การเรียนรู้ของชุมชนต.วังยาง อ.วังยาง จ.นครพนม(3)…คำถามเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จากกรณีการแก้ไขปัญหาที่ดินที่ทำกิน


ความร่วมมือในการพัฒนาร่วมกันทั้งระหว่างขบวนองค์กรชุมชน(สภาองค์กรชุมชนตำบล)ท้องถิ่น(อบต.)ท้องที่(กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน)และความร่วมมือกับภาคีการพัฒนาภาครัฐ ภาคีวิชาการ รวมทั้งหน่วยงานสนับสนุน

ในเวทีการ ลปรร.เมื่อวันที่17-18 มี.ค. 53 นายกวุฒิพงศ์  มีบุญ นายก อบต.ตำบลวังยาง  กล่าวว่าการทำงานที่ผ่านมาส่วนใหญ่ชาวบ้านมักรอเพียงภาครัฐให้การสนับสนุน แต่ปัจจุบันเราเกิดการเรียนรู้แล้วว่าเราต้องลุกขึ้นมาจัดการกันเอง อย่ารอแต่ราชการ นับว่าเป็นเรื่องดีที่มี พรบ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551 ในการรับรองการทำงานของภาคประชาชน การทำงานของตำบลวังยางที่ผ่านมามีการเริ่มการทำงานจากการแก้ไขปัญหาที่ดิน พบว่ายังขาดความไว้วางใจกัน และพบว่ามีข้อติดขัดบางประการที่ทำให้งานยังไม่บรรลุผล ซึ่งเราต้องมาร่วมกันในการแก้ไขปัญหา ทำฐานข้อมูลในระบบจีพีเอสให้ชัดเจน รวมทั้งหาข้อสรุปร่วมกันในแนวทางของเรา  หากเราไม่ร่วมกันในการแก้ไขปัญหา มันจะไม่สำเร็จ หากเรามีความชัดเจนแล้วเราต้องเสนอปัญหากับหน่วยงานภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องหรือ ผู้ว่า ให้เป็นผู้ที่จะผลักดันในระดับนโยบายต่อไป

        ในการแก้ไขปัญหาต่างๆของพี่น้องนั้นลำพัง อบต.ฝ่ายเดียวก็คงจะทำอะไรได้ไม่มากนักจะต้องอาศัยความร่วมมือทุกฝ่ายเป็น  ความร่วมมือในการพัฒนาร่วมกันทั้งระหว่างขบวนองค์กรชุมชน(สภาองค์กรชุมชนตำบล)ท้องถิ่น(อบต.)ท้องที่(กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน)และความร่วมมือกับภาคีการพัฒนาภาครัฐ ภาคีวิชาการ รวมทั้งหน่วยงานสนับสนุนอย่างเช่น พอช.ซึ่งการปรึกษาหารือกันในวันนี้ ทำให้เรามีเครื่องมือในการเรียนรู้ร่วมกันของพวกเรา เป็นคำถามร่วมกันของพวกเราที่ต้องช่วยกันหาคำตอบ เป็นการวิจัยของประชาชน  ซึ่งเมื่อเราได้คำตอบแล้วเราต้องเผยแพร่สู่สาธารณะชน เพื่อประกาศให้รับรู้ถึงเรื่องราวประสบการณ์การแก้ไขปัญหาต่างๆของพี่น้องขบวนตำบลวังยาง

           จากการระดมคำถามเพื่อการเรียนรู้จากข้อมูลพื้นที่  มีคำถามที่คนตำบลวังยางจะต้องหาคำตอบร่วมกันในการแก้ไขปัญหาที่ดินที่ทำกินตำบลวังยาง  ซึ่งเป็นคำถามเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และค้นหาคำตอบร่วมกัน ดังนี้

  1. ประวัติการตั้งถิ่นฐานของวังยาง เราตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองเมื่อไหร่ บรรพบุรุษของเราเป็นใคร
  2. พัฒนาการการแก้ไขปัญหาที่ผ่านเรา เราทำอะไรมาบ้าง
  3. ปัญหาและความต้องการพัฒนาของเรา นอกจากปัญหาที่ดินที่ทำกิน  มีอะไรบ้าง
  4. เป้าหมายการพัฒนาของเรา  มีอะไรบ้าง รู้ได้อย่างไรว่าประสบความสำเร็จ
  5. การสื่อสารเคลื่อนไหวทางความรู้ให้คนทั้งมวลในตำบลมีส่วนร่วมในงานพัฒนาเพื่อสร้างความสามารถที่จะจัดการชุมชนตนเองนั้น มีวิธีการอย่างไรจึงจะทำให้คนในวังยางเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่กลัว และกล้ามากขึ้น เราจะสร้างการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาคนในขบวนการชุมชนท้องถิ่นของตำบลวังยางกันอย่างไร
  6. คำถาม การเรียนรู้เกี่ยวกับความร่วมมือในการแก้ปัญหาที่ดินที่ทำกิน ของขบวนชุมชนตำบลวังยาง

         6.1 เรามีพื้นที่ดินทั้งตำบลกี่ไร่ แต่ละหมู่บ้านมีกี่ไร่

         6.2 ทั้งตำบลมีกี่ครัวเรือน แต่ละหมู่บ้านมีกี่ครัวเรือน แต่ละครัวเรือนถือครองกี่ไร่

         6.3 ประเภทของที่ดิน

                   - มีเอกสารสิทธิ์เท่าไหร่ เช่น นส3 โฉนดจำนวนกี่ไร่ กี่ราย กี่ครอบครัว

                   - พื้นที่ที่เป็น สปก.กี่ไร่  ที่ว่างเปล่าไม่ได้จับจอง ที่สาธารณะ  เช่น ที่ทำเลเลี้ยงสัตว์

                   -ที่ป่าสงวน เท่าไหร่

          6.4  พื้นที่ที่มีการสำรวจกี่ครอบครัว  / กี่หมู่บ้าน กี่ไร่  และ ที่ยังไม่มีการสำรวจกี่ครอบครัว 

           6.5  ข้อมูลที่ได้จะนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง

           6.6  ความสำเร็จของการแก้ไขปัญหาที่ดินที่ทำกิน คือ อะไร (ในแต่ละขั้น)

           6.7  บทบาทของ อบต. /สนง.ที่ดิน/สปก.ของจังหวัด ทำอะไรบ้าง ให้ความร่วมมือในเรื่องอะไร

            6.8 เรื่องนี้ใครเกี่ยวข้องบ้าง  และจะทำอย่างไร จึงจะประสบผลสำเร็จ และ มีขั้นตอนกระบวนการในการดำเนินการอย่างไร

            6.9  วิธีการทำให้ชุมชนตระหนักรู้ในกระบวนการแก้ปัญหาด้วยตนเอง  ทำอย่างไร

            6.10  ทำอย่างไรจึงจะทำให้คนในวังยางรู้ว่าพวกเราคณะทำงานกำลังทำอะไรเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาที่ดินที่ทำกิน

             6.11 มีวิธีการอย่างไรทำให้คนในวังยางเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่กลัว และ กล้ามากขึ้นมีความสามารถที่จะจัดการชุมชนตนเองได้

             6.12  ทำอย่างไรให้สังคมรับรู้ยอมรับให้การสนับสนุนการแก้ไขปัญหาที่ดินที่ทำกินของตำบลวังยาง

              6.13  จากกระบวนการแก้ไขปัญหาที่ดินที่ทำกินในครั้งนี้ ทำอย่างไรพี่น้อง วังยาง จึงจะตระหนักรู้ว่าเราคือใคร มีความเป็นมาอย่างไร

              6.14  จากกระบวนการแก้ไขปัญหาที่ดินที่ทำกิน จะนำไปสู่ความอยู่ดีมีสุขของคนวังยางได้อย่างไรและความอยู่ดีมีสุขของคนวังยางนั้นคืออะไร

              6.15  ทำอย่างไรให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากกระบวนการแก้ไขปัญหาที่ดินที่ทำกิน ไปสู่การแก้ไขปัญหาของชุมชนให้ไปในแนวทางเดียวกัน  เกิดความร่วมแรงร่วมใจกัน

             ในวันที่ 26 มีนาคม 2553 จะมีเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของคนตำบลวังยางในวงใหญ่ขึ้น โดยในวันนั้นท่านอ.ไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม อดีตรองนายกรัฐมนตรีและ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  จะลงพื้นที่ในการพบปะเยี่ยมเยียนกับพี่น้องภาคประชาชนตำบลวังยาง ติดตามบทบาทสภาองค์กรชุมชนตำบลวังยางและการเรียนรู้กระบวนการแก้ไขปัญหาที่ดินที่ทำกินที่สภาองค์กรชุมชนตำบลวังยางเป็นเจ้าภาพหลักในการประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย  โดยที่มีชาวบ้านตำบลวังยางเป็นเจ้าของงานและเป็นเรื่องการเรียนรู้ร่วมกันของทุกฝ่ายครับ

 

หมายเลขบันทึก: 346291เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2010 18:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 17:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชุมชน?....อัมพร 1, อัมพร 2 :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท