นวัตกรรม ความเชื่อ และจิตวิทยาการขอ


Appreciative Inquiry : การขอให้ลองทำดูก่อน

สวัสดีครับ... พ่อแม่พี่น้องชาว G2K ทุกท่าน ^^

ต้องขออภัยครับ ที่เมื่อวานโดดงานไป 1 วัน พอดีติดลมบน

กับการเชียร์ทีมรักครับ Liverpool เล่นดีแบบผิดหูผิดตา

สามารถเอาชนะทีมท้ายตารางอย่าง Pompe ไปสบายๆ 4-1 ดีใจมากมายครับ

ผ่านพ้นไปสำหรับเรื่องดีๆ แฮปปี้ๆ... วันนี้เลยขอชดเชยความผิดด้วยการอัพไวนิดส์นึง

เรื่องราวในวันนี้ผมได้ยินมาจาก Class Creativity ครับ เรื่องราวจะเป็นยังไงนั้น ตามมาผมครับ ^^



วันนี้ก่อนจะเข้าสู่กิจกรรม World Cafe อาจารย์โย ได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับประวัติของตู้ ATM ซึ่งน่าสนใจมากมายครับ

ผมเลยอยากนำมาเล่าสู่กันฟัง อาจารย์เล่าว่า "ตอนแรกก่อนที่ ATM จะเกิดนี้ ธนาคารได้ออกแบบสอบถามลูกค้าเกี่ยวกับ ATM ครับ

ว่าต้องการตู้ ATM ไหม โดยบอกไปว่าถ้ามีเจ้าเครื่องนี้ คุณจะสามารถถอนเงิน โอนเงินได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ต้องรอธนาคารเปิด

พอแจกแบบสอบถามไป ปรากฎว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่เอาครับ บอกว่าการได้ไปต่อแถวในธนาคาร ทำให้รู้สึกเป็นกันเองมากกว่า

ทีนี้ธนาคารดังกล่าวได้ลองเอาตู้ ATM มาติดตั้ง เพื่อให้ลูกค้าได้ลองใช้ดูครับ ทิ้งไว้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วลองแจกแบบสอบถามอีกครั้ง

ปรากฎว่า ลูกค้าต่างลงความเห็นเป็นเสียงเดียวครับกันว่า "น่าจะเอามาติดตั้งนานแล้ว" สะดวกดี ไม่เสียเวลาด้วย"



ตัดมาที่จุดนี้ครับ... มาดูกันครับว่า "จิตวิทยาการขอ" อยากจะบอกอะไรกับคุณเกี่ยวกับเคสนี้... ตามมาครับ ^^

จะเห็นได้ว่า... ในตอนแรกเคสนี้ได้ทำการแจก "แบบสอบถาม" เกี่ยวกับความคิดเห็นในการที่ธนาคารจะเอาตู้ ATM มาติดตั้ง

ซึ่งลูกค้าส่วนมากไม่เห็นด้วย เพราะคิดว่าแบบเก่านั้น "มันเป็นกันเองมากกว่า" แต่หลังจากธนาคารติดตู้ ATM ให้ลูกค้าลองใช้

แล้วแจกแบบสอบถามอีกครั้ง ปรากฎว่า ลูกค้ากลับชอบ แถมยังบอกอีกว่า "น่าจะเอามาติดตั้งนานแล้ว"... เห็นอะไรไหมครับ

สิ่งที่ผมอยากจะบอกก็คือ "อย่าเชื่อแบบสอบถามมากนัก" โดยเฉพาะกับสิ่งที่ลูกค้ายังไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน อย่างในเคสนี้

เจ้าของธนาคารแห่งนั้นไม่เชื่อแบบสอบถามครับ แถมยัง"ลอง"เอาตู้ ATM มาติดตั้งดูก่อน ปรากฏว่า มัน Work ครับ ลูกค้าชอบ

ลองคิดดูครับว่า ถ้าธนาคารแห่งนั้น "เชื่อแบบสอบถาม" นวัตกรรมอย่างตู้ ATM คงจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน... จริงไหมครับ



เป็นอย่างไรกันบ้างครับ... กับ "การขอให้ลองทำดูก่อน" เคสนี้เป็นตัวอย่างที่ดีครับ ว่าบางครั้งเราจะไปเชื่อแบบสอบถาม

อย่างเดียวไม่ได้
โดยเฉพาะกับอะไรที่ใหม่มากๆ ที่ลูกค้าไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน อย่างพวกนวัตกรรมอะไรแบบนี้

เมื่อเราค้นพบอะไรที่เรารู้สึก(เชื่อ)ว่ามันน่าจะ Work เป็นสิ่งที่ "ใหม่,เป็นประโยชน์,เป็นไปได้" เราต้อง"ลองทำดูก่อน"ครับ

ให้ลูกค้ามีประสบการณ์กับเจ้าสิ่งนั้นดูสักระยะ แล้ววัดผล เราถึงจะรู้ได้ว่ามัน Work หรือไม่ Work เพราะสิ่งต่างๆ

เหล่านี้ต้องใช้ประสบการณ์ของลูกค้าเป็นตัววัดครับ แบบสอบถามอาจจะไม่ใช่คำตอบสุดท้ายเสมอไป... ลองนำไปปรับใช้กันดูครับ

ผมว่า Process แบบ ( คิด >>> ลองทำ >>> วัดผล ) นี้ น่าจะ Work กว่าแบบ ( คิด >>> วัดผล >>> ลองทำ ) เป็นไหนๆ



แล้วคุณละคิดยังไง ^^

 

ท่านที่สนใจจะอ่านเคส"จิตวิทยาการขอ"ที่เกี่ยวกับ ธุรกิจเพิ่มเติ่ม

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ >>> AI-Positive Psychology For Business ( จิตวิทยาการขอสำหรับธุรกิจ ) <<<

หมายเลขบันทึก: 344840เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2010 20:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

บางครั้งถ้าเราเชื่อว่ามันดีก็ทำไปเถอะค่ะ เพราะคนที่เราให้เค้าตอบแบบสอบถาม เค้ายังไม่เห็นของจริงค่ะ ดังนั้นจึงปฏิเสธไว้ก่อน โดยเฉพาะเรื่องเงินๆ ทองๆ คนเรามักจะไม่ไว้ใจอะไรง่ายๆ ค่ะ กลัวผิดพลาด เลยไม่กล้าที่จะยอมรับในตอนแรกจ้า

บางทีการถามโดยที่ยังไม่เห็นภาพ หรือ ยังไม่เห็นสิ่งนั้นก็ทำให้ไม่สามารถตอบสิ่งที่เป็นจริงได้นะค่ะ

แต่กลับกันถ้าถามตอนที่มีสิ่งนั้นมาได้ซักพักแล้ว ความคิดก็เปลี่ยนไปได้เนอะ ^_^

เห็นด้วยกับกระบวนการ คิด >>> ลองทำ >>> วัดผล Workค่ะ

ก่อนอื่นก็ขอสวัสดีทุกท่านที่แวะมานะครับ ^^

@พี่บี๋ >>> ขอบคุณพี่บี๋ที่แวะมาครับ... ผมชอบที่พี่ว่า "ถ้าเชื่อว่ามันดีก็ทำไปเถอะ" โดนใจจริงๆ ^^

@แป้ง >>> จริงเนอะ... บางทีเราต้องลองใช้ดูก่อน ถึงจะตอบได้ว่ามัน Work หรือ ไม่ Work เนอะ ^^

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาครับ แสดงความคิดเห็น/แชร์ประสบการณ์กันได้เต็มที่เลยนะครับ ^^

เห็นด้วยครับ

คิด >>> ลองทำ >>> วัดผล

ยิ่งถ้าเป็นสินค้าใหม่ๆ ที่ไม่เคยลองใช้มาแล้วล่ะก็

ข้อมูลที่ได้มานั้น มันก็แบบยังไงล่ะครับ ไม่น่าเชื่อถือ มั้ง น่าจะประมาณนี้นะครับ

ขอบคุณมากครับกับเรื่องราวดีๆ

ตั้งแต่มาทำ AI Project นี้

เห็นหลาย ๆ เคสที่เป็นแบบ คิด >>> ลองทำ >>> วัดผล

แล้ว work มากจริง ๆ ครับ

แต่การเก็บข้อมูล (แบบสอบถาม) ก็ใช่ว่าจะไม่ดีนะครับ ก็ปรับใช้กันไป ตามเหมาะสม

แต่เรา (ชาว AI ทั้งหมดปวง) เชื่อว่าแบบนี้ work มาก ๆ ครับ (ลองพิจารณาดูนะ ตัวอย่างก็เคสของคุณไพรัชช์นี่แหละ ^^)

ขอบคุณเรื่องราวดี ๆ และตอกย้ำความเชื่อมั่นใน วิถีแห่ง AI ครับ

     คิด >>> ลองทำ >>> วัดผล

 

     น่าจะสอดคล้องกับ Learning Cycle ของ Dr.Nonaka   

     Talk    คุย Data  

     Think  คิด Reflect KnowledgeCreation 

    Theory คลิก Strategies and Plan เป้าหมาย

   Try  คลำ เวทีปฏิบัติ เป็นปัญญาจากการปฏิบัติ  

    กรณีตู้ ATM   เริ่มต้นด้วยคุยกับคิด คุย คลิก  คือ คุย คือ  สอบถาม ปรากฏว่าลูกค้าไม่ชอบ  ก็นำมาคิดต่อ คือ ไม่เชื่อแบบสอบถาม  คลิก คือ กำหนดเป้าหมายว่า จะต้องลองนำเครื่อง ATM ไปตั้งดู

     ไฮไลต์  อยู่ที่  "คลำ"  ครับ   คือ ลองทำดูให้รู้จริง โดยไม่เชื่อแบบสอบถาม  จะได้ "ปัญญา" จากการทำจริง  ไม่ใช่นั่งเทียนหรือแบบสอบถาม

    ทีนี้  เมื่อ "คลำ"  แล้วได้ผลอย่างไร ก็นำมา คุย  คิด  กันรอบใหม่ครับ  (วัดผล)    เพื่อที่จะ คลิก   และ คลำ ต่อไปอีก

                ขอบคุณครับ

  

สวัสดียามเช้า แวะมาอ่านจิตวิทยาการขอค่ะ

Dsc044081

สวัสดีทุกท่านที่แวะมานะครับ ^^

@คุณFallen >>> อาจจะเป็นอย่างงั้นก็ได้ครับ บางทีมันใหม่เกิน เขาอาจจะคิดว่ามันเป็นแค่ความเพ้อฝันหรือเปล่า ทำได้จริงไหน

@นุกเกอร์ >>> เห็นด้วยครับ ต้องแบ่งสันปันส่วนให้น้ำหนักความสำคัญดีๆครับ ส่วนพวกเราสาย Ground Theory คงจะยึดถือ แนวคิดแบบ AI ที่ว่า (คิด >>> ลองทำ >>> วัดผล) นี้ละครับ เพราะมัน Work จริงๆ

@อาจารย์ small_man >>> ขอบคุณอาจารย์ที่แชร์ความรู้ให้ครับ Theory KM ของ Takeuchi & Nonaka นี้สุดยอดจริงๆครับ SECI Model เป็นอัะไรที่เอิร์ทว่ามัน Work แล้วปรับใช้กับ AI ได้ดีที่เดียวครับ ^^

@คุณเกด >>> สวัสดีเช่นกันครับ... ยินดีมากมายที่คุณเกดแวะเข้ามานะครับ

===========================================

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาครับ แสดงความคิดเห็น/แชร์ประสบการณ์กันได้เต็มที่เลยนะครับ ^^

บางอย่างที่เป็นของใหม่ๆ คนเราจะต่อต้านช่วงแรกๆ แต่ถ้าลองได้ทดลองใช้ดูแล้วมัน WORK และเป็นประโยชน์สุดท้ายก็จะเป็นที่ยอมรับได้ล่ะค่ะ ฉะนั้นอย่ามัวแต่คิดว่า มันเป็นไปไม่ได้ ต้องลองถึงจะรู้ค่ะ ขอบคุณเรื่องราวดีๆที่มาแบ่งปันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท