ...เพราะ เหมือนถูกกลุ่มไต่สวน อาจเข้าทำนอง มากคน ก็มากความ....แต่บรรยากาศของความไว้เนื้อเชื่อใจน่าจะช่วยได้ดี....หรือคุณคิดว่าอย่างไรคะ.
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท