</div> <div class="display"> </div> <div class="display"> เห็นชื่อ น.เมืองสรวง ปรากฏในหลายๆบล็อกในส่วนของข้อคิดเห็น หลายคนอาจสงสัย ใครกัน น.เมืองสรวง
ชื่อนี้มีที่มาที่ไปครับ เป็นชื่อที่มีความหมายเช่นกัน
น.เมืองสรวง คือ อำนาจ แสงสุขครับ …………
เขาเคยเป็นนักประชาสัมพันธ์ที่องค์ารบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งทำงานด้านงานข่าว , สื่อท้องถิ่น ถ่ายวีดีโอ ผลิตสื่อวีดิทัศน์ จัดทำวารสาร แผ่นพับ เขียนข่าว + คอลัมภ์ลงหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น อาทิเช่น ฐานอยุธยา
เมื่อมีงานเขียน จึงต้องมีนามปากกา
1. คลื่นใต้น้ำอาสาสมัคร
1. ทิดจ้อย ไผ่สีทอง
.
คือนามปากกาที่เขาใช้ในช่วงแรกๆ ชื่อแรกผู้ใหญ่ในทีมงานเห็นว่า ไม่ดีเท่าไหร่นัก ส่วนชื่อที่ 2 ฟังดูแล้ว มันจ้อยร่อย เล็กนิดเดียว ซึ่ง อ.สรชัย พัฒนานนท์ เจ้าของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น นักข่าว และนักหนังสือพิมพ์แห่งอยุธยาได้แสดงทัศนะกับเขาไว้
เขาจึงใช้นามปากกาว่า น.เมืองสรวง น.= นาจ หรือ อำนาจ , เมืองสรวง = ถิ่นฐานเดิมของเขาที่ตำบลหนองสรวง อ.หนองกุงศรี จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งเขาได้ใช้นามปากกานี้เขียนบทความลงในสื่อต่างๆที่เขารู้จัก รวมไปถึง นิตยสารผู้นำท้องถิ่น
มีงานเขียนชิ้นหนึ่ง ที่ น.เมืองสรวง เขียนรวบรวมไว้อย่างมากมาย กับงานที่ชื่อว่า “คำคมคนท้องถิ่น” ซึ่งสะท้อนเรื่องราวหลากหลายแฝงคติและแง่คิดเอาไว้ด้วย
ขอยก คำคมคนท้องถิ่นของ น.เมืองสรวง มาปิดท้ายบันทึกชิ้นนี้เพื่อเป็นแง่คิด
“ท่านมาถูกทางแล้ว รอให้ทำดี ต่อไป เพื่อบ้านเพื่อเมืองให้ก้าวไกล ก้าวให้ทัน นำภูมิปัญญาท้องถิ่นออกมาใช้ ให้มากกว่านี้ งานข่าว งานท้องถิ่นนำคน นำงานที่อยู่ในชุมชน ในการพัฒนาชุมชน จะได้ข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้น และคำๆหนึ่ง ซึ่งกินใจมากคือ “เราเหมือนเช่าบ้านเขาอยู่”
แล้วถ้ามีชาวบ้านเขาถามว่า “ถ้าเราเช่าประเทศเราอยู่ล่ะ”
แล้วท่านๆ คิดเช่นไร?”
<div align="right">
น.เมืองสรวง 2545
</div>
* * *สำหรับคำคมคนท้องถิ่นชิ้นนี้ ไม่รู้ว่า น.เมืองสรวงต้องการสะท้อนถึงใครบางคนหรือเปล่า * * *
<div align="center">
ลักษณะผู้นำ
</div>
ผู้นำ นำเขา ไม่สร้างสรร (หลงทาง)
ผู้นำ นำเขา เข้าป่าโพง (มึนตึง ความคิดของตัวเองเป็นใหญ่)
ผู้นำ นำเขาต่อยอด (สร้างสรรค์ เห็นความสำคัญ แล้วลงมือทำ)
แล้วผู้นำ นำเขา ในยุคนี้ เป็นเช่นไร?
แล้วท่าน เป็นผู้นำประเภทไหน
<div align="right">
น.เมืองสรวง
30/04/2548 20.30 น.
</div>
และคำคมคนท้องถิ่นสำนวนสุดท้าย ต้อนรับเปิดเทอมครับ
“ธรรมเนียมของการเข้าโรงเรียนดังๆ ที่มีชื่อเสียง อาทิ ระดับจังหวัด เป็นต้น ประเพณีอย่างหนึ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ คือ ประเพณีให้ส่วยของผู้ปกครอง เพื่อให้อาจารย์ หรือ ผอ.โรงเรียน บางโรงเรียน 30,000 - 100,000 บาทนะ สมัยนี้ ทุกอย่าง ต้องลงทุนหมดเลย แม้กระทั่งสอบเข้างานระดับท้องถิ่น อาทิ เข้าทำงานเป็นลูกจ้างชั่วคราว ก็ต้องเสียอย่างน้อย 30,000 - 50,000 บาท เพื่อให้ผู้ที่ได้ชื่อว่า “ท่าน…” แล้วลูกหลาน ตาสีตาสา ก็หมดโอกาสแล้วซินะ โอ้ เวรกรรมประเทศไทย ตอนนี้ เกิดโรคระบาดในระดับท้องถิ่นทั่วประเทศแล้ว ไวน์แก้วหนึ่งแพงนะท่าน อย่างน้อยไวน์หนึ่งแก้ว ถ้าเปลี่ยนเป็นเงิรทุนการศึกษาให้เด็กนักเรียนก็คงได้เกิดประโยชน์มากขึ้น สังคมไทยคงจะสูงขึ้นอีกเยอะเลย”
<div align="right">
น.เมืองสรวง
3 พ.ค.2548
เวลา 11.00 น.
</div>
</div>
"ความเป็นท้องถิ่นจะอยู่ได้ ก็ด้วยความหวังและความตั้งใจ ของลูกหลาน" ต่อไปในอนาคต เชื่อว่าคงมีความสำคัญต่อไปในการเปลี่ยนแปลงท้องถิ่นของ ๆ ตนเอง